WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, March 22, 2011

บทเรียน “สื่อมวลชนยุคใหม่ ” จากวิกฤตการณ์ที่ญี่ปุ่น

ที่มา มติชน





มนตรี ศรไพศาล

เหตุการณ์ แผ่นดินไหวขนาด 8.9 ริคเตอร์ และตามด้วยสึนามิ ที่ญี่ปุ่น เป็นเหตุการณ์ที่รุนแรงที่สุดในรอบ 140 ปี นำมาซึ่งความตื่นตระหนก หวาดกลัว เศร้าใจ เสียใจ กังวลใจ

หากเราพิจารณาบรรดาภาพที่ผ่านหน้าสื่อมวลชน เราจะได้เห็นภาพวิกฤตยิ่งใหญ่ที่เป็นเหมือนโจทย์ร่วมของคนทั้งชาติ ภาพความเข้มแข็งอดทน ภาพชาวญี่ปุ่นที่อดทนอยู่ในวินัย เข้าคิวซื้อของที่มีจำกัด หรือรับความช่วยเหลืออย่างมีระเบียบ ภาพความร่วมแรงร่วมใจ ภาพความเสียสละ ภาพความช่วยเหลือ ภาพผู้นำที่เกาะติดมุ่งแก้ไขสถานการณ์ ภาพองค์จักรพรรดิ์ที่ทรงให้กำลังใจกับประชาชน ฯลฯ

เห็นแล้วรู้สึกประทับใจ ซึ้งใจ ศรัทธา เกิดกำลังใจที่อยากจะเข้มแข็งเช่นกัน มีน้ำใจเช่นกัน เสียสละเช่นกัน รักชาติเช่นกัน รักกันและกันเช่นกัน ช่างเป็นคุณค่าที่สร้างสรรค์สังคมได้อย่างดีจริงๆ

ผมดูแล้ว นอกจากจะเห็นบทเรียนของฝ่ายต่างๆที่น่าสนใจแล้ว ผมว่ามีบทเรียนสำหรับสื่อมวลชนที่น่าคิด หลายประการเพื่อให้เป็น สื่อที่สร้างสรรค์ อย่างดีต่อไปอีกด้วย

ภาพที่ออกมานั้น เป็นภาพที่สร้างสรรค์ สร้างความรู้สึกดีๆท่ามกลางความลำบาก สร้างความหวังท่ามกลางหายนะ สร้างคุณธรรมท่ามกลางวิกฤต

มาลองดูว่า ถ้าเป็นสื่อมวลชนบ้านเรา เราคิดจะเสนอแง่มุมอะไร ? คล้ายๆยุควิกฤต (เล็กๆ) น้ำท่วมฉับพลันทั่วประเทศ ผมเห็นภาพต่างๆผ่านสื่อมวลชนมากมาย ซึ่งก็ต้องขอชมเป็นเบื้องต้นว่า ได้ถ่ายทอดให้เห็นความช่วยเหลือเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ไทยช่วยไทย ไม่ทอดทิ้งกัน ได้พอสมควร แต่ก็ยังมีไม่น้อยที่เราอาจเปรียบเทียบกับของญี่ปุ่นเพื่อการปรับปรุงได้

...ภาพที่เมืองไทยยังมีการเน้นหาคนที่โศกเศร้าเสียใจร้องไห้ แต่ภาพที่ญี่ปุ่น เน้นที่คนหาคนที่ไม่พบจนพบได้และเป็นภาพของความตื้นตันใจ

...ภาพที่เมืองไทยยังมีการเน้นภาพคนทำไม่ดี เข้าไปขโมยของคนอื่น ภาพที่ญี่ปุ่นเน้นคนมีวินัยอย่างอดทน

...ภาพที่เมืองไทยยังมีการเน้นพื้นที่ที่รัฐเข้าไม่ถึง แต่ภาพที่ญี่ปุ่นเน้นภาพความช่วยเหลือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ได้เข้าไปช่วยเหลือ

ผมว่าคิดมีบทเรียนสำหรับสื่อมวลชนที่น่าคิด หลายประการ ดังต่อไปนี้

1. สื่อความสุขก็สุข สื่อความทุกข์ก็ทุกข์ ผมเชื่อว่า เราจะเน้นภาพแห่ง “ความทุกข์ลำบาก” ไปทำไม ? ในเมื่อในความลำบาก ก็มีภาพแห่ง “ความสุขและกำลังใจ” มากมาย เราจะเน้นภาพ “ความทุกข์ของความพลัดพรากไปทำไม ?” ในเมื่อก็มีภาพแห่งความตื้นตันความสุขเมื่อกลับมาได้พบเจอ” เยอะแยะ

เชื่อไหมว่า เขาก็คงมีบางคนที่ร้องไห้ฟูมฟาย เศร้าเสียใจ แต่ขยายภาพนั้น ประชาชนจะได้อะไร ก็เพียงขยายความเศร้าใจ ขยายความทุกข์ใจไปเท่านั้น

ยอดผู้เสียชีวิตรวมกับผู้หลงหายเกือบ 2 หมื่นคน เขาก็คงยังมีคนที่ต้องพลัดพรากจากคนที่รักมากมาย แต่จะไปขยายความเสียใจทำไม เขากลับขยายภาพของผู้ที่ได้พบกันเพื่อสร้างความหวัง

เจ้าหน้าที่จะเกณฑ์มาอีกเท่าไร ก็ไม่มีทางแก้ไขปัญหาได้ทันใจประชาชนทุกคนได้ แต่เขาก็เน้นถ่ายทอดภาพความช่วยเหลือร่วมแรงร่วมใจกัน สร้างกำลังใจและความหวังให้กัน

2. สื่อความสว่างสังคมก็สว่าง สื่อความมืดสังคมก็มืด คำสอนสำคัญของพระเยซูคริสต์คือ “ท่านทั้งหลายเป็นแสงสว่างของโลก”

ภาพคนไม่ดี อาจทำให้คนดีท้อแท้ แม้ตั้งใจจะทำดี เพียงเพื่อตำหนิว่า “ทำบาปไว้ จะได้รับกรรมตามสนอง” แต่ก็ไม่ช่วยให้คนทำดีได้ มีแต่ความเครียด และความเศร้า แต่ภาพของคนที่แม้ต้องอับจนลำบาก แต่ยังรักษาคุณธรรมความดีไว้ จะเป็นภาพที่จรรโลงจิตใจคนให้สูงขึ้น และเป็นกำลังใจให้คนรักษาความดีไว้ได้ต่อไป

ในพระคัมภีร์มีกล่าวถึงกลุ่มฟาริสี ซึ่งจำนวนมากเป็นพวกหน้าซื่อใจคด เขาเหล่านั้นยังเชื่อว่าเขาเป็นคนดี เมื่อเทียบกับคนอื่นที่เขาเห็นว่าไม่ดี นี่คือมาตรฐานของมนุษย์ หลายๆครั้ง เราเพียงแต่ชี้เขาว่า เขาก็ทำไม่ดี ฉันทำได้แค่นี้ก็ดีแล้ว หรือพอทำไม่ดี แล้วก็อธิบายตัวเองว่า “ใครๆเขาก็ทำกัน” ดังนั้น ในเมื่อสังคมยังคิดเช่นนี้ และสื่อก็สื่อภาพการทำไม่ดี โดยคนไม่ดี ก็อาจทำให้คนจำนวนหนึ่งรู้สึกหดหู่ จำนวนหนึ่งรู้สึกพวกเขาต้องทำเพราะเขาลำบาก ฉันก็ลำบาก ฉันก็น่าจะทำได้เหมือนกัน

แต่ภาพงดงามในญี่ปุ่น ที่แม้จะลำบาก เขาก็ไม่สร้างความลำบากให้คนอื่น ไม่ทำสิ่งผิดความชอบธรรม ก็จะเป็นกำลังใจให้คนรักษาความดี และทำความดีต่อไป คนอยากจะทำไม่ดี ก็ยังน่าจะละอายใจไปเอง

3. สื่อให้กำลังใจก็ทำให้เข้มแข็ง สื่อบั่นทอนกำลังใจก็ทำให้ท้อถอย ภาพคนทำงานหนัก อุทิศตนเพื่อช่วยแก้ไขวิกฤต เป็นทั้งกำลังใจแก่ผู้ประสบภัย และคนทำงาน ที่บ้านเรา ก็เห็นภาพหน่วยราชการ ผู้ใหญ่ ทหาร สื่อมวลชน เอกชนเข้าให้ความช่วยเหลืออยู่บ้าง ภาพถุงสิ่งของพระราชทาน ภาพส่งของเข้าพื้นที่น้ำท่วมด้วยรถทหาร ด้วยเฮลิคอปเตอร์ ก็ได้สร้างกำลังใจให้ได้เช่นกัน

แต่จะสังเกตว่า สื่อของเขาไม่คอยแข่งกับรัฐบาล ที่จะพยายามไปหาพื้นที่ที่ความช่วยเหลือยังเข้าไปไม่ถึง พื้นที่ความเสียหายกว้างไกล คนประสบภัยมากมาย ก็จะมีคนที่ได้รับความช่วยเหลือไม่พร้อมกัน ผมว่า ถ้าคนเขาทำงานเต็มที่ สื่อก็ช่วยกันขยายผล เป็นการให้กำลังใจสมกับที่เขาได้เหน็ดเหนื่อยทุ่มเท คนที่ยังไม่ได้รับ ก็น่าจะเห็นและมีความหวัง ข้อมูลข่าวสารในพื้นที่ที่ต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วน ก็สามารถสื่อกับภาครัฐโดยตรงได้ ไม่ต้องใช้เวลาสื่อ

สาธารณะที่ทำให้คนรู้สึกว่า ความช่วยเหลือไม่มี และเกิดความเครียดกันมากขึ้น ถ้าเป็นภาพร่วมแรงร่วมใจเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ให้ความช่วยเหลือเต็มที่ (ไม่ใช่เพียงสร้างภาพ) ก็ช่วยกันถ่ายทอดภาพความช่วยเหลืออย่างญี่ปุ่น ก็เป็นการให้กำลังใจกับผู้ประสบภัย คนดู และคนที่ทุ่มเทช่วยเหลือในภาคสนามอย่างดีด้วย

ก็คงไม่ใช่การหลับหูหลับตา “สร้างภาพ” รับใช้ผู้มีอำนาจ แต่การร่วมกันสื่อ “ความจริง” อย่าง “สร้างสรรค์” ก็จะมีส่วนช่วยผ่อนคลายความกังวล ยกระดับคุณธรรม และให้กำลังใจกับทุกๆคนได้อย่างมีคุณค่าและความหมายต่อสังคมจริงๆครับ