WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, March 20, 2011

"เสื่อม"

ที่มา ประชาไท

เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการแนวทางการดำเนิน งานส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมข้าราชการและประชาชนทั่วไป ได้แก่ การเข้าวัดปฏิบัติธรรมทุกวันพระหรือวันอาทิตย์ การสวดมนต์หน้าโต๊ะหมู่บูชาและพระบรมสาทิสลักษณ์ก่อนการประชุม การถวายสัตย์ปฏิญาณว่าจะปฏิบัติตามพระราชดำรัส การสวดมนต์ก่อนเข้าชั้นเรียนทุกวันและหลังเลิกเรียนในวันศุกร์ ฯลฯ ซึ่งเสนอโดยกระทรวงวัฒนธรรมเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะ ทรงมีพระชนมายุครบ 7 รอบในปลายปีนี้

ข้อเสนอดังกล่าววางอยู่บนสมมติฐานที่ว่าคุณธรรมและจริยธรรมของคนไทยใน ปัจจุบันตกต่ำเพราะความที่มีชีวิตห่างไกลจากพุทธศาสนาและไม่ปฏิบัติตามพระ ราชดำรัส (ซึ่งวางอยู่บนพุทธศาสนาเช่นกัน) จึงต้องแก้ไขด้วยการให้คนไทยได้ “เข้าวัดเข้าวา” และมีพันธะกรณีกับพระราชดำรัสเพิ่มมากขึ้น ซึ่งหากปฏิบัติได้ก็จะเป็นผลดีไม่เฉพาะกับตัวผู้ปฏิบัติ หากแต่หมายถึงสังคมไทยโดยรวม จึงเป็นการ “ทำความดีถวายในหลวง” อีกทางหนึ่ง

อย่างไรก็ดี ข้อสมมติฐานนี้บิดเบือนชีวิตทางศาสนาของคนไทยในปัจจุบัน รวมทั้งยังอำพรางความสัมพันธ์ระหว่างพุทธศาสนากับการเมืองไทยอย่างสำคัญ เพราะหากหมายความศาสนาในความหมายกว้าง เช่น ระบบความเชื่อและระเบียบศีลธรรม จะพบว่าคนไทยส่วนใหญ่ยังคงมีชีวิตใกล้ชิดกับศาสนา หลายคนตื่นเช้าขึ้นมาก็บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จะเดินทางไปไหนหรือติดต่อธุระอะไรก็ต้องดูฤกษ์ยาม จะเปิดร้านหรือทำบุญขึ้นบ้านใหม่ก็ต้องนิมนต์พระมาสวดและเจิมให้ และนอกจากหลักธรรมคำสอนของพุทธศาสนาเช่นบุญกรรม คนไทยจำนวนมากยังเคารพศรัทธาในระบบความเชื่อและระเบียบศีลธรรมอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นผี เทพ หรือบุรพกษัตริย์ไทยเช่น “เสด็จพ่อ ร.๕” ชีวิตประจำวันของคนไทยจึงรายล้อมไปด้วยศาสนาเต็มไปหมด

นอกจากนี้ นัยของศาสนาเหล่านี้ก็ไม่ได้เป็นเพียง “ความเชื่อส่วนบุคคล” หรือเป็นการถอยร่นของศาสนาเข้าสู่ปริมณฑลส่วนตัวของปัจเจกบุคคลท่ามกลางการ ขยายตัวของความทันสมัยอย่างที่พวกนักคิดสายเรื่องทางโลกชวนให้เชื่อ ตรงกันข้าม ศาสนากลับยังเป็นพลังสำคัญในพื้นที่สาธารณะหรือว่ามีส่วนในการจัดความ สัมพันธ์ระหว่างผู้คนในสังคมไทยร่วมสมัยอย่างสำคัญ เปรียบว่าธรรมกายสามารถสร้างเครือข่ายญาติธรรมที่ต้องการบรรลุธรรมด้วยวิธี การเฉพาะในยุคเครือข่ายไร้สายได้ฉันใด สันติอโศกก็สามารถสร้างกองทัพธรรมที่ต้องการทวงเขาพระวิหารหรือเขตแดนคืนใน ยุคโลกไร้พรมแดนได้ฉันนั้น

ในทางกลับกัน การที่คนไทยในปัจจุบันมีความสนใจในชีวิตทางศาสนาก็ไม่ได้เป็นเรื่องของการ ฟื้นตัวของศาสนาอย่างที่เกิดขึ้นในศาสนาคริสต์และอิสลามหลังจากเผชิญกับ กระแสการตื่นรู้ ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ และการเกิดขึ้นของรัฐชาติ เพราะในสังคมไทย ศาสนาพุทธไม่เคยเพลี่ยงพล้ำให้กับการท้าทายทางปรัชญาและหลักธรรมคำสอนโดย วิทยาศาสตร์ แต่สามารถจัดความสัมพันธ์ให้อยู่ในสถานะที่เหนือกว่าได้ วิทยาศาสตร์อาจดูล้ำเลิศ แต่ก็เป็นเพียงโลกียธรรม เทียบไม่ได้กับโลกุตรธรรมอย่างพุทธศาสนา ขณะเดียวกันพุทธศาสนาก็ไม่เคยสถาปนาศาสนจักรขึ้นแข่งขันหรือท้าทายอำนาจ อาณาจักรเหมือนกับที่เกิดขึ้นในกรณีของศาสนาคริสต์ แต่กลับโยงใยกันอย่างแนบแน่น การวางผังการปกครองดินแดนในสมัยสุโขทัยและอยุธยาวางอยู่บนคติความเป็น กษัตริย์ในพุทธศาสนา และตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 เป็นต้นมากษัตริย์ไทยอยู่ใต้คติธรรมราชาแทนที่จะเป็นเทวราชาตามคติฮินดู นอกจากนี้ การสร้างรัฐชาติไทยอาศัยพุทธศาสนาในหลายลักษณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการหมายความโดยพฤตินัยให้ศาสนาพุทธเป็นหนึ่งในสามของ อุดมการณ์รัฐควบคู่กับชาติและพระมหากษัตริย์ ทั้งนี้ยังไม่นับรวมการรื้อฟื้นสถานภาพและบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ ตั้งแต่ต้นทศวรรษ 2500 เป็นต้นมาที่อาศัยพิธีกรรมความเชื่อในพุทธศาสนาอย่างเข้มข้น พุทธศาสนาจึงไม่เคยจางหายจากพื้นที่สาธารณะในสังคมไทย และคนไทยก็ไม่ได้มีชีวิตห่างจากศาสนาอย่างที่มักถูกทำให้เชื่อกัน

ฉะนั้น หากศีลธรรมของคนไทยตกต่ำจริงก็ไม่น่าจะเป็นเพราะคนไทยอยู่ห่างศาสนา (โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาประกอบกับข้อเท็จจริงที่ว่าไม่เคยมีผู้กระทำ ผิดหรือ “ผู้ร้าย” ในสังคมไทยคนไหนต่อต้านศาสนาหรือว่าบอกว่าตัวเองไม่มีศาสนา) และเพราะเหตุดังนั้นการบังคับให้คนไทย “เข้าวัดเข้าวา” หรือปฏิบัติวัตรทางศาสนามากขึ้นก็ไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหา ศีลธรรมของคนไทยตกต่ำ ถ้าอย่างนั้นข้อเสนอของกระทรวงวัฒนธรรมมีเป้าหมายหรือนัยสำคัญอะไร

ข้อแรก ผมคิดว่าข้อเสนอของกระทรวงวัฒนธรรมต้องการกอบกู้พุทธศาสนาเชิงสถาบันที่อยู่ ในสภาวะง่อนแง่น เพราะในด้านหนึ่งสถาบันพุทธศาสนาประสบปัญหาภายในไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมของพระ นอกรีตจำพวกมั่วสีการวมทั้งเสพและค้ายาเสพติด การเมืองและการแย่งชิงผลประโยชน์ภายในวัด หรือว่าการที่วัดมีลักษณะเป็นสถานประกอบการเชิงพาณิชย์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่อีกด้านพุทธศาสนาเผชิญกับ “คู่แข่ง” ที่แข็งแกร่งและมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในกลุ่มของเทพองค์ ต่างๆ ซึ่งไม่ได้สังกัดพุทธศาสนา ซึ่งหากปล่อยให้สถานการณ์เป็นเช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆ พุทธศาสนาจะสูญเสียความสามารถในการเป็นสถาบันหรือกลไกจัดระเบียบความเชื่อ และศีลธรรมในสังคมให้กับรัฐไทย มาตรการกระชับศีลธรรมคนไทยผ่านวัดและพิธีกรรมจึงถูกเข็นออกมาโดยมีความต้อง การเสริมความแข็งแกร่งให้พุทธศาสนาเชิงสถาบันเป็นเหตุผลอยู่เบื้องหลัง

ข้อสอง วิกฤติการเมืองไทยร่วมสมัยยิ่งทำให้ต้องเร่งเสริมความแข็งแกร่งของสถาบัน พุทธศาสนาเพิ่มมากขึ้น เพราะอย่างที่เขียนไว้ข้างต้น สถาบันพุทธศาสนาไม่ได้เป็นปฏิปักษ์กับอาณาจักรสยามและรัฐไทย แต่ให้ความเกื้อหนุนอย่างสลับซับซ้อน โดยเฉพาะในช่วงที่สถาบันการเมืองจารีต (ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของรัฐไทย) เผชิญความเปลี่ยนแปลงและการท้าทาย ฉะนั้น การที่ส่วนสำคัญของวิกฤติการเมืองไทยในปัจจุบันอยู่ที่ความเปลี่ยนแปลงรวม ทั้งความไม่มั่นคงแน่นอนของสถาบันการเมืองจารีตประการหนึ่ง กับการก้าวขึ้นมาของพลังทางการเมืองที่มีจินตนาการทางการเมืองต่างออกไปอีก ประการ ก็ส่งผลให้ความเสื่อมของสถาบันพุทธศาสนาไม่อาจถูกทิ้งให้เป็นเรื่องในความ รับผิดชอบของกรมศาสนาแต่เพียงหน่วยงานเดียวอีกต่อไปได้ หากแต่ต้องทำให้กลายเป็น “วาระแห่งชาติ” เพื่อจะช่วยให้สถาบันพุทธศาสนาสามารถทำหน้าที่เสริมความแข็งแกร่งให้กับ สถาบันการเมืองจารีตได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกทาง ดังที่กระทรวงวัฒนธรรมระบุไว้อย่างชัดเจนว่าจะกระชับศีลธรรมของข้าราชการและ ประชาชนคนไทยในครั้งนี้เพื่อสิ่งใด

อย่างไรก็ดี ผมไม่คิดว่ามาตรการเหล่านี้จะบรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ เพราะในด้านหนึ่งพุทธศาสนาเสื่อมก็เพราะถูกนำไปใช้เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ ทางการเมืองมากเกินไป การที่มาตรการดังกล่าวเจริญรอยตามแนวทางนี้ก็จะยิ่งส่งผลให้พุทธศาสนาเสื่อม ลงไปอีก ขณะที่อีกด้านความผุกร่อนของสถาบันการเมืองจารีตแฝงนัยเชิงจริยธรรมด้วย การอาศัยกลวิธีทางการเมืองที่มีความเสื่อมเชิงจริยธรรมในตัวจะยิ่งทำให้ความ ผุกร่อนที่ว่านี้รุนแรงขึ้นอีก

(ตีพิมพ์ในคอลัมน์ คิดอย่างคน หนังสือรายสัปดาห์ มหาประชาชน ประจำวันที่ 11-17มีนาคม 2554)