WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, July 19, 2011

ดร.นันทวัฒน์ ฝากถึง"น้องสาวทักษิณ"การบ้านข้อใหญ่ที่ไม่อาจปฎิเสธ ข้อเสนอใหม่ ม.112

ที่มา มติชน




ดร.นันทวัฒน์ บรมานันท์

ต้น สัปดาห์ 18 กรกฎาคม 2554 ศาสตราจารย์ ดร.นันทวัฒน์ บรมานันท์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ แสดงทัศนะทางวิชาการ ผ่าน เว๊บไซต์กฎหมายมหาชน www.pub-law.net ในหลายประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้

หลังเลือกตั้ง


ใน ที่สุด การเลือกตั้งครั้งสำคัญที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์การเมืองไทยก็ผ่านไป อย่างเรียบร้อย ไม่เป็นที่น่าแปลกใจที่พรรคเพื่อไทยยังคงรักษาความเป็นพรรคการเมืองที่มี จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากเป็นอันดับหนึ่งของการเลือกตั้งชนิดที่ทิ้ง ห่างอันดับสองไปอย่างน่าตกใจ


นี่คือสิ่งหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่า แม้จะมีการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2549 เพื่อล้าง “ระบอบทักษิณ” แม้จะมีความพยายามจากทุก ๆ ฝ่ายที่จะล้าง “ระบอบทักษิณ” ตลอดเวลาหลังรัฐประหารมาจนกระทั่งก่อนวันออกเสียงเลือกตั้งไม่กี่วัน แต่ความพยายามเหล่านั้นก็เป็นแค่ความพยายาม เพราะในวันนี้ ประชาชนเสียงข้างมากในประเทศได้ตัดสินใจอีกครั้งหนึ่งที่จะเลือก “ระบอบทักษิณ” ให้เข้ามาบริหารประเทศอีกครั้งหนึ่ง โดยคราวนี้ชัดเจนถึงขนาดยอมให้ “น้องสาวทักษิณ” เป็นผู้นำประเทศ

ผม ก็ได้แต่หวังว่า บรรดาผู้ที่กระทำการย่ำยีเจตนารมณ์ของคนไทยในช่วงเวลาที่ผ่านมาคงจะต้อง “ยอมรับ” ผลการเลือกตั้งครั้งนี้และให้ความร่วมมือกับฝ่ายบริหารและฝ่ายปกครองเพื่อนำ พาประเทศไทยเราให้หลุดพ้นไปจากภาวะแย่ ๆ ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันอย่างรวดเร็วครับ

ถึงพวกที่อยากมีตำแหน่งทางการเมืองใจจะขาด

ช่วง เวลาที่ผ่านมา 2 สัปดาห์เศษภายหลังการเลือกตั้ง เป็นช่วงเวลาที่ทุกคนคงจำได้ดีเพราะไม่ว่าจะเป็นหลังเลือกตั้งครั้งใดก็ตาม มักจะเกิดเหตุการณ์แบบนี้ทุกครั้ง นั่นก็คือ ความพยายามของคนจำนวนหนึ่งที่จะเข้าไปเป็นผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีซึ่งเป็น ตำแหน่งที่เป็นที่ต้องการของแทบจะทุกคนที่ได้รับเลือกตั้งเข้ามาและของแทบจะ ทุกคนที่ช่วยงานการเมืองอยู่ข้างนอก รวมไปถึงพวกที่อยากมีตำแหน่งทางการเมืองใจจะขาดที่พยายามสร้างราคาให้กับตน เองด้วยการทำตัวให้เป็นข่าว

บางคนขอให้สถาบันการศึกษาจัดอภิปรายเพื่อให้ตนเองได้ไปพูด จะได้ทำให้คนทั่วไปได้รู้จัก บรรยากาศแบบนี้มีขึ้นทุกครั้งหลังจากที่มีการเลือกตั้งครับ


แต่ในบทบรรณาธิการนี้คงกล่าวถึงเฉพาะนักการเมืองก่อน ในวันนี้ นักการเมืองมีความพยายามอย่างสุดเหวี่ยงที่จะได้เข้าไปทำงานในฝ่ายบริหาร สังเกตได้จากผู้ที่ได้รับเลือกตั้งเข้ามาก็จะรวมกันเป็นกลุ่มภายในพรรคการ เมืองเพื่อเพิ่มศักยภาพในการต่อรองตำแหน่งของตนให้มากขึ้นกว่าการเป็นสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรคนเดียวที่อยู่อย่างโดดเดี่ยวภายในพรรค


การต่อ รองให้ได้ตำแหน่งทางการเมืองเกิดขึ้นทั้งทางตรงคือการไปเจรจา กับหัวหน้าพรรคการเมืองหรือไม่ก็ทางอ้อม เช่นการให้ข่าวต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข่าวที่ว่า ตนเองหรือคนในกลุ่มมีความเหมาะสมที่จะเป็นรัฐมนตรี เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องสำคัญที่เกี่ยวกับ “หน้าตา” และ “ความสามารถ” ของคณะรัฐมนตรี คงต้องขอให้ผู้มีอำนาจจัดตั้งรัฐบาลต้องพยายามชี้แจงให้บรรดาลูกพรรคการ เมืองที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทราบให้ชัดเจนว่า ประชาชนเลือกบุคคลเหล่านั้นเข้ามาเป็นผู้แทนราษฎร เข้ามาทำหน้าที่ในการผลิตกฎหมายออกมาใช้ในประเทศ ไม่ใช่เลือกให้เข้ามาบริหารประเทศ การบริหารประเทศไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ ที่ใครก็ตามมีเสียงสนับสนุนจากกลุ่ม 5 - 6 คนก็สามารถเข้าไปเป็นรัฐมนตรีได้

ตั้งรัฐบาล ต้องใช้มืออาชีพมีประสบการณ์ ไม่ใช่รวมพลังนอกสภา

การ บริหารประเทศเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องการคนที่มีความเชี่ยวชาญเป็นอย่างสูงมาทำ หน้าที่ วันนี้ปัญหาที่เกิดขึ้นในบ้านเรานับตั้งแต่หลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 มาจนถึงปัจจุบันมีอยู่มากมายเหลือเกิน การได้คนไม่มีความเชี่ยวชาญมาทำงานนอกจากจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาทั้งหมดได้ อย่างรวดเร็วแล้ว ยังทำให้การก้าวเดินไปตามนโยบายที่รัฐบาลวางไว้ต้องล่าช้าไปด้วย แถมถ้าเกิดการ “รวมพลังนอกสภา” ขึ้นมาอีก ก็คงวุ่นวายไม่รู้จบกันไปอีกนานครับ


เพราะฉะนั้น การตั้งรัฐบาลหนนี้น่าที่จะเปลี่ยนวิธีการแบบเดิม ๆ ที่ใช้จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาเป็นตัวชี้วัดว่าจะได้เป็นรัฐมนตรีมาเป็น คำนึงถึงคุณสมบัติ ความเป็นมืออาชีพและมีประสบการณ์ในด้านต่าง ๆ ที่จะเข้าไปดำรงตำแหน่งอย่างจริงจังครับ

นอกจากนี้แล้ว ว่าที่รัฐมนตรีใหม่ที่นอกจากจะต้องเข้าไปแก้ไขปัญหาของประเทศที่หมักหมมมา อยู่หลายปียังจะต้องเข้าไป “สร้าง” งานหรือสิ่งต่าง ๆ ที่ได้ “สัญญา” ไว้กับประชาชนตอนหาเสียงเลือกตั้งอีกหลายเรื่อง เพราะในวันนี้ เสียงที่ได้ยินกันไปทั่วคือ รัฐบาลใหม่จะทำตามนโยบายที่ได้หาเสียงไว้กับประชาชนได้หรือไม่

เช่น จบปริญญาตรีได้เงินเดือน 15,000 บาท หรือค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ทั้ง 2 เรื่องเป็นปัญหาในเชิงโครงสร้างเพราะจะต้องมีการปรับโครงสร้างทั้งระบบให้ สอดคล้องกับสิ่งที่รัฐบาลจะทำ รวมไปถึงการขึ้นราคาของค่าบริการและค่าอุปโภคบริโภคต่าง ๆ ที่ต้องปรับตามค่าแรงขั้นต่ำไปด้วย ลำพังคิดคงไม่ยากแต่ถ้าหากจะทำให้เกิดผลสำเร็จและไม่กระทบกับสิ่งที่มีอยู่ หรือเป็นอยู่ได้นั้นจะทำอย่างไรจึงเป็นเรื่องที่ต้องใช้คนที่มีความชำนาญ อย่างมากมาทำ ไม่ใช่นักการเมืองหัวหน้ากลุ่มที่มีเสียงสนับสนุน 5 - 6 คนให้เป็นรัฐมนตรีเป็นแน่ครับ

ปรองดองคือการตรวจสอบทุกเรื่องอย่างละเอียด...

เรื่อง ใหญ่อีกเรื่องที่จะต้องเกิดขึ้นแน่ ๆ หลังจากที่มีการจัดตั้งรัฐบาลคือ การปรองดอง วันนี้เป็นเรื่องที่พูดกันมากเหลือเกินว่าทำอย่างไรคนในประเทศถึงจะปรองดอง กันได้ จากบทเรียนจากรัฐบาลชุดที่ผ่านมานั้น แม้จะมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาศึกษาหาแนวทางในการปรองดองอยู่ก็ตาม แต่เมื่อคนในรัฐบาลไม่หยุดพูดมากในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความผิดของอีกฝ่าย หนึ่ง ความปรองดองก็คงเกิดขึ้นไม่ได้


รัฐบาลใหม่น่าจะทำเรื่อง ดังกล่าวได้เพราะเท่าที่สังเกตดู บุคลิกของว่าที่นายกรัฐมนตรีคนใหม่เป็นคนที่ “นิ่ง” และ “ไม่ตอบโต้” ซึ่งก็จะทำให้การปรองดองเป็นไปได้ในระดับหนึ่ง ส่วนที่ว่า “การปรองดอง” คือ การลืมทุกสิ่งทุกอย่างแล้วมาเริ่มต้นกันใหม่นั้น ผมคงต้องบอกว่าไม่เห็นด้วย เพราะมีปัญหาหลายเรื่องที่ค้างคาใจทั้งคนไทยและคนต่างประเทศอยู่หลายเรื่อง ที่ต้องการคำตอบที่ชัดเจน

เช่น เรื่องสองมาตรฐานของหน่วยงานหลายหน่วยงาน เรื่องการสลายการชุมนุมแล้วมีผู้เสียชีวิตจำนวนมากแต่ก็ไม่มีใครต้องรับผิด ชอบเพราะต่างฝ่ายต่างก็โทษกัน เรื่องการเสียชีวิตของนักข่าวต่างประเทศที่การไม่มีคำตอบจากรัฐบาลจะทำให้ ชื่อเสียงของประเทศไทยต้องมัวหมองต่อไปอีกนานไม่รู้จบเช่นคดี “เพชรซาอุ” อันลือลั่น เป็นต้น

การปรองดองจึงต้องตั้งต้นจากการตรวจ สอบทุกเรื่องที่เกิดขึ้นอย่างละเอียด ยุติธรรมและเป็นกลาง การตรวจสอบไม่ใช่เรื่องของการแก้แค้น แต่เป็นการกระทำที่จะช่วยให้ประเทศไทยเรากลับเข้าสู่ความเป็นนิติรัฐอีก ครั้งหนึ่งหลังจากเราได้สูญเสียสิ่งนั้นไปเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ครับ


องค์กรตรวจสอบต้องเป็นกลาง มีความชำนาญ

นอก จากนี้ หากจะเลยไปเรื่องอื่น ๆ ที่ควรต้องตรวจสอบด้วยก็จะเป็นผลดีแก่ประเทศชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของการทุจริตคอร์รัปชันที่มีข่าวออกมามากเหลือเกิน ในสื่อทุกประเภท รัฐบาลชุดใหม่จึงควรต้องตรวจสอบโครงการต่าง ๆ โดยเฉพาะโครงการไทยเข้มแข็งและบรรดาโครงการจำนวนมากที่เกิดจากการประชุมคณะ รัฐมนตรีตามปกติครั้งสุดท้ายของรัฐบาลชุดก่อนว่า เป็นอย่างไรบ้าง มีการทุจริตโดยตรง มีการทุจริตเชิงนโยบายหรือไม่ ประชาชนเจ้าของประเทศควรได้รับทราบข้อมูลพวกนี้ครับ แต่การตรวจสอบควรต้องทำด้วยความระมัดระวัง ควรทำโดยใช้องค์กรที่เป็นกลาง มีความชำนาญ ไม่ใช่ทำแบบที่คณะรัฐประหารทำมาแล้วคือ การตั้ง ค.ต.ส. ซึ่งก็รู้ ๆ กันอยู่ว่า “คิดอย่างไร” กับผู้ถูกตรวจสอบครับ

มาตรา 112 ตั้งกรรมการศึกษาวิเคราะห์อย่างจริงจังเป็นระบบ

ส่วน เรื่องใหญ่มาก ๆ ที่รัฐบาลยังไม่ควรแตะทันทีก็คือเรื่องการแก้ไขมาตรา 112 เรื่องหมิ่นพระบรมเดชานุภาพกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งหมด เพราะทั้ง 2 เรื่องเป็นเรื่องที่มีทั้งผู้เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยเป็นจำนวนมาก การหักด้ามพร้าด้วยเข่ามีแต่จะสร้างความแตกแยกให้กับสังคมและจะทำให้การ ปรองดองไม่สำเร็จ หากจะให้ผมเสนอความคิดในทั้ง 2 เรื่อง รัฐบาลควรตั้งคณะกรรมการที่มีความเป็นกลางและได้รับการยอมรับจากทุกฝ่ายเข้า มาทำการศึกษาวิเคราะห์อย่างจริงจังและเป็นระบบ เมื่อได้ข้อเสนอจากคณะกรรมการดังกล่าวก็ปล่อยให้สังคมวิพากษ์วิจารณ์ให้ความ เห็นในระยะเวลาที่พอสมควรแล้วจึงค่อยเสนอเข้าไปให้รัฐสภาพิจารณาครับ ถ้าทำได้ก็จะได้ข้อเสนอที่ดีเป็นรูปธรรมและผ่านการให้ความเห็นจากทุกฝ่ายที่ เกี่ยวข้อง รวมทั้งประชาชนโดยทั่วไปด้วย

ถึงเวลาต้องกระจายอำนาจการปกครองแล้ว

อีก เรื่องที่ผมคิดว่าคงปล่อยไว้ไม่ได้อีกแล้วก็คือ การกระจายอำนาจการปกครอง แม้รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540 และ 2550 จะวางหลักเกี่ยวกับการกระจายอำนาจการปกครองไว้ดีแล้ว แต่ทางปฏิบัติที่เกิดขึ้น รัฐบาลกลับไม่ให้ความสนับสนุนที่จะให้เกิดการกระจายอำนาจลงไปสู่ท้องถิ่น เท่าที่ควร จึงทำให้ดูเหมือนส่วนกลางยังคงหวงอำนาจเอาไว้กับตนเองอยู่ ไม่ต้องดูอื่นไกล นโยบายที่พรรคการเมืองต่าง ๆ ใช้หาเสียงกับประชาชนจำนวนไม่น้อยเป็นเรื่องที่ควรอยู่ในอำนาจขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการดูแลประชาชนในด้านการศึกษา สาธารณสุข รวมไปถึงกองทุนหมู่บ้านด้วย

ผมคิดว่า ถึงเวลาแล้วที่ส่วนกลางต้องพยายามเร่งทำทุกอย่างเพื่อสร้างความ เข้มแข็งให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีอยู่กว่า 8,000 แห่งทั่วประเทศ อย่าไปกลัวว่าท้องถิ่นทำไม่ได้ อย่าไปกลัวว่าท้องถิ่นจะทุจริตคอร์รัปชันเพราะเรื่องดังกล่าวส่วนกลางสามารถ ทำได้ด้วยการวางระบบการตรวจสอบการใช้อำนาจและการใช้จ่ายเงินขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นให้เข้มข้นกว่าเดิม โดยการตรวจสอบควรต้องวางกลไกการตรวจสอบตั้งแต่กระบวนการจัดทำงบประมาณของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มักจะมีทั้งข้าราชการประจำและนักการเมืองทั้ง ระดับชาติและระดับท้องถิ่นเข้าไปแทรกแซงจนทำให้การจัดซื้อจัดจ้างขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นมีปัญหาเรื่องการทุจริตคอร์รัปชันอยู่มากครับ เรื่องนี้ถ้ามีโอกาสผมจะนำมาเขียนอีกครั้งครับ

ฝากถึงรัฐบาลใหม่ ...ความไม่แน่นอนยังคงมีอยู่

อยาก แสดงความเห็นส่วนตัวต่อรัฐบาลใหม่ไว้ด้วยว่า อย่าชะล่าใจกับสถานการณ์หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ มากเกินไป ในอดีต พรรคไทยรักไทยซึ่งได้รับเลือกตั้งจากประชาชนเข้ามาด้วยเสียงข้างมากก็ถูกรัฐ ประหารไปแล้ว พรรคพลังประชาชนที่ได้รับคะแนนเสียงมากละสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ก็ถูกยุบ พรรคไปแล้ว คราวนี้พรรคเพื่อไทยซึ่งได้คะแนนเสียงข้างมากเช่นกันจึงควรต้องระวังตัวไว้ ให้มากเพราะอย่างน้อย อำนาจต่าง ๆ ที่เคยทำให้เกิดปัญหากับทั้งพรรคไทยรักไทยและพรรคพลังประชาชน กับนายกทักษิณฯ และนายกสมัครฯ ยังอยู่ครบครับ ความไม่แน่นอนทางการเมืองจึงยังคงมีอยู่ พรรคเพื่อไทยควรต้องระมัดระวังตัวเองให้มากและปิดช่องโหว่ที่จะถูกเล่นงาน ให้ได้ครับ !!

ประชาธิปัตย์ ... เปลี่ยนวิธีคิดและวิธีการทำงานใหม่

ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งต้องกลับไปเป็น “ฝ่ายค้าน” ในสภาผู้แทนราษฎรนั้น ไม่ทราบว่า “หลังเลือกตั้ง” มีแผนการอย่างไรบ้างหรือไม่ ในฐานะประชาชนคนหนึ่ง ผมมองว่าวิธีการที่ใช้เป็นประจำคือการตอกย้ำความผิดของอีกฝ่ายหนึ่งจนทำให้ คนเกลียดชังฝ่ายนั้นเป็นวิธีการที่ใช้ไม่ได้ผลแล้ว ขนาดโค้งสุดท้ายเอารูป “เผาบ้านเผาเมือง” มาช่วยหาเสียงก็ยังแพ้แทบจะเรียกได้ว่าไม่เห็นฝุ่น ในวันนี้พรรคประชาธิปัตย์ควรต้องปรับกระบวนท่ากันใหม่ ควรทำให้ประชาชนรัก ควรนิ่งและหยุดวิพากษ์วิจารณ์ฝ่ายตรงข้าม แค่ชี้แนะประชาชนก็มองเห็นแล้วครับ

ข้อสำคัญก็ คือต้องพยายามสร้างระบบ “ความรับผิดชอบ” ขึ้นมาทั้งภายในพรรคการเมืองและในตัวบุคคลด้วย เป็นไปได้อย่างไรที่ในการปราบปรามการชุมนุมมีคนเสียชีวิตร่วม 100 ศพ แต่สิ่งที่รัฐบาลทำนอกจากจะไม่แสดงความรับผิดชอบใด ๆ แล้ว กลับให้ข่าวว่าเป็นเรื่องของผู้ก่อการร้าย เป็นฝีมือของชายชุดดำ หากมีระบบความรับผิดชอบที่ดีอย่างน้อยนายกรัฐมนตรีในฐานะผู้บังคับบัญชาของ ข้าราชการทั้งประเทศควรต้องออกมาแสดงความรับผิดชอบบางอย่างต่อประชาชน หรือถือว่าประชาชนไม่ได้เลือกให้เข้ามาเป็นรัฐบาลแต่ได้มาเป็นรัฐบาลด้วย เหตุอื่นจึงไม่ต้องรับผิดชอบโดยตรงต่อประชาชนก็ไม่ทราบ

เปลี่ยนวิธีคิดและวิธีการทำงานใหม่ดีกว่านะครับ

โอกาสมีอยู่เสมอสำหรับพรรคประชาธิปัตย์ครับ !!!

ก่อน จบบทบรรณาธิการครั้งนี้ ก็ต้องขอฝากไว้กับทั้งน้องสาว เพื่อนและสื่อทั้งหลายด้วยว่า ควรทิ้งระยะให้ห่างจาก “พี่ชาย” เพราะไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม สถานะของ “พี่ชาย” ในวันนี้ก็ยังคงเหมือนเดิมคือ หนีการรับโทษตามคำพิพากษา การ “เข้าใกล้” มากเกินไปอาจเกิดผลเสียตามมากับรัฐบาลและประเทศได้ครับ