WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, November 22, 2011

3 อดีตผู้นำเขมรแดง ขึ้นศาลพิเศษข้อหาอาชญากรรมต่อมนุษยชาติแล้ววันนี้

ที่มา ประชาไท

อดีตผู้นำเขมรแดงที่มีบทบาทสังหารประชาชนชาวกัมพูชากว่า 2 ล้านคน เข้ารับการพิจารณาคดีต่อศาลพิเศษกัมพูชาในข้อหาอาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติและ ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์แล้ว โดยทั้งสามผู้นำยังคงปฏิเสธความรับผิดชอบใดๆ ในขณะที่ศาลพิเศษถูกกังขาเรื่องความน่าเชื่อถือ

วันนี้ (21 พ.ย.) ศาลพิเศษกัมพูชา หรือ Extraordinary Chambers in the Courts of Cambodia (ECCC) ในกรุงพนมเปญ ซึ่งสหประชาชาติให้การสนับสนุน ได้เริ่มเปิดการพิจารณาคดีอดีตแกนนำเขมรแดง 3 คน ซึ่งได้แก่นายนวน เจีย อดีตผู้นำอันดับสองรองจากพล พต นายเขียว สัมพัน อดีตผู้นำหน้าฉาก และนายเอียง ซารี อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศ โดยทั้งหมดถูกตั้งข้อหาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ

ชาวกัมพูชากำลังชมนิทรรศการในพิพิธภัณฑ์ตวล เสลง (Toul Sleng Museum)
ที่บันทึกเรื่องราวการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุในยุคสมัยเขมรแดง

การตั้งข้อหาดังกล่าวสืบเนื่องมาจากการปกครองภายใต้ระบอบเขมรแดง (Khmer Rouge) ซึ่งนำโดยพรรคคอมมิวนิสต์แห่งกัมพูชาในช่วงปี 2518-2522 ที่มีนโยบายทางเศรษฐกิจบังคับให้ประชาชนออกไปทำงานในหมู่บ้านหรือ "คอมมูน" ซึ่งนอกจากจะทำให้ผู้คนชาวกัมพูชาเสียชีวิตจากความอดอยากแล้ว ยังสังหารและทรมานประชาชนจำนวนมากที่ถูกตั้งข้อสงสัยว่าเป็นผู้ทรยศหรือเห็น ต่างต่อระบอบดังกล่าว ทำให้มีคนเสียชีวิตราว 2 ล้านคน หรือคิดเป็น 1 ใน 4 ของประชากรทั้งหมดในขณะนั้น

นอกจาก 3 คนนี้ ยังมีจำเลยอีกหนึ่งคนที่เป็นผู้ต้องหาในคดีดังกล่าว คือนางเอียง ธิริธ อดีตรัฐมนตรีกิจการสังคม ภรรยาของนายเอียง ซารี แต่เมื่อสัปดาห์ก่อนศาลเพิ่งตัดสินว่านางสุขภาพไม่แข็งแรงพอเพราะป่วยเป็น อัลไซเมอร์จึงไม่ต้องถูกนำตัวขึ้นศาล

คดีที่จะเริ่มเปิดการพิจารณาในวันนี้ เป็นคดีหมายเลข 002 มีจำเลยทั้งหมด 3 คน ซึ่งล้วนแต่เป็นผู้นำเขมรแดงในระดับนำที่ยังมีชีวิตอยู่ และมีอายุ 80 ขึ้นไปทั้งสิ้น โดยก่อนหน้านี้ มีผู้นำเขมรแดงถูกตัดสินจำคุก 35 ปีแล้วหนึ่งคน คือ เค็ง เก็บ เอียบ หรือ "สหายดุช" อดีตผู้บัญชาการเรือนจำโตน สะแลง ผู้รับผิดชอบการเสียชีวิตของประชาชนกว่า 14,000 คน ซึ่งภายหลังศาลได้ตัดสินให้ลดโทษเหลือ 19 ปี

ทั้งนี้ นักวิเคราะห์มองว่า การพิจารณาคดีดังกล่าว เป็นคดีที่มีความสำคัญและความซับซ้อนทางกฎหมายมากที่สุดในประวัติศาสตร์นับ ตั้งแต่เหตุการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุชาวยิวที่นูเรมเบิร์ก ประเทศเยอรมนีในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างไรก็ตาม ศาลพิเศษดังกล่าวที่ประกอบด้วยคณะผู้พิพากษานานาชาติ ถูกวิพากษ์วิจารณ์ถึงความเป็นอิสระและความเป็นกลาง เนื่องจากถูกมองว่ามีการแทรกแซงจากการทำงานจากเจ้าหน้าที่รัฐกัมพูชา และมีการซื้อตำแหน่งผู้พิพากษารวมถึงการไม่ให้ความร่วมมือจากผู้ที่เกี่ยว ข้อง ทำให้เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา หนึ่งในคณะผู้พิพากษาที่เป็นชาวเยอรมันยื่นจดหมายลาออก โดยให้เหตุผลว่าทางการกัมพูชาเข้ามาแทรกแซงมากเกินไป นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า ชาวกัมพูชาที่ได้ลงชื่อเป็นพยานในการไต่สวน ได้ถอนตัวจากการมีส่วนร่วมแล้ว โดยชี้ว่า การดำเนินคดีโดยศาลพิเศษดังกล่าวเป็นเพียงแค่การตบตาเท่านั้น

บางส่วนชี้ว่า ข้อจำกัดในการพิจารณคดี มีสาเหตุมาจากการเล่นการเมืองของเจ้าหน้าที่รัฐ และการที่อดีตสมาชิกเขมรแดงหลายคนยังคงดำรงตำแหน่งสูงในรัฐบาลปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นในระบบข้าราชการ ฝ่ายนิติบัญญัติและรัฐบาล เช่น เฮง สัมริน ประธานรัฐสภา และนายกรัฐมนตรีฮุน เซ็น ทำให้การค้นหาความจริงในคดีดังกล่าวเป็นเรื่องยากกว่าเดิม

เนื้อหาบางส่วนจาก สำนักข่าวแห่งชาติ