WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, November 23, 2011

รอวันเปิดโรงงาน: ความหวังหลังน้ำลดของคนงานอยุธยา

ที่มา ประชาไท

ย่านนิคมอุตสาหกรรม ที่อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา น้ำได้ท่วมขังมาเป็นเวลากว่าหนึ่งเดือน แม้สัปดาห์ที่ผ่านมา ระดับน้ำจะเริ่มลดลง และเริ่มมีการกู้โรงงาน แต่พื้นที่นอกคันกั้นน้ำ ยังมีพนักงานโรงงานในย่านดังกล่าวได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม และมีหลายกรณีที่เกิดการพักงาน หรือเลิกจ้างพนักงานโรงงานในช่วงที่เกิดน้ำท่วม โดยพวกเขาเหล่านั้นรอวันที่โรงงานจะกลับมาเดินเครื่องจักรตามปกติ และจ้างงานพวกเขาอีก



ประมวลภาพน้ำท่วมย่านโรงงานอุตสาหกรรม
อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา (12 พ.ย. 54)

พีระกานต์ มณีศรี คณะทำงานศูนย์ช่วยเหลือแรงงานที่ประสบอุทกภัย เล่าว่า หลังจากน้ำเริ่มท่วมที่บางปะอินเมื่อวันที่ 12 ต.ค. กลุ่มผู้ใช้แรงงาน จ.อยุธยาและใกล้เคียงก็เริ่มตั้งเต๊นท์ "ศูนย์ช่วยเหลือแรงงานที่ประสบอุทกภัย" บริเวณทางลงแยกต่างระดับบางปะอิน ตั้งแต่วันที่ 15 ต.ค. เป็นต้นมา

พีระกานต์ เล่าว่า การลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือจะแบ่งทีมงานออก เป็น 6 จุด ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ ไฮเทค บางปะอิน เฟคตอรี่แลนด์ วังน้อย นวนคร รังสิต มีทีมเรือ ทีมเอกสาร ทีมออกพื้นที่ ช่างดูแลเรือและรถ โดยจะมีทีมแพ็คของที่จะตรวจสอบว่าถุงยังชีพที่ได้มาแต่ละรอบ จะสามารถยังชีพได้หรือไม่ หากไม่พอจะจัดถุงใหม่เพื่อให้ประชาชนหรือคนงานที่ติดในหอพักสามารถ ยังชีพได้ อย่างน้อย 4-7 วัน ประกอบด้วยข้าวสาร 1 ถุง ประมาณ 3 กก. ปลากระป๋อง 2 กระป๋อง มาม่า 6 ห่อ น้ำ 6 ขวด อาหารสำเร็จรูปที่พอหาได้ สบู่ ยาสีฟัน ผงซักฟอก นอกจากนี้แล้วจะมีการตรวจวันหมดอายุด้วย

เงินและข้าวของบริจาคมาจากการระดมความช่วยเหลือของคณะกรรมการ สมานฉันท์แรงงานไทยและการประชาสัมพันธ์ผ่านทางสื่อต่างๆ โดยการลงพื้นที่แจกถุงยังชีพ จะทำไปพร้อมกับการสำรวจข้อมูลของแรงงาน ตั้งแต่ข้อมูลพื้นฐาน ค่าครองชีพ-หนี้สินที่ต้องใช้จ่าย ตลอดจนสถานะการทำงาน

พีระกานต์บอกว่า แม้จะมีบางรายที่ไม่อยากให้ข้อมูลเพราะกลัวผลกระทบ แต่ศูนย์ฯ ได้อธิบายถึงความจำเป็นว่า แม้จะไม่จำเป็นต้องมีบ้านเลขที่ เหมือนกรณีการรับความช่วยเหลือจากรัฐ แต่หากเพื่อนคนงานไม่ให้ข้อมูล ก็จะไม่มีฐานข้อมูลไปต่อรองหรือให้ข้อมูลกับรัฐบาลว่าแรงงานเรามีความเดือด ร้อนมากน้อยแค่ไหน และการจะรับของหรือถุงยังชีพ เราควรจะมีที่มาที่ไปว่า เรารับมา 100 ชุด ออกไปที่นี่กี่ชุด เพื่อบอกกับสื่อหรือผู้ที่มาบริจาคของว่าเรารับมาแล้วจ่ายไปให้ประชาชนหรือ แรงงานที่เดือดร้อนได้จริงๆ

โดยปัญหาที่คนงานในอยุธยาร้องเรียนมามีทั้งที่ยังไม่ได้รับค่าจ้าง ถูกเลิกจ้าง โดยส่วนใหญ่เป็นพนักงานจ้างเหมาค่าแรงและพนักงานรายวัน ซึ่งขณะนี้มีผู้มาร้องเรียนที่ศูนย์ฯ มากกว่า 1,000 รายแล้ว อย่างไรก็ตาม เชื่อว่ายังมีกรณีเช่นนี้อีกหลายรายแต่ยังเข้าไม่ถึงความช่วยเหลือและการ สำรวจ เนื่องจากมีบางส่วนที่ติดอยู่ตามหอพักในพื้นที่ไกลจากถนน ซึ่งเป็นเรื่องที่ศูนย์ฯ ต้องเร่งเข้าไปให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติม

เรวัตร์ อนันตศิริ อดีตพนักงานในนิคมอุตสาหกรรมไฮเทค เป็นอีกคนที่เพิ่งถูกเลิกจ้างมาหมาดๆ เล่าให้ฟังว่า โรงงานประกาศให้หยุดงานตั้งแต่วันที่ 9 ต.ค.ก่อนที่น้ำจะท่วม และจากการไปรับเริ่มถุงยังชีพ เขาก็เปลี่ยนตัวเองเป็นอาสาสมัครของศูนย์ฯ เพื่อให้ความช่วยเหลือเพื่อนคนงานในเขตคลองพุทราที่ตัวเองถนัด จากนั้นวันที่ 11 พ.ย.บริษัทโทรมาบอกว่าอยากเลิกจ้างพนักงานบางส่วนช่วงภาวะน้ำท่วม แต่จะจ่ายค่าแรง 75% สำหรับวันที่ 21 ต.ค.-12 พ.ย. แต่อีกสองเดือนให้ค่าแรงเต็มจำนวน ซึ่งเขามองว่านี่อาจจะเป็นค่าตกใจหรือค่าเลิกจ้าง

เรวัตร์บอกว่า มีคนงานที่ถูกเลิกจ้าง 40% ของพนักงานที่มีอยู่ ซึ่งมีทั้งพนักงานประจำและจ้างเหมา ค่าแรง ตัวเขาเองเป็นพนักงานประจำ ซึ่งปฏิบัติงานยังไม่ถึงหนึ่งปี อย่างไรก็ตาม เรวัตร์บอกว่า พวกเขาได้รับการแจ้งว่า คนที่ถูกเลิกจ้างไม่ได้หมายความโดนไล่ออก หากโรงงานเปิดทำการ ก็สามารถกลับไปสมัครงานได้เหมือนเดิม

"เหมือนเขาไม่อยากจะชดเชย 75% เลิกจ้างไปก่อน คือเสียเวลาเที่ยวเดียว แล้วจะเปิดรับสมัครใหม่" เรวัตร์แสดงความเห็นและเล่าว่า เขาทราบมาว่า โรงงานของเขาอาจจะเปิดทำการในเดือน ธ.ค.หรือต้นเดือน ธ.ค.

"จริงๆ แล้วไม่อยากได้เงินจ้างออก อยากให้บริษัทให้กลับไปทำงานต่อ ได้ค่าจ้างไม่เท่าค่าแรงมาตรฐานก็ได้ คือผมมีภาระหนี้สิน ถามว่าเงินที่จ้างมาอยู่ได้นาน ไหม ไม่นานหรอกครับ" เรวัตร์บอกและว่า "ให้ผมทำงานดีกว่าจ้างผมออก เพราะถ้าทำงาน ยังมีเงินมาเลี้ยงชีพ ซื้อนมลูก ผ่อนรถ เพราะอายุผมก็มากแล้ว ไม่รู้ว่าคุณเลิกจ้างผม ผมจะหางานได้หรือเปล่า ถ้าผมหางานไม่ได้ แฟนผมก็ทำคนเดียว ภาระก็ต้องตกอยู่ที่เขา"

ขณะที่ ดารา ฤทธิธรรม เพื่อนบ้านของเรวัตร์ เป็นอีกคนที่รอกลับเข้าทำงาน เธอเดินทางจากบ้านเกิดที่อุบลราชธานีมาทำงานในอยุธยาได้ 20 ปีแล้ว ดาราเป็นพนักงานรายวันในโรงงานเย็บชุดชั้นใน ซึ่งหยุดทำงานกันตั้งแต่วันที่ 12 ต.ค. ที่น้ำเริ่มเข้านิคมอุตสาหกรรม โดยพวกเธอได้รับแจ้งจากฝ่ายบุคคลให้หยุดงานอาทิตย์หนึ่งและรอดูสถานการณ์น้ำ หรือรอแจ้งจากหัวหน้างานอีกที

โดยล่าสุด เมื่อวันที่ 15 พ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวันที่ค่าแรงออก เธอบอกว่า บริษัทจ่ายให้ 75% (ตามมาตรา 75 พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน) และมีการเรียกให้พนักงานประจำเข้าไปทำความสะอาดโรงงานแล้ว ขณะที่พนักงานรายวันเช่นเธอนั้นยังไม่มีการเรียกใดๆ

"ตอนนี้ก็ลุ้นอย่างเดียว ถ้าได้ยินว่าบริษัทไม่เอาออก ก็ดีแล้ว ยังไงๆ ก็ต้องช่วยกันอีกทีว่าบริษัทจะเสียหายขนาดไหนก็ต้องช่วยเขา เพราะเขาช่วยเราก็ช่วยเขา ก็อยู่กันได้" ดารากล่าวอย่างมีความหวัง

ขณะที่สถานการณ์ล่าสุดมื่อ วันที่ 21 พ.ย.ที่ผ่านมา นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานคณะกรรมการฟื้นฟู จ.พระนครศรีอยุธยา เปิดเผยผ่านรายการ เปิดข่าวเด่นเจาะประเด็นดัง ทางคลื่น FM 102.75 MHz ว่า เริ่มทำการบิ๊กคลีนนิ่งเดย์ที่นิคมอุตสาหกรรมบางปะอินแล้ว หลังจากสูบน้ำออกจากพื้นที่ทั้งหมด และมีบางส่วนเริ่มเปิดการผลิตได้ แล้ว โดยเฉพาะธุรกิจเอสเอ็มอี ขณะที่นิคมอุตสาหกรรมอื่นๆ ก็กำลังเร่งสูบน้ำออกเช่นกัน และในวันที่ 25 พ.ย.นี้ จะมีการทำบิ๊กคลีน ที่นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ ซึ่งคาดว่า จะเปิดกิจการได้อีกครั้งในช่วงต้นเดือนธันวาคม ทั้งนี้ มั่นใจว่า จ.พระนครศรีอยุธยา นิคมอุตสาหกรรมทั้งหมด น่าจะกลับมาเปิดดำเนินการผลิตทั้งหมดได้ก่อนปีใหม่อย่างแน่นอน

ความหวั่นเกรงเรื่องมลพิษ: หลังการกู้นิคมอุตสาหกรรม
ในช่วงน้ำท่วม คนงานจำนวนมากที่ถูกให้หยุดงานมักไม่ได้รับการติดต่อจากบริษัท "ต้อม"เองก็เช่นกัน เขาเป็นพนักงานประจำแผนกฆ่าเชื้อของโรงงานผลิตนมกระป๋อง ในนิคมบางปะอิน ซึ่งรอดูว่าวันที่ 25 พ.ย.นี้ ซึ่งเป็นวันเงินเดือนออกนั้นจะเป็นเช่นไร เพราะเขาและเพื่อนดูเหมือนจะยังไม่มีใครได้รับการติดต่อจากบริษัทแม้ว่าใน ช่วงแรกๆ จะได้ความช่วยเหลือจากโรงงานในการจัดพาเลทมาให้ยกของหนีน้ำก็ตาม

"ต้อม" อาศัยอยู่กับ "โอ๋" ภรรยาและลูกสาวเล็กๆ อีกสองคนในบ้านที่ยกพื้นสูงกว่าสองเมตร แต่น้ำในปีนี้ก็ท่วมขึ้นมาถึงบนบ้านเลยทีเดียว ทำเอาต้องยกของขึ้นเตียง และย้ายไปอยู่บ้านญาติ เพิ่งจะพากันกลับมาหลังน้ำลดไม่นาน อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตว่า น้ำลดช้าลงหลังจากเริ่มมีการสูบน้ำ ออกจากนิคมฯ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น "ต้อม" เองก็สองจิตสองใจ ทางหนึ่งอยากให้นิคมฯ แห้งเพื่อจะได้กลับไปทำงานเร็วๆ แต่อีกทาง เมื่อเห็นคราบน้ำมันออกมากับน้ำก็รู้สึกไม่ดีนัก ทุกวันนี้ก็ไม่ปล่อยให้ลูกๆ เล่นน้ำ เพราะกังวลเรื่องสารเคมี