WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, November 22, 2011

"ซุปเปอร์ เอ็กซ์เพรส ฟลัดเวย์" ทางด่วนผัน "มวลน้ำ" แก้ท่วม กทม.ถาวร

ที่มา มติชน



ดย ตวงศักดิ์ ชื่นสินธุ




ที่ราบลุ่มภาคกลางกับสถานการณ์ "น้ำท่วม" เป็นสิ่งที่ปกติ เกิดขึ้นมายาวนานตั้งแต่อดีต

ใน สมัยรัชกาลที่ 5 ได้เริ่มมีการมีการรับมือกับปัญหาน้ำท่วม โดยใช้คูคลองธรรมชาติและคลองขุด เพื่อระบายน้ำออกจากพื้นที่เมืองหลวง นอกจากนี้ยังมีทุ่งน้ำ ไว้พักน้ำที่จะไหลบ่ามาจากทางภาคเหนือ ทำให้น้ำสามารถไหลลงทะเลได้อย่างเป็นระบบเป็นไปตามธรรมชาติ

ยุคสมัย ต่อมา มีการสร้างเขื่อนเพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้ช่วงหน้าแล้ง แต่ทว่าก็เกิดปัญหาตามมาคือ เมื่อปริมาณน้ำสะสมไว้มาก เมื่อมีการปล่อยน้ำออกจากเขื่อน น้ำทั้งหมดของหลายๆ เขื่อนก็ได้ไหลรวมมาสมทบกับน้ำจากแม่น้ำปิง วัง ยม น่าน รวมเป็นมวลก้อนใหญ่ รวมกันที่เขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท จนทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ราบลุ่มภาคกลางเป็นเรื่องปกติ หากแต่ว่าก็เป็นน้ำที่ลงสู่ท้องทุ่งนา

แต่ ปัจจุบัน เมื่อเขตเมืองขยายใหญ่ขึ้น บ้านเรือนผู้คน นิคมอุตสาหกรรม ซึ่งรุกล้ำเข้าไปในท้องที่นา ได้เป็นอุปสรรคขวางทางน้ำเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้น้ำไหลลงสู่เส้นทางธรรมชาติ ไม่ได้ จนในปีนี้ เมื่อปริมาณน้ำมีมาก จึงเกิด "มหาอุทกภัย" อย่างที่ทุกคนทราบกันดี

รศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล นักวิชาการหน่วยศึกษาพิบัติภัยและข้อสนเทศเชิงพื้นที่ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ข้อมูลว่า ประเทศไทยมีพื้นที่ต้นน้ำ มีแม่น้ำสำคัญไหลลงมาถึง 4 เส้น ครึ่งประเทศเป็นพื้นที่รับน้ำฝน มีน้ำแสนกว่าตารางกิโลเมตร สุดท้ายไหลบ่าลงมาที่แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำบางปะกง และแม่น้ำท่าจีน ดังนั้นตามธรรมชาติน้ำต้องล้นเมื่อลงทะเลไม่ทัน ต้องพักอยู่ที่พื้นที่น้ำท่วมถึง คือทุ่งน้ำ

"ที่ ผ่านมาเราไม่เข้าใจธรรมชาติ ความหมายของทุ่งน้ำก็คือ ทุ่งรังสิต ทุ่งบางบัวทอง ทุ่งบางเขน ทุ่งมีนบุรี ทุ่งฉะเชิงเทรา ทุ่งน้ำเหล่านี้จะเชื่อมต่อเป็นสายเดียวกันโดยเฉพาะทางตะวันออก ส่วนทางด้านฝั่งตะวันตกในอดีตไม่เคยผันน้ำออกอย่างที่ทำอยู่ในตอนนี้ เพราะมีสันทราย เป็นพื้นที่ซึ่งมีความสูง เมื่อผันไปแล้วน้ำก็จะเอ่อล้นกลับมาที่เดิม เพราะไม่ใช่เส้นทางน้ำหลากตามธรรมชาติ ซึ่งในอดีต ฝั่งธนบุรีไม่เคยถูกน้ำท่วมขนาดนี้" รศ.ดร.ธนวัฒน์ตั้งข้อสังเกต

ภาพการศึกษาน้ำท่วมในแต่ละปี



นัก วิชาการจากรั้วจามจุรี เล่าให้ฟังว่า ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 เป็นต้นมา น้ำท่วมเป็นเรื่องปกติ น้ำต้องท่วมเป็นไปตามธรรมชาติ ซึ่งน้ำท่วมใหญ่ๆ ในอดีตปี พ.ศ.2485 ตนได้สรุปเรื่องของการพัฒนาที่จะมีผลกระทบอยู่สองส่วนคือ การพัฒนาทรัพยากรน้ำ กับการพัฒนาของเมือง

*แต่หลังปี 2500 มีการสร้างเขื่อนเพิ่มขึ้น การขยายเมืองเพิ่มขึ้น รศ.ดร.ธนวัฒน์เริ่มศึกษาว่าจะมีวิธีในการแก้ปัญหาน้ำท่วมได้อย่างไร?*

รศ.ดร.ธนวัฒน์ เสนอว่า ควรมีการควบคุมการเจริญเติบโตของเขตเมือง เพราะถ้าปล่อยอีกสัก 50 ปี เมืองก็จะเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก และจะได้รับผลกระทบจากน้ำเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ จึงได้ร่วมกับคณะทำงาน โดยได้รับทุนสนับสนุนจาก สภาการวิจัยแห่งชาติ (สกว.) คิดหาทางแก้ไขปัญหาน้ำท่วมแบบหลายมิติ

และหนทางหนึ่งที่จะทำให้เชื่อมั่นได้ว่าจะทำให้น้ำไม่ท่วมเขตเมือง ก็คือ "ซุปเปอร์ เอ็กซ์เพลส ฟลัดเวย์ (Super Express Floodway)"

รศ.ดร.ธนวัฒ น์บอกว่า การจัดการเรื่องอุทกภัยจากน้ำจะต้องมององค์รวม ทั้งระบบตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ใช้ความรู้จัดการให้เป็นไปตามธรรมชาติ คือต้องเข้าใจน้ำ เพราะน้ำท่วมเกิดจากธรรมชาติ แต่จัดการได้ดีพอน้ำท่วมลดลงได้ อย่าไปแกล้งธรรมชาติ และควรเรียนรู้การจัดการน้ำแบบบูรณาการ ไม่มองปัญหาแยกส่วนแบบปัจจุบัน

หลัก วิชาการก็คือการใช้หลักโครงสร้างทาง อาทิ ขุดลอกคลองปรับปรุงทางน้ำ การสร้างระบบการผันน้ำ พื้นที่ปิดล้อมแบบกำแพงกั้นน้ำเจ้าพระยาของ กทม. ใช้แก้มลิง ฯลฯ เหล่านี้คือการบูรณาการทุกอย่างอย่างเป็นระบบ

(บน)ต้นแบบของคลองพิเศษ (ล่าง) ในอดีตพื้นที่เกษตรกรรมเป็นทุ่งรับน้ำ



"น้ำ ท่วมในปีนี้ที่เกิดผลกระทบอย่างมหาศาล การแก้ปัญหาการระบายน้ำโดยใช้เส้นทาง ฟลัดเวย์ แบบเดิมที่มีอยู่ไม่ได้ผลเท่าที่ควรจะเป็น เพราะมีชุมชน ถนน ขวางทางน้ำทั้งหมด โอกาสที่จะไปรื้อตัวที่ขวางน้ำทำได้ยาก ซึ่งในอนาคตจะทำอย่างไรต่อไปถ้าเกิดน้ำท่วมแบบปัจจุบันอีก ก็อยากจะเสนอการใช้คลองพิเศษ หรือเส้นทางด่วนพิเศษ ใช้คลองที่มีอยู่เดิม คือจากเขื่อนเจ้าพระยาใช้คลองชัยนาท-ป่าสัก ต่อด้วยคลองระพีพัฒน์ใต้ ต่อด้วยคลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต

"ในหลักการคือ สร้างถนนมอเตอร์เวย์สายใหม่ แต่ต้องยกขึ้นระดับสูง 3 เมตร สามารถใช้เส้นทางไปทางเหนือ-อีสานได้ใช้เวลาไม่มาก ตรงกลางรระหว่างถนนจะเป็นที่ระบายน้ำท่วม ก็คือแนวคลองเดิมที่มีอยู่ แต่ต้องมีการขุดลอกให้น้ำไหลได้สะดวก น้ำจะไหลได้สะดวกตามธรรมชาติ ไม่ต้องสูบน้ำ ผันน้ำสู้เหมือนอย่างที่เป็นอยู่ เพราะการสู้กับธรรมชาตินั้นไม่มีทางชนะ"
รศ.ดร.ธนวัฒน์เสนอ

ซึ่งหมายความว่า ในการลงทุนระบบโครงสร้างครั้งนี้ ต้องมีการเวนคืนชาวบ้านที่อาศัยอยู่ริมคลอง

"ต้อง ทำความเข้าใจกับชาวบ้าน เรื่องการชดเชยต้องคุ้มค่า และก็มีข้อแม้หากใครเป็นเจ้าของก็ยังมีกรรมสิทธิ์ทำนาต่อได้ ช่วงน้ำมากๆ ทำนาได้สองครั้ง เก็บเกี่ยวเสร็จถึงฤดูน้ำหลากปล่อยน้ำไหลมาตามธรรมชาติ พื้นที่ตรงนี้จะเป็นที่นาที่ใหญ่ที่สุดในอนาคต ถ้าตอนหน้าน้ำขึ้นตัวพื้นที่นี้จะทำหน้าที่สองแบบ คือ 1.เป็นแก้มลิงเก็บกักน้ำ และ 2.เป็นเส้นทางระบายน้ำจากชัยนาทไปถึงคลองด่าน จ.สมุทรปราการได้ รวมระยะทาง 200 กิโลเมตร สามารถจุน้ำได้ 1,600 ล้านลูกบาศก์เมตร

"นอกจากนั้นตัวคลองพิเศษนี้จะสามารถระบายน้ำด้วย ตัวมันเองได้ ไหลไปตามธรรมชาติ ไม่ต้องมีการเร่งสูบ สามารถระบายได้ 6,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เท่ากับวันละ 500 ล้านลูกบาศก์เมตร ไปลงทะเลที่คลองด่าน"

รศ.ดร.ธนวัฒน์ บอกถึงซุปเปอร์ เอ็กซ์เพลส ฟลัดเวย์ ว่าเป็นทั้งทางด่วนน้ำและทางด่วนของรถยนต์ ของคนที่ใช้ถนน สามารถแก้ปัญหาน้ำท่วมได้อย่างยั่งยืนถาวรที่สุด

นอกจากมี "ทางด่วนผันน้ำ" แล้ว นักวิชาการจากรั้วจามจุรี เสนอว่า ควรมีการจัดระบบในการทำกั้นน้ำแบบเชื่อมโยงกันในทุกจังหวัดที่อาจได้รับผล กระทบจากน้ำท่วม ไม่ใช่ต่างคนต่างทำ เพราะถ้าต่างคนต่างทำอย่างที่เป็นอยู่นั้น น้ำที่ไหลนอกคันกั้นของแต่ละเมืองจะไหลแรงมาก อาจทำให้น้ำไม่อยู่ในระบบที่จะได้ได้ตามธรรมชาติ อาจทำให้เกิดน้ำท่วมได้

"เรา ต้องเริ่มคิดใหม่ทั้งหมด ต้องมีการขุดลอกคูคลองที่ระบบที่เป็นเส้นทางระบายน้ำ ทั้ง กทม.และจังหวัดที่อยู่ในเส้นทางน้ำ ปรับปรุงระบบเตือนภัย การปล่อยน้ำจากเขื่อนต้องประสานกันเป็นระบบเพื่อการเตือนภัยให้ประชาชนได้ ทราบข่าวน้ำก่อนล่วงหน้า ต้องมีแผนแม่บทระยะเวลาเพาะปลูกในลุ่มน้ำท่วม ปลูกให้เป็นเวลาเดียวกัน เก็บเกี่ยวเวลาเดียวกัน มีการจ่ายเงินชดเชยพื้นที่น้ำต้องขัง และต้องมีอนุรักษ์พื้นที่แก้มลิงด้วย"

รศ.ดร.ธนวัฒน์ ยังมีความเห็นต่อเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งนี้ และน่าสนใจเตรียมเป็นแนวทางแก้ปัญหาหากเกิดขึ้นอีกในอนาคต เกี่ยวกับเรื่องมาตรการในการแก้ปัญหาป้องกันทรัพย์สินเมื่อถูกน้ำท่วม

"รัฐบาล ต้องประกาศเป็นเขตภัยพิบัติรุนแรง ห้ามเข้า-ออก ต้องอพยพผู้คนออกมาให้หมด เพื่อให้เป็นพื้นที่เฉพาะของเจ้าหน้าที่ หากมีคนเข้าไปก็จะรู้ได้ทันทีว่าเป็นผู้ร้าย โดยในการอพยพในพื้นที่ภัยพิบัติรุนแรงนี้ ต้องมีกฎหมายรองรับ ใครไม่ออกมีความผิด" ศ.ดร.ธนวัฒน์กล่าว

สุดท้ายได้เสนอว่า ควรจะจัดตั้งหน่วยงานที่ดูแลวิบัติภัยทั้งระบบ ส่งเสริมงานวิจัยลดวิบัติภัยทั้งระบบ และองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ด้วย

หน้า 16,มติชนรายวัน ฉบับวันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน 2554