WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, November 22, 2011

ควันหลง 'อภัยโทษ' สู่โจทย์ 'นิติราษฎร์'

ที่มา ประชาไท

พวกเราอย่ายอมให้คำแถลงของ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ที่ยืนยันว่า “คุณทักษิณ” ไม่เข้าข่ายผู้ที่จะได้รับการอภัยโทษ (ตามร่างพระราชกฤษฎีกาที่เป็นข่าว) ทำให้พวกเราสบายใจแล้วกลับไปเครียดกับน้ำท่วมเอาเสียง่ายๆ

แต่ขอให้พวกเรากลับมาทบทวนแบบน้ำนิ่งไหลลึกว่า “กระแสข่าว” การอภัยโทษ และ “กระแสตอบรับ” ที่ผ่านมานั้นได้ทำให้เราเห็น “ควันหลงเรื้อรัง” อะไรในสังคมไทยที่น่าเป็นห่วงยิ่งไปกว่าปัญหาของคนที่รักหรือไม่รัก “คุณทักษิณ” เสียด้วยซ้ำ ?

1. ควันหลงถึงผู้ตื่นตระหนก: ท่านไว้ใจรัฐบาลนามสกุลชินวัตรได้นานแค่ไหน?
ในบทความนี้ ผู้เขียนไม่ติดใจจะตัดสินว่าคุณยิ่งลักษณ์มีเจตนาจะช่วยพี่ชายตนเองหรือไม่ อย่างไร แต่ผู้เขียนต้องการจะสื่อสารไปยังผู้ที่ตื่นตระหนกเพราะเชื่อว่าคุณยิ่ง ลักษณ์มีเจตนาจะช่วยพี่ชายตนเองโดยแน่ แล้วถามต่อว่า การะแสข่าว “การอภัยโทษ” เพียงไม่กี่วันก่อนได้เกิดขึ้นอย่างฉับพลันและน่าตื่นตระหนกเพียงนี้ แล้วอะไรจะเป็นหลักประกันว่า รัฐบาลชุดนี้ หรือรัฐบาลหลังการปลดปล่อยบ้าน 111 ชุดหน้าจะไม่พยายามดำเนินการ ทำนองนี้อีก ?

อย่าลืมว่านอกจากกฎหมายจะเปิดช่องให้การ “อภัยโทษ” ทำตามวาระโอกาสได้เรื่อยๆ โดยไม่ต้องผ่านสภาแล้ว รัฐบาลยังมีเครื่องมืออื่น เช่น การ “นิรโทษกรรม” กล่าวคือ ไม่ใช่แค่ให้อภัยธรรมดา แต่ถึงกับลบล้างความผิดจนไร้โทษ หรือหากจะแยบยลกว่านั้น ก็อาจใช้วิธี “ชะลอการลงโทษ” (reprieve) หรือลด-เปลี่ยนโทษ (commute) เช่น แทนที่จะให้จำคุก ก็นำตัวมากักขังในบ้านแทน (house arrest/home confinement) ก็เป็นได้

คำถามคือ ประชาชนฝ่ายที่ตื่นตระหนกกับการช่วยเหลือคุณทักษิณนั้น จะเล่นบทบาทได้แต่เพียงผู้ตามเก็บหมากที่เดินโดยนักการเมืองและต้องมาทนลุ้น ระทึกกับกระแสข่าวเป็นระยะต่อไปเช่นนี้ หรือจะมีวิธีการรวมพลังกับฝ่ายที่ไม่ตื่นตระหนกเพื่อจัดการให้เหตุนี้คลี่ คลายไปได้ (นอกไปจากการชุมนุมที่ยืดเยื้อ หรือการอาศัยอำนาจนอกระบบ) หรือไม่ ?

หนึ่งในวิธีที่เป็นไปได้นั้น อาจต้องลองนึกย้อนไปถึงข้อเสนอนิติราษฎร์ หากเรานำข้อเสนอดังกล่าวมาปรับปรุงให้ประชาชนเป็น “ฝ่ายรุก” ผ่านกระบวนการเจรจาต่อรองก่อนทำประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยกระทำอย่างเปิดเผยและทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมได้ เพื่อออกแบบวิธีล้างคำพิพากษาเก่า แล้วนำคุณทักษิณและผู้อื่นกลับเข้าสู่กระบวนการศาลใหม่ในยามปกติ โดยต้องมีขั้นตอนเชื่อมโยงที่รัดกุมชัดเจนและเป็นธรรมกับทุกฝ่าย (ผู้เขียนไม่ได้เจาะจงไปที่ศาล แต่กำลังพูดถึงกระบวนการเชื่อมโยงจากการล้างคดีเก่าไปสู่การเริ่มต้นคดีใหม่ มิใช่ล้างแล้วปล่อยไว้ลอยๆ ถึงเวลา ป.ป.ช. ไม่ฟ้อง อัยการไม่ฟ้อง ทุกอย่างเงียบไป ความรุนแรงก็อาจกลับมาอีก)

หากทำได้เช่นนี้ จะเข้าท่ากว่าการปล่อยให้ประชาชนเป็น “ฝ่ายรับ” เก็บหมากการเมืองหรือไม่ ?

ผู้เขียนเคยเตือนไปแล้ว และก็จะเตือนอีกครั้งว่า หากท่านไม่พอใจกับข้อเสนอนิติราษฎร์ เพียงเพราะท่านไม่พอใจคุณทักษิณ ก็ขอท่านทบทวนให้ดีว่า “คุณทักษิณในแบบที่ท่านไม่พอใจ” มีเครื่องมืออื่นที่ดีและสะดวกทางยิ่งกว่าข้อเสนอนิติราษฎร์อีกมากจริงหรือ ไม่ ?

2. ควันหลงถึงขบวนการนิติราษฎร์: ท่านพร้อมจะสร้างพันธมิตรทางความคิดของท่านมากแค่ไหน?
ขบวนการนิติราษฎร์ก็เช่นกัน ผู้เขียนเคยเตือนไปแล้ว และก็จะเตือนอีกครั้งว่า ผู้ที่พร้อมจะร่วมอุดมการณ์ล้มล้างลัทธิรัฐประหารพร้อมกับท่านนั้นมีอยู่มาก แต่เขาเหล่านั้นอาจจะไม่อยากร่วมเป็นแรงสนับสนุนท่านเลย หากวิธีการนำเสนอและสื่อสารของท่านยังคงแข็งทื่อ และกวาดมองว่า ผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของท่านในทันทีต้องเป็นผู้สมยอมลัทธิรัฐประหาร ในทันใด ในโลกนิติศาสตร์ปัจจุบันที่ก้าวพ้นยุคของหลักการทฤษฎีในหมู่ผู้ปกครองนี้ ท่านไม่อาจยึดมั่นแต่เพียง “กฎหมายที่ควรจะเป็น” เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจใน “มนุษย์ที่เป็นอยู่” เช่นกัน

ขบวนการนิติราษฎร์อาจเริ่มขยายพันธมิตรจากภายในสถาบันเก่าแก่ที่ภูมิใจใน เสรีภาพทางวิชาการของท่าน หากท่านทำให้เพื่อนผู้ทรงปัญญารู้สึกมีส่วนร่วมและได้รับอัธยาศัยทางวิชาการ ที่ตอบรับกับสภาพความคาดหวังของเขาหล่านั้นไม่ได้ สถาบันของท่านก็จะไม่ต่างอะไรไปกับสถาบันเก่าแก่อีกแห่งที่ภูมิใจในความเป็น น้องพี่ที่กลมเกลียว แต่เกรงใจกันจนไม่ค่อยได้พบเห็นนวัตกรรมทางความคิดอะไรได้สะดวกนัก

ผู้เขียนขอเป็นกำลังใจให้ขบวนการนิติราษฎร์ได้พัฒนาปรับปรุงข้อเสนอที่ ไม่เพียงสะท้อนหลักการทางกฎหมาย แต่ยังสอดคล้องกับจิตวิทยาทางการเมืองอย่างแหลมคมและแยบยล โดยเฉพาะในประเด็นจุดเชื่อมโยงระหว่างการล้มล้างคดีเก่าและการเริ่มต้น กระบวนการใหม่ให้มีการเชื่อมโยงที่รัดกุมและเป็นธรรมกับทุกฝ่าย เพื่อรวมพลัง “ฝ่ายที่ไม่เอารัฐประหารตราบใดที่ทักษิณรับผิด” เข้ากับ “ฝ่ายที่ไม่เอารัฐประหารไม่ว่าทักษิณจะต้องรับผิดหรือไม่” และเชื้อเชิญ “ฝ่ายที่เชื่อว่ายังไงทักษิณก็ไม่ผิด” เพราะหากคุณทักษิณบริสุทธิ แล้วจะมีเหตุใดต้องกลัวศาลพิจารณาคดีใหม่

ไม่แน่ว่าขบวนการนิติราษฎร์ อาจนำไปสู่การรวมกลุ่มอำนาจในสังคมไทยเข้าด้วยกันอย่างไม่เคยปรากฏขึ้นมาก่อนก็เป็นได้!

3. ควันหลงถึงครูบาอาจารย์สื่อสารมวลชน: จรรยาบรรณว่าด้วยแหล่งข่าวอยู่ที่ใด?
“การแสข่าวอภัยโทษ” เริ่มต้นมาจาก “แหล่งข่าว” ที่ไม่เปิดเผย เคราะห์ดีที่เหตุการณ์ดูจะคลี่คลายหลังมีการแถลงข้อแคลงใจจนมีการยุติการ เคลื่อนไหวชุมนุม ซึ่งหากรายละเอียดเป็นจริงมาแต่ต้น เหตุใดรัฐบาลจึงไม่อธิบายให้ชัดมาแต่แรก? และแหล่งข่าวที่ว่านี้คือใคร ? สำนักข่าวใดได้ข่าวนี้มาแต่แรก? มีการตรวจสอบและรายงานระดับความน่าเชื่อถืออย่างไร? แหล่งข่าวนี้สมควรจะได้สอบถามความจริงได้จาก พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก แต่แรกหรือไม่ ? หากสุดท้ายรัฐบาลอธิบายไม่ทันจนเกิดการปะทะวุ่นวายในยามวิกฤตเช่นนี้ สื่อหรือผู้ใดจะเป็นผู้รับผิดชอบ ?

หากสื่อมวลชนผู้มีจรรยาบรรณตอบคำถามเหล่านี้ไม่ได้ ประชาชนก็อย่าได้แต่รอ ขอให้ท่านได้ใช้ช่องทางที่กฎหมายให้อำนาจท่านไว้ ไม่ว่าจะเป็นการขอข้อมูลเกี่ยวกับการประชุม ครม. ลับที่เป็นข่าว โดยอาศัยช่องทางตาม “พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540” เพื่อให้มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร อีกวิธีคือการเรียกร้องกดดันให้ผู้แทนของท่านในสภาได้ใช้อำนาจตาม “พระราชบัญญัติคำสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา พ.ศ. 2554” เพื่อเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลว่าข้อเท็จจริงเรื่องนี้ที่มาที่ไป เป็นอย่างไร หรือเป็นเพียงการสร้างกระแสผ่านสื่อมวลชนอันเป็นการซ้ำเติมความกังวลให้กับ พี่น้องประชาชนที่ลำบากในยามน้ำท่วมเช่นนี้?

หวังว่าเพดานทางปัญญาของสื่อมวลชนไทยจะไม่จบที่การ “ตีข่าวหักมุม” หรือ “วิเคราห์ทางที่หินถูกโยน” แต่เพียงนั้น

4. ควันหลงถึงพวกเราทุกคน: คนไทยมีปัญญาเพียงแค่ยกมวลชนตีกันเช่นนั้นหรือ?
อาการเรื้อรังของสังคมไทยที่ปรากฎชัดจาก “กระแสการอภัยโทษ” นั้น ไม่ได้ต่างไปจาก “กระแสประตูระบายน้ำ” ในภาวะวิกฤติอุทกภัย ทั้งสองเหตุการณ์พิสูจน์ว่า ในยามที่สังคมไทยมีปัญหานั้น ก็เป็นจริงดังที่ถูกสอนให้เชื่อว่าคนไทยสามัคคีกลมเกลียวเป็นหนึ่งเดียวจริง แต่สามัคคีกลมเกลียวเฉพาะกับ “พวกเดียวกัน” เท่านั้น

แต่สังคมไทยยังไม่คุ้นชินกับการต่อสู้ตามกติกาที่ต้องรอ ผู้เขียนเป็นห่วงอย่างยิ่งกับตรรกะของฝ่ายที่กล่าวว่ารัฐบาลไม่ควรเสนอการ อภัยโทษตามข่าว เพราะจะทำให้ผู้คนแตกแยกออกมาตีราฆ่าฟันกันอีกรอบ ซึ่งเป็นตรรกะที่อันตรายไม่ต่างไปจากการยอมให้บ้านเมืองปกครองโดยกำลังมวลชน เป็นสำคัญ (might is right) หากคิดได้เช่นนี้ ต่อไปการกระทำใดจะถูกต้องชอบธรรมหรือไม่ ก็คงดูแต่เพียงว่าจะมีผู้เคลื่อนไหวปะทะกันหรือไม่ หากมีกำลังปะทะ ก็ไม่ควรทำ กระนั้นหรือ ?

ตรรกะที่ถูกต้อง คือการถามว่า การกระทำนั้นถูกกฎหมายหรือไม่ และหากเราเชื่อว่าการออกมาขออภัยโทษตามข่าวเป็นการใช้อำนาจที่ผิดกฎหมาย แต่รัฐบาลยืนยันว่าตนมีอำนาจตามกฎหมาย เราก็ต้องใช้อำนาจทางปัญญาต่อสู้ตามกฎหมาย ไม่ว่าจะคัดค้านโดยสันติ จะเข้าชื่อแก้กฎหมาย หรือสู้คดีในศาล ฯลฯ การชุมนุมกันไม่ควรถูกสันนิษฐานว่า จะต้องเป็นการยกมวลชนตีกัน ส่วนใครที่ใช้วิธีก่อความไม่สงบนอกวิถีแห่งกฎหมาย กฎหมายก็ต้องจัดการโดยเด็ดขาดให้ประจักษ์เป็นปกติ และหากรัฐใช้กำลังเกินควร ก็ต้องหาคนรับผิดชอบตามปกติ จะบอกว่าสิ่งเหล่านี้ยากเกินปัญญาคนไทยนั้น กระนั้นหรือ ?

ตรงกันข้าม หากเรายอมเชื่อว่าการออกกฎหมายอภัยโทษตามข่าวเป็นการใช้อำนาจที่ “ผิดกฎตามใจฉัน” หรือ “ผิดเกณฑ์ศีลธรรมความดีงามบาปบุญคุณโทษอันเป็นสัจจะของฉัน” และในเมื่อจิตใจและความดีงามของแต่ละคนไม่เหมือนกัน วิธีแก้ปัญหาก็คงวนเวียนอยู่กับวาทกรรมมักง่ายที่ว่า “อย่าทำมันเลย เดี๋ยวคนเขาตีกัน…แต่ถ้ามันยังทำ ฉันก็จะตีมัน”

แม้ผู้เขียนจะไม่อยากให้สังคมไทยกลายเป็นสังคมที่ทนายวิ่งไล่รถพยาบาล แต่ก็สงสัยเหลือเกินว่า คนไทยเรามีปัญญาเพียงพอที่จะไม่หลีกเลี่ยงปัญหาเพียงเพราะข้ออ้างมวลชนปะทะ กันได้หรือไม่หนอ ?

หมายเหตุ
บทความนี้ต่อเนื่องจากบทความของผู้เขียนเรื่อง “รัฐประหาร - ทักษิณ - นิติราษฎร์: ๓ คำเตือนที่คนไทยต้องรู้” ที่ http://on.fb.me/nd9GR1

บทสัมภาษณ์ความเห็นทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง ชมได้ที่

- รายการคมชัดลึก: http://www.youtube.com/watch?v=Pp25gkDQG1Y
- รายการสถานี Bluesky Channel: http://livestre.am/18ynP
- รายการ ASEAN Newsroom (ภาษาอังกฤษ): http://www.youtube.com/watch?v=kxGQA4-s1hk