WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, February 12, 2012

1รอบศตวรรษปฏิวัติ2455ความคิดล้ำยุคเรื่อง′ประชาธิปไตยสยาม'ของผู้มาก่อนกาลเมื่อ100ปีก่อน

ที่มา Thai E-News




โดย วิภา จิรภาไพศาล
ที่มา มติชนรายวัน

วันที่ 24 มิถุนายน ปีนี้เป็นวันครบรอบ 80 ปีของการเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศสู่ "ระบอบประชาธิปไตย" โดยคณะราษฎร เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475

หากแนวคิดเรื่องประชาธิปไตยในประเทศเกิดขึ้นมาก่อนหน้านั้นหลายปี

ที่มีหลักฐานเป็นเรื่องเป็นราวคือความพยายาม เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ.2455 หรือ การปฏิวัติ ร.ศ.130 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

หากคณะ ร.ศ.130 ต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากผู้นำสูงสุดเพียงผู้เดียวที่สืบทอดอำนาจด้วย การแต่งตั้ง สู่ระบอบประชาธิปไตย ซึ่งแนวทางขณะนั้นคือ "รีพับลิก" แบบฝรั่งเศส, จีน, อเมริกา ฯลฯ หรือ "ลิมิตเต็ด มอนากี้" แบบอังกฤษ, ญี่ปุ่น ฯลฯ

แม้การปฏิวัติจะไม่บรรลุผล แต่ความคิดเรื่องระบอบประชาธิปไตยก็แจ้งเกิดบนเวทีการเมืองสยาม ถึงจะเป็นของผิดกฎหมายก็ตาม

เหตุการณ์ผ่านไปจะครบ 100 ปี ในเดือนเมษายนนี้ ก็คงผ่านไปเหมือนเหตุการณ์อื่นๆ หาก ณัฐพล ใจจริง ค้นคว้าเอกสารหลายฉบับที่ทำให้เราท่านได้เห็นความคิดของผู้นำฝ่ายต่างๆ ในนิตยสาร "ศิลปวัฒนธรรม" ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ ในบทความชื่อว่า "สยามบน′ทางสองแพร่ง′ : 1 ศตวรรษของพยายามปฏิวัติ ร.ศ.130"

ความเห็นของผู้นำในคณะ ร.ศ.130 ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองแบ่งเป็น 2 แนวคิด คือ รีพับลิก และลิมิตเต็ด มอนากี้ กลุ่มผู้ก่อการได้แก่ ร.อ.ขุนทวยหาญพิทักษ์, ร.ต.เหรียญ ศรีจันทร์, ร.ท.จรูญ ณ บางช้าง, ร.ต.เนตร พูนวิวัฒน์, ร.ต.เจือ ศิลาอาสน์, ร.ต.เขียน อุทัยกุล, ร.ต.วาส วาสนา, ฯลฯ มีแนวคิดให้เปลี่ยนเป็นการปกครองแบบ "รีพับลิก"

โดยให้เหตุว่า 1.การปกครองแบบ "ลิมิตเต็ด มอนากี้" อาจทำให้เกิดการหมุนกลับไปสู่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อีก 2.ประหยัดงบประมาณแผ่นดินในส่วนของราชสำนัก 3.ประชาชนเป็นผู้เลือกผู้ปกครอง (ประธานาธิบดี)
ร.อ.ขุนทวยหาญพิทักษ์ (หมอเหล็ง ศรีจันทร์) ผู้นำของคณะนักปฏิวัติ พ.ศ.2455 หรือ 100 ปีที่แล้ว

ในบันทึกที่ชื่อ "ว่าด้วยความเสื่อมซามแลความเจริญของประเทศ" หลักฐานสำคัญชิ้นหนึ่ง ที่เขียนด้วยลายมือของ ร.อ.ขุนทวยหาญพิทักษ์ (เหล็ง) บันทึกว่า

"ถ้าประเทศหนึ่งประเทศใด รู้จักจัดการปกครองดี โดยใช้กฎหมายแลแบบธรรมเนียมที่ยุติธรรมซึ่งไม่กดขี่และเบียดเบียนให้ราษฎร ได้รับความเดือดร้อน ประเทศนั้นก็จะมีความเจริญรุ่งเรืองแลศรีวิลัยยิ่งขึ้นทุกที เพราะราษฎรได้รับความอิศรภาพเสมอหน้ากัน ไม่มีใครที่จะมาเป็นเจ้าสำหรับกดคอกันเล่นดังเช่นประเทศซึ่งอยู่ในยุโหรปแล อเมริกา"

กลุ่มของสมาชิกที่เพิ่มขึ้นภายหลัง ค่อนข้างประนีประนอม มีแนวคิดให้เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นแบบ "ลิมิตเต็ด มอนากี้" โดยให้เหตุผลว่า 1.ประชาชนยัง "โง่เขลา" 2.ผู้ปกครองที่เสียอำนาจไม่ได้เคียดแค้นทำตัวเป็นศัตรูตลอดกาลขณะที่พระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าเกล้าอยู่หัวผู้นำสูงสุดที่ปกครองบ้านเมืองในขณะ นั้น ทรงมีความคิดเห็นต่างออกไป


คำว่า "ศรีวิลัย" ของ ร.ศ.130 ซึ่งถอดมาจาก "civilize" พระองค์ทรงใช้วิธีเขียนทับศัพท์ว่า "ศิวิไลซ์" และทรงวินิจฉัยความหมายของคำว่า เป็นภาวะที่จะนำมนุษย์ไปสู่ความตกต่ำเสื่อมทรามทั้งคุณธรรมและจริยธรรม โดยความเสื่อมทรามดังกล่าวเกิดจากการเลียนแบบชาวยุโรป

นอกจากนี้ยังมีพระบรมราชวินิจฉัยถึง "ความเสมอภาค" ว่าเป็นสิ่งที่ไม่สามารถสร้างให้เกิดขึ้น แม้ระบอบประชาธิปไตยที่มักอ้างอิงเรื่องของความเสมอภาคก็ไม่สามารถสร้างความ เสมอภาคได้เช่นกัน

โดยจดหมายเหตุรายวันในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวบันทึกเรื่องนี้ว่า

"การที่จะแก้ไขความไม่เสมอหน้ากันและแก้ความไม่พอใจอันบังเกิดขึ้นแต่ความ ไม่เสมอหน้ากันนั้นก็เห็นจะมียาอยู่ขนานเดียวที่จะแก้ได้ คือ การจัดลักษณการปกครองเปนอย่างประชาธิปไตย

แต่ยาขนานนี้ก็ได้มีชาติต่างๆ ลองใช้กันมาหลายรายแล้ว มีจีนเปนที่สุด ก็ยังไม่เห็นว่าเปนผลได้จริง ไม่บำบัด ′โรคอิจฉา′ และ ′โรคมักใหญ่มักมาก′ แห่งพลเมือง จึ่งเปนที่จนใจอยู่"

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงโต้แย้งข้อกล่าวหาของ "คณะ ร.ศ.130" ที่วิจารณ์การบริหารราชการภายใต้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นเหตุให้เกิดคน ยากจนมากมายในราชอาณาจักรว่า

ไม่มีหลักฐานใดชี้ว่าพสกนิกรของพระองค์อดตาย พระองค์ทรงยกตัวอย่างว่า ณ เวลานั้น รถไฟของสยามยังบรรทุกคนหัวเมืองหรือ "ชาวบ้านนอก" เข้ามายังกรุงเทพฯ ตลอดเวลาเพื่อมาเล่นการพนันและหวย พสกนิกรของพระองค์มีที่ดิน มีอาหารบริบูรณ์ เงินไม่มีความสำคัญกับพวกเขา

ในพระราชนิพนธ์ "โคลนติดล้อ" บทที่ 7 เรื่อง ความจนไม่มีจริง พระองค์ทรงยืนยันว่า เงินมีประโยชน์สำหรับพสกนิกรของพระองค์เพียง 2 ประการเท่านั้น คือ "(1) เสียภาษีและ (2) เล่นการพนัน"

ตัวอย่างความคิดเห็นของผู้นำฝ่ายต่างๆ ที่ยกมาข้างต้นนั้น เป็นเพียงบ้างส่วนจากบทความของณัฐพล ที่ช่วยทำให้เราเห็นทัศนคติของบรรดาผู้นำที่มีต่อประชาชน ต่อบ้านเมือง ในอดีต และยังมีผลจนถึงปัจจุบัน


........

(ที่มา:มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 7 ก.พ.2555) บทความเดิมชื่อ ความคิดเห็นเรื่อง′ประชาธิปไตย′ ของผู้นำสยามเมื่อ พ.ศ.2455