WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, February 12, 2012

หลายชาติอาสาเจรจาดับไฟใต้หวั่นรัฐจับตานักเรียนไทยในอินโด

ที่มา ประชาไท

อารีด้า สาเม๊าะ โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (DSJ)

เผยหลายชาติอาสาเจรจาดับไฟใต้ กระทรวงต่างประเทศแนะให้ถามคนในพื้นที่ อยากได้อะไร ครูอิสลามร้องเผยชื่อมหาวิทยาลัยต้องห้ามในอินโด หวั่นเจ้าหน้าที่รัฐยังจับตากระทบอนาคตเด็ก กต.ยันไม่มีนโยบายตรวจสอบพฤติกรรมนักเรียนไทยในต่างประเทศ

เมื่อเวลา 11.30 น. เมื่อวันที่ 7 ก.พ. 55 ที่โรงแรมบีพี แกรนด์เทาเวอร์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลานายณรงค์ บุญเสถียรวงศ์ หัวหน้ากลุ่มงานความมั่นคงระหว่างประเทศ สำนักนโยบายและแผน สำนักปลัดกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) บรรยายหัวข้อ “ประเด็นชายแดนใต้ในเวทีระหว่างประเทศ” ในงานสัมมนานักจัดรายการวิทยุมุสลิมระดับภูมิภาค

นายณรงค์ บรรยายว่า มีหลายประเทศที่เสนอเป็นเจ้าภาพในการพูดคุยเจรจาในการแก้ปัญหาความขัดแย้งใน จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศได้เสนอให้เข้ามาพูดคุยกับคนในพื้นที่ก่อนว่า คนในพื้นที่อยากได้อะไร เพื่อให้ผลประโยชน์แก่คนในพื้นที่มากที่สุด และกระทรวงการต่างประเทศต้องดูความสอดคล้องกับนโยบายของประเทศด้วย

นายณรงค์ บรรยายอีกว่า การดำเนินความสัมพันธ์กับต่างประเทศในประเด็นจังหวัดชายแดนภาคใต้ต้องอาศัย ความร่วมมือแบบทวิภาคีกับประเทศเพื่อนบ้าน อย่างมาเลเซีย ซึ่งที่ผ่านมามีการร่วมมือเชิงการพัฒนาพื้นที่ชายแดนภาคใต้ภายใต้กรอบคณะ กรรมการว่าด้วยยุทธศาสตร์การพัฒนาร่วมว่าด้วยชายแดนไทย-มาเลเซีย การวางแผนยุทธศาสตร์ 555 ลีมอร์ดาซาร์ (555 lima dasar) เชื่อมโยง5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยกับ 5 รัฐของประเทศมาเลเซีย มีการประชุมความร่วมมือระหว่างสามประเทศ อินโดนีเซีย มาเลเซียและไทย ภายใต้โครงการสามเหลี่ยมเศรษฐกิจอินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย (IMT-GT) และความร่วมมือทางการศึกษาระหว่าง ไทย – มาเลเซีย ซึ่งความคืบหน้าล่าสุดคือ นายกรัฐมนตรีเตรียมเดินทางหารือเพื่อวางแผนการพัฒนาด้านการศึกษาระหว่าง ไทย-มาเลเซียอย่างยั่งยืนต่อไป เพื่อรองรับการพัฒนาระหว่างประเทศในอาเซียน

นายณรงค์ บรรยายว่า ที่ผ่านมา กระทรวงต่างประเทศมีบทบาทในการชี้แจงให้ต่างประเทศเข้าใจในสิ่งที่ถูกต้อง เช่น การพาสื่อมวลชนประเทศมุสลิม และคณะทูตานุทูตต่างประเทศ ลงพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้พวกเขาเห็นว่า สถานการณ์ไม่ได้เป็นไปอย่างที่มีการได้ร้องเรียนไปยังองค์กรต่างประเทศ ทำให้สามารถกู้ภาพลักษณ์จากหลายๆ ประเทศกลับคืนมาได้ เมื่อต่างประเทศยืนยันว่า ไม่มีประเด็นปัญหาตามที่เป็นข่าว ก็สามารถสร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในด้านเศรษฐกิจแก่พื้นที่มากขึ้น

นายณรงค์ บรรยายว่า เป็นเรื่องน่ายินดีว่า ต่างประเทศให้ความสนใจเข้ามาสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรบุคคลใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างมาก เช่น สถานทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย ได้ส่งเสริมครูสอนวิทยาศาสตร์ในพื้นที่ โดยนำมาอบรมการพัฒนาวิธีการเรียนการสอนที่กรุงเทพมหานคร

นายณรงค์ บรรยายว่า กระทรวงการต่างประเทศให้ความสำคัญกับการศึกษาของเยาวชนจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เรียนในต่างประเทศ ซึ่งประเด็นที่เป็นที่กังวลของผู้ปกครองมากที่สุด คือการรับรองวุฒิการศึกษา กระทรวงการต่างประเทศจึงพยายามประสานกับประเทศต่างๆ เพื่อทำความรู้จักกับประเทศเหล่านั้นก่อน แล้วจึงแก้ปัญหาเรื่องการรับรองวุฒิการศึกษา เนื่องจากการรับรองวุฒิการศึกษา ไม่ใช่หน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศโดยตรง

นายณรงค์ บรรยายว่า ที่ผ่านมา กระทรวงศึกษาธิการประสบความสำเร็จในข้อตกลงความร่วมมือด้านการศึกษากับ ประเทศอินโดนีเซีย ที่มีนักเรียนไทยเรียนอยู่ประมาณ 500 คน ซึ่งขณะนี้มีการประสานงานขอความร่วมมือในเรื่องการรับรองวุฒิการศึกษาอยู่ คิดว่าจะมีข่าวดีเร็วๆนี้

นายณรงค์ บรรยายด้วยว่า การแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของกระทรวงการต่างประเทศ ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ภายในกระทรวง นอกจากกลุ่มงานความมั่นคงระหว่างประเทศแล้ว ยังมีกรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กรมสารนิเทศ กรมองค์การระหว่างประเทศที่ช่วยกันแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ในเวที ระหว่างประเทศอย่างเป็นระบบและเกิดประโยชน์สูงสุด

นายณรงค์ บรรยายว่า กระทรวงต่างประเทศมี 12 กรม 1 สำนักรัฐมนตรี และ 1 สำนักงานปลัดกระทรวง มีข้าราชการสังกัดกระทรวงทั้งสิ้น 1,400 คน โดยประจำอยู่ที่ต่างประเทศ 600 คนและในกรุงเทพมหานคร 800 คน เมื่อเทียบกับจำนวนข้าราชการกับภาระหน้าที่ ถือว่าเป็นจำนวนที่อาจจะจำกัดอยู่บ้าง

นายอารอฟัต เจ๊ะซู ครูโรงเรียนดารุสลาม อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาสและนักจัดรายการวิทยุ อสมท.นราธิวาส ถามระหว่างแสดงความเห็นว่า ทำไมถึงยังมีเจ้าหน้าที่ความมั่นคงคอยสอบถามถึงนักเรียนไทยในประเทศ อินโดนีเซีย ซึ่งทำให้ผู้ปกครองกังวลและไม่มั่นใจว่า เมื่อสำเร็จการศึกษามาแล้วจะมีงานทำหรือไม่

นายอาราฟัต เปิดเผยว่า ล่าสุดมีผู้ปกครองของศิษย์เก่าของโรงเรียนดารุสลามคนหนึ่งมาร้องเรียนว่า ถูกทหารมาถามหาลูกชายที่กำลังเรียนอยู่ต่างประเทศหลายครั้ง โดยซักถามหลายเรื่อง เช่น ถามว่าเรียนที่ไหน อยู่อย่างไร ใครดูแล ซึ่งทำให้ผู้ปกครองกังวลว่า อาจเกิดอะไรขึ้นกับลูกชาย

“เจ้าหน้าที่มาสอบถามอย่างนี้ แน่นอนว่า ผู้ปกครองจะกังวลว่า บุตรชายตนอาจเกี่ยวข้องกับความไม่สงบหรือไม่ หรือถูกเจ้าหน้าที่สงสัยหรือไม่ และยิ่งกังวลใจว่าเรียนจบแล้วจะมีงานทำหรือไม่ ซึ่งทางโรงเรียนได้รับเรื่องร้องเรียนลักษณะนี้หลายครั้ง” นายอารอฟัต กล่าว

นายอาราฟัต กล่าวว่า เรื่องนี้ตนพอจะเข้าใจว่าเพราะเหตุใด และที่ผ่านมาไม่เคยมีการประกาศเตือนว่าสถาบันการศึกษาใดในอินโดนีเซียที่ไม่ ควรเข้าเรียน เพราะอาจมีปัญหาความมั่นคง นักเรียนจะได้ไม่เลือกเรียน จึงขอให้กระทรวงการต่างประเทศ ออกประกาศต่อสาธารณชนว่า มหาวิทยาลัยใดในต่างประเทศที่ไม่ควรเข้าเรียน เพราะหากเลือกเรียนแล้ว ถูกจับตามองจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง หรืออาจมีปัญหากลางคันที่จะทำให้นักเรียนจะเครียดและผู้ปกครองกังวล

นายอารอฟัต กล่าวอีกว่า แต่ละปีมีนักเรียนโรงเรียนดารุสลามสำเร็จการศึกษาประมาณ 600 คน มีนักเรียนส่วนหนึ่งประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์เลือกเรียนต่อต่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่จะเลือกประเทศเองซึ่งมักเป็นมหาวิทยาลัยในประเทศอียิปต์และ อินโดนีเซีย

นายณรงค์ กล่าวตอบว่า กระทรวงต่างประเทศไม่มีนโยบายให้ข้อมูลนักเรียนไทยในต่างประเทศแก่เจ้า หน้าที่ฝ่ายความมั่นคง และไม่ทราบมาก่อนว่า มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงตรวจสอบเรื่องนี้ด้วย และกระทรวงการต่างประเทศไม่มีอำนาจประกาศว่าสถาบันใดไม่ควรเข้าเรียนหรือ เป็นอันตรายอย่างไร เพราะหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศ คือการลงเยี่ยมและสนับสนุนกิจกรรมให้นักเรียนไทยในต่างประเทศได้สานสัมพันธ์ กัน

“ที่ผ่านมา ฝ่ายความมั่นคงไม่เคยมาขอข้อมูลนักเรียนไทยในต่างประเทศจากกระทรวงการต่าง ประเทศ ถึงขอก็ให้ไม่ได้ เพราะเป็นข้อมูลลับที่ต้องรักษาไว้ ส่วนข้อมูลที่กระทวงมีก็เพื่อติดตามสวัสดิภาพของนักเรียนไทยที่ใช้ชีวิตใน ต่างประเทศเท่านั้น ไม่ได้มีไว้เพื่อติดตามพฤติกรรมเพื่อรายงานต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงแน่ นอน” นายณรงค์ กล่าว