อ.นิติศาสตร์เผยรัฐธรรมนูญปี 50 ระบุให้อดีตนายกฯอุทธรธ์ต่อศาลฎีกาได้ใน 30 วัน ถ้าทีมกฎหมายสามารถหาหลักฐานใหม่มาพิสูจน์ยืนยันได้
นายเจษฏ์ โทณะวณิก อาจารย์คณะนิติศาสตร์และ มหาวิทยาลัยสยาม กล่าวถึงกรณีที่ศาลตัดสินจำคุก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในคดีที่ดินรัชดาฯ โดยใช้ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตฯมาตรา 100 ว่า พ.ร.บ.ฉบับนี้มีเจตนาในการทุจริตว่า เอื้อประโยชน์หรือไม่ จากการหยิบยกของสื่อ มีความชัดเจนตรงที่ว่าเจ้าหน้าที่รัฐถือว่าเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ที่มีส่วนได้เสียถือว่าเป็นความผิดเพราะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐผิด ซึ่งอาจจะมีมูลว่าเอื้อประโยชน์ให้คู่สมรส แต่ไกลเกินกว่าจะเอื้อมไปถึง จึงไม่มีความผิดทางอาญา
เมื่อถามว่า พ.ต.ท.ทักษิณ จะสามารถอุทธรณ์ได้หรือไม่ นายเจษฏ์ กล่าวว่า ตามรัฐธรรมนูญปี 2540 ไม่สามารถอุทธรณ์ได้ แต่ในรัฐธรรมนูญปี 2550 ระบุว่าสามารถอุทธรธ์ต่อศาลฎีกาได้ใน 30 วัน ถ้าทีมกฎหมายสามารถหาหลักฐานใหม่มาพิสูจน์ยืนยันได้สามารถอุทธรณ์ได้อีกทางหนึ่ง
ทั้งนี้สำหรับมาตรา 278 ระบุว่า การพิพากษาคดีให้ถือเสียงข้างมาก โดยผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะทุกคนต้องทำความเห็นในการวินิจฉัยคดีเป็นหนังสือ พร้อมทั้งต้องแถลงด้วยวาจา ต่อที่ประชุม ก่อนการลงมติ คำสั่งและคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ให้เปิดเผยและเป็นที่สุด เว้นแต่กรณีตามวรรคสาม
ในกรณีที่ผู้ต้องคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีพยานหลักฐานใหม่ ซึ่งอาจจำทำให้ข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญ อาจจะยื่นอุทธรณ์ ต่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้
โดยหลักเกณฑ์การยื่นอุทธรณ์และการพิจารณาวินิจฉัยของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ให้เป็นไปตามระเบียบที่ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกากำหนด