WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, October 23, 2008

ทาส...ที่ไม่ยอมปลดปล่อย (โดยอัฐศิริ)

ทำอะไรได้ตามใจคือไทยแท้ เป็นผลมาจากการที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงมองการณ์ไกล เพื่อนำประเทศไปสู่อารยะ ด้วยการ “เลิกทาส” นั่นหมายความว่า ต้องให้คนไทยทุกคน มีความเท่าเทียมกัน มีสิทธิ มีเสียง มีความเป็นมนุษย์ที่ไม่ได้แตกต่างกัน

จากวันนั้นถึงวันนี้ ผ่านมาแล้ว 134 ปี แต่ยังมีคนไทยบางคนบางกลุ่ม ที่ยินยอมพร้อมใจที่จะยอมตนเป็น “ทาส” รับใช้ โดยยินยอมให้ “เขา” บงการชีวิตอย่างเต็มใจ แม้ว่าจะถูกใช้มาเป็น “ตัวประกัน” และร่วมกันกระทำผิดกฎหมายก็ตาม

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักเป็นอย่างดีว่า “ทาส” คืออุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศทั้งด้านสังคม การเมืองและเศรษฐกิจ

เพราะการมีทาสเป็นการส่งเสริมให้คนไม่รู้จักทำมาหากินและไม่รู้จักการแก้ปัญหาในทางที่ถูก

นอกจากนี้การมีทาสยังเป็นเครื่องถ่วงความเจริญของบ้านเมือง และเป็นเหตุของความหายนะได้เพราะพลเมืองที่เป็นทาสนั้นไม่มีโอกาสจะได้รับการศึกษาเล่าเรียน

จึงเป็นบุคคลที่ไม่อาจจะนำมาใช้ประโยชน์แก่บ้านเมืองและทำให้ประเทศไม่อาจเจริญก้าวหน้าได้

และด้วยสัจธรรมของพระองค์ที่ได้ทรงตั้งปณิธานไว้ว่าจะทำนุบำรุงประชาราษฎร์ ซึ่งเปรียบเสมือนลูกหลานให้ได้รับความสุขสมบูรณ์ มีสิทธิเสมอภาคกัน ทุกคนในผืนแผ่นดินไทยควรมีสิทธิในผลประโยชน์ที่ได้มาด้วยน้ำพักน้ำแรงของตนเอง จึงจะยุติธรรม การเป็นทาสควรสิ้นสุดลง มิใช่ว่าจะต้องเป็นทาสกันจนตลอดชีวิตอันไม่ใช่วิสัยของอารยชน

พระองค์จึงทรงมีพระราชดำริที่จะให้ “เลิกทาส” โดยทรงดำเนินกุศโลบายอย่างสุขุมรอบคอบและเป็นไปตามลำดับอย่างค่อยเป็นค่อยไปมิให้คนทั้งหลายเดือดร้อนและเกิดความเสียดายแก่ผู้เป็นเจ้าของทาสทั้งปวงจนไม่รู้สึกว่าได้มีการเลิกทาสเกิดขึ้น อีกทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้มีเวลาเตรียมตัว

ด้วยการประกาศใช้ พระราชบัญญัติพิกัดเกษียณอายุ ทาส ลูกไทย ในวันที่ 21 สิงหาคม 2417 และค่อยกำจัดความเป็นทาสของไทยทีละน้อยด้วยการออก พระราชบัญญัติทาสรัตนโกสินทร์ศก 124 ในที่สุดได้ประกาศให้บรรดาลูกทาสเป็นไทยทั้งหมดด้วย พระราชบัญญัติลักษณะทาสรัตนโกสินทร์ศก 130 ตรงกับวันที่ 11 มกราคม 2454 ซึ่งเป็นวันที่ทาสได้ถูกยกเลิกหมดสิ้นจากราชอาณาจักรไทย คงเหลือไว้แต่เพียงประวัติศาสตร์แห่งความทรงจำ และพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้

นอกจากนี้พระองค์ได้ทรงบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อช่วยไถ่ถอน และพระราชทานทุนทรัพย์เพื่อให้ลูกทาสได้ทำมาหากินต่อไปและพระองค์ยังทรงคำนึงถึงความก้าวหน้าที่จะให้ลูกทาสได้มีความรู้เมื่อพ้นการเป็นทาส จึงได้จัดตั้งโรงเรียนสำหรับลูกทาสขึ้นมา พระองค์ทรงมีพระอุตสาหะเพียรพยายามเพื่อ “เลิกทาส” เป็นเวลาถึง 37 ปี จึงได้บรรลุผลสมดังพระราชประสงค์

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตเป็นเวลานานแล้ว แต่พระราชกรณียกิจที่ทรงบำเพ็ญตลอดรัชสมัยของพระองค์นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันใหญ่หลวงและตราตรึงอยู่ในความทรงจำของปวงชนชาวไทยอยู่เป็นนิจนิรันดร์

เมื่อถึงวันที่ 23 ตุลาคมของทุกปีซึ่งเป็นวันสวรรคตของพระองค์ท่าน และถือเป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาติ คือ “วันปิยมหาราช” ประชาชนชาวไทยต่างนำพวงมาลามาสักการะพระบรมรูปทรงม้า อันเป็นอนุสรณ์ที่มีความหมายอันล้ำลึกต่อคนไทยทั้งชาติ

หยุดเป็น “ทาส” ของอำนาจ “นอกระบบ” กันได้หรือยัง บ้านเมืองยังบอบช้ำไม่พออีกหรือ

ล้อมกรอบ

สมัยที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัตินั้น ประเทศไทย มี ทาส เป็นจำนวนกว่าหนึ่งในสามของพลเมือง ของประเทศ เพราะเหตุว่าลูกทาสในเรือนเบี้ยได้มีสืบต่อกันเรื่อยมาไม่มีที่สิ้นสุด และเป็นทาสกันตลอดชีวิต พ่อแม่เป็นทาสแล้ว ลูกที่เกิดจากพ่อแม่ที่เป็นทาสก็ตกเป็นทาสอีกต่อๆ กันเรื่อยไป

กฎหมาย ที่ใช้กันอยู่ในเวลานั้น ตีราคาลูกทาสในเรือนเบี้ย ชาย 14 ตำลึง หญิง 12 ตำลึง แล้วไม่มีการลด ต้องเป็นทาสไปจนกระทั่ง ชายอายุ 40 หญิงอายุ 30 จึงมีการลดบ้าง คำนวณการลดนี้ อายุทาสถึง 100 ปี ก็ยังมีค่าตัวอยู่ คือชาย 1 ตำลึง หญิง 3 บาท แปลว่า ผู้ที่เกิดในเรือนเบี้ย ถ้าไม่มีเงินมาไถ่ตัวเองแล้ว ก็ต้องเป็นทาสไปตลอดชีวิต

ในการนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ได้ตราพระราชบัญญัติขึ้น เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ.2417 ให้มีผลย้อนหลังไปถึงปีที่ พระองค์เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ จึงมีบัญญัติว่า ลูกทาสซึ่งเกิดเมื่อปีมะโรง พ.ศ. 2411 ให้มีสิทธิได้ลดค่าตัวทุกปี โดยกำหนดว่า เมื่อแรกเกิด ชายมีค่าตัว 8 ตำลึง หญิงมีค่าตัว 7 ตำลึง เมื่อลดค่าตัวไปทุกปีแล้ว พอครบอายุ 21 ปี ก็ให้ขาดจากความเป็นทาสทั้งชายและหญิง

พอถึงปี พ.ศ.2448 ก็ได้ออกพระราชบัญญัติเลิกทาสที่แท้จริงขึ้น เรียกว่า “ พระราชบัญญัติทาส ร.ศ.124 ” (พ.ศ.2448) เลิกเรื่องลูกทาสในเรือนเบี้ยอย่างเด็ดขาด เด็กที่เกิดจากทาส ไม่เป็นทาสอีกต่อไป การซื้อขายทาสเป็นโทษทางอาญา ส่วนผู้ที่เป็นทาสอยู่แล้ว ให้นายเงินลดค่าตัวให้เดือนละ 4 บาท จนกว่าจะหมด

การเลิกทาสเป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่าพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงคุณธรรมอันประเสริฐ ทรงพระอุตสาหะจัดการในเรื่องนี้เป็นเวลานานกว่าสามสิบปี จนบรรลุผลสมดังพระราชประสงค์ โดยมิได้ทรงท้อถอย ทรงรอบคอบ มองการณ์ไกลเป็นเลิศ พระองค์ทรงดำเนินการได้เรียบร้อย โดยมิได้เสียเลือดเนื้อหรือเกิดการเดือดร้อนประการใด เยี่ยงการเลิกทาสในนานาประเทศ พระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ย่อมยังประโยชน์ให้แก่ชาวไทยและประเทศชาติเป็นอเนกประการ