ทางออกประเทศไทย บทความเพื่อชาติ
โดย : Kitty Pat
วันอังคารที่ 21 เดือน ตุลาคม พ.ศ.2551
บทความนี้มุ่งเน้นให้พลังเงียบ หรือ คนที่ไม่ได้เลือกข้างให้เข้าใจว่าอะไรเป็นอะไร เพื่อการตัดสินใจที่ถูกต้อง ไม่ให้ตกไปอยู่ภายใต้สิ่งเร้าใดๆ ก็ตาม ทั้งจากสื่อวิทยุ สิ่งพิมพ์ หรือ โทรทัศน์
ส่วนพวกที่เลือกข้างแล้ว ช่วยนำไปเผยแพร่ต่อก็จะเป็นการดีครับ
การตัดสินคดีของศาลฎีกาวันนี้ ไม่ได้อยู่นอกเหนือความคาดหมายแต่อย่างใด
ไม่น่าเชื่อว่า ประเทศไทยจะมาถึงจุดนี้ได้ การพูดความจริงบนพื้นฐานที่ประเทศไทยยังไม่เปิดเสรีทางความคิดมากนัก บางครั้งอาจจะไปเข้ากับคำกล่าวที่ว่า ความจริงเป็นสิ่งไม่ตาย แต่คนพูดมันจะตาย การเขียนบทความวิพากษ์ วิจารณ์ อำนาจลึกลับต่างๆ ในประเทศนี้ จึงกระทำได้อย่าง คลุมเครือ และให้ผู้คนไปตีความกันเอาเอง
ความลับต่างๆ มันจะเผยตัวของมันออกมาเอง ใครที่ยังอายุไม่เกิน 50 น่าจะได้รู้ ได้เห็นก่อนตายครับ
ไม่ว่า ท่านชาติชาย หรือคุณทักษิณจะดี จะเลวอย่างไร การก่อรัฐประหารก็คือการก่อการกบฏนั่นเอง ไม่ว่าในวงสนทนากับเพื่อน หรือลูกค้าต่างประเทศที่ไหนที่ผมเข้าร่วม ไม่มีใครเลยบอกว่า หากนายก หรือรัฐบาลเลว แล้วต้องใช้ทหารยึดอำนาจ
ประเทศนี้มีอะไรที่ซับซ้อน และต้องอาศัยเวลาในการคลี่คลายอีกมาก ปีปัญญาชนไม่ถึง 10 % ที่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร ซึ่งก็มีอยู่ในทั้งฝ่ายกบฏ และ ฝ่าย ประชาธิปไตย
ระบอบอมาตยาธิปไตย คือ การเมืองไทยอยู่ภายใต้ระบบข้าราชการเป็นใหญ่
ระบอบนี้เกาะกุมประเทศไทย มาตั้งแต่ ปี 2575 จนถึง 2516 ช่วงแรกๆ กลุ่มข้าราชการทั้งทหารและพลเรือนที่เพิ่งมีอำนาจเต็มที่ครั้งแรก ได้ใช้อำนาจอย่างไม่มีเหตุผล และเมามัน ข้าราชการพลเรือน ได้แตกแยกกันทางความคิด จนทำให้ ทหารแข็งแกร่งขึ้นมา แต่ก็สิ้นสุดไปในยุคของ จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ในปี 2500
จากปี 2501-2516 เป็นยุคของเผด็จการทหารเต็มๆ ตั้งแต่ พลเอกสฤษณ์ แล้วมาต่อ ด้วย พลเอกถนอม นายทุนกับทหารไปด้วยกันได้ดี จนสองท่านนี้ คือ Prototype ให้นายพล ที่เป็นหัวหน้าคณะ รัฐประหาร เอาเป็นแบบอย่างช่วงที่ทหารเป็นใหญ่ ข้าราชการก็เป็นนายของประชาชนอย่างสมบูรณ์แบบ จวบจนมาถึง เหตุการณ์ที่ไม่เคยมีใครคิดมาก่อน คือ เหตุการณ์ 14 ต.ค. 16 ทำให้ประเทศไทย เป็น ประชาธิปไตยเต็มใบ มาจนถึง ปี 19
การแตกต่างกันของวิธีคิด ทำให้นักศึกษาบางกลุ่มถูกมองว่าเป็น คอมมิวนิสต์ มีการทำร้ายนักศึกษาและประชาชนที่ ธรรมศาสตร์ ในปี 2519 อย่างโหดร้าย โดยกลุ่มคนที่มองว่านักศึกษาต้องการล้มล้างสถาบัน ซึ่งก็ไม่ต่างจาก ปี 2549 ผิดที่ว่า ปี 2549 ไม่ได้มีการยุยงให้เกิดความรุนแรงเข่นฆ่า เพราะยุคสมัยเปลี่ยนไป แต่ก็พยายามสร้างให้ดูเสมือนว่า ฝ่าย รัฐบาลเดิม ต้องการทำลายชาติ ศาสตร์ กษัตริย์ ซึ่งผิดเพี้ยนจากความเป็นจริงไปมาก จนขาดน้ำหนักแห่งความเชื่อถือ เพราะในยุคสมัยนี้ หากจะปฏิวัติด้วยเรื่อง คอรัปชั่นอย่างเดียว คงไม่สมเหตุสมผล จึงต้องเพิ่มน้ำหนักเพื่อหามวลชนแนวร่วมเพิ่ม
เราต่อสู้กับ ระบอบเจ้าคนนายคนมาตลอด ประกอบกับประชาธิปไตย กระท่อน กระแท่น แบบไทยๆ ก็เพราะพวกเราสนใจแต่ตัวเอง คนรากหญ้าก็สนใจปากท้อง อันเป็นบันไดขั้นแรกตามกฎของ Maslow ซึ่งก็ไม่แปลก ส่วนคนระดับกลาง ก็สนใจแต่ความบันเทิงใกล้ตัว ระบอบอะไรก็ได้ หากผมยังมีงานทำอยู่ ยังได้มีทีวีให้ดู น้ำประปายังไหล มีไฟให้ใช้ ได้โหวต AF5 ระบอบนี้จึงไม่สูญพันธ์เสียที
ระบอบทักษิณคืออะไร ?
อันที่จริง คำนี้ไม่เคยมีในสาระบบ ไม่รู้ใครเป็นคนแรกที่เรียกในเมืองไทยกันแน่ ดูเหมือนจะมาทาง คน ปชป. ผมจะไม่อธิบายด้วยตัวเอง แต่จะนำเสนอบทความ ของท่าน ดร.วรัญญู สุจิวรพันธ์พงศ์ ที่กล่าวถึงระบบนี้เอาไว้อย่างน่าฟัง
คำว่า “ทักษิโนมิกส์” ซึ่งมีที่มาจากประธานาธิบดี กลอเรีย อาโรโย่ แห่งประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งจบปริญญาเอกสาขาเศรษฐศาสตร์ จากสหรัฐอเมริกา ได้กล่าวยกย่องนโยบายเศรษฐกิจของอดีตนายกรัฐมนตรีประเทศไทย พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ที่จบปริญญาเอกสาขาอาชญาวิทยา จากสหรัฐอเมริกา ในการไปเยือนประเทศฟิลิปปินส์ครั้งหนึ่ง โดยกล่าวชื่อชมว่าเป็นแนวคิดนโยบายเศรษฐกิจที่ถูกต้อง และให้ทฤษฎีนี้ว่า “ทักษิโนมิกส์” (Thaksinomic) ซึ่งเป็นการผสมคำระหว่างคำว่า ทักษิณ (Thaksin) และ Economics เข้าด้วยกัน
นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลพรรคไทยรักไทย ซึ่งนำโดย พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้เสนอนโยบายแบบชัดเจนเกี่ยวกับ Dual Track Policy หรือ นโยบายคู่ขนาน ซึ่งจริงๆ ก็มาจากแนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์เปรูที่มีชื่อเสียงมากคือเดอซาโตที่ว่า
Track แรก เราก็เน้นเศรษฐกิจทุนนิยมไป คือทั้งค้าขายกับต่างประเทศ และเน้นการลงทุน ซึ่งเป็นไปตามหลักการเพิ่มผลผลิตมวลรวมของประเทศหรือ (GDP) ในสมการที่ผมเคยนำเสนอในบทความที่แล้วเรื่อง
ส่วนอีก Track หนึ่ง ก็คือการเน้นด้านการใช้จ่ายเงินของประชาชน คือ Consumption และการลงทุนในระดับย่อย แบบบริษัทขนาดกลางและเล็ก (Small and Medium Enterprise) หรือ SME
นับแต่ประเทศไทยมี พระยามโนปกรณ์ นิติธาดา ที่ เป็นนายกคนแรก ช่วงเวลา มิย 75 ถึง มิ.ย. 76 นายกของไทยต่อจากนั้น ล้วนแล้วแต่ หากไม่ใช่ทหาร ก็เป็นพวกศักดินาทั้งสิ้น รวมทั้ง นายอานันต์ ปันยารชุณ ที่คนตบมือกันก้องประเทศนั่นด้วย
จวบจนมาถึงสมัย นาย ชวน หลีกภัย ครั้งแรกเมื่อ ปี 2535 ถึง 2538 (ช่วงนั้น นายอภิสิทธิ์เพิ่งเล่นการเมือง มาที่บริษัทผม พร้อม กับ ดร. เจริญ ยกมือไหว้ผมประหลกๆ)
หลังจาก ยุค นายชวนครั้งแรก ก็มา นาย บรรหาร พลเอกชวลิต นายชวน ยุค 2 แล้วก็มาถึง อดีตนายก ทักษิณ จะเห็นได้ว่า นายกของไทยที่ผ่านมา เพิ่งมีลูกชาวบ้านได้เป็น แค่ 3 คน รวมกันแล้ว 13 ปีเท่านั้น และ ใน 13 ปีนั้น เป็นนายกที่มาจากพรรคที่รับใช้ระบอบอำมาตย์ถึง 6 ปีเศษ (ชวน 1, 23 กันยายน พ.ศ. 35 - 13 กรกฎาคม พ.ศ. 38 และ ชวน 2, 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 40 - 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 44)
นายบรรหารเป็นนายกจากพรรคการเมืองที่ไม่ได้เป็นศักดินาและไม่ได้มาจากพรรคที่รับใช้อำมาตย์เป็นคนแรก แต่ก็ถูกวิชามารของ พลพรรค ที่รับใช้อำมาตย์เล่นนอกรีด เรื่องสัญชาติ จนอยู่ได้แค่ ปีเศษ ต่อมา นายบรรหารจึงเป็นผู้ที่รู้ซึ้งยิ่งกว่าซึ้งว่า กำลังเล่นกับใคร และ สมควรต้องวางตัวอย่างไร สำหรับนักการเมืองในประเทศสารขันท์นี้
พ.ต.ท.ทักษิณมีการเตรียมทำการบ้านมาอย่างดี ตั้งแต่อยู่พรรค พลังธรรม มีการวางแผนเป็นขั้นเป็นตอน จากตัวอย่างของนักการเมืองรุ่นพี่ ที่อยู่ภายใต้เงา ของ บ้านสี่เสา ท็อปบู้ท และ ศักดินา
พวกอำนาจโบราณมองว่า คุณทักษิณน่าจะมีประโยชน์มากกว่าโทษ เพราะช่วงนั้น ปี 2543 เรื่องเศรษฐกิจสำคัญที่สุด เนื่องจาก วิกฤติต้มยำกุ้ง ประเทศเกือบล้มละลาย เหล่าอำนาจโบราณก็หน้าแห้งกันไปตามๆ กัน จำเป็นต้องใช้คนที่มีกึ๋น มีวิสัยทัศน์ ที่สำคัญ คือ ต้องทำงานหนัก และตัดสินใจเร็ว เด็ดขาดมาบริหารประเทศ แม้จะระแวงอยู่บ้าง แต่ก็คิดว่า หากชักจะเอาไม่อยู่ก็ รัฐประหารเสียก็ได้
สังคมไทยมีเอกลักษณ์ที่เด่นชัด คือ การชอบหลอกตัวเอง และคนอื่นว่าตัวเองเป็นคนดี กับ การเชื่อสิ่งต่างๆ ตามที่ตัวเองจะเชื่อ คือเชื่อตามความรู้สึก หรือ เพราะคนแวดล้อมเขาเชื่อ ก็เลยเชื่อตาม
ฝรั่งเขามองว่าคนไทยเป็น สังคมแบบ Feeling Judgment คือใช้ความรู้สึกตัดสินว่า สิ่งใดถูก สิ่งใดผิด สิ่งใดดี และสิ่งใดเลว เรื่องนี้ผมเคยนำมาตั้งกระทู้สักสองปีกว่า มาแล้วว่า นี่เป็นตัวแปรสำคัญในหลายๆ ตัวที่ทำให้ประเทศเราล้าหลัง จริงอยู่เรื่องบางเรื่องอาจไม่สามารถใช้หลักตรรกะใดๆ มาอธิบายได้ แต่ คนไทยเราไม่ใช่อย่างนั้น การตัดสินใจว่า อะไรเป็นอะไร เราอาศัยหลักตรรกะ (Logic) น้อยถึงน้อยมากจริงๆ
ความเชื่อของคนไทยอย่างไม่มีเหตุผล และที่มาที่ไป เป็นตัวแปรที่ถ่วงความเจริญของชาติ ตามชนบท หรือแม้แต่ชานเมืองยังมีคนอีกมากที่ เชื่อ ต้นไม้แปลกๆ เชื่อสัตว์แปลกๆ ทั้งๆ ที่เราอาจบอกได้ว่า มันเป็นต้นไม้พิการ หรือ สัตว์พิการ ผมยังไม่เห็นใครมาขอหวยกับคนขาด้วนโดยกำเนิด
ระดับกลางที่มีการศึกษามากขึ้นมาหน่อย ก็ไม่หนีกันเท่าไหร่ และความเชื่อของคนที่มีความรู้ ยิ่งน่ากลัว เพราะความรู้ มันมีหลายระดับ ส่วนใหญ่แล้วคิดว่าตัวเองรู้ แต่รู้จริงหรือเปล่า เราก็ไม่รู้ ทำไมถึงน่ากลัว เพราะคนเหล่านี้ เวลาที่ตัวเองเข้าไปอยู่ในสถานการณ์ใดๆ ที่ตัวเองคิดว่าตัวเองรู้ จะไม่มีทางยอมรับ ความเห็นของอีกฝ่าย และปัญหาของชาติตอนนี้ ก็เกิดจากความรู้ไม่จริง แต่มี Self confident หรือ อัตตาสูงนั่นเอง
วิกฤติครั้งนี้ พัฒนามาจนถึงจุดที่ คนไทยแตกออกเป็นหลายฝ่าย ใครจะคิดอย่างไรอยู่ฝ่ายไหนไม่แปลก หากคนเหล่านั้นก่อนจะมีความเห็นทางใด ได้เกิดจากการได้รับข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วนแล้วนำมาผ่านกระบวนการวิเคราะห์แล้ว เราก็ควรให้ความเคารพการตัดสินใจนั้นๆ
การรัฐประหารเมื่อ 19 ก.ย. โดยเนื้อหาไม่ได้แตกต่างไปจากครั้งก่อนๆ เพียงแต่คนทำเปลี่ยนไป คนสั่งการบางคนแก่ขึ้น และเนื่องจากเป็นการรัฐประหารในยุคดิจิตอล การกระทำจึงต้องเป็นไปอย่างเนียนๆ นวดให้นิ่ม แล้วค่อยน็อค เพื่อหาแนวร่วมมวลชน โดยมีพวกในทำเนียบตอนนี้เป็นกองหน้า
การหามวลชนตอนนี้ต้องสุมไฟให้มากเกินจริงเพื่อผลทางการตลาดตามแนวถนัดของ นายสนธิแกนนำ โดยอาศัยคุณทักษิณ เป็นตุ๊กตา ทุกสิ่ง ทุกอย่างต้องโยงมาที่ตัวคุณทักษิณทั้งสิ้น หากไม่ได้เป็นพวกของตัวเอง สิ่งนี้เองที่ทำให้พวกกบฏสูญเสียคนที่เป็น “กลาง กลาง” ออกไปเรื่อยๆ
พวกอำนาจโบราณก็ต้องการคนเก่งมาบริหารประเทศให้เจริญรุดหน้า เพราะตัวเองก็จะได้หน้าด้วย แต่ทั้งนี้ ทั้งนั้น พวกอำนาจโบราณก็ยังอยากให้ชาวบ้าน คนยาก คนจนมองเห็นถึงความสำคัญของ พวกตน ยังยึดติดกับการแสวงหาผลประโยชน์แบบง่ายๆ จาก การกินบุญเก่า
การต่อสู้ของประชาชนกับ อำนาจโบราณครั้งนี้มันไม่ธรรมดา เพราะมีมิติที่ซ้อนทับกันอยู่มาก ระหว่างเรื่อง คุณธรรม จริยธรรม ความถูกต้อง กับ ความถูกใจ การต่อสู้ครั้งนี้ เป็นการต่อสู้ของระบอบ อำมาตยาธิปไตยกึ่งเผด็จการ กับ ระบอบประชาธิปไตยแบบทุนนิยมยุคใหม่
ในมุมมองผมเอง สิ่งที่เราต้องทำการแก้ปัญหา เพื่อการปกครองบ้านเมืองให้เป็นไปอย่างมีระบบ คือ
ระยะสั้น
1. ปฏิรูปสื่อ เพราะสื่อคือ ตัวแปรสำคัญในการที่จะชี้นำสังคมในวงกว้าง สื่อที่ว่านี้ คือ วิทยุ โทรทัศน์ และ หนังสือพิมพ์ ที่ว่านี้ไม่ใช่ว่า จะไปครอบงำสื่อ แต่ สื่อต้องวางตัวเป็นกลาง นำเสนอไปตามข้อเท็จจริง ไม่มีอคติ ไม่ว่ากับฝ่ายไหน ใครล้ำเส้น หัวหน้า สถานีมีสิทธิ์ลงโทษ หรือหากไม่ลงโทษ หัวหน้าสถานีเองอาจถูกสอบสวน
2. สถานีวิทยุ โทรทัศน์ปัจจุบัน เป็น คลื่นทหารกว่าครึ่ง (ดีที่ ยังไม่มี หนังสือพิมพ์รายวันของทหาร ที่เป็นแบบแมส) ที่เป็นเช่นนี้ เพราะในอดีตน่าจะด้วยเหตุผลเพื่อความมั่นคง ซึ่งควรจะพิจารณาว่า มากเกินไปหรือไม่ ทำไม่ไม่มีคลื่นของ ราชการกระทรวงอื่นๆ หรือเป็นไปได้หรือไม่ที่ให้ เอกชนเข้ามาบริหาร 100 % ไม่ใช่แค่เป็น ผู้ผลิตรายการ
3. แก้ไขรัฐธรรมนูญที่มาจากเผด็จการ คงสาระสำคัญของ ปี 2540 ไว้ และ แก้ไขบางข้อ เพื่อป้องกันนักการเมืองผูกขาดอำนาจมากเกินไป รัฐธรรมนูญต้องเขียนให้ไม่สามารถที่จะตีความเป็นอย่างอื่นแบบศรีธนญชัยได้
4. บังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ใครทำผิดต้องได้รับโทษ ไม่ว่าฝ่าย ทุนนิยม หรือ อำมาตย์
ระยะกลาง – ยาว
1. พิจารณา การนำระบบ ลูกขุนมาใช้กับ ระบบตุลาการของไทย เพื่อความเป็นกลาง และ บริสุทธิ์ยุติธรรม ป้องกันความคลางแคลงใจของสังคม
2. ปฏิรูปการศึกษาของประเทศอย่างจริงจัง ซึ่งผมมองว่า จุดนี้ ทั้ง พวก ศักดินา และ นักการเมือง ไม่ให้ความใส่ใจนัก พวกศักดินากลัวว่า คนมีความรู้เยอะๆ พวกตัวเองก็จะกลายเป็นคนดาดๆ ไป ส่วนนักการเมือง ก็ไม่ทำ เพราะเห็นผลช้า ไม่ทันในสมัยตัวเอง ไม่หวือหวา สร้างภาพได้ง่ายๆ และหากคนฉลาด การซื้อเสียงก็ยากขึ้น
3. ยุบศาลบางศาลที่ไม่จำเป็น เปลืองภาษีอากร และที่มีอยู่จัดระบบที่มาไม่ให้เป็นตัวแทนของฝ่ายใดๆ
จาก thaifreenews