WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, February 4, 2009

มติชนยอมรับว่าประเมินกำลังคนเสื้อแดงผิด -à พวกคุณก็ประเมินผิดอยู่ตลอดนั้นแหละ

ที่มา thaifreenews

บทความโดย...ลูกชาวนาไทย


ผมอ่านคอลัมภ์ในมติชนออนไลน์ เห็นยอมรับมาสองสามวันแล้วว่า สื่อกระแสหลักประเมินกำลังคนเสื้อแดงที่มาชุมนุม ณ ท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2552 ผิดพลาดไปค่อนข้างมาก เพราะคิดว่าจะมีคนมาร่วมชุมนุมอย่างมากก็ไม่ถึงหมื่นคนเท่านั้น แต่เอาเข้าจริงๆ คนมาชุมนุมเกินครึ่งหนึ่งของสนามหลวง คือ ไม่ต่ำกว่า 20,000 -30,000 คน ที่จริงสื่อก็ประเมินจำนวนคนผิดพลาดอีกนั่นแหละ เพราะครึ่งหนึ่งของสนามหลวงต้องเกิน 50,000 คนอยู่แล้ว หลอกตัวเองอีกเช่นเดิม สื่อมวลชยไทย

สาเหตุที่สื่อกระแสหลักและนักวิเคราะห์ทางการเมืองประเมินผิดพลาดอยู่เสมอ ก็เพราะคิดว่า ทักษิณหมดแรงแล้ว ประกาศไม่มีเงินสนับสนุนแล้ว กลุ่มเนวินก็แตกมาอยู่ฝ่ายประชาธิปัตย์ แกนนำคนรักอุดร ก็ประกาศไม่นำคนมาเข้าร่วมชุมนุม ดังนั้น การชุมนุมวันที่ 31 มกราคม งานกร่อยแน่นอน เอาเขาจริงงานกลับคึกคักเกินคาดหมายไปมาก



ที่จริงผมไม่ค่อยสนใจการประเมินสถานการณ์ทางการเมืองของสื่อมวลชนไทยอยู่แล้วเพราะมันไม่เคยถูกต้องสักครั้ง ผิดพลาดมาตลอด รวมทั้งวิธีการประเมินแบบ "ลดทอนหรือตัดตัวแปรสำคัญออกไป" ไม่กล้าพูดความจริง ไม่กล้าคิดหรือพูดถึง นั่นแหละจึงป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การประเมินสถานการณ์ทางการเมืองของฝ่ายเสื้อแดงผิดพลาดเสมอ

เมื่อเป็นกันอย่างนี้มันจะประเมินสถานการณ์ทางการเมืองถูกได้อย่างไร

เพราะหากเป็นอย่างนี้ อย่างที่สื่อกระแสหลักทั้งหลายทำอยู่ขณะนี้ มันไม่ใช่เป็นการประเมินสถานการณ์การเมืองอีกต่อไป แต่เป็นการ ”โฆษณาชวนเชื่อ" ผ่านหนังสือพิมพ์เพื่อสร้างกระแสมากกว่า คือ ตั้งธงเอาไว้ล่วงหน้า แล้วโหมโฆษณาผ่านคอลัมภ์ต่างๆ ว่าสถานการณ์จะต้องเป็นอย่างโน้นอย่างนี้ แล้วสุดท้ายมันไม่เป็นอย่างนั้น ก็งงว่ามันเกิดอะไรขึ้น ตัวเองประเมินผิดพลาดได้อย่างไร

สุดท้ายก็ไม่มีใครเชื่อสื่อกระแสหลักพวกนี้ สำหรับผมผมเองนั้นไม่เชื่อนานแล้ว

วิธีที่พวกนักข่าวเหล่านี้ใช้วิเคราะห์สถานการณ์ทางการเมืองคือ การสอบถามนักการเมือง ผู้เล่นต่าง ๆ เช่น นักการเมืองสาย ปชป. สายเนวิน แค่นั้น แล้วก็เอาสิ่งที่คนเหล่านี้พูดมาถ่ายทอดต่ออีกที จะเรียกว่า "ข้อมูลวงใน" ก็ได้ และที่สำคัญนักข่าวพวกนี้ก็เข้าไม่ถึงข้อมูลวงในของฝ่ายทักษิณ เพราะทำตัวเป็นศัตรูกับทักษิณมาตลอด ดังนั้น ข่าววงในที่ได้มาก็เป็นข่าวแต่เพียงข้างเดียว

สำหรับผมเอง ผมไม่สนใจข้อมูลวงในมากนัก แม้มันสำคัญบ้างในบางสถานการณ์ เช่นใครจะได้เป็นรัฐมนตรี อะไรประมาณนี้ แต่สำหรับการวิเคราะห์ปรากฏการณ์ทางการเมืองของสังคมแล้ว ข้อมูลวงในไม่ได้มีประโยชน์มากนัก เพราะข้อมูลวงในเป็นเพียงแต่ข่าวสารว่า ใครอยากทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ ส่วนเหตุการณ์มันจะเป็นไปตามนั้นหรือไม่ มันไม่ได้เกี่ยวกับคนเหล่านี้ทั้งหมด แต่มันขึ้นกับตัวแปรอื่นๆ ทางการเมืองด้วย

ตัวอย่างที่ผ่านมาคือ ข้อมูลว่าทหารจะทำรัฐประหารวันโน้น วันนี้ สุดท้ายก็ไม่จริงสักครั้ง เพราะอาจมีคนสั่งให้ทหารทำ หรือทหารบางคนอยากทำ แต่จะทำได้หรือไม่มันขึ้นกับตัวแปรอื่น เช่น การต่อต้านของประชาชน แม้จะเอารถถังออกมาแล้ว ก็ต้องวิ่งวนกลับเข้ากรมไปอีก แล้วออกมาแก้เก้อว่า เอามาให้นักเรียนเสนาธิการดูเป็นตัวอย่างไปโน้น

นอกจากนี้ สื่อกระแสหลักพวกนี้ พยายายามสร้างกระแสเหลือเกินว่า
พรรค "ปชป. กำลังได้เปรียบทางการเมืองอย่างเต็มที่ หากยุบสภา หรือแจกประชานิยมมากๆ นายมาร์กจะได้เปรียบ คนอีสาน คนเสื้อแดงที่เคยเกลียดนายมาร์กเข้าไส้ จะหลงรักและทุ่มคะแนนให้

นี่ก็ไม่ใช่การประเมินสถานการณ์การเมืองของสื่ออีกเช่นกัน แต่เป็นความหวังของสื่อที่เชียร์พรรคประชาธิปัตย์ สื่อเลือกข้าง และเป็นการโฆษณาชวนเชื่อเพื่อสร้างกระแสมากกว่า โดยไม่สนใจตัวแปรหลักอื่นๆ เข้าไปร่วมในการวิเคราะห์ เช่น ประชาชนคิดอย่างไร และไม่เคยสังเกตหรือวิเคราะห์พฤติกรรมประชาชนว่าเปลี่ยนไปหรือไม่ ไม่ดูพัฒนาการทางการเมือง ไม่ดูแนวโน้มของการออกเสียงของประชาชน ว่าเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรในรอบทศวรรษที่ผ่านมา



ผมจึงไม่เชื่อสื่อกระแสหลักอีกต่อไป เพราะมีบุคลากรที่ด้อยคุณภาพ และไม่มีความเป็นมืออาชีพแต่อย่างใด

ที่จริงหากจะพูดความจริงกันอย่างตรงๆ ซึ่งที่จริงวงสนทนา สภากาแฟหรือเว็บบอร์ดในอินเตอร์เน็ตก็พูดกันอยู่แล้วว่า ปัญหาทางกาเมืองไทยที่สำคัญและเป็นจุดสำคัญของปัญหาคือ "พวกผู้มีบารมี" ต่างหาก แต่พวกสื่อกระแสหลักดันเอาออกไปจากสมการเสียแต่ต้น แล้วพยายามหลอกชาวบ้าน และหลอกตัวเองว่า ผู้มีบารมีเหล่านั้นไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองแต่อย่างใด

แล้วดันแค่นจะวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเมือง ผลการคาดการณ์จึงเป็นเรื่องตลก

เรื่องสำคัญไม่เห็นมีใครวิเคราะห์เลยว่า ทำไมจึงมีคนเซ็นชื่อร่วมรณรงค์ยกเลิกกฎหมายหมิ่นฯ กับ ดร.ใจ อึ้งภากร กันเยอะพอสมควร ทั้งๆ ที่เมื่อสามปีก่อน หากใครทำเรื่อง "ต้องห้าม" แบบนี้ สังคมไทยเอาตายแน่นอน แต่ตอนนี้ทำไมสังคมวางเฉย วางเฉยจนน่ากลัว นอกจากวางเฉยแล้ว ยังมีคนจำนวนมากเข้าไปร่วมด้วย นั่นแหละคือปรากฎการณ์สำคัญทางการเมือง ที่เป็นแก่นแท้ของสถานการณ์เลยทีเดียว แต่ก็ไม่กล้าวิเคราะห์ หรือไม่กล้าคิดด้วยซ้ำไป

การวิเคราะห์แบบตัดตัวแปรสำคัญถึงอย่างไรมันก็คาดการณ์อะไรไม่ได้

ข้อสำคัญคือ ที่ประชาชนเขาเคลื่อนไหวเขาไมได้ "ไม่พอใจรัฐบาลอภิสิทธิ์" อย่างเดียว รัฐบาลอภิสิทธิ์ นั่นมันเรื่องเล็ก

ทหาร คนก็ไม่ได้ให้ความสำคัญมากแล้ว เพราะพวกนี้ไม่กล้าทำรัฐประหาร สิ่งที่พวกทหารทำได้ในขณะนี้คือการแบล็กเมล์ทางการเมือง หรือใช้การขู่แบบเจ้าพ่อหรือโจร แต่ไม่ใช่พลังกดดันทางการเมืองที่มีพลังที่แท้จริง
ในฐานะกองทัพ


ศาลนั้นแม้จะเป็นปัญหาหลักในขณะนี้ก็ตาม เพราะเอียงกระเท่เร่ แต่ปัญหาใหญ่ก็ไม่ได้อยู่ตรงนี้

ที่คนเขาเคลื่อนไหว เพราะ "เขาไม่พอใจความไม่เป็นธรรม" ของคนบางคนบางกลุ่มต่างหาก เขาเคลื่อนไหวเพราะต้องการบอกว่า "เราไม่ใช่ไพร่" ที่ให้ใครสมาจูงจมูกได้ง่ายๆ

เขาเคลื่อนไหวบอกให้รู้ว่า บารมีพวกคุณไม่เหลือมากแล้ว

บางคนอาจสงสัยว่า หากพวกเขาไม่ตามข่าวจากสื่อกระแสหลักแล้วเขาจะเชื่อใครได้อย่างไร เขาจะตามข่าวจากไหน เขาจะทราบความจริงได้อย่างไร ที่จริง “ข่าว” ไม่ได้มีแหล่งเดียว และผมคิดว่าแหล่งข่าวจากหนังสือพิมพ์ มีความเชื่อถือได้น้อยเกี่ยวกับปรากฎการณ์ทางการเมือง ยกเว้นข่าวอาชญากรรม หรือข่าวใครพูดอะไร ทำอะไร แถลงว่าอย่างไร ข่าวแบบนี้อาจเชื่อถือเป็นข้อมูลได้

แต่การวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเมือง ไม่อาจใช้ข่าวพวกนี้ประเมินได้ทั้งหมด

สำหรับผมแล้ว การวิเคราะหฺ์สถานการณ์ทางการเมืองจะต้องมีสมมุติฐานก่อน เหมือนการวิจัย แล้วค่อยดูปรากฎการณ์ว่าสอดคล้องกับสมมุติฐาน (หรือทฤษฎีของคุณนั่นแหละ) หากมันสอดคล้อง แนวคิดคุณก็ถูก แต่ต้องอาศัยประสบการณ์ การตกผลึกทางความคิดมากทีเดียว

เกี่ยวกับเรือ่ง “คนเสื้อแดง” พวกสื่อกระแสหลัก ไม่ได้รู้ความจริงมากนัก แล้วไปให้น้ำหนักกับสมมุติฐานผิด ที่ว่าม็อบเสื้อแดงสู้เพื่อทักษิณ สู้เพื่อนายใหญ่ สู้เพื่อเงินถูกจ้างมา

เมื่อตั้งสมมุติฐานอย่างนี้ ก็ไปไล่บี้ทักษิณ ดูการเคลื่อนไหวของทักษิณ เมื่อคิดว่าทักษิณอ่อนแรงลงไป ม็อบเสื้อแดงก็ควรจะหมดน้ำยา ไม่มีราคาอีกต่อไป

แต่ผลของปรากฎการณ์ของการชุมนุมวันที่ 31 มกราคม คือ คนมาเยอะ เกินความคาดหมาย

แสดงว่า "ปรากฎการณ์มันไม่สอดคล้องกับสมมุติฐาน" เรื่องทักษิณ ดังนั้น เมื่อสมมุติฐานผิด การประเมินสถานการณ์มันก็ผิดพลาดหมด

ที่จริงการประเมินการชุมนุมของคนเสื้อแดงก็ผิดพลาดมาตลอดตั้งแต่การชุมนุมครั้งแรกที่ เมืองทองธานี สนามรัชมังคลา และสนามศุภชลาสัย แต่เมื่อผิดพลาดแล้วไม่ค้นหาความจริงว่า จริงๆ แล้ว “อะไรเป็นสาเหตุให้ม็อบเสื้อแดงขยายจำนวนขึ้น” คนเหล่านี้มาชุมนุมกันทำไมตั้งมากมาย

ความจริงที่พูดกันผ่านเว็บบอร์ดมากมาย แต่พวกนั้นไม่ยอมเปิดหูเปิดตาออกมายอมรับคือ ม็อบเสื้อแดงเขาไม่พอใจความอยุติธรรมในสังคมนี้ เขาต้องการสู้เพื่อประชาธิปไตย เขาไม่ต้องการเป็นไพร่ ไม่ต้องการเป็นข้าใครอีกต่อไป เขาต้องการเป็นไท

ที่จริงเว็บต่างๆ ก็บอกอยู่ แต่ดันไปกล่าวหาเขาว่าโดนซื้อด้วยเงิน

เมื่อปักใจจะเชื่ออย่างนี้ทำตัวเป็นนกกระจอกเทศหนีศัตรู โดยการเอาหัวมุดพื้นทราย เพื่อตัวเองจะได้ ไม่เห็นศัตรู การคาดการณ์อะไรมันก็ผิดหมด

ตัวอย่างง่ายๆ คือ เว็บไทยฟรีนิวส์ หรือแม้แต่ตัวผมเอง ก็มีคนเกล่าวหามาตลอดว่าา "โดนทักษิณซื้อ" โดนทักษิณหลอก ถูกเงินซื้อ ซึ่งมันผิดโดยตลอด เมื่อตั้งสมมุติฐานผิด อะไร ๆ มันก็ผิด

เชื่อเถอะว่า กว่าจะรู้ตัวก็โดนกิโยตินตัดหัวกันเสียแล้ว

ปล. ไม่มีใครปฎิเสธว่าทักษิณไม่มีอิทธิพลต่อคนเสื้อแดง มีมากทีเดียว แต่สถานการณ์มันก้าวพ้นทักษิณไปแล้ว พวกเขาต้องการเรียกร้องประชาธิปไตย ไม่ต้องการการแทรกแซงจากกลุ่มอำมาตยาธิปไตย หรือใครก็ตามที่คิดว่าตัวเองมีบารมี