ที่มา Thai E-News
โดย Tim Johnston
ที่มา เวบไซต์ Washington Post
2 กุมภาพันธ์ 2552
BANGKOK -- When Abhisit Vejjajiva became Thailand's prime minister last month, he promised to bridge the country's deep political divisions, but recent challenges have seen his administration move sharply to the right.
Abhisit's unquestioning support for the Thai military in the face of allegations that it recently towed hundreds of Burmese refugees out to sea on engineless barges and left them there with little food or water has convinced many people that the new leader's reformist agenda has been compromised. More than 500 refugees, all members of the Rohingya ethnic minority, reportedly died.
Political analysts say the government is paying the price for a Faustian bargain it made to get into power: It finds itself in thrall to an invigorated military, and its continued ability to run the country is dependent on placating the far-right groups that occupied Thailand's two main airports last year, with catastrophic economic consequences.
"It is the military's dividend for putting Abhisit in power: They can now dictate policy," says Thitinan Pongsudhirak, a political scientist at Bangkok's Chulalongkorn University.
Abhisit took office Dec. 17 after six months of right-wing street demonstrations had virtually crippled the previous government. He won a controversial parliamentary vote in which he managed to persuade enough ruling party lawmakers to cross the floor to support him.
The military is widely believed to have weighed in on Abhisit's side to encourage waverers, although the head of the army said at the time that he was merely advising lawmakers who came to his house, not interfering in the country's politics.
Abhisit now appears reluctant to criticize the military. Days after it emerged that groups of starving and dehydrated refugees who had been picked up by Indian and Indonesian authorities were accusing the Thai military of arresting them before taking them back out to sea, the prime minister issued a blanket denial.
Let's be clear that Thailand has not violated the human rights of the refugees," Abhisit said. "The military has maintained that it has not breached any humanitarian principles on this issue."
Continuing revelations have forced him to order an investigation, but the Internal Security Operations Command, the body he has appointed to carry it out, is part of the national security apparatus that is accused of playing a key role in the scandal.
By early this week, the government had modified its line.
"If officers are found guilty of these alleged violations, they will be prosecuted," Abhisit's spokesman, Panitan Wattanayagorn, said Tuesday. But analysts held out little hope of getting to the bottom of the scandal.
"He appears to have done things correctly, but in fact he has done nothing at all," Chris Baker, the author of several books on Thailand's convoluted politics, said of Abhisit. "I doubt very much anyone in the military will suffer for this."
Thailand's armed forces have a long history of avoiding prosecution. No one has been held to account for the deaths of more than 30 insurgents who were killed by excessive force, according to a government report, at the Krue Se mosque in southern Thailand in April 2004, or for the deaths of 85 men at Tak Bai six months later, most of whom suffocated when they were stacked like cordwood in army trucks after being arrested.
Abhisit has also come under fire for his administration's enthusiastic support for the country's draconian "lèse majesté" laws, which are intended to protect the dignity of the royal family but which critics say are being used to muzzle political debate and intimidate opponents.
Several prominent people were recently charged under the law, which carries a mandatory jail sentence of three to 15 years for those found guilty.
Pirapan Salirathavibhaga, the justice minister, has said that protecting the royal family from insult is his top priority. "Whatever is deemed as affecting the monarchy must be treated as a threat to national security," he said.
Thitinan, the political scientist, says the government's conflation of lèse majesté and national security leads down a dangerous path.
"The witch hunt could get out of control and we could be looking at a new McCarthyism," he said.
Pirapan is not the only cabinet member irking Thailand's liberals. Many are also critical of Kasit Piromya, Abhisit's foreign minister, who was a prominent supporter of the People's Alliance for Democracy, the group whose campaign to paralyze the last government culminated in the airport sieges.
Although the People's Alliance has mostly watched from the sidelines since Abhisit came to power, Baker and other observers have said they believe that the party remains a potent force and that its members might return to the streets to press their agenda for reduced democracy if they think the prime minister has not met their demands.
For now, most Thais appear willing to allow Abhisit some leeway to cope with the country's economic problems, but analysts warn that the honeymoon may not last much longer.
"These cases are going to undermine his whole legitimacy and credibility," Thitinan said. "He's supposed to represent clean government and the rule of law, but the gap between rhetoric and reality is getting wider."
=========================
แปลโดย คุณ hectic101
ที่มา เวบบอร์ด ประชาไท
นักปฏิรูปกังวลว่า นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของไทยกำลังเอียงทางฝ่ายขวา
เมื่ออภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในเดือนที่แล้ว เขาได้สัญญาว่าจะป็นสะพานเชื่อมความแตกแยกทางการเมืองอย่างรุนแรงของประเทศ แต่จากสถานการณ์ที่ผ่านมา ดูเหมือนว่า ความเคลื่อนไหวในการปกครองของเขาจะไปทางฝ่ายขวาจัด
ไม่มีข้อสงสัยว่า อภิสิทธิ์สนับสนุนทหารที่กำลังเผชิญกับข้อกล่าวหาเมื่อเร็วๆ นี้ว่า ได้ผลักไสผู้อพยพชาวพม่านับร้อยคน ให้ออกสู่ทะเล โดยเรือที่ปราศจากเครื่องยนต์ ปล่อยให้พวกเขามีอาหารและน้ำเพียงเล็กน้อย ทำให้คนจำนวนมากรู้สึกว่า วาระการปฏิรูปของผู้นำคนใหม่นี้ มีการรอมชอม มีรายงานว่า ผู้อพยพกว่า 500 คน ซึ่งทั้งหมดเป็นชนกลุ่มน้อยชาวโรฮิงญา ได้เสียชีวิตลง
นักวิเคราะห์การเมืองกล่าวว่า รัฐบาลกำลังชดใช้กรรมที่ได้ก่อขึ้นมา เพื่อเข้าครองอำนาจ รัฐบาลพบว่า ตนเองได้ถูกชักใยโดยอำนาจทหาร และจะคงอำนาจบริหารประเทศได้นานแค่ไหน ก็ขึ้นกับความพอใจของกลุ่มขวาจัด ซึ่งได้ยึดสนามบินสำคัญของไทย 2 แห่ง เมื่อปีที่แล้ว และส่งผลให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างหนัก
"ทหารทำให้อภิสิทธิ์ ได้อำนาจมาครอง และตอนนี้ทหาร ก็สามารถกำหนดนโยบาย" ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ นักรัฐศาสตร์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่กรุงเทพกล่าว
อภิสิทธิ์เข้าดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม หลังจาก 6 เดือน ของการประท้วงบนถนนของฝ่ายขวา ได้ทำให้รัฐบาลชุดที่แล้ว ต้องล้มลุกคลุกคลาน เขาได้ชัยชนะจากการลงคะแนนเสียงในรัฐสภา ท่ามกลางความขัดแย้ง ด้วยการชักชวน ส.ส. ให้ย้ายข้างมาสนับสนุนเขา
เป็นที่เชื่อกันอย่างกว้างขวางว่า การที่ทหารอยู่ข้างอภิสิทธิ์ เป็นการกระตุ้นพวกที่ลังเล แม้ว่าผู้บัญชาการทหารจะกล่าวว่า เขาเพียงแต่ให้คำแนะนำ ส.ส. ที่มาพบเขาที่บ้าน ไม่ได้เป็นการเข้าไปยุ่งกับการเมือง
ตอนนี้ดูเหมือนว่า อภิสิทธิ์กระอักกระอ่วน ที่จะวิจารณ์ทหาร หลายวันหลังจากที่ปรากฏว่า กลุ่มผู้อพยพที่อดอยากและขาดน้ำ ที่ถูกผลักไสโดยทางการอินเดียและอินโดนีเซีย กำลังกล่าวหาว่า ทหารไทยจับพวกเขาแล้วไล่ลงทะเล นายกรัฐมนตรีก็ได้แต่ปฏิเสธด้วยการนิ่งเงียบ
"ขอให้ทราบอย่างชัดเจนว่า ประเทศไทยไม่ได้ละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อผู้อพยพ" อภิสิทธิ์กล่าว ทหารยังไม่ได้ละเมิดหลักมนุษยธรรมในประเด็นดังกล่าว
การเปิดเผยข้อเท็จจริงอย่างต่อเนื่อง บีบให้เขาต้องมีคำสั่งสอบสวน แต่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ซึ่งเป็นหน่วยงานที่เขามีคำส่งให้ดำเนินการ ก็เป็นหน่วยงานทางด้านความมั่นคงแห่งชาติ ที่ถูกกล่าวหาว่า เป็นตัวการสำคัญในเรื่องอื้อฉาวนี้
ก่อนต้นสัปดาห์นี้ รัฐบาลก็ได้แก้ไขคำพูด
"หากพบว่าเจ้าหน้าที่มีความผิดตามข้อกล่าวหาเหล่านี้ พวกเขาจะถูกดำเนินคดีตามข้อกล่าวหาว่าทำผิดกฎหมาย" ปณิธาน วัฒนายากร โฆษกของอภิสิทธิ์กล่าว แต่นักวิเคราะห์ไม่หวังว่า จะไปถึงเบื้องลึกของกรณีอื้อฉาวนี้
"ดูเหมือนว่าเขาจะได้ทำสิ่งที่ถูกต้อง แต่ที่จริงเขาไม่ได้ทำอะไรเลย" คริส เบเกอร์ นักเขียนหนังสือหลายเล่ม เกี่ยวกับความยุ่งเหยิงในการเมืองของไทย กล่าวถึงอภิสิทธิ์ "ผมสงสัยยิ่งว่า จะมีทหารคนไหนถูกลงโทษในเรื่องนี้กันบ้าง"
นักรบของไทยมีประวัติศาสตร์อันยาวนานเกี่ยวกับการหลบเลี่ยงการถูกดำเนินคดี ไม่มีใครต้องรับผิดชอบกรณีการตายของกองกำลัง 30 นาย ตามรายงานของรัฐบาล ที่มัสยิดกรือเซะทางภาคใต้ของไทย เมื่อเดือนเมษายน 2547 หรือความตายของคนจำนวน 85 คน ที่ตากใบในอีก 6 เดือนต่อมา ส่วนใหญ่ของคนเหล่านี้ขาดอากาศ เมื่อพวกเขาถูกนำไปวางเรียงซ้อนกันเหมือนแผ่นไม้ บนรถบรรทุกของทหาร หลังจากที่พวกเขาถูกจับตัว
อภิสิทธิ์ถูกวิจารณ์อย่างหนัก กรณีที่รัฐบาลของเขา มีความมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนกฎหมายที่มีโทษรุนแรง อย่างกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งต้องการจะปกป้องพระเกียรติของพระราชวงศ์ แต่นักวิจารณ์กล่าวว่า กฎหมายนี้ กำลังถูกใช้เพื่อการดำเนินการทางการเมืองและข่มขู่ฝ่ายตรงข้าม
เมื่อเร็วๆ นี้ ผู้มีชื่อเสียงหลายคนถูกตั้งข้อกล่าวหาว่า กระทำความผิดตามกฎหมายดังกล่าว ซึ่งมีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปีถึง 15 ปี หากกระทำความผิด
พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้กล่าวว่า การปกป้องพระราชวงศ์ จากการดูหมิ่นเป็นงานที่เขาให้ความสำคัญมากที่สุด "สิ่งใดที่กระทบต่อพระราชวงศ์ ถือว่ากระทบต่อความมั่นคงของชาติ" เขากล่าว
ฐิตินันท์ นักรัฐศาสตร์ กล่าวว่า การที่รัฐบาลผนวกเรื่องการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เข้ากับความมั่นคงของชาติ ถือว่าเป็นทางที่อันตราย
"วิธียัดข้อหาจะทำให้ควบคุมไม่ได้ และเราก็อาจจะได้เห็นลัทธิแมกคาร์ทียุคใหม่" (หมายเหตุจากผู้แปล :ลัทธิแมกคาร์ที-การรณรงค์ต่อต้านเพื่อให้เกิดความเกลียดและกลัวคอมมิวนิสต์ในสหรัฐอเมริกา โดยวุฒิสมาชิก McCarthy)
พีระพันธ์ไม่ได้เป็นรัฐมนตรีเพียงคนเดียว ที่กำลังรบกวนเสรีภาพของประเทศไทย หลายคนก็วิจารณ์เช่นนี้ต่อกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในรัฐบาลอภิสิทธิ์ ผู้ได้รับการสนับสนุนอย่างชัดเจนจากพวกพันธมิตร กลุ่มที่ทำให้รัฐบาลชุดที่แล้วง่อยเปลี้ย และลงเอยด้วยการยึดสนามบิน
แม้ว่าส่วนใหญ่แล้ว พันธมิตรจะเฝ้ามองอยู่ริมขอบ หลังจากที่อภิสิทธิ์ขึ้นสู่อำนาจ แต่เบเกอร์และผู้สังเกตการณ์หลายคนเชื่อว่า กลุ่มนี้ยังมีศักยภาพ และพลพรรคของกลุ่มนี้ ก็อาจจะกลับมาบนท้องถนน เพื่อลดความเป็นประชาธิปไตย ตามแผนการของตน หากพวกเขาเห็นว่า นายกรัฐมนตรีไม่สนองความต้องการ
ตอนนี้คนไทยส่วนใหญ่ เต็มใจที่จะให้โอกาสอภิสิทธิ์ จัดการกับปัญหาเศรษฐกิจ แต่นักวิเคราะห์เตือนว่า ช่วงเวลาอันหอมหวานจะไม่ยืนยาวนัก
"เรื่องเหล่านี้ จะบั่นทอนความชอบธรรม และความน่าเชื่อถือของเขา" ฐิตินันท์กล่าว "เขาถูกตั้งความหวังว่า จะเป็นรัฐบาลที่สะอาดและถูกหลักนิติธรรม แต่ช่องว่างระหว่างคำพูด กับความเป็นจริง กำลังขยายกว้างขึ้นทุกที"