WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, April 17, 2010

185 นักเรียนนักศึกษาออกแถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลยุบสภา-จัดเลือกตั้งใหม่

ที่มา มติชน



185 นักเรียนนักศึกษาในประเทศและต่างประเทศ ออกแถลงการณ์เรียกร้องนายกฯยุบสภาจัดเลือกตั้งใหม่ จากนั้น นปช.ควรหยุดชุมนุม ส่วนคนชั้นกลางกทม.ต้องหยุดสร้างความแตกแยก

จดหมายเปิดผนึกถึง รัฐบาล แกนนำนปช. ผู้ร่วมชุมนุม และคนกรุงเทพฯ เพื่อสร้างความเข้าใจและเสนอ "ทางออก" ของสังคมจากสภาวะความขัดแย้งทางการเมือง และความรุนแรงในปัจจุบัน

โดย 185 นักเรียนนักศึกษาไทย ในประเทศและต่างประเทศ


โดยสืบเนื่องจากเหตุการณ์วันที่ 10 เมษายน ที่รัฐบาลตัดสินใจสลายการชุมนุมหรือ "ขอคืนพื้นที่" บริเวณถนนราชดำเนิน จนกระทั่งเปิดโอกาสให้ความรุนแรงได้เกิดขึ้น และก่อให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิตของผู้คน และผู้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุกาณณ์ดังกล่าวจำนวนมาก ซึ่งในจำนวนนั้นประกอบไปด้วยทั้ง เจ้าหน้าที่ซึ่งเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ในการสลายการชุมนุม และผู้ร่วมชุมนุม กระแสสังคมที่เกิดขึ้นทั้งในขณะที่เจ้าหน้าที่กำลังเข้าสลายการชุมนุมและภายหลังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นเป็นไปอย่างหลากหลาย ทั้งฝ่ายที่สนับสนุนการสลายการชุมนุม และฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยต่อสิ่งที่เกิดขึ้น ซึ่งในความเป็นจริงนั้นความแตกแยกของกระแสสังคมนั้นอาจเป็นผลจากการรับข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อที่มีจุดยืนแตกต่างกัน และเลือกที่จะเสนอแง่มุมของสิ่งที่เกิดขึ้นจากแง่มุมที่แตกต่างกันตามไปด้วย

ในแง่นี้เราไม่อาจปฏิเสธข้อเท็จจริงประการหนึ่งได้ว่ารัฐบาลได้เข้ามามีส่วนในการสร้างความแตกแยกของทรรศนะของผู้คนในสังคมตรงจุดนี้ด้วย เช่นการเลือกใช้ภาพเหตุการณ์ต่างๆในการนำเสนอความจริงชุดหนึ่ง การสร้างคำนิยามของ "ผู้ก่อการร้าย" ขึ้นมาในกลุ่มผู้ชุมนุม ซึ่งได้ก่อให้เกิดกระแสความเกลียดชังให้กับผู้คนจำนวนหนึ่งในกรุงเทพฯที่ได้มีความเกลียดชัง หรือรำคาญใจกับผู้ชุมนุมอยู่เป็นทุนเดิมเนื่องจากได้รับความเดือดร้อนจากการชุมนุมในพื้นที่ต่างๆในกรุงเทพฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณสี่แยกราชประสงค์ แต่ในขณะเดียวกันนั้นผลในทางกลับกันคือการสร้างความโกรธแค้นและเกลียดชังที่กลุ่มผู้ร่วมชุมนุมซึ่งอยู่ในเหตุการณ์ในวันดังกล่าวมีต่อรัฐบาลให้เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากเป็นทวีคูณ

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเช้าของวันที่ 16 เมษายนที่ผ่านมาซึ่งรัฐบาลได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ทำการบุกจู่โจมจับแกนนำนปช.ที่โรงแรม SC Park นั้น ยิ่งทำให้สถานการณ์ที่เป็นอยู่เลวร้ายลงไปอีกโดยเหตุการณ์ดังกล่าวได้ยิ่งกระพือความโกรธแค้นของผู้ชุมนุมที่มีต่อรัฐบาล และภาพรวมของสถานการณ์ที่เป็นอยู่ยิ่งเลวร้ายมากขึ้นเมื่อเจ้าหน้าที่จำนวนหนึ่งได้ถูกควบคุมตัวไว้โดยกลุ่มผู้ชุมนุม จนกระทั่งนำมาสู่สิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงบ่ายของวันดังกล่าว ที่ได้มีการแต่งตั้งมอบหมายให้พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก เป็นหัวหน้ารับผิดชอบในเขตพื้นที่ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้นั้นอาจกล่าวได้ว่าเป็นสัญญาณบางอย่างที่อาจเป็นเค้าลางของความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นในเวลาอันใกล้ และยิ่งส่งผลให้สถานการณ์ที่ความขัดแย้งและเกลียดชังได้ลามไปสู่ประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่าง ชนชั้นกลางในกรุงเทพฯ กับผู้ชุมนุม ยิ่งเพิ่มมากขึ้นไปอีกและรังแต่จะทำให้ปัญหาต่างๆฝังรากลึกมากยิ่งขึ้นและยากแก่การแก้ไข ในการนี้ทางเราในฐานะที่เป็นการรวมกลุ่มของนักเรียน นักศึกษา ทั้งที่อยู่ในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งมีความห่วงใยต่อสถานการณ์บ้านเมืองและปฏิเสธความรุนแรงที่เกิดขึ้นและอาจเกิดขึ้นต่อไปในอนาคตอันใกล้ จึงขอเสนอทางออกให้กับสังคมดังต่อไปนี้


1. เนื่องจากเราไม่อาจปฏิเสธได้ว่าชนวนของความรุนแรงที่ได้เกิดขึ้นและอาจเกิดขึ้นซ้ำในระยะเวลาอันใกล้นั้น ในแง่หนึ่งมีที่มาจากการตัดสินใจที่ผิดพลาดของรัฐบาล ในการประกาศพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรง และการตัดสินใจสลายการชุมนุม อันนำมาซึ่งเหตุการณ์ปะทะและความสูญเสียที่เกิดขึ้น อีกทั้งภายหลังเหตุการณ์ดังกล่าวนั้นสื่อของรัฐได้นำเสนอข้อมูลที่ก่อให้เกิดความเกลียดชังและยั่วยุให้เกิดความรุนแรงในระหว่างประชาชนด้วยกัน อีกทั้งภายใต้การดำเนินการของกระทรวง ICT รัฐบาลยังทำการปิดกั้นช่องทางการรับทราบข้อมูลทางเลือกของประชาชนอีกด้วย รัฐบาลจึงควรแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากการกระทำของตน อย่างไรก็ตามการลาออกของนายกรัฐมนตรีนั้นคงมิใช่วิธีการแสดงความรับผิดชอบหรือทางออกที่ถูกต้องของปัญหาที่ได้เกิดขึ้น เพราะการลาออกนั้น อย่างมากที่สุดก็จะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงเพียงเฉพาะแต่ตัวของผู้เป็นนายกฯเท่านั้น หรือมากไปกว่านั้นก็เพียงแต่การปรับเปลี่ยนผู้ดำรงตำแหน่งในคณะรัฐมนตรี แต่มิได้นำมาซึ่งการแสดงความรับผิดชอบของคณะรัฐบาลโดยรวม หรือมากไปกว่านั้นความรับผิดชอบของพรรคร่วมรัฐบาลซึ่งควรมีส่วนในการรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของรัฐบาลในการนี้ด้วยในฐานะของฝ่ายบริหาร มากไปกว่านั้นหากพิจารณาร่วมไปกับการอ้างเหตุผลในการชุมนุมของกลุ่มผู้ชุมนุมที่มีเหตุผลสำคัญ ประการหนึ่งคือที่มาของรัฐบาลชุดนี้มิได้มีที่มาจากการเลือกตั้งโดยเสียงข้างมากของประชาชน แต่มาจากการปรับเปลี่ยนขั้วทางการเมืองของพรรคร่วมรัฐบาลดังนั้นทางออกที่เหมาะสมกว่าจึงเป็นการยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่ เพราะ

ประการแรก เป็นการแสดงความรับผิดชอบของคณะรัฐบาลทั้งคณะต่อการตัดสินใจที่ผิดพลาดดังกล่าว ตลอดจนเป็นการเปิดโอกาสให้รัฐบาลได้พิสูจน์ความบริสุทธิ์ใจของตนในการปล่อยให้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างโปร่งใสและเป็นกลาง คือเป็นอิสระจากอำนาจของรัฐบาลชุดนี้แล้ว

ประการที่สอง เป็นจุดเริ่มต้นในการแก้ปัญหาพื้นฐานที่กลุ่มผู้ชุมนุมใช้อ้างเหตุผลในการชุมนุม เพราะการเลือกตั้งใหม่ย่อมนำมาสู่การเปิดโอกาสให้ประชาชนได้พิจารณาและไตร่ตรองถึงสิ่งที่เกิดขึ้นและตัดสินใจเลือกในสิ่งที่ตนต้องการอีกครั้งหนึ่ง

การยุบสภาจึงเป็นทางเลือกที่รัฐบาลควรกระทำมากกว่าการสลายการชุมนุม ทั้งนี้เพื่อยุติความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมและความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นอีกครั้งในระยะเวลาอันใกล้


2. หากรัฐบาลได้ประกาศยุบสภาเป็นที่เรียบร้อยแล้วทางแกนนำ นปช. ควรประกาศยุติการชุมนุมและงดเว้นการกล่าวปราศรัยที่จะมีผลในการสร้างความเกลียดชังให้เพิ่มมากขึ้นในระหว่างผู้ชุมนุม กับผู้คนบางส่วนในกรุงเทพฯและรัฐบาล และไม่มีการชุมนุมหรือการเคลื่อนไหวใดๆขึ้นอีกในระหว่างที่รัฐบาลทำการรักษาการในตำแหน่งอยู่ในช่วงก่อนการเลือกตั้งใหม่ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด และผู้ร่วมชุมนุมควรเดินทางกลับภูมิลำเนาของตนและยุติพฤติกรรมที่อาจยั่วยุให้เกิดความรุนแรงขึ้นได้


3. คนกรุงเทพฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนชั้นกลาง ตลอดจนกลุ่มต่างๆไม่ว่าจะเป็นเสื้อสีอะไรก็ตามที่ออกมาชุมนุมตามจุดต่างๆของกรุงเทพฯ ในลักษณะที่อาจเป็นการยั่วยุให้เกิดความรุนแรงขึ้นควรยุติการกระทำของตนเช่นเดียวกัน ซึ่งในสถานะของปุถุชนแล้ว ทางเราในฐานะของลูกหลานชนชั้นกลาง และส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพฯเช่นเดียวกัน ย่อมเข้าใจได้ว่าการกระทำของผู้มาร่วมกลุ่มเหล่านั้นมีที่มาจากความรู้สึกเดือดร้อน และเป็นการกระทำเพื่อตอบโต้การชุมนุมของผู้ชุมนุมเสื้อแดง แต่หากต้องการให้สถานการณ์ทั้งหมดคลี่คลายลงนั้นย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่คนกรุงเทพฯ และชนชั้นกลาง จำต้องยุติพฤติกรรมในการชุมนุมดังกล่าว ในที่นี้ย่อมรวมถึงพฤติกรรมการยั่วยุที่รังแต่จะก่อให้เกิดกระแสความเกลียดชังในหมู่ประชาชนด้วยกันเช่นที่ปรากฎในสื่ออินเตอร์เน็ต เช่น Facebook เป็นต้น ในขณะที่ผู้นำของกลุ่มเสื้อสีต่างๆที่ออกมาในระหว่างนี้นั้นหากมีความรักให้กับประเทศชาติ ก็ควรที่จะหยุดพฤติกรรมที่รังแต่จะส่งผลให้เกิดความแตกแยกของตนไว้ด้วยเช่นกัน


4. ต่อข้อโต้แย้งที่ว่า การเลือกตั้งใหม่อาจนำมาสู่วงจรอุบาทว์ของการจัดตั้งมวลชนเพื่อล้มรัฐบาลต่อไปอย่างไม่สิ้นสุดนั้น พวกเรามีความเห็นว่า

ประการแรก ไม่มีสิ่งใดที่รับประกันว่าพรรคเพื่อไทย หรือพรรคใดๆ จะเป็นผู้ชนะในการเลือกตั้งและได้จัดตั้งรัฐบาลชุดต่อไป อีกทั้งการยุบสภาจะสามารถปลดเงื่อนไขของการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงในปัจจุบันและอนาคตอันใกล้ได้ในทันที

ประการที่สอง ถึงแม้ว่าจะมีความเป็นไปได้ที่พรรคเพื่อไทยจะได้รับเสียงข้างมากในการจัดตั้งรัฐบาล แต่จากบทเรียนที่เกิดขึ้นนั้น การชุมนุมใดๆ เพื่อเรียกร้องให้เกิดการยุบสภาหรือการลาออกของผู้นำรัฐบาลนั้น ย่อมมิอาจสำเร็จได้หากรัฐบาลชุดนั้นๆ ไม่สร้างเงื่อนไขสำคัญ ให้กลุ่มใดๆ นำมาใช้เป็นข้ออ้างในการชุมนุมเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้คนขนาดใหญ่

ประการที่สาม ที่สุดแล้วการชุมนุมของกลุ่มใดๆไม่ว่าจะเป็นเสื้อแดง เสื้อเหลือง หรือกลุ่มอื่นๆนั้นจะเกิดขึ้นหรือไม่นั้นมิใช่สิ่งที่เป็นปัญหาเพราะการชุมนุมโดยสงบของกลุ่มใดๆนั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ตามกรอบของระบอบประชาธิปไตย สิ่งที่ต้องพึงระวังจึงมิใช่การชุมนุมหากเป็นการไม่เปิดโอกาสให้ความรุนแรงเช่นนี้เกิดขึ้นได้อีก

มากไปกว่านั้นเราอาจต้องยอมรับว่าเกือบทุกกรณีในอดีตของรัฐไทยที่ผ่านมาสิ่งที่จะสามารถล้มรัฐบาลได้นั้นมิใช่การชุมนุมโดยตัวของมันเอง การชุมนุมทางการเมืองขนาดใหญ่อาจเป็นเงื่อนไขที่จำเป็นแต่ไม่ใช่เงื่อนไขที่เพียงพอต่อการล้มรัฐบาล แต่เป็นเพราะอำนาจนอกระบบที่แทรกแซงเข้ามาผ่านเงื่อนไขของความรุนแรงที่เกิดขึ้นหรือถูกอ้างว่าจะเกิดขึ้นในบริบทของการชุมนุม ดังนั้นก่อนที่ความรุนแรงระลอกต่อไปจะเกิดขึ้นหรือการแทรกแซงใดๆจะเกิดขึ้น และเพื่อธำรงไว้ซึ่งสิทธิของประชาชนทุกคน ยุติความขัดแย้ง และระงับความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้น อันจะส่งผลเสียให้กับประเทศมากไปกว่านี้ การประกาศยุบสภาโดยเร็วที่สุด หรืออย่างมากที่สุดภายใน 30 วันจึงเป็นสิ่งที่พวกเราในฐานะนักเรียน นักศึกษาดังมีรายนามดังต่อไปนี้เห็นว่าเป็นทางออกที่รีบด่วนอย่างยิ่งของสถานการณ์ของประเทศในปัจจุบัน


1.นายชยุตม์ ชำนาญเศรษฐ นักศึกษาปริญญาโท คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2.นายศักดิ์สิทธิ์ สีลาเขต นักศึกษาปริญญาโท คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 3.นายนนทวุฒิ ราชกาวี นักศึกษาปริญญาโท คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 4.นายศุภเกียรติ ศุภศักดิ์ศึกษากร นักศึกษาปริญญาโท คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 5.นายฉัตรชัย ทองสุขนอก คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาออกแบบนิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 6.นางสาวสุนิสา บัวละออ โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 7.นายเกื้อ เจริญราษฎร์ นักศึกษาปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 8.นายภวริษฐ์ ฉันทประยูร คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 9.น.ส. อจินไตย เฮงรวมญาติ นักศึกษาปริญญาโท คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 10.นายวยากร พึ่งเงิน นักศึกษาปริญญาโท คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


11.นายสมพล ชคัตประกาศ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 12.น.ส.วิชญา พรหมสวัสดิ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 13.นายรักนิรันดร์ ชูสกุล คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 14.นายธัชพงศ์ ศรีสุวรรณ นักศึกษาปริญญาโท Membrane Structure, Anhalt University of Applied Sciences, Germany., 15.น.ส.ธัญญธร สายปัญญา น.ศ.ปริญญาโท คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 16.นายตฤณ ไอยรา School of International Development, University of East Anglia., 17.น.ส.แวววิศาข์ ณ สงขลา คณะ มัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัย ศิลปากร, 18.นางสาวอัชฌา ถิรนุทธิ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 19.นางสาวสิรยา ชุมนุมพร นักศึกษาปริญญาโท คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 20.อาจินต์ ทองอยู่คง สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ธรรมศาสตร์


21.นางสาวนววิธ จิตต์วรไกร นักศึกษาปริญญาโท คณะสังคมสงเคราะห์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 22.อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 23.นายฮัสสัน ดูมาลี นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 24.การ์ตูน บุญมิ่ง นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 25.ภารุต เพ็ญพายัพ นักศึกษาป. โท คณะประวัติศาสตร์ Birkbeck College, 26.ณภัค เสรีรักษ์ น.ศ.ปริญญาโท คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 27.นายวัฒนา ลาลิน นักศึกษา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 28.กิตติพงษ์ เรือนทิพย์ นักศึกษาป.โท School of International Development, University of East Anglia, UK, 29.อธิศนันท์ ซันกูล ปริญญาตรี คณะวิจิตรศิลป์ มหาวัทยาลัยเชียงใหม่, 30.วันชัย สินประจักษ์กุล มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา


31.ทพ.ธีรวัฒน์ ทัศนภิรมย์ นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 32.วันเฉลิม โภคกุลกานนท์ นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 33.นายดิศพล ศิริรัตนบวร นักศึกษาชั้นปีที่สาม คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์, 34.กฤษณะ มณฑาทิพย์ School of Political Science and International Studies University of Queensland, 35.นางสาวกอปรทิพย์ อัจฉริยโสภณ นิสิตปริญญาเอก คณะสิ่งแวดล้อม, การพัฒนา และความยั่งยืน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 36.วิป วิญญรัตน์ นักศึกษาป.โท Department of History, Birkbeck College, University of London, 37.บุญครอง พรพนาทรัพย์ School of Law, Indiana University, 38.ทัชชนก นิลพันธุ์ LL.M. Indiana University, School of Law, 39.บัญชา ทุนถาวร School of the Art Institute of Chicago, Visual Communication Design, 40.วรรณพร เตชะไกศิยวณิช S.J.D. Indiana University, Maurer School of Law


41.นายธนากร ธีรวัฒน์วรกุล นักศึกษาปริญญาโท LLM. Dundee University, Scotland., 42.กนกพร ขจรศิลป์ LL.M. University of California, Los Angeles, School of Law, 43.รุ่งทิพย์ จันทร์ธนะกุล นักศึกษาป.เอก คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์, 44.รพีพัฒน์ พัฒนา ศศ.ม ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 45.ริสา สายศร BBA. Assumption University, 46.นาถรพี วงศ์แสงจันทร์ International Development Department, School of Government and Policy, University of Birmingham, 47.ตะวัน มานะกุล คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 48.นายเทอญ ฐิติเนื่อง Department of Accounting and Finance, University of Strathclyde, Glasgow., 49.ธนพงศ์ จิตต์สง่า น.ศ. ปริญญาโท คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 50.นายภัทร บุปผาวัลย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


51.นายเมธี ชุมพลไพศาล ปริญญาตรี เภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 52.กรัณย์ กาญจนรินทร์ นักศึกษาสถาบันภาษา Institut d′Etudes Françaises pour Etudiants Etrangers Université Paul Cézanne Aix-Marseille3, 53.ณิชนันท์ ตัญธนาวิทย์ ป.โท สถาบันภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ม.มหิดล, 54.นางสาวสุลักษณ์ หลำอุบล คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย, 55.ชญานิน เตียงพิทยากร คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 56.วิรุจ ภูริชานนท์ คณะ สถาปัตยกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 57.ศิริภัทร์ ทองสุขนอก คณะศิลปกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม, 58.วีระวรรณ แสนคำราง คณะสหเวชศาสตร์ ม.บูรพา, 59.วิชญาภรณ์ ศศิสกุลพร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 60.บดินทร์รัตน์ จันทน์ขาว คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


61.ทิวาพร ใจก้อน ป.โท ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, 62.น.ส.วริศรา ตั้งค้าวานิช ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, 63.นางสาว ภัชชารีญา ชัยได้สุข สาขา คอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ โรงเรียน พายัพเทคโนโลยีและบริหารธุรกิจ, 64.นายอภิรัตน์ สุนันทา สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ โรงเรียนพายัพเทคโนโลยีและบริหารธุรกิจ, 65.นางสาววันใหม่ หมื่นฤทธิ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง คณะมนุษศาสตร์ (สื่อสารมวลชน) ,คณะนิติศาสตร์, 66.ชานนทร์ เตชะสุนทรวัฒน์ เศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์, 67.นายวิศรุต บุนนาค ปริญญาตรี ภาควิชาประวัติศาสตร์และโบราณคดี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่, 68.นรินทร์ จิตต์ปราณีชัย เศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์, 69.นายสว่าง มีแสง นักศึกษาปริญญาโท คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 70.นางสาวปทุมรัตน์ ปานรัตน์ มหาวิทยาลัย Asia Pacific International University คณะ Biology


71.นายอดิราช ท้วมละมูล โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ ฉะเชิงเทรา, 72.นายสุทธิพงศ์ อาวะภาค คณะนิติศาสตร์ ม. สงขลานครินทร์, 73.น.ส.อันธิกา ทรงเผ่า คณะพลศึกษา เอกนันทนาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปี 2, 74.นายอภิรัตน์ ปานรัตน์ โรงเรียนเทพศิรินทร์ พุแค, 75.วชรพรรณ สิทธิโกศล นักศึกษาปริญญาโท(MBA)รามคำแหง, 76.นายวรพรต พัชตระชัย คณะBBA มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ, 77.ตรัย ลาพินี นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์, 78.น.ส.เมลิน ชูธรรมสถิตย์ Economics, University of Waterloo, Canada, 79.นายฮัมเดร์ ยุนุ นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 80.อรุษา ชัยชนะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


81.สมเกียรติ มูลทา BBA, ABAC, 82.นางสาวรุ่งนภา ธรรมชาติ บริหาร, หัวเฉียวฯ, 83.สิริมา บุตรสุทธิวงศ์ ป.โท ประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 84.ชัชชล อัจนากิตติ นักศึกษาปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 85.นายณัฐพล สวัสดี ศิลปกรรมศาสตร์ ม.กรุงเทพ, 86.นายธัชนนท์ ลักษณพรพงษ์ ปริญญาโท วารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 87.น.ส.วราภรณ์ สิทธิศักดิ์ธนกุล Communication Arts, Bangkok University International College, 88.ธิติพงษ์ ก่อสกุล นักศึกษาป.โท ชนบทศึกษาและพัฒนา ม.ธรรมศาสตร์, 89.รัฐนันท์ กิจนิธิไพศาล คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา (สำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา เดิม) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 90.นายไพโรจน์ ศรีเกษตร เทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร


91.นายสรไกร คำแก่น รัฐประศาสนศาสตร์ ม.ธุรกิจบัณฑิต, 92.นายนิวัตชัย ขยายแย้ม ศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์, 93.ธีรวัฒน์ คงเที่ยง ศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์, 94.ศศิธร ศรีเพชรางกูร คณะนิเทศศาสตร์ สาขาภาพยนตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 95.น.ส.สุทธวรรณ สุบรรณ ณ อยุธยา วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 96.พรเทพ โลมรัตนา การจัดการสารสนเทศ ม.ราชภัฏสวนสุนันทา, 97.พนิดา เรืองสว่าง บริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 98.กนกวรรณ ไตรยวงค์ เภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียว, 99.วิชญา ศิระศุภฤกษ์ชัย ป.โท คณะพาณิชย์และการบัญชี ภาคภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 100.อธิคม จีระไพโรจน์กุล ป. โท คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ภาคภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


101.นายชนาธิป โพธิ์แก้ว คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เขตพื้นที่ภาคพายัพ เชียงใหม่, 102.โชติช่วง มีป้อม ป.โท พิพิธภัณฑ์ศึกษา สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล, 103.นายณัฐ พัฒนศิริ School of Music มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ, 104.จารุณี ธรรมยู นิสิตปริญญาโท ภาควิชาปรัชญา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 105.นายอานันท์ สุขุมภาณุเมศร์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 106.ภัทรกร บุญเสรฐ วิทยาลัยดุสิตธานี สาขาการจัดการโรงแรม, 107.สุพรรษา มิ่งขวัญ คณะศิลปกรรม สาขาคอมพิวเตอร์อาร์ต ม.รังสิต, 108.นายนรุตม์ เจริญศรี นิสิตปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 109.นางสาวจิตรชนก คงจรัสพัฒน์ ป.ตรี คณะเทคโนโลยีการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 110.นฤมล กล้าทุกวัน นักศึกษาปริญญาโท คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


111.นส.ณัฐสุดา แก่นน้อย คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 112.นาย อดิศร กรอบกระจก คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 113.นาย ธนวัฒน์ ไพรวิจิตร โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย, 114.นางสาวเบญจรัตน์ อักษรเลิศสวัสดิ์ วิทยาลัยการบริหารและจัดการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, 115.นางสาวปรางใส องพิสิฐ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 116.นางสาวนิตต์ณิชา โชติกเสถียร คณะศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์, 117.นางสาวสลิสา ยุกตะนันทน์ นักศึกษาปริญญาโท Social and Political Thought, University of Warwick, UK., 118.ไชยรัตน์ ชินบุตร รัฐศาสตร์ การปกครอง รามคำแหง, 119.นางสาว ธนาภรณ์ ชุมพลไพศาล นักศึกษา วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล, 120.นายอธิวัฒน์ กิจวนิชย์ภาสุ นักศึกษาปริญญาโทภาคภาษาอังกฤษ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


121.นายณัฏฐ์ หงษ์ดิลกกุล นักศึกษาปริญญาโท-เอก คณะเศรษฐศาสตร์, Simon Fraser University, 122.นายวรุตม์ วรดิถี Economics, Swedish University of Agricultural Sciences, 123.ขวัญอรุณ โอภานนท์ ปริญญาโท รัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์, 124.ภาณุ ชินผา นักศึกษาปริญญาตรีคณะเศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์, 125.สุทธิอัตถ บุญชื่น MBA, California state University polytechnic Pomona, 126.ภาสวร ตั้งชัยพิทักษ์ บริหารธุรกิจ รามคำแหง, 127.นางสาวชนัญชิดา อนันตวิเชียร ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา, 128.นางสาวโมไนย โรจนภิมุข เครื่องสายสากล มัธยมศึกษาปีที่6 โรงเรียนมัธยมสังคีตวิทยา กรุงเทพมหานคร, 129.หทัยญา บุญสะอาด คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 130.น.ส.อริสรา ฤทธิยา เทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาลัยเทคนิคบูรพา ปราจีนบุรี


131.นายวีรภัทร คันธะ นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์, 132.นางสาวสรัญญา ธีรวุฒิ คณะครุศาสตร์ ภาควิชาภาษาอังกฤษ ม.ราชภัฏสวนสุนันทา, 133.นายสยาม ธีรวุฒิ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 134.ไพลิน ปิ่นสำอางค์ ศศ.บ.(ปรัชญา) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 135.น.ส.ไอลดา ลิบลับ ศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์, 136.น.ส. ประทุมรัตน์ นางแย้ม นักศึกษาปริญญาตรี สาขาวิชาปรัชญา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 137.สุธิดา ชลชลาธาร นักศึกษาปริญญาโท Faculty of Education, Early Childhood Studies Department, Roehampton University, 138.นางสาวศิริภรณ์ พุฒทาจู ปี4 ศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 139.นายคเณศ จิวระโมไนย์กุล วิศวกรรมศาสตร์ ปี4 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 140.กฤดิกร เผดิมเกื้อกูลพงศ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


141.สุรชิต วรรณพัฒน์ ปี3 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 142.น.ส.ฐิตินันท์ บุญรอด ปี5 คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 143.นายพงศกร พ่วงน่วม ปี3 บริหารธุรกิจ รามคำแหง, 144.สิทธิโชค พริ้งประยงค์ ปี5 คณะดุริยางคศิลป์ สาขาธุรกิจดนตรี มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ, 145.นายมารุต ตั้งวัฒนาชุลีพร, Ph.D. student in Institute of Medical Microbiology, Goettingen University, Germany., 146.น.ส.วีรวัลย์ ทิพย์ธวัชวงศา ปี 2 คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 147.น.ส. อักษราภัค ชัยปะละ นิสิตปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 148.วิษณุ อาณารัตน์ ปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 149.นส. อิสรีย์ เพชรบัวศักดิ์ ปริญญาตรี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 150.รัชชานนท์ โชติพุฒศิลป์ เศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์


151.พัชร์ศร ทองสลวย คณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์, 152.เพรียวพันธ์ เกริกพิทยา คณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์, 153.โยธิน โบราณวรรณ คณะดุริยางค์ศาสตร์ ศิลปากร, 154.ธรรมนูญ จำคำ, Asia Pacific Management, Ristumeikan Asia Pacific University, 155.วิทย์ ประสมปลื้ม นักศึกษาปริญญาโท Master of Public Administration, Arizona State University, 156.วิมลวรรณ ลิ่วชวโรจน์ ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ, 157.รูปพิมพ์ สุขพานิช Travel Industry Management, Mahidol University International College, 158.สันติ ปินทุกาศ นักศึกษาปริญญาโท คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 159.พรทิวา ขนอม นักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 160.นายชัชพงษ์ โลหะบาล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล


161.จิตติคุณ เลี่ยวจำนงค์ ป.ตรี คณะวิทยาศาตร์,คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พระนคร [พระนครเหนือ], 162.นางสาวชลธิชา ศรีทอง โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย ศิลป์-คำนวณ ม.6, 163.นางสาวปวริศา คุณาวรนนท์ คณะนิเทศศาสตร์ ม.กรุงเทพ, 164.นายจิระวิน ตานีพันธ์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 165.ชาคร รุ่งเรืองไพฑูรย์ พาณิชยศาสตร์และการบัญชี ธรรมศาสตร์, 166.นายอัคริศ ต้องทรัพย์อนันต์ น.ศ.ป.ตรีปี4 วิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร , ป.ตรี ปี2 รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 167.นายปฏิภาณ นิลศิริ นิสิตภาคบัณฑิตคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (บัณฑิตปี 52 คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์), 168.นายกษิดิ์เดช ซาฮิบ เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 169.นายมณเฑียร เลขาลาวัณย์ ครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, 170.นายณัฐพันธุ์ บุญเลิศ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง


171.นายภาคภูมิ พลานุวัฒน์ เทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 172.ภนิธา โตปฐมวงศ์ เศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์, 173.น.ส. ธีรินทร์ ศรีประเสริฐ Mahidol University International College [MUIC], 174.สิริพล ธารีรัชต์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, 175.น.ส.ธัญลักษณ์ นิลศิริ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 176.ทรงกลด ขาวแจ้ง สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 177.ปรินทร์ ทองวรานันท์ School of Music ABAC, 178.นายพงศ์นเรศ อินทปัญญา นักศึกษาโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 179.ธนาวุธ ศรีสุข นักศึกษาปริญญาโทสาขาวิชา Bioinformatics มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีบางมด, 180.สมยศ สืบจากดี นักศึกษาปริญญาเอก คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


181.ปกป้อง เลาวัณย์ศิริ นักศึกษาปริญญาโท Department of Political Science, University College London, 182.นายกิตติกร นาคทอง นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 183.นายฑภิพร สุพร คณะสังคมศาสตร์ ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 184.นางสาวอักษร สุดเสนาะ โรงเรียนหอวัง, 185.นายธนิสสร มณีรักษ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง