ที่มา Thai E-News
ต่อมาเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2553 รัฐบาลได้บังคับใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ สถานการณ์ได้บานปลายมีการปะทะกันทำให้มีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บหลายร้อยคนและพบว่ามีการใช้อาวุธสงครามและกระสุนจริง ทั้งที่ก่อนหน้านี้ได้มีประชาชนหลายฝ่ายได้ออกมาเสนอแนะให้รัฐบาลหลีกเลี่ยงการใช้มาตรการที่เกินกว่าความจำเป็น เช่น การใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุม และขอให้กลุ่มผู้ชุมนุมยืนหยัดในหลักการสันติอหิงสา ดังที่ทราบกันทั่วไปแล้วนั้น
2. ขอให้รัฐบาลยกเลิกการใช้กำลังทหารไปควบคุมการชุมนุมทางการเมือง เพราะจะยิ่งทำให้เกิดการเผชิญหน้าและเพิ่มแรงกดดันซึ่งอาจนำไปสู่การต่อต้านที่รุนแรงและทำให้สถานการณ์บ้านเมืองเลวร้ายขึ้นไปอีก
3. ขอให้รัฐบาลยกเลิกการปิดช่องทางการสื่อสารของผู้ชุมนุม เพราะหากดำเนินการต่อไปจะยิ่งเป็นการยั่วยุให้ประชาชนที่ถูกปิดกั้นการรับข้อมูลข่าวสารเข้ามาสมทบในสถานที่ชุมนุมเพิ่มเติมอีก
4. ขอให้รัฐบาลแสดงความรับผิดชอบต่อการตัดสินใจที่ผิดพลาดและการดำเนินการที่ล้มเหลวในการควบคุมสถานการณ์ ทั้งนี้ หากคำนึงถึงจริยธรรมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลสมควรประกาศยุบสภาหรือลาออกโดยเร็ว
5. ขอให้แกนนำกลุ่มผู้ชุมนุมไม่ละทิ้งแนวทางสันติอหิงสาตามที่ได้ประกาศไว้ และระวังป้องกันหรือควบคุมผู้ชุมนุมบางคนที่อาจมีความรู้สึกโกรธแค้นต่อการปฏิบัติของรัฐบาลให้หลีกห่างจากการกระทำใดๆอันอาจจะนำไปสู่ความรุนแรง
6. หากการชุมนุมยังไม่ยุติ ขอให้แกนนำกลุ่มผู้ชุมนุมจำกัดการเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ชุมนุมให้เป็นไปในลักษณะที่จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนให้น้อยที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
วันที่ 11 เมษายน 2553
ผู้ประสานงานเครือข่ายนักวิชาการเพื่อสังคมที่เป็นธรรม
ชวลิต หมื่นนุช มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
วรยุทธ ศรีวรกุล คณะปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
เสถียรภาพ นาหลวง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
บัญชา สกุลดี มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
ชาญ มายอด ศูนย์จริยธรรมวิชาชีพ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
เพื่อไทย
Sunday, April 11, 2010
นักวิชาการร้องยกเลิกพรก.ฉุกเฉิน จี้รับผิดชอบด้วยการยุบสภา/ลาออก
เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสังคมที่เป็นธรรม
Scholars’ Network for a Just Society
แถลงการณ์ฉบับที่ 2
เรื่อง การคลี่คลายสถานการณ์บ้านเมืองให้เข้าสู่ความสงบสันติ
เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสังคมที่เป็นธรรม ขอแถลงการณ์มาเพื่อเรียกร้องรัฐบาลและแกนนำผู้ชุมนุมให้ช่วยกันคลี่คลายสถานการณ์ให้เข้าสู่ความสงบสันติ ดังนี้
1. ขอให้รัฐบาลยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงฯ เพราะเป็นเหตุให้สถานการณ์แต่เดิมที่ยังมิได้มีความร้ายแรงถึงขนาดได้ทวีความตึงเครียดจนนำไปสู่จุดวิกฤติเกิดการปะทะกันระหว่างทหารและประชาชนทำให้เกิดความสูญเสียทั้งสองฝ่ายดังกล่าวและก่อให้เกิดความเสียหายต่อภาพลักษณ์และกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศโดยเฉพาะการท่องเที่ยวและการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์