WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, April 16, 2010

หลุมพราง อำนาจ จาก ยุค ถนอม กิตติขจร ถึง ยุค "อภิสิทธิ์"

ที่มา ข่าวสด


เสียงเตือนจาก นายบรรหาร ศิลปอาชา ถึง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ว่า

"ควรจะปรึกษา นายชวน หลีกภัย และ นายบัญญัติ บรรทัดฐาน"

น่าคิด

น่าคิดว่าแวดวงการหารือของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ น่าจำกัดอยู่เพียง หากมิใช่ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ก็ นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย

หรือไม่ก็ นายศิริโชค โสภา

ยิ่งเมื่อต้องออกจากบ้านไปพำนักยาวอยู่ในกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ บางเขน ยิ่งทำให้ตกอยู่ในลักษณะถูกตีกรอบ

กรอบ 1 เป็นบรรดารัฐมนตรีและคนสนิทที่ใกล้ชิด

กรอบ 1 เป็นบรรดาแม่ทัพ นายกอง ในเครื่องแบบ ไม่ว่าจะในที่ประชุมหรือกลับไปพักในบ้านรับรอง

หูตาจึงพลอยถูก "กำกัด" ให้อยู่ใน "พื้นที่" อันจำกัด



ขอให้พิจารณาข้อมูลข่าวสารจาก พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด ที่ตอบคำถามที่ว่า ศอฉ.ประเมินผู้ชุมนุมเหลือเท่าไหร่

"เมื่อเช้า 08.30 น. มีไม่มาก ผ่านฟ้า 3 พัน ราชประสงค์ 2 พัน"

หากมองจากฐานข้อมูลของศูนย์อำนวยการการบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินอันเป็นคู่ขัดแย้งกับ นปช.แดงทั้งแผ่นดิน ก็สามารถเข้าใจได้

เข้าใจได้ว่าจำเป็นต้อง "ดิสเครดิต" อีกฝ่าย

นั่นก็คือ จำเป็นต้องนำเสนอจำนวนประชาชนในที่ชุมนุมในเวลาอันถือว่าแย่ที่สุด คือ เวลาตอนเช้า

แทนที่จะเอาเวลาตอนค่ำหรือตอนดึกซึ่งมากด้วยความคึกคัก

กระนั้น หากเริ่มต้นจากความต้องการ "ดิสเครดิต" ต่ออีกฝ่ายอย่างเจตนาเช่นนี้แล้วโอกาสที่นำไปสู่ความผิดพลาดจากข้อมูลที่คลาดเคลื่อนก็มีความเป็นไปได้สูง

และ "ข้อมูล" ประเภทนี้เองที่แวดล้อม นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อยู่



ไม่เพียงแต่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะถูกป้อนข้อมูลจากฝ่ายทหารและตำรวจที่ต้องการเอาอกเอาใจว่าสถานการณ์มิได้ย่ำแย่

หากข้อมูลจากคนสนิท ข้อมูลจากประดา "วอลเปเปอร์" ก็แทบไม่แตกต่าง

นั่นก็คือ ข้อมูลประเภท นปช.กำลังขัดแย้งแตกแยก มีปัญหาเรื่องการได้รับเงินที่ไม่เท่าเทียมและไม่สม่ำเสมอ

ข้อมูลประเภทที่ประชาชนเริ่มรู้ข้อเท็จจริงและถอนตัวออกไป

จึงมองข้ามความเป็นเอกภาพ จึงมองข้ามความแข็งแกร่ง จึงมองข้ามความสามารถในการระดมกำลังเข้ามาร่วมอย่างรวดเร็ว

ตรงนี้แหละที่ทำให้การตัดสินใจในวันที่ 10 เมษายน ผิดพลาด

ตรงนี้แหละที่เมื่อไม่สามารถสลายการชุมนุมได้ภายในเวลา 18.00 น.ตามกำหนด ยังดึงดันที่จะเดินหน้าต่อไป แม้ว่าจะค่ำมืดและมากด้วยความสับสนอย่างยิ่ง

แทนที่จะกำชัย จึงกลับเป็นความล้มเหลวและกลายเป็น "นายกฯ มือเปื้อนเลือด"



ไม่ว่า จอมพลถนอม กิตติขจร ไม่ว่า พล.อ.สุจินดา คราประยูร ล้วนอยู่ในสถานการณ์เช่นนี้

เป็นสถานการณ์ของบุคคลที่อยู่บนบัลลังก์แห่งอำนาจ ในอีกด้านทำให้เหินห่างจากข้อมูลและความเป็นจริง และเหินห่างจากทุกข์ของประชาชนซึ่งอยู่ภายใต้การปกครอง

เป็นความผิดพลาดที่ตกทอดจาก 2516 มาถึง 2535 และ 2553 จนได้