WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, April 12, 2010

‘สมบัติผู้ดี’ กับ ‘ตรีดาว อภัยวงศ์’

ที่มา vattavan


‘สมบัติผู้ดี’ กับ ‘ตรีดาว อภัยวงศ์’

วาทตะวัน สุพรรณเภษัช

มื่อต้นเดือนนี้ ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอหยุดทำการ และปิดมหาวิทยาลัย ตั้งแต่วันพฤหัสบดี ที่ 1 เมษายน 2553 เป็นต้นไป จนถึงวันอาทิตย์ ที่ 4 เมษายน 2553 และไปเปิดทำการตามปกติเอาในวันจันทร์ ที่ 5 เมษายน 2553 ผู้คนที่ได้ยินประกาศแล้ว ยังคิดว่า

content/picdata/217/data/A2.jpg

ทางมหาวิทยาลัยแห่งนี้ เห็นนิสิตจุฬาฯจะต้องไป “เช็งเม้ง” กันจำนวนมาก เลยใจดีหยุดให้ แต่ในที่สุดก็ได้ความว่า เหตุผลที่ปิดทำการนั้น
แท้ที่จริงแล้ว ทางจุฬาฯกลัวผลกระทบทางการเมือง ในห้วงระยะเวลาที่ผู้คนในชาติจำนวนมหาศาล กำลังชุมนุมกัน เพื่อซ่อมแซมประชาธิปไตย ที่ชำรุดทรุดโทรมของสยามประเทศ
สาเหตุจะเป็นไปเป็นมาอย่างไรนั้น ผมจะค่อยๆลำดับให้ฟังดังต่อไปนี้

นิสิตของจุฬาฯนั้น เคยมีประวัติเป็น ‘ผู้นำทางปัญญา’ ให้กับผู้คนของประเทศนี้ ไม่เว้นแม้แต่ในเรื่องการบ้านการเมือง โดยเฉพาะการริเริ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองครั้งใหญ่ และมีความสำคัญมาก นั่นคือ
ริเริ่มจัดการเดินขบวน เพื่อต่อต้านคัดค้านผลการเลือกตั้ง เมื่อปี พ.ศ.2500 ครั้งพรรคเสรีมนังคศิลาฝ่ายรัฐบาล แข่งกับประชาธิปัตย์ แต่มีการกล่าวหาว่า
ทางฝ่ายรัฐบาล โกงการเลือกตั้ง!
การเดินในครั้งนั้น เป็นการก้าวย่างสำคัญทางประวัติศาสตร์ โดยได้ตั้งขบวนออกเดินจากจุฬาฯ ตอนสายๆ มีจุดหมายปลายทางอยู่ที่รัฐสภา ฝ่ายรัฐบาลก็ส่งทหารมาตั้งด่านสกัดกั้นที่สะพานมัฆวานฯ แต่ขบวนก็ฝ่าฟันไปได้ โดยไม่มีการปะทะกัน
เมื่อถึงรัฐสภา ฝูงชนที่มีกำลังอารมณ์พลุ่งพล่าน ได้พังประตูสภาเข้าไป (ฟังคุ้นๆไหมครับ?)และขอพบนายกรัฐมนตรี ซึ่งท่านจอมพล ป. คนปีไก่ นายกฯในขณะนั้นได้ลงมาพบ แต่ปรากฏว่าเจรจากันไม่รู้เรื่อง
ประชาชนจึงเรียกร้อง ขอให้จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นผู้ขึ้นพูด ซึ่งเจ้าตัวก็ไม่ขัดข้อง ได้ขึ้นปราศรัยตามคำเรียกร้อง และรับจะแก้ไขปัญหา ฝูงชนพอใจ การสลายตัวจึงเกิดขึ้น
จอมพล ส.จึงได้คิวพระเอกไปเต็มๆ!
นี่เป็นบทบาทของนิสิตจุฬาที่เด่นมาก เพราะหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ไม่เคยมีการเดินขบวนครั้งใหญ่มาก่อน แต่ก็ดูเหมือนจะเป็นเพียงครั้งเดียว ที่จุฬาฯเป็นแกนนำ ทั้งนี้ก็เพราะว่า
หลังจากที่จอมพลสฤษดิ์ฯ ได้ปฏิวัติยึดอำนาจเบ็ดเสร็จ เมื่อปี พ.ศ.2502 ก็ได้ส่งจอมพล ประภาส จารุเสถียร นายทหารที่ร่วม
ก่อการ ไปเป็นอธิการบดีของจุฬาฯ จากนั้นบทบาททางการเมือง ของมหาวิทยาลัยสามย่าน ก็ค่อยๆซาลง นิสิตสงบเสงี่ยมเรียบร้อยมากขึ้น ไม่หวือหวาเหมือนเก่า เลยเสียการนำทางการเมือง ให้กับทางกลุ่มนักศึกษาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไป

ท่านผู้อ่านที่เคารพครับ
การเคลื่อนไหวทางการเมืองในจุฬาลงกรณ์นั้น ตามตัวอย่างที่ผมยกมาโดยย่อ ก็เพื่อแสดงว่า นิสิตจุฬาฯนั้นเป็นผู้ดำรงความคิดริเริ่มและมีแนวทางการเมืองของตนเองอย่างชัดเจน การแทรกแซงของอาจารย์ แทบจะไม่มีปรากฏให้เห็น
การเคลื่อนไหวของนิสิตจุฬา ในระยะหลังๆ มักไปรวมกับกลุ่มนักศึกษาอื่นๆที่มหาวิทยาลัยท่าพระจันทร์ แต่ก็ยังพอมีนิสิตตัวเด่นๆของจุฬา มาโดดดังยุคต้าน ‘ถนอม-ประภาส’เธอชื่อ
จิระนันท์ พิตรปรีชา!
หลังจากนั้น นิสิตหัวก้าวหน้าทางการเมือง ของสถาบัน
สามย่านแห่งนี้ ดูเหมือนจะโรยราเหมือนต้นจามจุรียามราโรย ซึ่งทอดเวลาเนิ่นนานกว่า 3 ทศวรรษแล้ว ยังหาหนุ่มสาวจากจุฬาฯขึ้นมาแทนที่ ‘คุณป้า-จิระนันท์’ เธอไม่ได้

ส่วนการเคลื่อนไหวของอาจารย์จุฬาฯทั่วๆไป ก็ไม่ต่างจากสถานศึกษาของรัฐอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการดำเนินการส่วนตัวแบบ ‘ทางใครทางมัน’ และจะไปเคลื่อนไหวนอกจุฬาฯ หรืออย่างมากพวกอาจารย์ที่ไปร่วมกิจกรรมทางการเมือง ก็เอามหาวิทยาลัยเก่าแก่แห่งนี้ไว้ เป็นที่ ‘อิงหลัง’คล้ายๆเป็นเพียง ‘เซฟเฮ้าส์’ ของตัวเองเท่านั้น
การที่มหาวิทยาลัยเก่าแก่ของชาติอย่างจุฬาฯ ต้องประกาศปิดตัวเองลงในครั้งนี้ ไม่ได้เป็นผลจากการกระทำของนิสิต หากแต่เป็นการเคลื่อนไหวส่วนตัวของพวกอาจารย์ และเป็นเรื่องเฉพาะตัวด้วย
รายงานข่าว เขาบอกว่า...

สาเหตุที่จุฬาฯต้องประกาศปิดเรียน เพราะมีอาจารย์ 1 นาย กับอีก 1 นาง ดันสะแหลนโผล่ออกมา ชักชวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างไม่มีปี่มีขลุ่ย ท่ามกลางความแปลกใจของนิสิต และเพื่อนอาจารย์เอง
อาจารย์สองคนของมหาวิทยาลัย นั้นคือนายจรัส สุวรรณมาลา และนางตรีดาว (สุขุม) อภัยวงศ์ ที่มีประวัติชัดเจนว่า เป็นฝ่ายพันธมิตร (ผู้คนชอบเรียกว่า ‘พันธมาร’)
นายจรัส สุวรรณมาลา เคยขึ้นเวที่กลุ่มพันธมาร ขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หลายครั้งใน ปี 2548 จนเจ้าตัวถูกกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง ถึงความไม่เหมาะสม อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในนักวิชาการเสื้อเหลือง ที่กลุ่มพันธมารระบุว่า เป็นเครือข่ายนักวิชาการของกลุ่มคนเสื้อเหลือง
ในที่สุด นายจรัส ทนกระแสวิพากษ์วิจารณ์ไม่ไหว ต้องลาออกจากคณบดีคณะรัฐศาสตร์
ต่อมา หลังการรัฐประหาร 19 ก.ย.2549 นายจรัสได้รับการปูนบำเหน็จจาก ‘ไอ้บัง กบฏ’ ให้เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ
เท่านั้นไม่พอ ยังได้ทุนจากรัฐบาลยุทธ ยายเที่ยง เป็นจำนวน 46 ล้าน มาทำการวิจัย แต่กลับส่งกลิ่นฟุ้ง เพราะโดนวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก (ซึ่งผมจะเอารายละเอียด มาฟาดกันให้จั๋งหนับอีกที)
ส่วนนางตรีดาวฯ คู่หูคู่ฮานั้น เป็นหนึ่งในคณาจารย์คณะอักษรศาสตร์ ที่เคยเข้าชื่อให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ลาออก และได้ขึ้นเวทีปราศรัยขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ในการชุมนุมที่หน้าห้างสยามพารากอนในวันที่ 29 มีนาคม ด้วย จัดได้ว่าอาจารย์ทั้งคู่นี้
เป็นพวก “เสื้อเหลือง” เต็มพิกัด!

มาคราวนี้ อาจารย์เสื้อเหลืองทั้งสอง ได้ประกาศเคลื่อนไหวทางการเมืองที่น่าแปลกใจ คือ ชักชวนให้ผู้คนสวม “เสื้อชมพู” มาชุมนุมกันในมหาวิทยาลัย โดยมีวัตถุประสงค์ที่แท้จริงคือ การสนับสนุนรัฐบาล ต่อต้านการชุมนุมของกลุ่ม นปก.
การเคลื่อนไหวทางการเมืองของชาย-หญิงคู่นี้ มีผลนำไปสู่การปิดมหาวิทยาลัยในครั้งนี้ ซึ่งคงจะไม่ใช่เรื่องแปลก ถ้าหากอาจารย์ทั้งสอง ไม่มีตราประทับ หรือถูก ‘สักหน้าผาก’ ว่าเป็นฝ่ายพันธมาร และไม่ใช้มหาวิทยาลัยเป็นที่ชุมนุม
ทางจุฬาฯคงไม่ประกาศ ปิดฉุกละหุกอย่างนั้น!
การกระทำของอาจารย์ทั้งสองนั้น คงทำไปโดยพลการ ไม่ได้ปรึกษาหารือกับฝ่ายบริหารมหาวิทยาลัยก่อน จึงเป็นการนำจุฬาลงกรณ์ ลงไปคลุกฝุ่นการเมือง เพื่อประโยชน์ทางการเมืองของตนโดยแท้ ทั้งๆที่รู้ดีแก่ใจว่า
สภาพภายในของจุฬา ปัจจุบันก็ไม่ต่างจากนอกรั้วมหาวิทยาลัย คือแบ่งกันเป็นฝักเป็นฝ่ายเรียบร้อยแล้ว โดยมีคนทั้งเห็นด้วยกับรัฐบาล และฝ่ายที่มีความเห็นตรงข้าม
หรือเป็นปฏิปักษ์ด้วยซ้ำ!
ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่ไม่น่าแปลกใจ ที่อาจารย์ผู้ใหญ่อย่างท่านอธิการบดี จะมีการตัดสินใจอย่างรวดเร็ว เพื่อระงับผลร้ายที่อาจเกิดขึ้น ด้วยการประกาศปิดมหาวิทยาลัย ชาวบ้านเขาก็พากันสรรเสริญว่า
ท่านอธิการนั้น….ทำถูกต้องแล้ว!

มื่อวันอาทิตย์ต้นเดือน เม.ย. ตอนเช้าตรู่ ผมได้ฟังรายการวิทยุ 96.5 มีนายจิระ หงส์ลดารมย์ อาจารย์เก่า ม.ธรรมศาสตร์ เป็นผู้ดำเนินรายการร่วมกับสตรีอีกนางหนึ่ง เป็นรายการเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งก็ไม่ได้ให้ข้อคิดที่พิศโดกพิสดารอะไร การแสดงความเห็นก็เป็นเรื่องเป็นเรื่องพื้นๆ ไม่มีจุดเด่นที่พอจะนำมาพูดถึง
แต่ที่สำคัญ และไม่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรมนุษย์ ก็คือ
นายจิระฯ ดันทะลึ่งใช้ถ้อยคำรุนแรง วิพากษ์วิจารณ์การกระทำอธิการบดีจุฬาลงกรณ์ ว่าเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง
ถ้าจำไม่ผิดอีตาจิระฯนั้น ถึงกับใช้คำ “ประณาม” กับการประกาศหยุดการเรียนของอธิการบดีจุฬาฯในครั้งนี้
อยากจะบอกว่า นายจิระนั้น ไม่ได้วิเศษวิเสโส ถึงขั้นไปออกอาการกร่างอย่างนั้น เพราะแค่ประวัติอย่างนายจิระฯนั้น คงไม่ทางเทียบกับ ท่านศาสตราจารย์ นายแพทย์ภิรมย์ กมลรัตนกุลอธิการบดีของจุฬาฯได้ เพราะการที่อีตาจิระฯคนนี้ ดันไปมีข่าว
อื้ออึงในทางลบแก่ตัวเองนั้น
ผู้คนเขาก็ยัง...ไม่ลืม!

ดังนั้น การที่นายจิระฯฉกฉวยโอกาส ใช้คลื่นวิทยุ อ.ส.ม.ท. Fm 96.5 ที่ทางสถานีอุตส่าห์ใช้ชื่อเรียกขานว่า‘คลื่นความคิด’ มาใช้เป็นช่องทางโจมตีต่ออธิการบดีจุฬาฯโดยตรง และไม่เกี่ยวกับเนื้อหาของรายการเลย เป็นการกระทำที่ผิดวัตถุประสงค์ขององค์กรสื่อสารแห่งนี้ และอาจทำให้คลื่นดีๆของ อ.ส.ม.ท. อาจถูกวิพากษ์วิจารณ์
จนกระทั่งกลาย ‘คลื่นสิ้นคิด’ เป็นไปในที่สุดก็เป็นได้!

การที่นายจิระฯออกมามาพูด ในทำนองปกป้องการกระทำของสองอาจารย์ ที่กระทำการอันไม่สมควร เพราะอาจนำสถาบันเก่าแก่ที่มีชื่อเสียงอย่างจุฬาฯ ไปโดนย่ำยีทางการเมืองได้ นั้น
ถ้าหากมองลึกเข้าไป ถึงเบื้องหลังของการวิพากษ์วิจารณ์ออกสื่อวิทยุของอีตาจิระฯ เราก็จะพบว่า
นางตรีดาว อภัยวงศ์ หนึ่งในผู้ที่เคลื่อนไหว เพิ่งแต่งงานกับลูกติดภริยาใหม่ของนายจิระฯซึ่งเป็นลูกชายของ นายปราโมทย์ สุขุม นักการเมืองผู้เป็น ‘สุภาพบุรุษ’ ซึ่งล่วงลับไปแล้ว
ใช่แต่แค่นั้น นางตรีดาวฯก็ยังเป็น ‘วิทยากร’ ในหลักสูตรของนายจิระฯ ที่ไปรับฝึกอบรมให้องค์กรต่างๆด้วย
คราวนี้ถึง ‘บางอ้อ’ กันหรือยังล่ะครับ!?

ขอพูดอย่างตรงไปตรงมา ว่า
การที่หนูตรีดาวฯนั้นเกิดมาในตระกูลเก่าแก่ มีฐานะพอสมควร ได้รับการศึกษามากกว่าลูกสาวชาวบ้าน ก็นับว่าโชคดีแล้ว แถมยังได้ไปเป็นลูกสะใภ้ตระกูล “ผู้ดี-มีเงิน” แต่น่าชมที่ตัวเธอกลับไม่หยิบโหย่ง และไม่ใช่เป็นประเภท...
ฉันเกิดมาสบายแล้ว เลยไม่สนใจบ้านเมือง!
นอกจากนั้น ยังชอบที่หนูตรีดาวรู้จัก “Fight for the right!” และเป็นหนึ่งในคนรุ่นใหม่ ที่มีทั้งความรู้และอุดมการณ์
แต่เสียดายที่หนูตรีดาว (และนายจรัส สุวรรณเวลา อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์)ออกมาเรียกร้องครั้งนี้ ดันทำในรูปของกลุ่ม “เสื้อสีชมพู” ซึ่งหนูตรีดาวฯยืนยัน ว่า
เป็นภาคประชาชน ที่ไม่ต้องการแบ่งฝ่ายเลือกสีทางการเมือง ต้องการเพียงจะแสดงพลังความรักชาติ ความสามัคคี และไม่ต้องการให้คนกรุงเทพฯ...ต้องตกเป็นตัวประกัน!
แต่ในความเป็นจริงแล้ว ก็ทราบกันทั้งในจุฬาฯและทั่วๆไปว่า หนูตรีดาว(และนายจรัสฯ) เป็นพวกสีเหลือง และเป็นเหลืองแท้ๆ ที่ขึ้นเวที ปราศรัยเพื่อพันธมารมาแล้วทั้งคู่!
ตรงนี้...น่าเสียดาย

หนูตรีดาวรู้หรือเปล่าว่า
ความองอาจ กล้าหาญ เป็นสมบัติที่สำคัญยิ่งของผู้ดี!
การ “พูดสิ่งใดย่อมเป็นที่เชื่อถือได้” ก็เป็นสมบัติของผู้ดี!!
การที่หนูตรีดาวต้อง “ปลอมตัว” เป็นสีชมพู แล้วออกมาบอกว่าตนไม่แบ่งฝ่าย ไม่เลือกสี ไม่เลือกข้าง จึงกลายเป็นว่า
หนูตรีดาวขาด ‘สมบัติผู้ดี’ ไปหลายข้อ คือ...
-ไม่องอาจ
-ไม่กล้าหาญ
-สิ่งที่พูดเชื่อถือไม่ได้
-ใช้ถ้อยคำมุสา

ประการหลังนี่ ผู้ดีจะใช้คำอย่างนิ่มนวลว่า “พูดปด” ไม่ใช่ “โกหก” หรือ“ตอแหล” อย่างที่ไพร่เขาใช้กัน
คราวนี้ ขอให้หนูตรีดาว ลองนึกภาพตามผมนะ
...สมมุติว่านายควง อภัยวงศ์ ออกมาต่อสู้ทางการเมือง แต่แทนที่จะใส่เสื้อของพรรคประชาธิปัตย์ กลับปลอมตัวไปสวมเสื้อพรรคมนังคศิลาของจอมพล ป....
อย่างนี้...คุณควงจะทำไหม?

content/picdata/217/data/1].2.jpg

หากผู้ดีอย่างหนูตรีดาว จะออกมาสู้กับไพร่สีแดงตรงๆ โดยบอกว่าตัวเองเป็น‘เสื้อเหลือง’และไม่เห็นด้วยกับการกระทำของพวกเสื้อแดง ที่ออกมาชุมนุมเพื่อซ่อมแซมประชาธิปไตยกันมากมายมหาศาล เพราะเห็นว่าปล่อยไว้จะเป็นโทษแก่ประเทศไทย อย่างนั้น-อย่างนี้
น่าจะถูกต้องกว่าไหม?
อธิบายด้วย ‘เมตตา’ (อีกคุณสมบัติหนึ่งของผู้ดี) เพื่อให้คนที่เขาไม่มีกำเนิดและโอกาสที่ดีอย่างหนู ได้เข้าใจ เผื่อเขาจะหันกลับมาร่วมอุดมการณ์กับหนู เขาอาจจะช่วยหนู fight for the right หรือ
ต่อสู้เพื่อความถูกต้องด้วยซ้ำ!
หากพวกเขาโง่เง่าและเข้าใจช้า หนูตรีดาวก็ควรมีความอดทน ไม่ย่อท้อ(คุณสมบัติของผู้ดี อีกนั่นแหละ) เพราะการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ต่ำต้อยกว่า ไม่ว่าจะเป็นด้านใดๆ รวมทั้งด้านให้การศึกษา ก็ล้วนเป็นหน้าที่ของชนชั้นสูง(noblesse oblige)
แต่ทั้งนี้ หนูตรีดาวเองก็จะต้องแน่ใจว่า การ fight for the right หรือต่อสู้เพื่อสิ่งที่ถูกต้องของหนู นั้น...เป็นของแท้!
สิ่งที่หนูตรีดาวเคยคิด หรือกำลังคิดว่า “ถูกต้อง” นั้น อาจจะผิดก็ได้
ลองพิจารณาดูใหม่ ก็ได้นะหนูนะ!!

หากเห็นว่าผิดก็จงอย่าดึงดัน เพราะอีกข้อหนึ่งของสมบัติผู้ดี คือ...ไม่เป็นผู้ดึงดันในสิ่งที่ผิด
และที่สำคัญยิ่งกว่านั้น ผู้ดีต้อง
“ตั้งอยู่ใน...ความเที่ยงตรง”
หนูตรีดาวต้องจำไว้ ผู้ดีควรเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ไพร่ ทำตัวให้เขานับถือ อย่าทำอะไรให้เขาว่าได้

ผู้ดีน่ะ ‘ผิวบาง’ โดนนิดโดนหน่อย...ก็แสบซิบๆ!

หนูว่าอย่างนั้นไหมจ๊ะ!!?

................

ท้ายบท
ระหว่างการชุมนุมเพื่อซ่อมแซมประชาธิปไตย อาจทำให้แฟนๆอาจพลาดข้อเขียนตอนที่แล้วไป จึงอยากให้เข้าอ่านบทความชื่อ
ตอแหล’ บรรลัย เลยนะ...นายอภิแสบฯ แชมป์โล(ซ)ก!!!
ที่อยากให้อ่านก็เพราะว่า
หากมีใครเขาถามว่า “ไอ้รัฐบาลนี้มันโลซกแค่ไหน?” จะได้ตอบกันได้ถูกต้อง...อ่านต่อใน...
http://www.vattavan.com/detail.php?cont_id=216