ที่มา บางกอกทูเดย์ ความสงบที่คนกรุงอยากให้กลับคืนกำลังอยู่ในขั้นฟื้นฟูทั้งอาคารสถานที่และจิตใจของผู้คนในพื้นที่เมืองหลวงโดยเฉพาะการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมืองของกลุ่มนปช.ไม่ว่าจะเป็นชุมชนบอ่นไก่ชุมชนหลังวัดปทุมวนารามฯนอกจากนี้ยังมีกลุ่มผู้ประกอบการทั้งรายใหญ่และรายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ครั้งนี้ ต่างต้องเร่งยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือกันทั้งสิ้นเมื่อบ้านเมือง กำลังเข้าสู่การปรับตัวครั้งใหญ่ เช่นนี้ ดูเหมือนสถานการณ์โดยรวมภายในกรุงเทพฯ จะดูสงบลงบ้างแล้วแต่สิ่งหนึ่งที่จับอาการของรัฐบาลได้เป็นอย่างดีคือ การขยายเวลาเคอร์ฟิวจาก 25-28 พ.ค.ที่ผ่านมาการประกาศขยายเวลาดังกล่าว...รัฐบาลให้เหตุผลที่สร้างความกลัวให้คนกรุงอยู่ไม่น้อยว่า...จากนี้ไปยังมีกลุ่ม คนที่ไม่หวังดีจะกลับมาสร้างสถานการณ์แบบ “ใต้ดิน”เฉกเช่นการก่อการร้ายในพื้นที่ภาคใต้!เมื่อวิเคราะห์จากสถานการณ์ในเวลามีโอกาสที่เป็นไปได้และเป็นไปไม่ได้...ส่วนที่เป็นไปได้นั้นอาจเป็นความคั่งแค้นที่ยังคงมีของ“กลุ่มคนเสื้อแดง” ที่ต้องการแก้แค้นทหารและรัฐบาล ซึ่งอาจยังคงมีอยู่ส่วนที่มองว่าอาจเป็น ไปไม่ได้นั้น...เพราะการก่อการร้ายที่รัฐบาลประกาศไว้นั้น “ไม่มีตัวตนจริง” ดังคำกล่าวคำจำกัดความของคำว่า “ก่อการร้าย”ตามวิกิพีเดีย ระบุว่า...คำว่า การก่อการร้าย (Terrorism) เป็นคำที่มีการโต้เถียงอย่างกว้างขวาง และมีนิยามที่หลากหลาย โดยไม่มีความหมายใด ที่ได้รับการยอมรับโดยสมบูรณ์ ต้อง การอ้างอิงวอล์เตอร์ ลาควอร์ แห่งศูนย์การศึกษายุทธศาสตร์และการต่างประเทศได้กล่าวว่า...“ลักษณะเฉพาะที่ยอมรับกันทั่วไปคือ การก่อการร้ายนั้น เกี่ยวข้องกับความรุนแรง หรือการข่มขู่ด้วยความรุนแรง” ผู้เชี่ยวชาญด้านการก่อการร้ายจำนวนมากมีความเห็นสอดคล้องกันว่า...การก่อการร้ายที่เกิดขึ้น จะแฝงไว้ ด้วยยุทธศาสตร์ไม่ว่าจะกระทำโดย การวางระเบิดการใช้ปืนยิง การจี้ (เครื่องบิน หรือรถโดยสาร) หรือ การลอบสังหารไม่ได้เป็นการลงมืออย่าง “เลือกสุ่ม”ไม่เกิดขึ้นเองโดยปราศจากความตั้งใจ และไม่ได้เกิดขึ้นอย่างมืดบอดแต่เป็นการกระทำที่เกิดขึ้นโดยตั้งใจที่จะใช้ความรุนแรง มุ่งประสงค์ต่อพลเรือนเพื่อหวังผล ทางการเมือง หรือสนองความเชื่อทางศาสนาขณะที่ นายพอล พิลล่าร์ อดีตรองผู้อำนวยการศูนย์ต่อต้านการก่อการร้ายของสำนักงานข่าวกรองกลางสหรัฐฯ (CIA) ให้ความเห็นในเชิงโต้เถียงว่า...การก่อการร้ายจะต้องมีองค์ประกอบรวม 4 ประการ คือ 1. ไม่ใช่การกระทำที่เกิดขึ้นจากการตัดสินใจเพียงชั่ววูบ แต่เป็น การกระทำที่ผ่านการใคร่ครวญไตร่ตรอง และวางแผนไว้ล่วงหน้า 2. เป็นการกระทำที่หวังผลทางการเมืองไม่ใช่อาชญากรรม ดังเช่นกลุ่มองค์กรที่ดำเนินธุรกิจผิดกฎหมาย เช่น“กลุ่มมาเฟีย”ก่อเหตุรุนแรงเพื่อหวังเงินหรือทรัพย์สินเป็นรายได้แต่เป็นการกระทำ เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองจากที่เป็นอย่างใน ปัจจุบันไปสู้แนวทางที่ผู้ก่อการร้ายต้องการ 3. ส่วนใหญ่เป็นการกระทำที่มุ่งร้ายต่อเป้าหมายพลเรือน ไม่ได้พุ่งเป้าฝ่ายทหารหรือหน่วยทหารที่พร้อมรบ4. กระทำโดยกลุ่มองค์กรที่แฝงตัวอยู่ในประเทศ ไม่ใช่กำลังทหารของประเทศต้นกำเนิดขณะที่ นายปัญญศักดิ์ โสภณวสุนักวิจัยในโครงการความมั่นคงศึกษา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)ประเมินสถานการณ์ของกลุ่มคนเสื้อแดงวา่ ...แม้การต่อสู้จะยุติลง แต่สงครามก็ยังไม่เลิก และคงจะยืดเยื้อต่อไป“การต่อสู้ใต้ดินเป็นกฎธรรมชาติของการต่อสู้อยู่แล้วในประวัติศาสตร์การต่อสู้ไม่ว่าประเทศไหน อารยธรรมใด หรือศาสนาไหนก็ตาม หากต่อสู้แบบเผชิญหน้า อย่างเปิดเผยไม่ได้หรือเกิดความพ่ายแพ้ ก็ต้องหันไปใช้ รูปแบบการต่อสู้ใต้ดินส่วนจะทำได้แค่ไหนหรือมีประสิทธิภาพมากเพียงใด มันต้องอาศัยเวลา ไม่ใช่จะทำก็สามารถทำได้เลย ยังต้องมีการผ่านกระบวนการอีกมากมายหลายอย่างถึงจะทำได้สำเร็จ”สอดคล้องกับคำกล่าวของ นายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิก วุฒิสภา (ส.ว.) ที่เคยอภิปรายไว้ในสภาก่อนหน้านี้ว่า...ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะแก้ไขอย่างไรก็ตาม ประเทศไทยจะไม่เป็นเหมือนเดิมอีกต่อไปแล้วเพราะครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่มวลชนจากต่างจังหวัดเข้ามาต่อสู้อย่างยาวนานในกรุงเทพฯ และจบลงด้วยการใช้ความรุนแรงเข้าใส่กัน (โปรดติดตามอ่านต่อฉบับหน้า)