ที่มา Thai E-News
โดย จรรยา ยิ้มประเสริฐ
กลุ่มแอ็คชั่นเพื่อประชาธิปไตยในประเทศไทย
ที่มา Time Up Thailand
บทความช้ินนี้เขียนขึ้นหลังจากการประกาศคณะรัฐบาลแต่งตั้งของรัฐบาลองคมนตรีพลเอก สุรยุทธ จุลานนท์ ในเดือนตุลาคม 2549 ข้าพเจ้าเห็นว่ามีข้อมูลที่น่าสนใจหลายประการ และในสภาวะการอึมครึมของกระแสปฏิวัติที่ฮึ่มๆ กันอยู่ตอนนี้ จึงขอนำมาข้อเขียนนี้มาเผยแพร่อีกครั้งเพื่อย้ำเตือนสังคมไทยว่า ทำไมพวกเราต้องปฏิเสธการทำรัฐประหารในทุกรูปแบบ พร้อมทั้งปฎิเสธรัฐบาลพระราชทานและรัฐบาลที่มาจากคณะรัฐประหาร และร่วมกันประกาศหนักแน่นว่าไม่เอารัฐประหาร ไม่ว่าจะอ้างว่ากระทำในนามใดก็ตาม
สิ่งที่ประเทศไทยต้องการมากที่สุดในยามนี้ คือการปฏิวัติประชาธิปไตยโดยประชาชน ทั้งนี้ทหารที่รักประชาธิปไตยต้องช่วยประชาชน เพื่อให้การปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทยสำเร็จได้เสียทีหลังจากความพยายามมากว่า 100 ปี นับตั้งแต่การลุกขึ้นสู้ของกลุ่มทหารหนุ่มใน ร.ศ. 130 โดยทำหน้าที่ควบคุมกองกำลังรักษาพระองค์ และกองกำลังที่เคยออกมาสังหารประชาชน ไม่ให้ออกมาใช้กำลังสังหารประชาชนที่ลุกขึ้นมาเรียกร้องประชาธิปไตยได้อีก และสนับสนุนให้พลังของประชาชนนำประชาธิปไตยมาสู่ประเทศไทยให้สำเร็จให้จงได้
ย้ำอีกครั้งว่า "ทหารห้ามยุ่งการเมือง" และ "ขอยืนยันอย่างหนักแน่นว่า เราไม่ยอมรับการปฏิวัติ ยึดอำนาจโทยทหาร"
----------------
ชื่อบทความเดิม "สรุปที่มาและอายุของคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งทั้ง 26 คน เปรียบเทียบกับสถิติประชากรในประเทศ " เผยแพร่ 2 พฤศจิกายน 2549
------------------
ลองจับตัวเลขคณะรัฐมนตรีจากการแต่งตั้งมาแยกหมวดหมู่ และเทียบสัดส่วนกับประชากรทั้งประเทศดู การจัดทำการศึกษาเปรียบเทียบนี้ กระทำเพื่อเสริมสร้างความรู้ และเพื่อทำการศึกษาเกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตย “แบบไทย” ที่คณะมนตรีเพื่อความมั่นคงแห่งชาติได้พยายามประกาศอ้าง ทั้งนี้ไม่ได้ทำการเปรียบเทียบตัวเลขและสัดส่วนของผู้ได้รับแต่งตั้งให้อยู่ในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 242 คน
ซึ่งถ้าผู้ใดสนใจทำการศึกษาตัวเลขเหล่านั้นออกมาก็จะเป็นคุณูปการต่อการทำความเข้าใจเรื่องประชาธิปไตยของข้าพเจ้าได้มากขึ้น
ถ้าการจัดหมวดหมู่มีความผิดพลาด หรือจัดหมวดหมู่ผิดไปบ้าง เพราะบางครั้งนั้นแยกไม่ออกระหว่างข้าราชการเกษียณอายุ ที่เป็นทั้งข้าราชการ และชนชั้นสูงและ/หรือเป็นนักธุรกิจด้วยในขณะเดียวกัน หรือทหารที่เป็นชนชั้นสูงและ/หรือนักธุรกิจด้วย ขอเชิญท้วงติง และนำเสนอมาได้ยินดีน้อมรับ
ชนชั้นสูง/ทหาร = 8% (ไม่รวมนายกรัฐมนตรี)
- พลเอก บุญรอด สมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม, 65 ปี
- พลเรือเอก ธีระ ห้าวเจริญ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม, 66 ปี
ชนชั้นสูง/ข้าราชการเกษียณ = 81%
- หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง, 59 ปี
- คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี, 60 ปี
- นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ, 65 ปี
- นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์, 65 ปี
- นายธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี, 51 ปี
- นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ, 65 ปี
- นายสวนิต คงสิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ, 64 ปี
- นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม, 58 ปี
- นายเกษม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 78 ปี
- นายสิทธิชัย โภไคยอุดม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, ไม่ทราบ
- นายเกริกไกร จีระแพทย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์, 63 ปี
- ดร.ธีระ สูตะบุตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, 65 ป
- นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน อดีตประธานกรรมการ, 53 ปี
- นายอารีย์ วงศ์อารยะ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, 71 ปี
- นายบัญญัติ จันทน์เสนะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย, 62 ปี
- นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม, 60 ปี
- นายอภัย จันทนจุลกะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน, 63 ปี
- คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม, 69 ปี
- นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีม 62 ปี
- นายวิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, 72 ปี
- นายมงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข, 65 ปี
นักธุรกิจ = 11%
- นายโฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม, 63 ปี
- นายสุวิทย์ ยอดมณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยว และกีฬา, 64 ปี
- นายปิยะบุตร ชลวิจารณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม อายุ 57 ปี
จึงขอสรุปสัดส่วนเป็นเปอร์เซ็นต์ และเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรทั้งประเทศ ดังนี้
- ข้าราชการ 2.65 ล้านคน
- แยกเป็นโดยประมาณสัดส่วนทหาร = 8%
- สัดส่วนข้าราชการ = 81%
- อยู่ ในคณะรัฐบาลนี้ คิดเป็นสัดส่วนร่วมกันทั้งสิ้น = 89%
- นักธุรกิจ/ชนชั้นสูง คิดเป็นสัดส่วน = 11%
(สถานประกอบการจดทะเบียน 200,000 แห่ง ประมาณคนไม่เกิน 400,000คน)
- เกษตรกร 14 ล้านคน ของประชากร มีตัวแทนในคณะรัฐบาล = 0%
- คนงานในภาคการผลิต 5.3 ล้านคน (ตัวเลขจากกระทรวงอุตสาหกรรม) = 0%
- คนงานในภาคบริการ 4 ล้านคน (คำนวณจากประกันสังคม) = 0%
- ผู้มีงานทำแต่ยังขาดหลักประกันในการดำเนินชีวิต 22-23 ล้านคน = 0%
- คนจน (ที่จดทะเบียน) 8 ล้านคน = 0%
- นักเรียน นักศึกษาประมาณ 15 ล้าน คน = 0%
ต้องขอโทษด้วยที่ทำการศึกษาเปรียบเทียบ และเขียนในเวลาจำกัด แต่ต้องการจะสื่อสารกับคนไทยทุกคนว่าถ้าผู้ที่อยู่ในส่วนระบบตัวแทนในคณะรัฐบาลที่ต้องทำหน้าที่บริหารประเทศไม่ได้มาจากทุกภาคส่วนของประชาชนอย่างเท่าเทียม ปัญหาที่คนในทุกภาคส่วนจะรู้ดีที่สุด จะสามารถได้รับการนำเสนอ และผลักดันนโยบายเพื่อประชาชนในกลุ่มต่างๆ เหล่านั้นได้อย่างไร โดยเฉพาะเป็นกลุ่มคนที่ต้องการการดูแลสวัสดิการ หลักประกัน และการหนุนช่วยมากที่สุด
จึงได้นำเสนอตัวเลขเปรียบเทียบออกมา ซึ่งเรื่องตัวแทนตามสัดส่วนกลุ่มอายุนี้ก็เป็นประเด็นใหญ่ที่ต้องพูดกัน เพราะ ครม จัดตั้งครั้งนี้อยู่ในกลุ่มอายุ "เกษียณ" กว่า 90% ซึ่งเป็นกลุ่มอายุที่ควรพักผ่อน ในขณะกลุ่มอายุที่ถือว่าในวัยกำลังทำงาน และในวัยสร้างสรรค์ต่างๆ ตั้งแต่อายุ 20-50 ปี ไม่มีตัวแทนอยู่ใน ครม. เลยเช่นกัน
ก็อยากจะเชิญชวนทุกท่านลองคิดเชิงเปรียบเทียบ ลองเอาสถิติต่างๆ มาเปรียบเทียบเพื่อหาค่าความเป็นธรรมในสังคม ก็จะเป็นอะไรที่น่าสนุกที่จะลองตั้งคำถาม และคำนวณดู และก็อาจจะได้สถิติที่น่าตกใจอีกหลายด้านใน "ประชาธิปไตยแบบไทย" แต่ใช้ชีวิตใน "วิถีชีวิตการค้าโลกเสรี" อย่างที่เป็นอยู่
ข้อมูลสถิติสวัสดิการสังคมในประเทศไทยปี 2546 (ค้นได้เพียงปีนี้)
เป็นข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับงานสวัสดิการสังคม โดยแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้
(สรุปจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการแห่งชาติ)
การศึกษา
อัตราผู้อ่านออกเขียนได้ในประเทศไทยอยู่ที่ร้อยละ 92 ของประชากรทั้งหมด สถานศึกษามีจำนวน 50,908 แห่ง กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา
มีเงินทุนให้กู้ยืมไปแล้ว จำนวน 197,229.06 ล้านบาท มีนักศึกษาทำเรื่องกู้ยืมจำนวน 918,966 ราย
สุขภาพอนามัย
- โรงพยาบาลของรัฐ 887 แห่ง
- โรงพยาลเอกชน 424 แห่ง
ที่อยู่อาศัย
การดำเนินโครงการบ้านมั่นคง โดยสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน เป้าหมายจำนวน 601,727 หน่วย ดำเนินการแล้วเสร็จจำนวน 2,529 หน่วย
การประกอบอาชีพ
แรงงาน ข้อมูลการสำรวจแรงงานของประเทศไทยปี 2546
- ประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป 48.38 ล้านคน
- กำลังแรงงาน 35.31 ล้านคน มีงานทำ 34.67 ล้านคน ว่างงาน 0.92 ล้านคน
- ภาคเกษตรกรร้อยละ 40 นอกภาคเกษตร 60
ในจำนวนนี้ผู้ที่ได้รับการคุ้มครอง จากหลักประกันทางสังคม ประมาณ ร้อยละ 30 หรือประมาณ 10 ล้านคน ประกอบด้วยกลุ่มต่างๆ ดังนี้
- ลูกจ้างเอกชนได้รับการคุ้มครองจากกฎหมาย ประกันสังคม 7.35 ล้านคน จากหลักประกันทางสังคม คิดเป็นสัดส่วน 73.5%
- ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ลูกจ้างรัฐบาล 2.65 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วน 26.5%
- ครูโรงเรียนเอกชน 0.12 ล้านคน หรือคิดเป็นสัดส่วน 1.2 %
- ผู้มีงานทำแต่ยังขาดหลักประกันในการดำเนินชีวิต 22-23 ล้านคน
ข้อมูลด้านการค้า
ประเทศไทยส่งออกเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบเป็นสินค้าออกที่มีมูลค่าสูงสุด
สถิติข้อมูลของประชาชนผู้ประสบปัญหาทางสังคมและความยากจน
- มีผู้จดทะเบียนทั้งสิ้น 8,138,081 ปัญหา
- จำนวนปัญหาทั้งสิ้น 11,997,081 ปัญหา
ปัญหามากที่สุด 3 ลำดับแรก
- ปัญหาหนี้สินภาคประชาชน 4,513,943 ปัญหา
- ปัญหาที่ทำกิน 3,881,863 ปัญหา
- ปัญหาที่อยู่อาศัย 1,908,834 ปัญหา สถิติคนเร่ร่อนที่ขอจดทะเบียน มีจำนวน 5,036 คน
สถิติอื่นๆ
มูลนิธิ จำนวน 9,209 แห่ง สมาคม จำนน 9,816 แห่ง องค์การสวัสดิการสังคมภาคเอกชน จำนวน 7,400 องค์กร อาสาสมัคร 9.7 ล้านคน
ที่มา http://www.m-society.go.th/social/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=20