WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, January 30, 2011

วิพากษ์ "สื่อออนไลน์" เปิดพื้นที่ประชาธิปไตยในโลกใหม่ หรือ สะท้อนความจริงในสังคมไทย

ที่มา มติชน



ในงานเสวนาเปิดตัวหนังสือ "สื่อออนไลน์ BORN TO BE DEMOCRACY" โดยโครงการศึกษา "สื่อใหม่" ในวิกฤตความขัดแย้งทางการเมือง สนับสนุนโดย มูลนิธิ ไฮน์ริค เบิลล์ สนทนากับ 12 นักสังเกตการณ์ "นิวมีเดีย" ที่ห้อง 221 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(มธ.) เมื่อวันที่ 21 มกราคม ที่ผ่านมา มีการอภิปรายถึงถึงการเกิดพื้นที่ประชาธิปไตยใหม่ในนิวมีเดียโดยเน้นที่สื่อ ออนไลน์ โดยมีนักวิชาการวิพากษ์วิจารณ์ถึงพื้นที่ใหม่ในสื่อออนไลน์ ว่า เป็นพื้นที่ในโลกออนไลน์เป็นสื่อประชาธิปไตย หรือแค่เครื่องมือนำไปสู่ประชาธิปไตย เพราะสุดท้ายแล้วพลังที่เกิดขึ้นในโลกออนไลน์ อาจจะไม่ได้นำออกมาสู่โลกออฟไลน์ได้ รวมทั้งการเข้ามาควบคุมโดยรัฐทำให้โลกออนไลน์ ที่คิดว่าจะมีอิสระ ถูกกดทับด้วยระเบียบกฎเกณฑ์กฎหมาย ไม่ต่างจากสื่อในโลกออฟไลน์ เพราะสุดท้ายแล้วก็ยังไม่สามารถทำหน้าที่นำเสนออะไรได้อย่างเสรี และมีข้อจำกัดในการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทุกคนเข้าถึง ไม่ได้


ขณะที่หนังสือ "สื่อออนไลน์ BORN TO BE DEMOCRACY" ได้นำบทสัมภาษณ์จากผู้สังเกตการณ์ ‘นิวมีเดีย’ จากผู้ที่เกี่ยวข้องในโลกออนไลน์โดยตรงและผู้ที่อยู่ในแวดวงต่างๆ ที่ได้แสดงทรรศนะไว้ในหนังสือเล่มนี้ได้อย่างน่าสนใจ อาทิ รศ.อุบล รัตน์ ศิริยุวศักดิ์ ประธานกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.), สมบัติ บุญงามอนงค์ กลุ่มวันอาทิตย์สีแดง, สาวตรี สุขศรี นิติศาสตร์ มธ., พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ รัฐศาสตร์ จุฬาฯ, ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ ศูนย์อาเซียนศึกษา สิงคโปร์, สฤณี อาชวานันทกุล นักวิชาการอิสระ, มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ อาจารย์นิเทศศาสตร์ ม.หอการค้าไทย และ ศ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการอิสระ


จึงขอคัดบทสัมภาษณ์บางตอนมานำเสนอ อาทิ ของ รศ.อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ ประธานกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) กล่าวถึงสื่อใหม่ ว่า ความตื่นเต้นในสื่อใหม่ มีทั้งในแง่การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของจำนวนผู้ใช้ การแสดงความคิดเห็นที่ไหลเชี่ยวเหมือนสายน้ำ ซึ่งทลายการปิดกั้นสร้างปรากฏการณ์การสื่อสารใหม่ๆ และเริ่มกลายมาเป็น "ข้อมูลเบื้องต้น" สำหรับสื่อกระแสหลักในการตั้งต้นหา และนำเสนอประเด็นต่อสาธารณะ แต่สิ่งที่เป็นแก่นแกนซึ่ง รศ. อุบลรัตน์ กล่าวย้ำตลอดการสนทนา คือ สื่อใหม่ที่สะท้อนสภาวะของปัญหาของการสื่อสารในสังคมไทยสองประการ คือ พื้นที่สาธารณะการเมือง และ เสรีภาพในการสื่อสาร ซึ่งเป็นหลักใหญ่ใจความแห่งประเด็นปัญหาว่า ด้วยการสื่อสารในประเทศนี้


"ระบบ ปัจจุบันมีปัญหาทั้งในด้านการควบคุมโดยรัฐ การเจาะกลุ่มผู้รับบางกลุ่มของระบบทุนที่ดำเนินการสื่อ (เช่นสื่อกระแสหลัก) การควบคุมการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ที่คัดค้านอำนาจรัฐ และการควบคุมการเปิดพื้นที่สื่อใหม่ๆ การต่อสู้ทางการเมืองที่ผ่านมา คือ การต่อสู้ของกลุ่มที่คิดว่าตัวเองไม่มีสิทธิมีเสียงทางการเมือง หรือไม่ได้รับความเป็นธรรมทางการเมือง โดยการพยายามขยายพื้นที่สาธารณะสำหรับความคิดความเห็นของกลุ่มตน เพื่อเชื่อมต่อสมาชิกกลุ่ม หรือเพื่อขยายสมาชิกให้กว้างขวางออกไป"


"เรา ถูกปิดปากเงียบมา 50 ปี อยู่มาวันหนึ่งมีไฮไฟว์ เฟซบุ๊ก เราก็ระดม เหมือนท่อน้ำแตก" เมื่อถามถึงบทบาทของโลกออนไลน์ซึ่งกำลังเพิ่มขึ้น รศ.อุบลรัตน์ มองว่า สิ่งนั้นเข้ามาใกล้ชีวิต อยู่ใกล้ชิดความ "มีตัวตน" อย่างที่เราอาจจะไม่รู้สึกตัว


สมบัติ บุญงามอนงค์ บอกถึงสาเหตุที่สนใจใช้เฟซบุ๊กเป็นเวทีในการสื่อสารและการเคลื่อนไหวว่า "วิถีทางของเฟซบุ๊ก คือ คำตอบของอนาคต"

"ผม ไม่ได้สนใจเชิงปริมาณเท่าไหร่ แต่สนใจในรูปแบบ หรือ วิถีทางของเฟซบุ๊ก คือ มันเป็นพื้นที่กึ่งส่วนตัวกึ่งสาธารณะ มันสามารถสร้างความเป็นเฉพาะกลุ่ม และยังสามารถดำรงความเป็นตัวของตัวเองได้ ขณะเดียวกันวันที่คุณอยากให้มันเป็นสาธารณะ เมื่อมันมีศักยภาพมันจะแสดงความเป็นสาธารณะได้ วิถีทางของเฟซบุ๊กนี่เอง...ในฐานะคนเล่นอินเตอร์เน็ตมานานและสนใจเรื่องพวก นี้มา พอได้มาใช้ ผมรู้เลยว่า นี่มันสอดคล้องกับวิถีผมมาก ในฐานะองค์กรที่ต้องการสื่อสารความเป็นสาธารณะและปลดปล่อยความเป็นปัจเจก"


ในช่วงความขัดแย้งทางการเมืองที่ผ่านมา เฟซบุ๊กก็กลายเป็นเครื่องมือ "ล่า" ผู้ที่คิดต่างอย่างค่อนข้างรุนแรง

"เป็น ธรมดาของคนที่ไม่เคย ก็เลยเกิดการปะทะ กว่าที่จะเกิดกระบวนการเรียนรู้ คงจะมีลักษณะเกินเลยไปแบบนี้สักพัก การใช้และการแสดงความเห็นจะป่าเถื่อน เหมือนสมัยก่อนที่ยังไม่มีกฏหมาย ก็ใช้ความป่าเถื่อน ใช้ชีวิตอยู่หลังกำแพงแล้วตะโกนด่ากัน เขวี้ยงหินข้ามกำแพง กว่าจะเกิดอารยธรรมในเฟซบุ๊ก อาจจะใช้เวลา แค่ยุคนี้เป็นยุคป่าเถื่อนยุคมืด

เพิ่ง ออกจากคุก เพิ่งรู้จักเสรีภาพ เพิ่งได้เป็นผู้กระทำ ความสุขของการเป็นผู้กระทำหรือเป็นผู้มีอำนาจ เป็นความสุขแบบหนึ่ง เหมือนคุณมีโอกาสได้ลั่นปืนใส่ใครให้ตายสักคนหนึ่ง แล้วคุณไม่มีความผิด มีคนปรบมือ มันเป็นความสุขอีกประเภทหนึ่ง มันฮึกเหิมในอำนาจ"


สาวตรี สุขศรี อาจารย์ภาควิชากฎหมายอาญา คณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ซึ่งศึกษาเรื่องกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ให้ความเห็นเกี่ยวกับ เสรีภาพสื่อออนไลน์ ถึงอย่างไรก็ต้องมีขอบเขต ลักษณะความรุนแรงของคำพูด เช่น ใช้คำด่าทออาจจะไม่ถึงขั้นหมิ่นประมาท แต่ก็อาจจะเข้าข่ายความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้า


"ต้องมีขอบเขต บางอย่าง ต้องรับผิดชอบทุกอย่าง คุณด่าคนอื่น แล้วถ้าคนอื่นที่เขาโดนกระทบ เขาอยากจะฟ้องคุณในฐานดูหมิ่นซึ่งหน้า หรืออยากจะฟ้องคุณหมิ่นประมาท คุณก็ต้องยอมรับตรงนั้น คุณจะบอกไม่ได้ว่า นี่คือเสรีภาพ"


อย่าง ไรก็ตาม การใช้เสรีภาพเกินขอบเขตเหล่านี้ ก็ไม่ใช่เหตุผลที่ถูกนำมาใช้แบบเหมารวมเพื่อการปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นใน พื้นที่ออนไลน์ หากแต่ควรจะต้องกำหนดขอบเขตชัดเจน เรื่ององค์ประกอบตามกฎหมายและกระบวนการดำเนินคดี แม้แต่กับกรณีกฎหมายอาญามาตรา 112 (ว่าด้วยการหมิ่นพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการ) ก็ต้องทำให้ชัดเจน ต้องตีความให้ชัดว่า อะไรเข้ามาตรานี้ ไม่ใช้มาตรการปิดกั้นแบบพร่ำเพรื่อ แต่ควรจะใช้วิธีการฟ้องเป็นคดีๆไป


แม้พื้นที่ออนไลน์จะเป็นความ หวังสำหรับการส่งเสียงที่ไม่อาจสื่อสารได้ในพื้นที่สื่อหลัก แต่ภายใต้กฎหมายที่เป็นอยู่ และภายใต้สถานการณ์ทางการเมืองที่ขัดแย้งรุนแรง สาวตรีมอง ว่า อนาคตของนิวมีเดียออนไลน์ในไทย ยังไม่สามารถจะเติบโตได้ หรืออย่างน้อยจะถูกชะลอไปก่อน


ชะลอในที่นี้อาจจะมองเป็นสองมุม คือ ชะลอสิทธิในการแสดงความคิดเห็นที่มีอยู่บนพื้นที่ที่มีอยู่แล้ว กับอีกแง่ คือ ชะลอเรื่องของการกระจายเครื่องมือไปให้กับคนอื่นๆ ในชนชั้นอื่นๆของประเทศไทย"

พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ กล่าวว่า การมีสื่อเยอะๆ มันจะต้องไปถึงขั้นที่นำไปสู่แบบแผนความสัมพันธ์หรือ กฎ กติกาบางอย่าง ซึ่งคนรู้ว่า "นี่มันมากไป นี่มันน้อยไป"


เขายกตัวอย่าง "เว็บหลุดโลก" สมัยก่อน เว็บหลุดโลก จะมีระบบพิเศษ คือ มีตัวประธานอยู่หนึ่งคน แล้วจะคอยแบ่งงานให้แต่ละคนควบคุมในแต่ละวัน ฉะนั้น คนที่เคยควบคุมในแต่ละวัน พวกนั้น วันนี้มีอำนาจก็สั่งใครพูดอะไรงี่เง่าแหลมมาก็เซ็นเซอร์เลย บล็อคเลย แต่คนที่โดน สามารถทำฎีกา หรือคำร้องไปถึงตัวใหญ่ให้พิจารณาได้ว่า คนที่ควบคุมในวันนั้นแรงเกินไปหรือไม่


"มันยังไม่มีการวิจัย เรื่องโลกออนไลน์ ไม่ได้อธิบายพฤติกรรมของโลกออนไลน์อย่างเป็นระบบ ซึ่งในทางรัฐศาสตร์นั้นอธิบายได้ เหมือนกับยุคหนึ่งในเมืองไทย พอเริ่มมีการเลือกตั้ง ก็มีนักวิชาการกลุ่มหนึ่งเริ่มมาศึกษาพฤติกรรมการเลือกตั้ง ดังนั้น ควรจะต้องมีคนศึกษาพฤติกรรมของโลกออนไลน์ด้วย ไม่ใช่มีแต่คนที่ออกไปสู้เพื่อสิทธิของโลกออนไลน์อย่างเดียว ควรมีงานวิจัยที่รองรับว่า พฤติกรรมของโลกออนไลน์เป็นอย่างไร โครงสร้างทางภาษา โครงสร้างข้อถกเถียงของโลกออนไลน์เป็นอย่างไร

พิชญ์ อธิบายว่า การศึกษาวิจัยพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์จะช่วยนำไปสู่การสร้างสิ่งใหม่ๆ ด้วย เช่น ยุคแรก อาจจะไม่มีคนคิดว่าสื่อออนไลน์มันจะสื่อสารได้สองทาง (interactive) เพราะอาจจะถูกกำหนดโดยผู้นำเสนอเนื้อหาแต่เพียงฝ่ายเดียว แต่ปัจจุบันนี้เปลี่ยนไปแล้ว

พิชญ์ทิ้งท้ายข้อสังเกตอีก ประการ ที่กระตุ้นให้เขาอยากศึกษา นั่นคือ บทบาทของผู้หญิงต่อประเด็นทางการเมือง และศาสนา ในช่วงสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง โดยยกตัวอย่าง "คำ ผกา" และ "ภัควดี ไม่มีนามสกุล" ซึ่งออกมาวิพากษ์วิจารณ์พระและองค์กรทางการเมืองอย่างเผ็ดร้อน โดยใช้พื้นที่ออนไลน์เป็นสนามหลัก ซึ่งเขาบอกว่า เป็นสิ่งที่กระทบถึงรากฐานจริงๆ ของสังคม

ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ มองสื่อออนไลน์ว่า จะเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ทางการเมือง และยากที่รัฐบาลจะต่อสู้ เพราะไม่ว่าจะปิดอย่างไรก็เปิดใหม่ได้เสมอ ... มันไม่มี "เขตแดน" ไม่มี "สัญชาติ" ไม่มี "เชื้อชาติ" และไม่มี "อำนาจอธิปไตย"


"เสรีภาพทางการเมืองและการแสดงความคิดเห็นของไทยเบ่งบานอย่างค่อนข้างชัดเจน ในยุคทศวรรษ 1990 หลังพฤษทมิฬ และมีรัฐธรรมนูญ 2540"


แต่เพียงทศวรรษให้หลัง ประเทศไทยก็หวนกลับมาเผชิญกับความเป็นจริงอีกด้านอย่างรวดเร็ว


"ผม หวังว่าช่วงตกต่ำของไทยคงจะไม่ตกต่ำตลอด เพราะถ้าตกตลอดก็จะกลายเป็นเป็นรัฐที่ล้มเหลว (Failed State) เรายังมีโครงสร้างแม้จะไม่สมบูรณ์แบบ แต่ก็ยังสามารถพยุงไว้ได้อยู่ โครงสร้างเหล่านั้น ได้แก่ การมีส่วนรวมของประชาชน การที่ประชาชนเริ่มเข้าใจบทบาททางการเมืองของตนเอง การมีส่วนตรวจสอบถ่วงดุลมากขึ้น ความพยายามในการสร้างความโปร่งใสในขบวนการทางการเมืองมากขึ้น"


ซึ่ง ปัจจัยสำคัญประการหนึ่ง ที่ทำให้เกิดโครงสร้างที่กล่าวมา คือ สื่อออนไลน์ ที่เป็นเสมือนแผ่นฟ้ากว้างใหญ่ ชนิดที่ผู้มีอำนาจไม่อาจปิดกั้นได้ด้วยฝ่ามือ แม้จะทรงอำนาจเพียงใดก็ตาม


"สื่อ ออนไลน์ได้เปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ทางการเมืองทั้งหมด ก่อนหน้านี้การแสดงความเห็นทางการเมืองต้องทำโดยการออกมาเดินบนท้องถนนต้อง ใส่เสื้อสีนี้ คุณต้องถือธงชาติ เพื่อให้เห็นว่าเกิดการรวมตัวทางการเมืองซึ่งแน่นอนว่าก็ยังมีอยู่ แต่สื่อออนไลน์ทำให้มันไม่จำกัดอยู่แค่นั้นแล้ว มันเป็นศูนย์รวมที่ไม่อยู่ในรูปกายภาพ แต่เป็นจิตภาพ (spiritual) และบางทีการรวมตัวแบบจิตภาพนี้มีพลังมากกว่า เพราะมันรวมเอาภาวะอารมณ์ของคน มันทำให้คนซึ่งอาจจะไม่กล้าที่จะแสดงความเห็นทางการเมืองในรูปกายภาพ ได้เข้ามามีส่วนร่วมโดยผ่านสื่อออนไลน์ และก็ทำง่าย รวมตัวกันง่ายโดยไม่ต้องใช้งบประมาณเยอะ เคลื่อนไหวได้ง่าย และยากที่รัฐบาลจะต่อสู้ด้วย เพราะหากต่อสู้กันที่ราชประสงค์ มันเห็นตัวบุคคล มีการลอบสังหารกันได้ เห็นว่ามีกี่หมื่นกี่พันคน รู้ว่าจะปิดทางออก ทางเหนือหรือใต้ แต่การต่อสู้ออนไลน์ ถ้าจะปิดเซิร์ฟเวอร์เขาก็เปิดใหม่ได้"

สฤณี อาชวานันทกุล รู้สึกว่าประเทศไทยล้าหลังกว่าประเทศอื่นไปเสียแล้ว โดยเฉพาะในเรื่องสิทธิเสรีภาพของพลเมือง


"เมื่อ ประชาชนสื่อสารกันบนอินเตอร์เน็ต โดยตัวมันเองก็คือ เสรีภาพถูกเซ็นเซอร์ องค์กรวิชาชีพสื่อในต่างประเทศจึงได้ถือเป็นเรื่องใหญ่ ทำไมสื่อต่างชาติถึงได้ทำข่าวเรื่องบล็อคเกอร์ เรื่องเฟซบุ๊ก ในระดับที่เป็นเรื่องใหญ่ทั้งๆ ที่คนที่ถูกกระทำไม่ใช่นักข่าววิชาชีพ แล้วทำไมในเมืองไทย ยังไม่มีเรื่องพวกนี้ ทำไมองค์กรวิชาชีพยังมองว่า ไม่ใช่เรื่องของเขา"


เธอเล่าถึงประสบการณ์ที่เคยพูดคุยแลก เปลี่ยนกับสื่อหลักบางสำนักในบางประเด็นนี้ ด้วยการตั้งคำถามว่า ทำไมพวกเขาไม่ปกป้องประชาชนเมื่อโดนข้อหาหมิ่นประมาทหรือข้อหาอื่นๆ ก่อนจะพบกับคำตอบที่น่าหดหู่ว่า "ขนาดสื่อเองยังปกป้องตัวเองไม่ได้เลย"

สฤณ มองว่า มันเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านที่หนีไม่พ้น อีกหน่อยสื่อกระแสหลักเองก็จะต้องเข้าใจว่า เรื่องนี้ก็เป็นเรื่องของพวกเขาด้วย เพราะพวกเขาเองก็มีสิทธิที่จะโดนด้วยเหมือนกัน เพราะมันเป็นพื้นที่เดียวกัน

มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ นักวิชาการที่หันมาสนใจเรื่องนิวมีเดีย มองว่า ในสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองอันแหลมคน หลายคนจะมองว่า สื่อใหม่มีบทบาทในการทำความจริงให้หลากหลาย แต่ความน่าเชื่อถือก็ยังคงรวมศูนย์อยู่กับสื่อดั้งเดิม เสมือนมวยคนละรุ่น โดยเฉพาะในเรื่องความน่าเชื่อถือของสื่อใหม่


มานะไม่กังวลกับ ประเด็นดังกล่าว เพราะเห็นว่าสื่อใหม่ไม่ได้มีกลุ่มเดียว เช่นเดียวกับสื่อกระแสหลักก็ไม่ได้มีกลุ่มเดียวเช่นกัน ดังนั้น ต้องมองว่า มันไม่ใช่การต่อสู้กันระหว่างสื่อใหม่กับสื่อกระแสหลักเพราะในความขัดแย้ง สื่อใหม่ถูกใช้เป็นเครื่องมือของทุกฝ่าย


แม้แต่รัฐเองก็กระโดด เข้ามาพยายามควบคุมโลกใหม่ใบนี้ เช่น การออก พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 และกำลังอยู่ระหว่างยกร่างกฎหมายเพื่อควบคุมโลกออนไลน์อีกหลายฉบับ แต่เขามองว่า อย่างไรเสียรัฐก็ยังคงตามไม่ทันการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและไม่มีทางประสบ ความสำเร็จในการควบคุม


ศ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ แสดงทรรศนะว่า การสื่อสารทางอินเตอร์เน็ต ไม่ว่าในรูปแบบของการทำเว็บไซต์ เฟซบุ๊ก ฯลฯ มันเป็นสิ่งใหม่ที่สังคมไทยโดยเฉพาะผู้มีอำนาจในประเทศไทยไม่สามารถปรับตัว เพื่อรับความเปลี่ยนแปลงนี้ได้ แต่ขณะเดียวกัน ก็หยุดความเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ได้ด้วย ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นกับเฉพาะอินเตอร์เน็ตอย่างเดียวแต่เกิดขึ้นในทุกมิติ เศรษฐกิจ การเมือง ถามว่าประเทศไทยสำนึกตัวเองว่าเข้ามาอยู่ในเศรษฐกิจแบบโลกาภิวัตน์กี่ปีแล้ว ผมว่าสัก 30 ปีได้แล้วมั้งที่มีคนพูดเรื่องโลกาภิวัตน์ เรื่องว่าคุณไม่สามารถควบคุมอะไรต่างๆ นานาได้ ผ่านมาถึงวันนี้ ถามว่าคุณมีการเตรียมพร้อมในการเผชิญหน้ากับมันไหม


อินเทอร์เน็ต ก็เหมือนกัน มันนำมาซึ่งสื่อสารมวลชนประเภทใหม่อีกประเภทหนึ่ง ซึ่งไม่ได้แปลว่ามันดีกว่าแบบเก่า มันดีกว่าในบางเรื่อง แต่มันแย่กว่าในบางเรื่อง แต่ที่แน่ๆ คุณไม่สามารถจะบอกมันว่า เราจะไปคุมมันให้ได้เหมือนมีกฎหมายการพิมพ์ คุมหนังสือพิมพ์ คนละเรื่องแล้ว ไม่ได้เลย


@สื่อใหม่กับคำถามเรื่องสิทธิเสรีภาพและความรับผิดชอบ เป็นคำถามที่ใช้ได้อยู่หรือเชยไปแล้ว


ศ.นิธิ มองว่า เชย เพราะที่เป็นสื่อกระแสหลักทุกวันนี้รับผิดชอบอะไรหนักหนา ก็ไม่เห็นจะรับผิดชอบอะไรเลย ทีวีโกหกคุณทุกวัน คุณก็รู้อยู่ หนังสือพิมพ์ก็เหมือนกัน ไม่ต้องเอาเรื่องการเมืองก็ได้ เอาที่เรื่องไม่เกี่ยวกับการเมืองเลยอย่างรถชนกันตายกี่ศพ ห้าฉบับยังไม่ตรงกันสักฉบับ


มนุษย์ทุกคนต้องรับผิดชอบต่อตัวเอง ถูกไหม ไม่ควรเขียนในสิ่งที่ตัวเองไม่เชื่อ แต่ถามว่าสิ่งที่คุณเขียนออกมา ต้องถูกต้องดีงามตลอดหรือเปล่า ก็แล้วแต่มาตรฐานใครวัด ผมว่าระหว่างสื่อหลักกับสื่อออนไลน์ ความรับผิดชอบก็พอๆ กัน นั่นแหละ เวลาที่สื่อหลักบอกว่าตัวเองต้องรับผิดชอบ ถามว่าคุณรับผิดชอบต่อผู้อ่านหรือนายคุณ เช่น หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง เจ้าของหนังสือพิมพ์ให้เงินกู้ไปทำหนังด้วย คุณไม่สามารถเขียนวิจารณ์หนังเรื่องนั้นในทางที่ไม่ดีได้ ถ้าคุณเป็นคนซื่อสัตย์ที่สุดก็แค่ไม่เขียนถึงเลย แค่นั้นเอง


ฉะนั้น ความรับผิดชอบจึงไม่ง่าย แค่ว่ารายงานเท็จแล้วเรียกว่าไม่รับผิดชอบ มันถึงยุคที่เราทุกคนต้องระวังตัวเองแล้ว สื่อในปัจจุบันนี้ไม่ว่าสื่ออะไรก็แล้วแต่ มันถูกแฉให้เห็นว่า มีอะไรเบื้องหลังกว่าสิ่งที่มันเสนอทั้งสิ้น ไม่ว่าออนไลน์หรือกระแสหลัก ต้องอ่านมันด้วยความระมัดระวัง และเราต้องสอนให้ลูกหลานรู้จักใช้วิจารณญาณ ระมัดระวังในการรับสื่อทุกชนิดไม่ว่าออนไลน์หรือไม่ออนไลน์


ผม ไม่เชื่อว่าออนไลน์เป็นโลก คิดว่าออนไลน์เป็นภาพสะท้อนโลกจริงในสังคมไทย ถ้าอย่างนั้น ถามว่าเราเลิกอินเตอร์เน็ตทั้งประเทศ แล้วคนไทยจะรักกันมากขึ้นไหม ฉะนั้นเวลาวิเคราะห์อะไรบนโลกออนไลน์ ผมไม่อยากเห็นเราแยกมันออกไปจากสังคม มันก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคม เพียงแต่เพิ่มความสามารถในการติดต่อกับคุณ ได้ยินได้ฟังได้กว้างขวางกว่าเดิม เป็นวงนินทาหรือวงสนทนาอันใหม่เกิดขึ้น แต่ไม่ได้ทำให้คนไทยเลิกนับญาติกัน


@ออนไลน์จึงเป็นพื้นที่หนึ่งในการแสดงความเป็นสังคมไทยออกมา


ใช่ แต่เป็นสังคมไทยที่เปลี่ยนไปแล้วนะ

----------------------

ติดตามอ่านเนื้อหาทั้งหมดอย่างละเอียดได้ในหนังสือ "สื่อออนไลน์ BORN TO BE DEMOCRACY" จัดจำหน่ายโดย บริษัท เคล็ดไทย จำกัด โทรศัพท์ 0-2225-9536-40