ที่มา Thai E-News
ทวิตเตอร์และเฟซบุ๊ก ก็มีส่วนช่วยอยู่บ้าง แม้ว่าจะไม่มากเท่าที่สำนักข่าวอัลจาซีราทำก็ตาม แต่คู่มือที่นักเคลื่อนไหวในอียิปต์ผลิตขึ้นนั้นเขียนไว้ตั้งแต่หน้าแรกว่า 'อย่าใช้เฟซบุ๊กและทวิตเตอร์' และย้ำอีกในหน้าสุดท้ายว่า 'อย่าใช้เฟซบุ๊กและทวิตเตอร์' ”:จูเลียน อัสซานจ์ Wikileaks
โดย ปาแด งา มูกอ
21 มีนาคม 2554
วันนี้ผมรีบร้อนและร้อนรน จึงขอเสนอเรื่องที่ท่านผู้อ่านทุกท่าน ได้โปรดใช้วิจารณญาณ รอบคอบและรู้ทัน มหันตภัยของเล่นชนิดใหม่ของผู้เรืองปัญญา ระวังกันไว้ให้มากๆน่ะครับ โดยเฉพาะการใช้facebook และtwitterของกลุ่มพลังทวลชนบนโลกออนไลน์
ก่อนอื่นขอนำข้อมูลเกี่ยวกับภยันตรายสมัยใหม่ที่มากับโลกออนไลน์ให้พิจารณากันก่อน
10 อันดับภัยร้ายออนไลน์
นักท่องเว็ป,กลุ่มท่องเว็ป,พลังมวลชนที่ชอบท่องเว็ป ท่านกำลังจะตกหลุมพรางให้อาชญากรคอมพิวเตอร์ ซึ่งมักหาผลประโยชน์ ในช่วงเหตุการณ์ หรือเทศกาลต่างๆ ซึ่งมีผู้นิยมใช้บริการมากที่สุด และมักวางแผน ใช้เล่ห์กลลวง โดยใช้ชุมชน เครือข่ายสังออนไลน์ เป็นเครื่องมือ หลอกล่อ ผู้ใช้อินเตอร์เน็ต ที่ไม่ได้ระวังตัว
นักวิจัย เทรนด์ ไมโคร อิงค์ เผยว่า กลุ่มผู้บริโภคที่เลือกใช้บริการ สั่งซื้อสินค้า,การเลือกเข้ากลุ่มในการทำกิจกรรม ทางอินเตอร์เน็ตส่งข้อมูล ล้วนเสี่ยงต่อภัยคุกคาม ข้อมูลบนเว็บ,ไวรัส และการขโมยข้อมูล ส่วนบุคคลทั้งสิ้น
โดยมีข้อแนะนำให้ผู้ใช้อินเตอร์เน็ต ทั้งหลาย ระมัดระวังการใช้งานให้เพิ่มมากขึ้น และขอแจ้ง 10 อันดับ ภัยคุกคามลออนไลน์ ได้แก่
อันดับ 1 ใบแจ้งราคาสินค้าปลอม ที่ส่งมาทางอี-เมลอาจแฝงภัยร้ายมัลแวร์ไว้ :
เมื่อผู้ใช้เปิดไฟล์ หรือคลิกลิงก์ที่ได้รับผู้ใช้ ก็จะถูกขโมยข้อมูลส่วนตัวทันที ยิ่งผู้ใช้ที่ไม่ใช่นักช็อปออนไลน์ ที่ได้รับข้อความในลักษณะนี้ และแน่ใจว่าไม่ได้ทำการ สั่งซื้อสินค้าใดๆ ตามที่กล่าวอ้างในข้อความ ก็อาจสงสัย และเปิดไฟล์แนบท้ายได้เช่นกัน ผู้ใช้เน็ตจึงจำเป็นต้องระมัดระวัง และคำนึงถึงความปลอดภัยระหว่างเลือกซื้อสินค้าออนไลน์
อันดับ 2 โทรจัน ที่มาพร้อมใบเสร็จจากผู้จัดส่งสินค้าปลอม ข้อความต่างๆ จากผู้จัดส่งสินค้ายอดนิยม
ซึ่งแจ้งว่าไม่สามารถ ส่งมอบ ของให้ผู้รับได้ ดังนั้น ผู้รับข้อความจำเป็นต้องเรียกข้อมูล หรือไฟล์แนบท้าย ที่มีลักษณะ เหมือนใบเสร็จรับเงิน ขึ้นมาดู แต่จริงๆ แล้วเป็นสแปม ล่อลวงผู้ใช้ให้ติดตั้งโทรจัน ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ ปัญหาดังกล่าวค่อนข้าง แยกแยะลำบาก สำหรับนักช็อปออนไลน์
อันดับ 3 อี-คอมเมิร์ซฟิชชิ่ง :
ปกติอาชญากรคอมพิวเตอร์ จะใช้วิธีล่อลวงเหยื่อ (ฟิชชิ่ง) ด้วยข้อความอี-เมล์ที่มาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ แต่ว่าจริงๆ แล้วคือลิงก์ที่เป็นอันตราย จากนั้นลิงก์ดังกล่าว จะนำผู้ใช้งานไปยังเว็บไซต์ลวงที่มีดูเหมือนปกติทั่วไป เช่น เว็บอีเบย์ ได้รับการจัดอันดับ ว่าเป็นร้านค้าปลีกออนไลน์ที่ได้รับความนิยมสูงสุด และยังเป็นเว็บไซต์ ที่ถูกเหล่าอาชญากร คอมพิวเตอร์ เลือกเป็นไซต์ฟิชชิ่ง สูงที่สุดด้วย และเป็นส่วนหนึ่งของกลอุบาย ที่จะขโมยข้อมูลส่วนตัว
อันดับ 4 กับดักข้อมูลส่วนบุคคลในรูปบัตรของขวัญ และโปรโมชั่น :
ผู้ใช้ที่ชอบค้นหาของฟรี หรือโปรโมชั่นพิเศษบนเว็บ เสี่ยงต่อการถูกโจมตี ในลักษณะนี้ได้ เนื่องจากสิ่งที่ดูเหมือน จะไม่เป็นอันตรายนี้ มักจะถูกใช้เพื่อรวบรวมข้อมูล ส่วนบุคคลของคุณ ได้โดยของรางวัล บัตรของขวัญ หรือแม้แต่เงินสด มักจะถูกใช้เพื่อล่อเหยื่อ ให้กรอกแบบสำรวจปลอม โดยที่เหยื่อจะไม่ทราบว่านั่นคือ ฟิชชิ่งไซต์ เป็นส่วนหนึ่งของแผนการ ขโมยข้อมูลส่วนตัวที่เป็นความลับ
อันดับ 5 เว็บไซต์ลวง เว็บยอดนิยมที่มีคนเข้าเยี่ยมชมเป็นจำนวนมาก :
อาชญากรคอมพิวเตอร์จะเลือกเป้าหมาย ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม และมีการคลิกเข้าเยี่ยมชมเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงวันหยุดเทศกาลสำคัญๆ ซึ่งผู้ซื้อสินค้าออนไลน์ ทั้งหลายมักจะมุ่งตรงไปยังร้านค้าออนไลน์ เว็บไซต์ประมูล หรือเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ
อันดับ 6 ผลของการค้นหาข้อมูลแฝงภัยร้าย :
โดยผลของการค้นหาคำตอบ สำหรับข้อมูลที่ต้องการ ถูกใช้เป็นกลอุบายของมัลแวร์ โดยผู้เขียนมัลแวร์ มักจะใช้เทศกาล ต่างๆ เป็นตัวกำหนดว่าผู้ใช้เน็ต มักจะเลือกใช้คำค้นหาคำใด ที่จะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่เป็นอันตรายของตน ได้ในปี 2550 ผลค้นหาคำว่า "Christmas gift shopping" ถูกพบว่านำไปสู่มัลแวร์หลากหลายชนิด ที่เป็นอันตราย และเมื่อเร็วๆ นี้ ผลของการค้นหาคำว่า "Halloween costumes" ถูกพบว่าเป็นกลลวงที่แอบซ่อนภัยร้ายมัลแวร์ไว้ด้วยเช่นกัน
อันดับ 7 โฆษณามัลแวร์ (Malvertisements) :
ผู้ร้ายจะใช้โฆษณา และโปรโมชั่นที่เป็นอันตราย (ดูเหมือนเป็นโฆษณาปกติ) แจกจ่ายมัลแวร์ขึ้นอยู่กับ ผู้ซื้อสินค้าออนไลน์ ด้วยว่าสนใจในโฆษณาที่เห็นหรือไม่ จะเห็นได้ว่าโฆษณาที่แสดงในเว็บไซต์ ที่มีการเข้าชมสูง มักจะถูกใช้ เพื่อกระตุ้นให้มี การดาวน์โหลดมัลแวร์โดยเว็บไซต์ยอดนิยม เช่น Google, Expedia.com, Rhapsody.com, Blick.com และแม้แต่ MySpace มักถูกใช้เป็นที่แอบแฝงของโฆษณาแบนเนอร์ ที่เป็นอันตรายโดยไม่รู้ตัว ส่งผลให้มีการ คลิกมัลแวร์ เพื่อดาวน์โหลด ลงในระบบคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ได้ จึงแสดงให้เห็นว่าโฆษณา ที่เป็นอันตราย เหล่านี้ สามารถถูกฝังตัวไว้ในที่ใดก็ได้
อันดับ 8 บัตรอวยพรอิเล็กทรอนิกส์ (อี-การ์ด) :
นำมาซึ่งข่าวร้าย พวกผู้ร้ายมักจะใช้อี-การ์ด ล่อลวงเหยื่อให้คลิกลิงก์ ที่เป็นอันตรายในข้อความ สแปม และนั่นอาจทำให้ เครื่องคอมพิวเตอร์ของเหยื่อ ตกอยู่ในอันตรายได้ การโจมตีชนิดนี้ มักจะใช้ประโยชน์ของเทศกาลวันหยุด เนื่องจาก ผู้ใช้มักจะส่งอี-การ์ดให้แก่กัน และกัน ซึ่งหลายคนมักจะคาดว่าอี-การ์ดที่ได้รับนั้นอาจมาจากเพื่อน หรือเครือญาติ
อันดับ 9 ไซต์การกุศลจอมปลอม :
ในสหรัฐที่ผ่านมา ความเสียหายจากเฮอร์ริเคนแคทรีนา และกุสตาฟ เหตุการณ์แผ่นดินไหวในจีน ไฟป่าในแคลิฟอร์เนีย ภัยพิบัติเหล่านี้ ล้วนถูกอาชญกรคอมพิวเตอร์ นำมาใช้ประโยชน์ เพื่อหลอกลวง และวัตถุประสงค์อื่นๆ ซึ่งผู้ใช้ออนไลน์ ส่วนใหญ่ เกิดความรู้สึก "อยากทำบุญ และต้องการบริจาค" อยู่แล้ว
อาชญกรคอมพิวเตอร์อาศัย ความรู้สึกนี้ นำไปสู่ การบรรลุตามแผนการ ที่วางไว้ นอกจากผู้ใช้ใจบุญ ซึ่งตอบกลับ ข้อความอี-เมล์ ลวง หรือเว็บไซต์ จะไม่ได้ ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ใดแล้ว ยังจะต้องสูญเสีย เงิน หรือข้อมูล ที่เป็นความลับ ไปแทนอีกด้วย
อันดับ 10 ภัยลวงนักล่าของถูก อาชญากรคอมพิวเตอร์จะใช้ส่วนลด และโปรโมชั่น :
เพื่อหลอกล่อเหยื่อ ให้คลิกลิงก์ ที่เป็นอันตราย หรือป้อนข้อมูล ที่เป็นความลับ ของตนลงในไซต์หลอกลวง โดยทั่วไปแล้ว ผลิตภัณฑ์ที่นำมาใช้ล่อเหยื่อ จะเป็นสินค้า ยอดนิยม และสินค้าขายดี ซึ่งอาจทำให้ผู้ใช้ อดใจไม่ได้ ที่จะคลิกลิงก์ที่ปรากฏ
ปีนี้ เทรนด์ไมโครพบว่า โทรจัน TROJ_AYFONE.A ใช้ประโยชน์ของการเปิดตัว AppleiPhone เป็นมัลแวร์ จะแสดงในรูปแบบ ของโฆษณาลวง เหมือนกับการสร้างเว็บไซต์ลวง ของร้านค้า ออนไลน์ ที่สามารถซื้อผลิตภัณฑ์ ดังกล่าวได้
ข้อดีและข้อเสียของ FaceBook
ข้อดี
1.FaceBook จะเป็นการสร้างเครือข่ายและจุดประกายด้านการศึกษาได้อย่างกว้างขวางหากใช้ได้อย่างถูกวิธี
2.ทำให้ไม่ตกข่าว คือทราบความคืบหน้า เหตุการณ์ของบุคคลต่างๆและผู้ที่ใกล้ชิด
3.ผู้ใช้สามารถสร้างเครือข่ายทางสังคม แฟนคลับหรือผู้ที่มีเป้าหมายเหมือนกันและทำงานให้สำเร็จลุล่วงไปได้
4.สามารถสร้างมิตรแท้ หรือเพื่อนที่รู้ใจที่แท้จริงได้
5.FaceBook เป็นซอฟแวร์ที่เอื้อต่อผู้ที่มีปัญหาในการปรับตัวทางสังคม ขาดเพื่อน อยู่โดดเดี่ยวหรือผู้ที่ไม่สามารถออกจากบ้านได้ ให้มีเครือข่ายทางสังคม และเติมเต็มชีวิตทางสังคมได้อย่างดีไม่เหงาและปรับตัวได้ง่ายขึ้น
6.สร้างเครือข่ายที่ดี สร้างความเห็นอกเห็นใจ และให้กำลังใจที่ดีแก่ผู้อื่นได้
ข้อเสีย
1.FaceBook เป็นการขยายเครือข่ายทางสังคมในโลกอินเตอร์เนตดังนั้นการมีเพิ่มเพื่อนเครือข่ายที่ไม่รู้จักดีพอ จะทำให้เกิดการลักลอบขโมยข้อมูลหรือการแฝงตัวของขบวนการหลอกลวงต่างๆได้
2.เพื่อนทุกคนในเครือข่ายสามารถเขียนข้อความต่างๆลง Wall ของ FaceBook ได้ แต่หากเป็นข้อความที่เป็นความลับ การใส่ร้ายกัน หรือแฝงไว้ด้วยการยั่วยุต่างๆ จะทำให้ผู้อ่านที่ไม่มีวุฒิภาวะพอ หลงเชื่อ เกิดความขัดแย้ง และปัญหาตามมาในภายหลังได้
3.Facebook อาจเป็นช่องทางในการสร้างสังคมแห่งการนินทา หรือการยุ่งเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นโดยใช่เหตุ โดยเฉพาะสังคมที่ชอบสอดรู้สอดเห็น
4.การเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวทั้งหมดให้กับบุคคลภายนอกที่ไม่รู้จักดีพอ เช่นการลงรูปภาพของครอบครัวหรือลูก อาจนำมาเรื่องปัญหาการปลอมตัว หรือการหลอกลวงอื่นๆที่คาดไม่ถึงได้
5.ในการสร้างความผูกพันและการปรับตัวทางสังคมเป็นการพบปะกันในโลกของความจริง มากกว่าในโลกอินเตอร์เนต ดังนั้นผู้อยู่ในโลกของไซเบอร์มากเกินไปอาจทำให้มีปัญหาทางจิต หรือขาดการปรับตัวทางสังคมที่ดี โดยเฉพาะผู้ที่ชอบเล่น FaceBook ตั้งแต่ยังเด็ก
6.FaceBook อาจเป็นแรงขับให้มีการพบปะทางสังคมในโลกแห่งความเป็นจริงที่น้อยลงได้ เนื่องจากทราบความเคลื่อนไหวของผู้ที่อยู่ในเครือข่ายอย่างตลอดเวลา
จึงกล่าวได้ว่า ท่านนักท่องเว็ปที่นิยมท่องโลกอินเตอร์เน็ต ให้มีความระมัดระวังและมีวิจารณญาณในการเล่นFacebookมากยิ่งขึ้น เพราะFaceBookนั้นเป็นทั้งสื่อที่มีทั้งคุณอนันต์และโทษมหันต์ในเวลาเดียวกัน
บทสรุป ที่ทุกท่านควรปฏิบัติตาม เพราะมันเป็นคำแนะนำ จากปรมาจารย์นักล้วงตับไตใส้พุง ถลกหนังหัว ที่เก่งที่สุดในโลกยุคปัจจุบัน ติดตามได้เลยครับ
"ใช่ [ทวิตเตอร์และเฟซบุ๊ก] ก็มีส่วนช่วยอยู่บ้าง แม้ว่าจะไม่มากเท่าที่สำนักข่าวอัลจาซีราทำก็ตาม แต่คู่มือที่นักเคลื่อนไหวในอียิปต์ผลิตขึ้นนั้นเขียนไว้ตั้งแต่หน้าแรกว่า 'อย่าใช้เฟซบุ๊กและทวิตเตอร์' และย้ำอีกในหน้าสุดท้ายว่า
'อย่าใช้เฟซบุ๊กและทวิตเตอร์' ”
"มันมีที่มาของเรื่องนี้อยู่ ที่จริงแล้วเคยมีการใช้เฟซบุ๊กเคลื่อนไหวลุกฮือในกรุงไคโรเมื่อสามสี่ปีก่อน มันเป็นการเคลื่อนไหวที่เล็กมาก หลังจากเหตุการณ์นั้น เฟซบุ๊ก ก็ถูกใช้ในการสืบหาและรวบตัวเหล่าผู้นำขบวนการ ซึ่งต่อมาถูกซ้อมทรมาน สอบสวน และคุมขัง"
จูเลียน อัสซานจ์: "อินเทอร์เน็ตคือเครื่องมือสอดแนมประชาชนที่ยิ่งใหญ่ที่สุด" Wed, 2011-03-16 18:52 แปลจาก Julian Assange tells students that the web is the greatest spying machine ever(http://www.guardian.co.uk/media/2011/mar/15/web-spying-machine-julian-assange)
ท่านใดไม่เชื่อก็ตามใจ น่ะครับ แต่ผมเชื่อล้านเปอร์เซ็นต์ เพราะผมโดนมาแล้วครับ....!!!!