WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, March 11, 2011

กลับไปสภา

ที่มา มติชน



โดย ปราปต์ บุนปาน

(ที่มา คอลัมน์สถานีคิดเลขที่ 12 หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 10 มีนาคม 2554)

สัปดาห์ก่อนมีโอกาสชมรายการโทรทัศน์แนววิเคราะห์ข่าว

พิธีกรท่านหนึ่งเป็นห่วงว่าการอภิปรายไม่ไว้วางใจที่กำลังเกิดขึ้น จะเต็มไปด้วยการใช้ถ้อยคำหยาบคายอย่างไม่เคยมีมาก่อนในสภาผู้แทนราษฎรยุคเก่าๆ

พิธีกรอีกรายจึงโต้ว่า คุณแน่ใจได้อย่างไรว่า ส.ส.ยุคเก่าอภิปรายโดยไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย?

คุณจำเนื้อหาการอภิปรายในสภาสมัยก่อนได้จริงหรือ? คุณได้รับฟังการอภิปรายเหล่านั้นผ่านทางโทรทัศน์และวิทยุจริงหรือ? และการอภิปรายในสภายุคเก่ามีการถ่ายทอดภาพ/เสียงผ่านสื่ออยู่ตลอดจริงหรือ?

นี่อาจเป็นการปะทะกันระหว่าง "ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์" กับ "ความทรงจำ" ที่ถูกสร้างขึ้นโดยผู้คนในสังคม

ในความทรงจำว่าด้วยการเมืองไทยร่วมสมัย ภาพของนักการเมืองก็ถูกวาดไว้อย่างไม่สวยงามสักเท่าใดนัก

เพราะดูเหมือนกลุ่มคนผู้มีอำนาจรัฐซึ่งถูกด่ามากที่สุด จะเป็นนักการเมืองจากการเลือกตั้ง

ระบบรัฐสภาหรือรัฐธรรมนูญถูกล้มถูกฉีก ก็เพราะข้ออ้างสำคัญประการหนึ่ง คือ "นักการเมืองเลว"

แต่ถ้าคิดอีกมุมหนึ่ง นักการเมืองจากการเลือกตั้ง ก็เป็นหนึ่งในผู้ถือครองอำนาจรัฐเพียงไม่กี่กลุ่ม

ที่สามารถถูกด่าและตรวจสอบได้อย่างละเอียดมากที่สุด

เพราะพวกเขามีที่มาจากประชาชน จึงต้องพร้อมจะแสดงความรับผิดชอบต่อประชาชน

อย่างไรก็ตาม ความทรงจำทางการเมืองในราว 2 ทศวรรษหลัง กลับสร้างให้นักการเมืองกลายเป็นต้นตอแห่งความเสียหายต่างๆ (ทั้งที่พวกเขาอาจเป็นเพียงส่วนหนึ่งของปัญหาเท่านั้น)

กระทั่งอำนาจสำคัญหลายประการในการตัดสินชะตากรรมของประเทศ ค่อยๆ ถูกพรากออกมาจากสภา

จนมีคนบอกว่าเรามีสภาก็เหมือนไม่มี

คำถามคือ สภาไทยไร้ค่าขนาดนั้นจริงหรือ?

ถ้าพิจารณาจริงๆ สภาผู้แทนราษฎรชุดปี 2550 ก็มีการอภิปรายถกเถียงในประเด็นน่าสนใจจำนวนมาก

อันแสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

แต่ขณะเดียวกัน ก็มีการต่อสู้นอกสภาดำเนินเคียงคู่กันไปด้วย

เพราะสภาอาจรองรับประเด็นความขัดแย้งต่างๆ ไว้ได้ไม่หมด

อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าสภาจะไร้ความหมาย

เพราะแม้แต่แกนนำ นปช. ก็ยังแสดงความต้องการที่จะกลับมาต่อสู้ในระบบรัฐสภา

แน่นอนว่า ขบวนการเสื้อแดงบนท้องถนนยังเดินหน้าต่อไปอย่างมีนัยสำคัญ

แต่หากพรรคเพื่อไทย/กลุ่มคนเสื้อแดงต้องการได้อำนาจรัฐและสิทธิคุ้มครองอันมั่นคงแล้ว

พวกเขาก็จำเป็นต้องทำการต่อสู้ในพื้นที่สภาด้วย

ฉะนั้น ในระยะยาวที่ไม่ใช่แค่การอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งนี้ (ซึ่งน่าจะตามมาด้วยการเลือกตั้งครั้งต่อไป) รัฐสภาจึงยังคงเป็นเวทีทางการเมืองที่สำคัญ

แต่สภาจะ "ทำงาน" หรือ "ไม่ทำงาน" ก็ไม่ได้อยู่ที่ ส.ส. หรือ ส.ว.เท่านั้น

หากยังอยู่ที่ "ความทรงจำ" หรือ "ความรับรู้" ที่คนในสังคมมีต่อสภาด้วย

ถ้าพวกเราไม่เชื่อในการเมืองระบบ "ตัวแทน"

ก็ยากที่กลไกของระบบรัฐสภาจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ