WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, April 10, 2009

Foreign Policy: What's behind Thailand's turmoil? อะไรอยู่เบื้องหลังความวุ่นวายในประเทศไทย?

ที่มา Thai E-News

โดย Roberto Herrera-Lim
ที่มา Foreign Policy
แปลโดยทีมข่าวไทยอีนิวส์
10 เมษายน 2552

อะไรอยู่เบื้องหลังความวุ่นวายในประเทศไทย?

ทำความเข้าใจกับความวุ่นวายในประเทศไทย


อาทิตย์นี้ถนนในกรุงเทพฯเต็มไปด้วยผู้ประท้วงอีกครั้งหนึ่งที่ดูเหมือนจะพิสูจน์ว่าเป็นความพยายามที่คึกคักแต่ไร้ประโยชน์ที่จะบีบบังคับให้รัฐบาลลาออก แต่เบื้องหลังความวุ่นวายนั้น อดีตนายกฯทักษิณ ชินวัตรผู้ซึ่งได้สั่งการการชุมนุมทั้งหมดนี้จากนอกประเทศ อาจจะกำลังมีวาระที่ลึกซึ้งและเป็นแผนการระยะยาว

พ.ต.ท.ทักษิณและผู้สนับสนุนของเขาได้โจมตี "กลุ่มขุนนาง" --- และที่ปรึกษาระดับสูงของกษัตริย์ โดยเฉพาะ พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ มันบ่งชี้ว่ากลยุทธ์ของทักษิณแทบไม่เกี่ยวข้องกับความพยายามที่โค่นล้มรัฐบาลปัจจุบันโดยทันที แต่เป็นการบ่อนทำลายโครงสร้างอำนาจที่มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่สถาบันกษัตริย์, โดยเฉพาะสภาองคมนตรี, และขบวนการสืบราชทอดราชบัลลังค์ที่ประเทศจะต้องเผชิญเมื่อกษัตริย์ภูมิพลที่มีกำลังมีสุขภาพที่อ่อนแอไม่อยู่ในเวทีแล้ว

การประท้วงกำลังส่งเสียงดังมากกว่าปกติ ซึ่งต้องขอบคุณคำเตือนของพ.ต.ท.ทักษิณว่า "มันสายไปแล้วสำหรับการเจรจา" และความรู้สึกที่ว่าผู้ประท้วง (ที่รู้จักกันในนาม "เสื้อแดง") กำลังผลักดันให้เกิดการเผชิญหน้ากัน อดีตนายกฯที่ได้ถูกโค่นล้มโดยรัฐประหารเมื่อปี 2549 ยังสามารถที่จะทำให้เกิดความตึงเครียดในเมืองหลวงโดยการรณรงค์ให้ผู้สนับสนุนเขาจากภาคตะวัออกเฉียงเหนือของประเทศให้เข้ามาประท้วง แต่ปราศจากการสนับสนุนของทหาร สถาบันกษัตริย์ และชนชั้นกลางในกรุงเทพฯ โอกาสน้อยที่การชุมนุมจะทำให้ผู้มีอำนาจชั้นสูงทางการเมืองแตกแยกและผู้ปกครองปัจจุบันสั่นคลอน แม้กระทั่งพันธมิตรของทักษิณเองตระหนักดีว่าถึงแม้ว่าพวกเขาจะสามารถบังคับให้มีการเลือกตั้งใหม่สถาบันที่ถูกควบคุมโดยชนชั้นสูงยังมีอำนาจเหนือรัฐบาลของพวกเขา เชื่อว่าพ.ต.ท.ทักษิณอยู่ในประเทศดูไบหรือกัมพูชา และมีหลักฐานว่าทหารกำลังพยายามบล๊อคสัญญาณโฟนอินของเขาทีต่อเข้ามาหาผู้สนับสนุนในประเทศ

จุดมุ่งหมายแท้จริงที่พ.ต.ท.ทักษิณใช้การประท้วงนี้น่าที่จะเพื่อทำให้พล.อ.เปรมอ่อนแอลง ซึ่งจะเปิดทางให้เขาได้เปรียบรัฐบาลที่อ่อนเปลี้ยจากวิกฤติทางเศรษฐกิจในที่สุด เพื่อที่จะเจรจาการกลับประเทศของเขาและสะสางปัญหาที่ค้างคาทางด้านกฏหมายและการเงินของเขา สิ่งสำคัญที่ไม่ทราบได้ตอนนี้คือการเคลื่อนไหวของเขาแสดงให้เห็นว่าเขามีข้อมูลเชิงลึกหรือไม่เกี่ยวกับเวลาและแนวทางการสืบทอดราชบัลลังค์ (และผลลัพธ์ของการต่อสู้เพื่อชิงอำนาจ) ว่าจะออกมาในรูปไหน และว่าโวหารของเขาเป็นความพยายามที่จะเตรียมสถานะของเขาในความขัดแย้งของอำนาจที่ตามมาหรือไม่

เพื่อที่จะเพิ่มเดิมพัน พ.ต.ท.ทักษิณได้เตือนว่าเขาคาดว่าจะได้เห็น "การปฎิวัติโดยประชาชน" ที่มีความเข้มข้นกว่าความไม่สงบภายในที่สะเทือนประเทศในปี 2516 และ 2535 เขาได้กล่าวหาพล.อ.เปรมและพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์อย่างเปิดเผยว่าได้วางแผนการรัฐประหารปี 2549 ที่โค่นล้มเขาออกจากตำแหน่ง

ทั้งหมดเป็นการวิพากษ์วิจารณ์ที่กล้าหาญ (และไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน) เพราะพล.อ.เปรมเป็นบุคคลที่ถือว่าเป็นตัวแทนของกษัตริย์ภูมิพลในทศวรรษที่ผ่านมา เพราะฉะนั้นจึงอยู่เหนือการกล่าวหา ผู้ประท้วงได้จัดให้มีการชุมนุมใกล้บ้านของพล.อ.เปรม จากการที่เขาพิสูจน์ว่าเขายังมีอิทธิพลในการเรียกร้องการสนับสนุนจากสาธารณชนและโจมตีพล.อ.เปรมอย่างกล้าหาญ พ.ต.ท.ทักษิณอาจจะกำลังปูรากฐานของตนเองทางการเมืองหลังจากการจากไปของกษัตริย์ โดยเฉพาะถ้าการสืบทอดราชบัลลังค์ไม่ก่อให้เกิดกษัตริย์ที่เข้มแข็ง

โดยสรุป ประเทศไทยอยู่ในท่ามกลางการการต่อสู้เพื่อชิงอำนาจที่อาจกระทบเชิงลึกถึงสถาบันและโครงสร้างอำนาจ มันเริ่มจากการต่อสู้ระหว่างชนชั้นสูงกับพ.ต.ท.ทักษิณเมื่อปี 2549 และเริ่มทะลักเข้าไปในวงสาธารณะ เดิมพันมันถูกขยายขึ้นจากความไม่แน่นอนของการสืบทอดราชวงศ์ในประเทศที่สถาบันกษัตริย์ยังเป็นสถาบันที่มีอิทธิพลทางการเมืองมากที่สุด ประวัติศาสตร์ไทยบ่งบอกว่าความขัดแย้งประเภทนี้จะต้องใช้เวลาที่จะแก้ ซึ่งมีผลลัพธ์จากไร้สาระถึงน่าสลดใจ

Making sense of Thailand's turmoil

Bangkok's streets are again filled with protesters this week in what will likely prove a boisterous but futile attempt to force the government's resignation. But behind all the noise, former Prime Minister Thaksin Shinawatra, who has been directing these demonstrations from outside the country, may well have a more subtle, longer-term agenda.

Thaksin and his supporters have been attacking the country's "aristocracy"--and top adviser to King Bhumibol Adulyadej, Prem Tinsulanonda, in particular. This suggests that Thaksin's maneuvers are related less to any effort to immediately oust the current government but instead to undermining the power structures centered around the monarchy, particularly the King's privy council, and the succession process that Thailand will face once ailing King Bhumibol passes from the scene.

The protests are generating more noise than usual thanks to warnings from Thaksin that "the time for talks has passed" and the sense that protesters (known as "red shirts") are pushing for a confrontation. The former prime minister, ousted in a 2006 coup, is still able to create tension in the capital by rallying his supporters from Thailand's northeast and among Bangkok's poor. But without support from the military, the monarchy, and Bangkok's middle class, these protests are highly unlikely to divide the country's political elite and threaten the current regime. Even Thaksin's allies know that even if they could force new elections, the elite-controlled institutions could undermine their administration. Thaksin is believed to be in either Dubai or Cambodia, and evidence suggests that the military is trying to block his satellite telephone calls to followers inside Thailand.

The real motive behind Thaksin's use of these protests is probably to weaken Prem, which would then allow him to position himself to eventually take advantage of a government weakened by the economic crisis, to negotiate his return to the country, and to settle his many outstanding legal and financial problems. The big unknown is whether Thaksin's moves reveal that he has inside information on how and when the succession process (and resulting power struggle) will begin to unfold, and whether his rhetoric is an attempt to position himself in the conflict for power that could follow.

To up the ante, Thaksin has warned that he expects to see a "revolution by the people" that is more intense than the civilian unrest that rocked the country in 1973 and 1992. He has also explicitly accused Prem and retired General Surayud Chulanont of having organized the 2006 coup that ousted him from office.

These are bold (and unprecedented) criticisms, because Prem has been considered for the past decade a direct representative of King Bhumibol and therefore beyond this kind of accusation. Protesters have organized demonstrations near Prem's home. By proving that he still commands considerable public support and boldly attacking Prem (and members of the military complicit in the 2006 coup), Thaksin may well be trying to establish himself as a political force to be reckoned with following the King's death-particularly if the succession process fails to produce a strong monarch.

In short, Thailand is in the midst of a power struggle that could reach deeply into its institutions and power structures. It started with a fight between the elites and Thaksin in 2006, and has begun to spill over into the public sphere. The stakes have been magnified by the uncertainty around the royal succession in a country in which the monarchy remains the most powerful political institution. Thailand's history shows that this type of conflict will take time to resolve, with results ranging from the absurd to the tragic.