WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, September 21, 2009

3 ปีวันประหารรัฐประชาธิปไตย: เสวนาโดย ม.เที่ยงคืน

ที่มา ประชาไท

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนอภิปราย “3 ปีวันประหารรัฐประชาธิปไตย” ‘สมชาย ปรีชาศิลปกุล’ ชี้ 19 กันยา เป็นรัฐประหารต้นทุนแพงลากสถาบันทางการเมือง-สังคมลงมาอีเหละเขละขละ ‘ชำนาญ จันทร์เรือง’ เผยความโง่ 4 ประการของคณะรัฐประหาร ‘อรรถจักร สัตยานุรักษ์’ ระบุสังคมอยู่ในความขัดแย้งเชิงโครงสร้างที่เปราะบาง ตีกันง่ายขึ้น ฆ่ากันง่ายขึ้น วงอภิปรายยังหวังสังคมไทยกลับมายึดสันติวิธี

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 19 ก.ย. ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจัดการอภิปราย “3 ปีวันประหารรัฐประชาธิปไตย” ที่ห้องประชุม อาคารศูนย์สตรีศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยหลังการปาฐกถาของนายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ หรือ ส.ศิวรักษ์ หัวข้อ “สาระที่แท้ของประชาธิปไตย” ถัดมาเป็นการอภิปรายหัวข้อ “3 ปี วันรัฐประหารประชาธิปไตย” โดยนักวิชาการ ม.เที่ยงคืน ได้แก่ รศ.ดร.อรรถจักร สัตยานุรักษ์ อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อ.ชำนาญ จันทร์เรือง นักวิชาการอิสระ รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เชษฐพัฒนวนิช อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
000
รัฐประหารต้นทุนแพง(มาก)
รัฐประหารครั้งนี้ มีคนบอกว่าไม่นองเลือด เป็นรัฐประหารแบบสันติ แต่ในทัศนะผมนี่เป็นรัฐประหารที่มีต้นทุนแพงมาก ต้นทุนนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นเลือดเนื้อชีวิต แต่รัฐประหารได้นำสถาบันทางการเมือง สถาบันทางสังคมจำนวนมากหลายสถาบันอีเหละเขละขละ เข้าไปสู่จุดที่น่ากลัวมากขึ้น
สมชาย ปรีชาศิลปกุล
สมชาย ปรีชาศิลปกุล กล่าวว่า ความรู้สึกก่อนการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 กับตอนนี้มีความต่างกัน ในตอนนั้นมีคนไปถ่ายรูป ยินดีปรีดากับการรัฐประหารค่อนข้างเยอะ สิ่งที่ตามมาคือจนถึงบัดนี้ หลายๆ คนคาดหวังว่าอย่างน้อยการรัฐประหารจะยุติความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้น ถามว่าถึงปัจจุบันสังคมไทยกลับเข้าสู่สิ่งที่เรียกว่าภาวะที่ไม่มีความขัดแย้ง ไม่มีความรุนแรงหรือเปล่า ไม่ใช่
มีคนกล่าวว่า การรัฐประหารยุติความขัดแย้งเฉพาะหน้าได้ คำตอบคือ ใช่ และสั้นมาก การรัฐประหารครั้งนี้กระจอกที่สุดในประวัติศาสตร์การรัฐประหาร คณะรัฐประหารเป็นวีรบุรุษสั้นๆ มีใครคิดถึงรัฐบาลสุรยุทธ์บ้าง หลังสุรยุทธ์ออกจากตำแหน่งไปแล้วสุรยุทธ์ก็มีชนักติดตัวเรื่องเขายายเที่ยง
มีคนชอบถามผมว่าจะมีรัฐประหารหรือเปล่า ผมไม่รู้หรอกผมไม่ได้ถือปืนขับรถถัง แต่ว่ารัฐประหารมีความหมายน้อยลง รัฐประหารอาจจี้เอาคนบางคนที่ไม่ชอบออกไป แต่ไม่น่าจะกำกับสังคมได้มาก สังคมไทยเปลี่ยนไปมากกระทั่งอำนาจการบริหารงานที่อยู่ภายใต้คณะทหารเป็นไปได้ยากแล้ว
รัฐประหารครั้งนี้ มีคนบอกว่าไม่นองเลือด เป็นรัฐประหารแบบสันติ แต่ในทัศนะผมนี่เป็นรัฐประหารที่มีต้นทุนแพงมาก ต้นทุนนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นเลือดเนื้อชีวิต แต่รัฐประหารได้นำสถาบันทางการเมือง สถาบันทางสังคมจำนวนมากหลายสถาบันอีเหละเขละขละ เข้าไปสู่จุดที่น่ากลัวมากขึ้น เช่น รัฐธรรมนูญที่นำสถาบันตุลาการไปสู่การเมือง ทำให้สถาบันตุลาการคลอนแคลนไปมาก การตัดสินวินิจฉัยถูกตั้งคำถาม
อย่างคดียุบพรรค (ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคการเมืองสามพรรค คือ พรรคพลังประชาชน พรรคมัชฌิมาธิปไตย และพรรคชาติไทยเมื่อ 2 ธ.ค.) เวลา 10 โมงอ่านคำแถลงปิดคดี ต่อมาเวลา 11 โมงศาลอ่านคำพิพากษา เรื่องนี้คนตัดสินก็ต้องเอาคำแถลงปิดคดีของพรรคการเมืองไปฟังว่ารับหรือไม่รับในแต่ละเรื่อง แล้วคำพิพากษาประมาณ 30 กว่าหน้า หนึ่งชั่วโมงพิมพ์ได้หรือ ต่อให้พิมพ์แบบไม่ใช้สมอง 30 กว่าหน้า พิมพ์ได้หรือ แต่นี่พิพากษาเสร็จภายในหนึ่งชั่วโมง หมายความว่า ไม่ได้นำคำแถลงปิดคดีไปอยู่ในคำวินิจฉัย เขียนคำพิพากษามาก่อนแล้ว
คดีบางคดีในทางเทคนิคอย่างมติ ครม. (เรื่องแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกร่วม) จะขึ้นศาลปกครองหรือขึ้นศาลรัฐธรรมนูญจะแยกกัน แต่คดีนี้ศาลปกครองรับ ศาลรัฐธรรมนูญก็รับ รับทั้งสองศาล ตกลงคือคดีอะไร จนกระทั่งบัดนี้ก็ยังเถียงกันไม่เลิก คือศาลเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมืองมากขึ้น ทีนี้เมื่อไม่สามารถรักษาความชอบธรรม เวลามีคำตัดสินออกมา จึงเกิดภาพที่ไม่เคยเกิดในเมืองไทย เช่น มีคนไปล้อมศาล หรือศาลต้องหนีไปที่อื่นเพื่อไปตัดสินคดี
การรัฐประหารครั้งนี้จึงลากสถาบันการเมืองไปล่มสลาย ไม่ต้องเอ่ยถึงสถาบันอื่นที่ถูกวิจารณ์อย่างมาก สถาบันจารีตก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ ในช่วงชีวิตผมนี้น่าจะเป็นการวิพากษ์วิจารณ์ที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ตั้งแต่ 2475 เราเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นคือ มีการดึงสถาบันต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการกำกับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ถึงที่สุดระบบพวกนี้จะเดินไปได้ยาก จะก็ถูกถึงเข้ามาจนเละเทะไปหมด
นี่เป็นการรัฐประหาร ที่ต้นทุนแพงมาก แม้จะไม่ได้เสียเลือดเนื้อเลย และต้นทุนนี้เองจะทำให้เกิดเลือดตกยางออกในสังคมไทยตามมา
ถามว่า จะทำอะไรได้บ้าง ท่ามกลางความขัดแย้งที่ลงลึกมากขึ้น เราจะเผชิญหน้ากับปรากฏการณ์นี้อย่างไรบ้าง อันดับแรก อย่าไปฝากความหวังไว้กับใครแม้แต่คนเดียวว่าจะมีอัศวินขี่ม้าขาวมาแก้ปัญหา อัศวินมักจะขี่ม้าขาวก่อนมีอำนาจ พอมีอำนาจก็เปลี่ยนหมด ลองไปเปิดเว็บไซต์คุณอภิสิทธิ์ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2550 คุณอภิสิทธิ์ให้เหตุผลที่ดีมากในการคัดค้านกฎหมายความมั่นคง 5 ประการ ผมเห็นด้วยหมด แต่พอมีการชุมนุมเสื้อแดงก็ประกาศใช้กฎหมายความมั่นคง ที่รอบแรกวืดไป รอบนี้ก็เอากฎหมายความมั่นคงมาใช้อีก ทั้งที่เคยเห็นว่ากฎหมายมีความบกพร่อง 5 ประการ จึงอย่าไปฝากความหวังกับคนที่มีอำนาจ
เราควรทำอะไร อันดับต่อมาคือ สันติวิธี หายไปจากช่วงที่มีเคลื่อนไหวต่อต้านคุณทักษิณ สันติวิธี เคยเป็นเครื่องมือที่สำคัญของประชาชนในการต่อต้านรัฐ ตั้งแต่ในช่วงพฤษภาคม 2535 ช่วงที่ผ่านมาของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยช่วงเริ่มต้น ด้านหลักพันธมิตรฯ ใช้สิ่งที่เรียกว่าสันติวิธี ต่อมาด้านหลักไม่ใช่สันติวิธี เช่น การประกาศสงครามครั้งสุดท้าย
สันติวิธีหายไปจากสังคมไทย แม้แต่ในหมู่คนเส