ที่มา vattavan ‘ศิวลึงค์’ กลางราชประสงค์ (‘สี่แยก-ไสยาศาสตร์’) วาทตะวัน สุพรรณเภษัช ระหว่างที่มีการชุมนุมทวงประชาธิปไตย ที่สี่แยกราชประสงค์ ผมกับเพื่อนๆหลายสี ที่สนใจในเหตุบ้านการเมือง มีการตั้งวงสนทนากันสนุกสนานทุกวัน มีพรรคพวกรุ่นน้องคนหนึ่ง เขาเปรยขึ้นมาลอยๆ ว่า เมื่อ ปี พ.ศ.2547 ผมเคยเขียนบทความชื่อ “สี่แยกไสยาศาสตร์” ลงในเว็บผู้จัดการออนไลน์ เพราะได้ยินลูกน้องเก่า เขาเรียกแยกราชประสงค์ว่า ดังนั้น “สี่แยกไสยศาสตร์” ก็น่าจะหมายถึงสี่แยกทางคุณไสย หรือ สี่แยกทางไสยนั่นเอง แม้จะเป็นการตั้งชื่อแบบชาวบ้านที่มีอารมณ์ขัน แต่ก็ไม่ได้มีความหมายเลื่อนเปื้อนไปทางอื่น เพราะสี่แยกนี้ทุกด้าน ล้วนแต่เป็นที่ตั้งรูปเคารพซึ่งเป็นเทพเจ้าซึ่งเป็นที่เคารพของศาสนาใหญ่ที่สุดในชมพูทวีป คือศาสนาพราหมณ์ ซึ่งแพร่เข้ามาสู่ดินแดนสุวรรณภูมิก่อนศาสนาอื่น โดยมีที่มั่นในดินแดนขอม ฟังเขาเรียกสี่แยกไสยาศาสตร์ ก็รู้สึกขำ เห็นว่าเขาช่างคิดดีแท้ และรู้ทันทีว่า คนพูดเขาหมายถึงแต่ละแยกของถนนเพลินจิต ตัดกับถนนราชดำรินั้น มีรูปปั้นของเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์อยู่ทุกด้านของจัตุรัสแห่งนี้ คือ ตอนยังเป็นเด็กอยู่นั้น ผมนั่งรถรางจากหน้าบ้านที่ถนนพาหุรัด มาลงที่ป้ายรถรางหน้า ‘สุขศาลาตำรวจ’ (ชื่อเดิมก่อนยกฐานะเป็น โรงพยาบาลตำรวจ) แล้วเดินข้ามทางแยกไปโรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย เพราะผมเรียน K.G. (Kindergarten) หรืออนุบาลที่โรงเรียนแห่งนี้ เมื่อกรมตำรวจ (สำนักงานตำรวจแห่งชาติ) มีที่ทำการใหม่ ที่ดินส่วนหนึ่งนั้นกรมตำรวจซื้อหาเอง คือที่ตั้งสำนักงานตำรวจแห่งชาติปัจจุบัน ส่วนอีกฟากหนึ่งนั้น เช่าจากวังเพชรบูรณ์ เป็นที่ตั้งของกองคดี และกองสวัสดิการกรมตำรวจ ต่อมากรมตำรวจได้ก่อสร้างหมู่อาคารขึ้นมาใหม่ ก็คืนให้กับทางวังเพชรบูรณ์ไป และกลายเป็นศูนย์การค้าอย่างที่เห็นในปัจจุบัน องค์ต่อไปคือเทพอีกองค์หนึ่งซึ่งประทับอยู่คนละฝั่งถนนกับพระนารายณ์ คือ“ท่านท้าวมหาพรหม” ของโรงแรมเอราวัณ ผมได้ยินจากคุณเจือระวี ชมเสวีซึ่งเป็นคุณพ่อของคุณฐาปบุตร ชมเสวี อดีตรองปลัดกระทรวงแรงงาน พูดแล้วก็ไม่น่าเชื่อว่า จะเป็นเพราะบารมีของท่านท้าวมหาพรหมหรืออย่างไรก็ไม่ทราบได้ โรงแรมเอราวัณก็เจริญรุ่งเรืองมาตลอด ยืนหยัดเป็นศรีสง่ากับประเทศนานหลายทศวรรษ ด้วยรูปแบบเดิมที่สง่าผ่าเผย ด้วยแบบก่อสร้างมีความเป็นไทยอยู่เป็นอย่างมาก พระนารายณ์และพระพรหมนั้น สร้างมาตั้งแต่ก่อนกึ่งพุทธกาล คือ พ.ศ.2500 แต่หลังจากนั้นอีกกว่าสามทศวรรษ จึงได้มีเทพองค์ใหม่เกิดขึ้น คือ ทางฝั่งตรงข้ามกับกรมตำรวจ ด้านถนนพระราม 1 เป็นที่ตั้งของวังเพชรบูรณ์เดิม ต่อมากลายกรมตำรวจเช่าที่จากวังเป็นบางส่วน เป็นที่ตั้งของกองคดี กองการเงิน กรมตำรวจ มาถึงวันนี้ สี่แยกราชประสงค์ที่ผมคุ้นเคย กลายมาเป็นที่ชุมนุมของพี่น้องประชาชนจำนวนมากมาย และกลายเป็นเป้าหมายทางทหารและรัฐบาล ที่จะเข้ากวาดล้าง ซึ่งอาจกลายเป็นโศกนาฏกรรม ซ้ำรอยเหตุการณ์ที่สี่แยกคอกวัว เมื่อ ...ปัจจุบันคนไทยพบกัน คำทักทายเดิมๆที่ถามถึงสารทุกข์สุกดิบกัน กลายเป็น“เควสชั่นมาร์ค” หรือคำถามยอดนิยมใหม่คือ ผมก็นำข้อห่วงใย ของคุณ ‘พลุน้ำแข็ง’ ไปปรารภในวงสนทนากับเพื่อนฝูง มีเพื่อนคนหนึ่ง เขาเสนอความคิดที่น่าสนใจว่า “ที่ต้องเอา ‘ศิวลึงค์’ มาตั้งตรงทางแยกราชประสงค์ เพราะสิ่งศักดิ์สิทธิ์นี้ เป็นเครื่องหมายของความอุดมสมบูรณ์ เป็นพลังสูงสุด ที่แสดงถึงอำนาจในการสร้างสรรค์ เหนือกว่าวัตถุมงคลทั้งปวง น่าจะช่วยให้สี่แยกนี้ มีความสงบสุข จะได้ไม่มีใคร ไม่ว่าประชาชนหรือทหาร ต้องบาดเจ็บล้มตายไปกันอีก!” จะไม่เล่าต่อว่า ในวงสนทนานั้น สรุปลงความเห็นกันอย่างไร แต่ข้อเสนอของเพื่อนผมนั้น ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่ง ในความพยายามที่จะสร้างความสงบสุข ให้กับผู้คนในบ้านในเมือง ด้วยรัฐบาลนี้ดูเสมือนคนไร้ความสามารถเสียแล้วเพราะตั้งวิ่งราวอำนาจเข้ามาบริหารประเทศ บ้านเมืองไม่เป็นปกติสุข โดนผู้คนเขาวิพากษ์วิจารณ์เอาว่า ควรสร้าง ‘ศิวลึงค์’ ไว้ตรงจุดกึ่งกลางทางแยกราชประสงค์ โดยต้องสร้างให้ใหญ่โตโอฬาร สูงตระหง่าน ดูเด่นเป็นสง่า ท่ามกลางแวดวง ดงเทพเจ้าเก่า ที่เราๆท่านๆ คุ้นกันมาหลายปีแล้ว ท่านผู้อ่านที่เคารพครับ เผื่อบ้านเมืองของเรา...อาจจะดีขึ้นมาบ้าง!!!? ..................... ท้ายบท ถ้ายังตัดสินใจไม่ได้ ลองถาม ‘ป๋า’ ดูก่อน ก็ได้นะครับ!
“ที่สี่แยกมีเทพอยู่ตั้งหลายองค์ ไม่ยักช่วยดลใจให้รัฐบาลยุบสภา ผู้คนเขาเลิกชุมนุมสักที...
...บาดเจ็บล้มตาย ไปตั้งเยอะแยะแล้ว!”
เออ...เขาพูดก็น่าคิด เลยอยากจะเล่าให้ท่านผู้อ่านฟังว่า
“สี่แยกไสยาศาสตร์”
คำว่า “ไสยศาสตร์” นั้น แยกออกได้เป็นสองคำ คือ ไสย, ไสย (ไส,ไสยะ) เป็นคำนาม แปลว่า ลัทธิอันเนื่องด้วยเวทมนตร์คาถาซึ่งเชื่อได้ว่ามาจากพราหมณ์ เช่น ถูกคุณไสย
ส่วนคำว่า “ศาสตร์” หรือ “ศาสตร” หมายถึงระบบวิชาความรู้
“ไสยศาสตร์” “ไสยเวท” (ไสยะสาด,ไสยเวด) เป็นคำนาม แปลว่า ตำราทางคุณไสย,วิชาทางไสย
เมื่อพระพุทธศาสนาเข้ามาสู่ดินแดนแถบนี้ ลัทธิพราหมณ์ก็ยังมิได้แยกขาดออกจากพระพุทธศาสนา เสียโดยเด็ดขาด หากแต่ได้มีวิวัฒนาการควบคู่กันไป แม้พระพุทธศาสนาจะแผ่ขยายและมีอิทธิพลต่อจิตใจของผู้คนมากกว่า แต่ความเชื่อทางพราหมณ์และ ลัทธิไศเลนทร์ ก็คงปรากฏให้เห็นชัดเจนในรูปแบบของพิธีกรรมต่างๆในประเทศของเรา
- ฝั่งโรงแรมเอราวัณมี “ท้าวมหาพรหม”
- ศูนย์การค้าเวิลด์เทรดเดิม (ปัจจุบันเป็นเซ็นทรัลเวิร์ล
พลาซ่า) มี “เทพเจ้าตรีมูรติ”
- ฝั่งโรงแรมเพรสสิเดนท์ (เดิม) มี “พระนารายณ์ทรงสุบรรณ”
- ฝั่งสุดท้ายคือด้านกรมตำรวจหรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติปัจจุบันนั้น ประชาชนอาจไม่ทราบว่า ตรงด้านหน้าที่เป็นสโมสรกรมตำรวจเดิม มีรูปปั้น “พระนารายณ์ทรงประทับยืนเหยียบเหนือพญาอนันตนาคราช” ซึ่งเป็นรูปปั้นที่สวยงามมาก และเป็นเทพเจ้าองค์แรกที่เสด็จมาประทับที่สี่แยกไสยาศาสตร์แห่งนี้ หากแต่ผู้คนมองไม่เห็นเพราะมีอาคารอื่นบังอยู่
เหตุที่ต้องลงตรงป้ายดังกล่าว เพราะรถรางนั้นพอไปถึง
สี่แยกราชประสงค์ จะแยกส่วนที่พ่วงกัน ออกเป็น 2 คัน แล้วเลี้ยวเข้าถนนราชดำริ ไปทางประตูน้ำ 1 คัน แล้วอีกคันเลี้ยวขวาไปทาง
สวนลุมพินีวัน สายนี้ไปสุดทางที่ถนนตก
ตอนนั้นยังไม่มีเทพองค์ใด ลงสิงสถิตที่ทางแยกนี้!
ตอนสร้างสถานที่ตั้งกรมตำรวจเมื่อปี พ.ศ.2496 พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์อธิบดีกรมตำรวจในสมันนั้น ก็ได้สร้างสโมสรกรมตำรวจขึ้น และตรงบริเวณหน้าสโมสรกรมตำรวจนั่นเอง ท่านก็ได้จัดให้เป็นที่ตั้งของรูปหล่อพระนารายณ์ ขนาดสูงประมาณ 2 เมตร ประทับยืนเหยียบเหนือพญานาคราช
นี่คือเทพองค์แรก ที่เสด็จลงประทับ ที่สี่แยกราชประสงค์!
ท่านอยู่ในทีมสถาปนิกที่มีส่วนออกแบบ และตกแต่งโรงแรมเอราวัณ(เก่า) ปัจจุบันถึงแก่กรรมไปไม่นานนัก ท่านเคยเล่าให้ผมฟังว่า
เมื่อรัฐบาลตั้งบริษัทสหโรงแรมไทย และการท่องเที่ยว จำกัด ก่อสร้างโรงแรมเอราวัณ ตั้งแต่ก่อน พ.ศ.2500 เพื่อจะเอาไว้เป็นที่รับรองแขกเมืองของรัฐบาล ก็ได้ดำเนินการก่อสร้างเรื่อยมา แต่ปรากฏว่าระหว่างการก่อสร้าง มีเหตุที่คนงานเสียชีวิตเพราะตกนั่งร้านตายบ้าง เสียชีวิตเพราะอุบัติเหตุอื่นบ้าง
พอมาถึงปลายปี 2499 ใกล้จะถึงเวลาเปิดโรงแรม ผู้ใหญ่ในรัฐบาลจึงให้คุณเจือระวี ชมเสวีไปหาพลเรือตรีหลวงสุวิชาญแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญโหราศาสตร์ ดำเนินการหาฤกษ์วันเปิดโรงแรม คุณหลวงท่านก็ได้ท้วงติงว่า ฤกษ์ในการวางศิลาฤกษ์ของโรงแรมทำไว้ไม่ถูกต้อง ต้องแก้ไขด้วยการสร้าง ศาลท้าวมหาพรหม และศาลพระภูมิขึ้นไว้ ในโรงแรมแห่งนี้
ตัวคุณเจือระวีฯ เองเกิดมาก็ไม่เคยเห็นองค์ท้าวมหาพรหมเลย ท่านจึงไปที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ที่นั่นคุณเจือระวีฯ ก็ไปพบรูปหล่อเทพรูปหนึ่งชื่อ“ท้าวมหาพรหมเทวาประสิทธิ์” แต่ปรากฏว่าเป็นรูปคล้ายคนธรรมดา มีสองมือสองเท้าเหมือนกัน
คุณเจือระวีฯ ดูแล้วคงเห็นว่า หากใช้แบบเดิมยังไม่ขลังพอ จึงเขียนแบบร่าง และเติมหน้าพระพรหมเข้าไปอีกเป็น 4 หน้า เพราะท่านบอกว่า คุ้นกับท่ารำชื่อ “พรหมสี่หน้า” แล้วได้เติมแขนต่อขาให้พระพรหมตามแนวคิดของท่านเอง ส่งไปให้ทางกรมศิลปากรเพื่อออกแบบตามแนวคิดของท่าน
ปรากฏว่าทางกรมศิลปากรออกแบบ และปั้นด้วยปูนพลาสเตอร์ปิดทอง โดยคุณจิตร พิมพ์โกวิท ช่างกองหัตถศิลป์ ของกรมศิลปากร เป็นผู้ปั้น อัญเชิญมาประดิษฐาน เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499
โรงแรมแห่งนี้ได้เป็นที่ต้อนรับพระราชอาคันตุกะ แขกเมืองของรัฐบาล เคยเป็นสถานที่ที่มีอาหารเอร็ดอร่อย มีบรรยากาศเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน บัดนี้โรงแรมนี้ไม่มีอยู่แล้ว น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง
แม้โรงแรมเอราวัณเดิม ต้องกลายเป็นกิจการในรูปแบบฝรั่งมังค่าเรียบร้อยแล้ว แต่พระพรหมท่านยังอยู่ และที่น่าสนใจคือยังมีผู้คนไปกราบไหว้ เมื่อขอพระจากท่านแล้วได้สำเร็จสมประสงค์ก็บริจาคเงินเข้ากองทุนของท่าน ซึ่งจัดรูปแบบเป็นมูลนิธิ ชื่อ
“มูลนิธิท่านท้าวมหาพรหม”
มูลนิธินี้ ได้บริจาคเงินที่ได้จากประชาชน ทำบุญกับท่านท้าวมหาพรหม ให้กับสถาบันการศึกษา โรงเรียน ไม่ว่าเป็นโรงเรียนในชนบท หรือสถานพยาบาลอย่าง โรงพยาบาลตำรวจ เป็นต้น
มูลนิธิได้ทำงานเพื่อสังคมมาอย่างดีเป็นเวลานานกว่า 3 ทศวรรษแล้ว ตอนฤดูสอบเข้ามหาวิทยาลัย ใกล้วันหวยออก หรือใกล้เลือกตั้ง ก็มีดอกไม้บูชาผู้คนมาบริจาคเงินเข้ามูลนิธิเป็นจำนวนมาก สมัครผู้ว่ากรุงเทพฯเที่ยวนี้ก็เถอะ รับรองว่าผู้สมัครจำนวนไม่น้อยต้องไปไหว้ขอพรกันเป็นทิวแถว
ผู้ที่มาบนบานศาลกล่าว เมื่อได้สิ่งที่ขอไว้สมใจก็จะมาแก้บนส่วนใหญ่ก็จะเป็นละครชาตรีรำ แต่นักแสดงประเภทดาวยั่วบางคนเห็นว่า ท่านดูรำละครชาตรีจนเบื่อแล้ว เลยเต้นจ้ำบ๊ะถวายท่านหมดเรื่องหมดราวไปเสียเลย
คิดได้ยังไงก็ไม่รู้ ความมั่นใจสูงจริงๆ!
ฝั่งตรงข้ามกับโรงแรมเอราวัณ เดิมเป็นที่ตั้งอาคารพาณิชย์และมีจุดสังเกตใหญ่คือสายการบิน B.O.A.C. และมีถนนเกษรตัดเข้าทางหน้าถนนด้านราชดำริ ซึ่งหนุ่มสาวยุค ’60 อย่างผมเคยสนุกสนานกับงาน “มาร์ดิกราส์-ถนนเกษร” ก่อนย้ายงานไปถนนพัฒน์พงษ์ และมีการก่อสร้างโรงแรมเพรสสิเดนท์ขึ้นมาในภายหลัง
มาบัดนี้ทุกอย่างก็กลับเป็นความหลังไป โรงแรมก็เปลี่ยนมือกลายเป็นโฮเต็ลในเครือของบริษัทต่างชาติไป เช่นเดียวกับโรงแรมเอราวัณ
แต่เดิมนั้นฝั่งข้างนี้ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดมาสิงสถิต แต่ปรากฏว่าเกิดอุบติเหตุไฟไหม้ร้ายแรงกับตัวอาคารด้านหน้า ซึ่งเป็นที่ตั้งของบริษัทเงินทุน ก่อนวันเปิดอย่างเป็นทางการเพียงไม่กี่วัน ทำให้เกิดความเสียหายทางทรัพย์สิน มีมูลค่าสูงน่าตกใจเพราะนับเป็นพันล้านบาท บริษัทเงินทุนถึงกับต้องปิดตัวเอง
ทางเจ้าของโครงการจึงก่อสร้างศาล “พระนารายณ์ทรงสุบรรณ” เอาไว้ด้านถนนเพลินจิตร เป็นเทพเจ้าองค์เดียวกับของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพียงแต่ต่างกันด้วยลักษณะท่าทางเท่านั้น คือของทางโรงแรมใหม่นี้ เป็นพระนารายณ์ขี่ครุฑหรือขี่พญาสุบรรณ อันเป็นพาหนะประจำของพระองค์ หรือเรียกกันว่า “พระนารายณ์ทรงสุบรรณ”
คำว่า “สุบรรณ” แปลว่า “ครุฑ”
ดูเหมือนว่า ธุรกิจโรงแรมดำเนินไปได้ด้วยดี!
เมื่อหมดสัญญา ทางวังเพชรบูรณ์ได้ให้ทางกลุ่มธนาคาร
ศรีนครเช่าไป กลายเป็นเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ ซึ่งก็มีการดู “ฮวงจุ้ย” ตามตำรับจีนกันเต็มที่ เพื่อกันความ “แรง” ของเทพเจ้าสององค์คือพระนารายณ์และพระพรหม แต่ก็คงกันไม่ได้ เพราะ “เจ้า”ของคนจีน ยังไงก็ไม่สามารถปล่อยแสงเฮ้ากวง หรือเกี้ยมซุก มาสู้กับฤทธิ์ของพระมหาเทพทั้งสององค์ได้ กิจการของศูนย์การค้าแห่งนี้จึงทรุดลง จึงมีการก่อสร้าง คือ
“พระตรีมูรติ”
ซึ่งเป็นภาครวมของเทพเจ้า 3 พระองค์ของฮินดู คือ พระพรหมซึ่งเป็นพระผู้สร้างพระนารายณ์หมายถึงพระผู้รักษา และพระอิศวรคือพระผู้ทำลาย พระตรีมูรติจึงเป็นเทพเจ้าสูงสุด
อย่างไรก็ตาม อาจเป็นเพราะความ “แรง” ของเทพเจ้าองค์เดิมที่มีอยู่ก่อน การสร้างเทพเจ้าองค์ใหม่ขึ้นมา ก็ดูเหมือนจะล่าช้าเกินไป ศูนย์การค้าที่น่าสงสารแห่งนี้ เลยมีอันต้องเปลี่ยนเจ้าของใหม่ไป ส่วนธนาคารที่หนุนเรื่องทุนอยู่ ก็มีอันต้องอันตรธานหายไปจากสารบบแบงก์ไทย
ดังนั้น เพื่อไม่ให้ต้องเจ๊งซ้ำรอยเดิมเจ้าของใหม่ก็มีการบูชาศาลเป็นอย่างดี จึงทำให้กิจการดีพอ ที่จะดำเนินต่อไปได้
เทพเจ้าองค์ใหม่นี้มาแปลกเลย คือทุกคืนวันพฤหัสบดี เวลาประมาณสักสามทุ่มครึ่ง ก็มีคนหนุ่มคนสาวเป็นจำนวนมาก เขาจะพาไปชุมนุมเพื่อสักการะ"พระตรีมูรติ" แล้วอธิษฐานขอให้สมหวังในความรัก ที่ลานอเนกประสงค์ของศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์พลาซ่า (เวิลด์เทรดเก่า) เยื้องศาลพระพรหมเอราวัณ ด้วยความเชื่อว่า
เทพประจำศาสนาฮินดูนี้ จะประทานความรักและความสมหวังให้กับคู่รัก ซึ่งนับเป็นปรากฏการณ์อีกด้านหนึ่งในสังคมตะวันออก
10 เมษายน 2553 ที่ผ่านมาหยกๆ อีกหรือไม่?
ยังตอบไม่ได้
สถานการณ์อันสับสน และยังเป็นอันตรายอย่างยิ่งนี้ ทำให้ผู้คนมีความรู้สึกว่า พลังของเทพเจ้าศักดิ์สิทธิ์ ที่คุ้มครองสี่แยกสวยงามแห่งนี้ มีความสุขสงบมาเนิ่นนาน ดูจะถอยถด ลดน้อยลงไป ไม่พอที่จะคุ้มครองประชาชน ที่อาศัยและทำงานตลอดจนสัญจรผ่านไปมา ให้ได้รับความความปลอดภัย จนจะกลายเป็น
สี่แยกแห่ง ‘ความทุกข์’ ไปเสียแล้ว!
ใช่แต่ผมคนเดียวที่มีความรู้สึกนี้ หากแต่เพื่อนๆรุ่นราวคราวเดียวกันก็มีความรู้สึกคล้ายๆกัน หรือแม้กระทั่งสื่อมวลชนอย่าง
‘พลุน้ำแข็ง’ แห่ง นสพ.มติชน ซึ่งได้เล่าทางคอลัมน์หน้า 4 ‘เรียงคนมาเป็นข่าว’ เมื่อวันพฤหัส ที่ 22 เม.ย.2553 ว่า
“เมื่อไหร่จบเสียที-ใครแพ้ชนะ-อัศวินม้าขาวหน้าตาเป็นอย่างไร-พระสยามเทวาธิราชไปไหน”
ดูเหมือนเทพเจ้าประจำด้านทั้งสี่ ของแยกราชประสงค์ จะหย่อนพลังลง เราควรจะเพิ่มสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือเทพเจ้าอื่นๆเข้าไปเพื่อเสริมพลัง ให้สี่แยกไสยาศาสตร์แห่งนี้ อีกหรือไม่?
เกือบทุกคนไม่เห็นด้วย คงมีแต่เพื่อนที่ซุกซนแต่หัวไวและปากไวตั้งแต่เด็ก เพียงคนเดียวเท่านั้น ที่โพล่งออกมาว่า
เห็นควรเพิ่ม สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เข้าไปอีก!
เพื่อนๆส่งเสียงฮือฮา ขยับจะคัดค้าน แต่ผมรีบถามดักไปก่อนว่า
“แล้วจะเพิ่ม ‘เทพ’ หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์อะไร?”
เพื่อนตัวดีของผม ตอบเสียงดังว่า
“ศิวลึงค์!”
ทุกคนตกตะลึง!!
เจ้าของความคิด จึงฉวยโอกาสที่เพื่อนกำลังเงียบ พูดจาแจงเหตุผลด้วยท่าทีเคร่งขรึม และน้ำเสียงราบเรียบว่า
นอกจากเป็นรัฐบาล ‘จอมคอรัปชั่น’ แล้ว ยังล้มเหลวในการบริหารบ้านเมืองอย่างต่อเนื่อง ในหลายเรื่องราวอีกหลายครั้งหลายหน จนเป็นการเพิ่มความเหน็ดหน่าย สร้างความอิดหนาระอาใจ ให้กับพี่น้องประชาชนอย่างที่เห็นๆกัน!
วันนี้ เลยขอถือโอกาสนำเสนอ แนวความคิดของเพื่อนตัวเองต่อรัฐบาลปัจจุบัน ที่นำโดยพรรคพรรคเก่าแก่ ซึ่งพรรคนี้เขาก็มี ‘หมอผี’ ประจำพรรคคนสำคัญ อย่างนาย “สัมพันธ์ ทองสมัคร”ให้ลองพิจารณาว่า
ควรสร้าง ‘ศิวลึงค์’ ขึ้น เพื่อเสริมพลานุภาพของเทพเจ้าองค์อื่นๆ ที่มีอยู่เดิม ตรงสี่แยกไสยาศาสตร์ (ราชประสงค์) หรือไม่?
หากเห็นชอบ ผมก็มีความเห็นส่วนตัว ว่า
หากยังคิดแบบเพื่อก่อสร้างไม่ได้ ก็เลยค้นคว้าหาตัวอย่าง
‘ศิวลึงค์’ หรือแท่งจ้าวโลกใน ‘google’ ที่ตัวเองเห็นว่าเก๋ไก๋ เพราะรูปลักษณ์แปลกตา ดูกำยำงามสง่ากว่าที่เคยเห็นในวัดโพธิ์ และที่อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นปราสาท ‘พนมรุ้ง’ หรือปราสาท ‘ตาเมือนธม’ฯลฯ จึงได้นำมาฝากรัฐบาล ตามภาพนี้
เมืองไทยของเรายามนี้ ช่าง ‘ว้าเหว่’ เสียจริงๆ ราษฎรจะหันหน้าไปพึ่งพาใครที่ไหน ก็คงหาไม่มีอีกแล้ว หรือว่าคนไทยเราจะพึ่งพาอาศัยสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อย่าง ‘ศิวลึงค์’ ตามคำแนะนำของเพื่อนผมกันดี?
ถ้ามีฉันทานุมัติร่วมกันว่า ‘ควรสร้าง’ ก็ขอให้หัวหน้ารัฐบาลสั่งการให้ กทม.ร่วมกับกรมศิลปากรสร้างขึ้น แล้วนำมาประดิษฐาน ไว้ตรงจุดกึ่งกลางสี่แยกไสยาศาสตร์ ให้ผู้คนได้บูชากัน เพื่อจะได้เป็นเครื่องบำรุงขวัญ และกำลังใจของพลเมือง และเสริมพลังความศักดิ์สิทธิ์ ของเทพเจ้าองค์อื่นๆอีกด้วย...
หากพรรคประชาธิปัตย์ถูกยุบ เพราะเรื่องเงินๆทองๆตามที่ก.ก.ต.เขากล่าวหา และหากเคราะห์หามยามร้าย จะต้องไปตั้งพรรคใหม่ แต่ตราประจำพรรคเดิม คือรูป ‘นางธรณี’ นั้น คงใช้ไม่ได้แล้ว
คณะกรรมการพรรคใหม่ จะเอา ‘ศิวลึงค์’ ที่นำเสนอนี้ ไปเป็นตราประจำพรรคใหม่ของตัวเอง ผมก็ไม่ขัดข้องแต่ประการใด เชิญนำไปใช้ได้ตามสะดวกครับ!