WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, November 21, 2011

ใต้เท้าขอรับ: ยิ่งลักษณ์พูด... “ใคร” ฟัง

ที่มา ประชาไท

การโจมตียิ่งลักษณ์ในฐานะที่เธอ “พูดไม่เป็น” ทั้งในพากย์ไทยและอังกฤษนั้น เป็นสิ่งที่ถูกนำมาเป็นประเด็นโจมตีนับตั้งแต่เธอก้าวเข้าสู่สนามการเมือง

นักสื่อสารย่อมเห็นตรงกันว่า การสื่อสารของยิ่งลักษณ์นั้นติดขัด แต่เธอ “ล้มเหลว” ในการสื่อสารหรือไม่ แนวทางที่วิเคราะห์วิจารณ์ที่ผ่านมามุ่งไปที่ตัวยิ่งลักษณ์ ในฐานะผู้พูด

แต่เมื่อประเด็นการโจมตียิ่งลักษณ์ “ขายไม่ออก” จึงน่าสนใจว่า ในการสื่อสารทางการเมือง คงไม่อาจมองที่ตัวผู้ส่งสารแต่เพียงอย่างเดียว

ในวันเดียวกับที่ยิ่งลักษณ์พูดภาษาอังกฤษในการแถลงข่าวร่วมกับฮิลลารี คลินตัน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ บัน คีมุน ก็แถลงข่าวด้วยภาษาอังกฤษสำเนียงเกาหลีซึ่งเชื่อได้ว่า สื่อไทยและคนไทยไม่คุ้นชิน แต่ก็ไม่มีใครพูดถึง ผู้นำในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกน้อยคนที่จะพูดภาษาอังกฤษด้วยสำเนียงที่ดี มีผู้เสนอและยกตัวอย่างว่าผู้นำเหล่านี้ใช้ล่ามในงานพิธีการ ซึ่งแน่นอนว่ายิ่งลักษณ์ก็ควรจะทำเช่นเดียวกัน แต่ยิ่งลักษณ์ควรใช้ล่ามในงานพิธีการหรือไม่ก็ไม่ใช่ประเด็นหลักที่สังคมไทย ถกเถียง และเป้าหมายหลักของการวิพากษ์วิจารณ์ก็มิใช่เพื่อเสนอแนะทางเลือกให้ดีขึ้น หากแต่เพื่อดูถูกเหยียดหยาม ปรามาสเธอในฐานะผู้นำที่น่าอับอายต่างหาก

การชี้วัดคนจากสำเนียงภาษาเป็นเรื่องคร่ำครึ ยิ่งเมื่อโลกติดต่อกันบนพื้นฐานของการเคารพในความแตกต่างหลากหลายและความเท่าเทียม

และการเป็นผู้นำ มิใช่การมีคุณสมบัติเลิศลอยกว่าประชาชนของตัวเอง ผู้นำยิ่งมีคุณสมบัติวิเศษ ยิ่งอยู่ห่างจากประชาชนของตนเองมากเท่านั้น สื่ออังกฤษอย่างไทมส์ เคยวิพากษ์วิจารณ์อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะไว้ในแง่มุมนี้ และวิพากษ์กระทั่งว่า ด้วยคุณสมบัติทั้งหมดที่เขามี (จบการศึกษาจากโรงเรียนและมหาวิทยาลัยชั้นนำที่ผลิตผู้นำให้กับหลายประเทศ ซ้ำยังเกิดที่อังกฤษอีกด้วย) เขาจึงเหมาะสมที่จะเป็นนักการเมืองอังกฤษเสียยิ่งกว่าจะเป็นนายกของไทย คำวิพากษ์วิจารณ์ทำนองนี้ ฟังดูเหมือนคำชมหรือคำเหน็บแนมกันแน่ ความรู้สึกบวกหรือลบที่ได้ คงช่วยตอบได้ว่าคุณคือกลุ่มเป้าหมายของผู้นำแบบไหน

ยิ่งลักษณ์คือภาพที่ถูกสร้างขึ้น ไม่ใช่จากพี่ชายหรือจากพรรคเพื่อไทยเท่านั้น แต่จากประชาชนจำนวนหนึ่งที่ต้องการส่งเสียงยืนยันสิทธิทางการเมืองของตน โดยมิได้สนใจว่าผู้นำของตนคือ “ใคร” มากเท่ากับ ผู้นำคนนั้นเข้าสู่อำนาจ “อย่างไร” การมีเธออยู่นั้นเพียงพอแล้ว แต่เธอจะอยู่แล้วพูดอะไรอย่างไร เป็นเรื่องรองลงไป

มากไปกว่านั้น ประชากรกลุ่มใหญ่ที่ยิ่งลักษณ์สื่อสารได้สัมฤทธิ์ผล ก็อาจเป็นเช่นเดียวกับยิ่งลักษณ์หรือหนักข้อกว่า คือไม่ได้พูดภาษาไทยกลาง และไม่ได้พูดภาษาอังกฤษ มิพักต้องไปหวังถึงสำบัดสำนวนสละสลวยแสดงไหวพริบปฏิภาณ ลำพังพูดให้รู้เรื่องยังยาก ซึ่งคือประชากรส่วนใหญ่ของประเทศนี้ ภาษาหรือสำเนียงที่ยิ่งลักษณ์ใช้จึงไม่ได้สลักสำคัญอะไรกับผู้ฟังกลุ่มนี้

ผู้มีการศึกษาดี ภาษาดีแต่ไม่นิยมกติกาการเลือกตั้ง ถ้าไม่ยอมเข้าใจปรากฏการณ์นี้ ก็ย่อมไม่มีวันเข้าใจได้ว่าทำไมตนจึงเป็นผู้แพ้ทุกครั้งที่ออกไปลงคะแนน เสียง