WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, December 10, 2011

35องค์กรประชาธิปไตยยื่น6ข้อวันรัฐธรรมนูญ54 ต้องแก้รธน.จบในปีหน้าภายใต้ข้อเสนอนิติราษฎร์

ที่มา Thai E-News


35 องค์กรประชาธิปไตยออกแถลงการณ์ 10 ธันวาคม วันรัฐธรรมนูญ:โดยยื่นข้อเรียกร้องปล่อย“อากง”และผู้บริสุทธิ์ที่ถูกคุมขัง ทางการเมือง คนสั่งฆ่าประชาชนต้องถูกลงโทษตามกฎหมาย ขอสนับสนุนข้อเสนอนิติราษฎร์-แก้รัฐธรรมนูญ 2550 ให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ โดยมีเนื้อหาในแถลงการณ์ดังต่อไปนี้

นับตั้งแต่มีการปฏิวัติ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 จาก “ระบอบสมบูรณาญาสิทธิ์” ไปสู่ “ระบอบประชาธิปไตย” รัฐไทยได้กำหนดให้วันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี ถือเป็น “วันรัฐธรรมนูญ”

รัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายการปกครองสูงสุดของประเทศ และกล่าวได้ว่ารัฐธรรมนูญเป็นการสะท้อนความสัมพันธ์ทางอำนาจของกลุ่มพลัง ต่างๆในสังคมไทย

แต่อย่างใดก็ตามรัฐธรรมนูญก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงตามเงื่อนไขทางการเมืองอยู่ ตลอดเวลาโดยเฉพาะเมื่อมีการรัฐประหารเกิดขึ้นในสังคมการเมืองไทย

สถานการณ์การเมืองปัจจุบัน ความขัดแย้ง ระหว่าง “ฝ่ายอำนาจอำมาตยาธิปไตย” กับ “ฝ่ายพลังประชาธิปไตย” ก็ยังไม่จบสิ้น นับตั้งแต่รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 และเหตุการณ์เมษา-พฤษภาอำมหิต 53 การล้อมปราบสังหารประชาชน ผู้เรียกร้องประชาธิปไตย ตลอดถึงการจับกุมคุมขังประชาชน ซึ่งสาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งมาจากปัญหารากเหง้าของรัฐธรรมนูญปี 2550 ที่มาจาก “ระบอบอำมาตยาธิปไตย” โดย “อำมาตยาธิปไตย” และเพื่อ”อำมาตยาธิปไตย”

แม้ว่า ภายหลังจากการเลือกตั้ง พรรคเพื่อไทยได้เสียงข้างมากจัดตั้งรัฐบาลตามหลักการประชาธิปไตยรัฐสภา แต่ความขัดแย้งดังกล่าวยังไม่จบสิ้น เนื่องด้วยมีการเคลื่อนไหวของ “ฝ่ายอำมาตยาธิปไตย” เพื่อล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งมีขึ้นอยู่ตลอดเวลาเช่นกัน รวมทั้งรัฐบาลพลเรือนก็ยังไม่สามารถควบคุมกองทัพได้โดยตรงเนื่องจากมีพร บ.กลาโหมเป็นอุปสรรคขัดขวาง

ขณะเดียวกัน “คณะนิติราษฎร์” ได้มีข้อเสนอเพื่อแก้ไขผลพวงของการรัฐประหาร ปัญหาด้านสิทธิเสรีภาพพื้นฐานของประชาชน ต้องแก้ไขมาตรา 112 เพื่อสอดคล้องกับหลักการความยุติธรรมและระบอบประชาธิปไตยดั่งอารยะประเทศ ซึ่งรวมทั้งพรบ.คอมพิวเตอร์ ที่ริดรอนสิทธิเสรีภาพประชาชนด้วย เพื่อมิให้เกิดกรณีเช่น “อากง” “สมยศ พฤกษาเกษมสุข” “สุรชัย แซ่ด่าน” และอีกหลายคน รวมทั้งล่าสุดอาจารย์สุรพศ ทวีศักดิ์ จึงต้องยึดหลักนิติรัฐคู่กับนิติธรรม ตลอดทั้งเพื่อป้องกันมิให้เกิดการรัฐประหารขึ้นในสังคมไทยอีกต่อไป

ในโอกาสวันรัฐธรรมนูญ เราในนามองค์กรข้างล่าง มีความคิดเห็น จุดยืน และข้อเสนอดังนี้

1.ปล่อยผู้บริสุทธิ์ที่ถูกจับกุมคุมขังทางการเมืองอย่างไม่มีเงื่อนไข เช่น “อากง” “สมยศ พฤกษาเกษมสุข” “สุรชัย แซ่ด่าน” และอีกหลายคนทั้งหมด เพราะพวกเขามิใช่อาชญากร เพียงแต่มีความคิดเห็นที่แตกต่าง ซึ่งเป็นเรื่องปกติในระบอบประชาธิปไตย และพวกเขาถูกใส่ร้ายป้ายสีทางการเมือง

2.นำคนสั่งฆ่าสังหารประชาชนในเหตุการณ์เมษา-พฤษภาอำมหิต 53 มาลงโทษตามกระบวนการยุติธรรม เพื่อสร้างความยุติธรรมในสังคมและเพื่อมิให้ฆาตรกรลอยนวลเหมือนเช่นที่ผ่านมา

3.รัฐบาลและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ต้องแก้ไขพรบ.กลาโหม และดำเนินการปฏิรูปกองทัพให้เป็นประชาธิปไตยสอดรับกับยุคสมัยข้ามพรมแดนที่ ไร้สงครามสู่การค้าและวัฒนธรรม พร้อมกับลดงบประมาณให้เหมาะสม

4. ขอสนับสนุนข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ แก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 และพรบ.คอมพิวเตอร์ รวมทั้งข้อเสนอเพื่อแก้ไขปัญหารากเหง้าทั้งมวลของปัญหาการเมืองไทยที่ไม่ เป็นประชาธิปไตย ซึ่งเป็นภาระกิจที่รัฐบาล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ต้องดำเนินกระบวนการต่างๆตามกลไกรัฐสภา ให้บรรลุเป็นรูปธรรม

5.ขอเรียกร้องให้ รัฐบาล และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ต้องดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ให้แล้วเสร็จภายในปี 2555 โดยใช้กระบวนการมีส่วนของภาคประชาสังคมลักษณะเดียวกับกระบวนการร่างรัฐ ธรรมนูญปี 40 โดยมีหลักการสำคัญของ “ระบอบประชาธิปไตยรัฐสภา” “อำนาจอธิปไตยมาจากประชาชน” “เคารพสิทธิเสรีภาพและเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” คือรูปธรรมต้องลดอำนาจของระบอบอำมาตยาธิปไตยโดยเฉพาะอำนาจขององคมนตรี กองทัพและกระบวนการยุติธรรม ส่งเสริมและสร้างเงื่อนไขให้สถาบันพรรคการเมืองพัฒนาให้ก้าวหน้าขึ้น รวมทั้งส่งเสริมสิทธิพื้นฐานของสถาบันต่างๆ เช่น สหภาพแรงงาน องค์กรเกษตรกร และอื่นๆ ด้วยเช่นกัน

6. เราขอเรียกร้องให้ฝ่ายนิยมอำมาตยาธิปไตย ยอมรับกติกาประชาธิปไตย ตาม หลักการหนึ่งสิทธิหนึ่งเสียง คนเท่ากัน เสียงส่วนน้อยต้องยอมรับเสียงส่วนใหญ่ โดยเสียงส่วนใหญ่ไม่ละเลยเสียงส่วนน้อยตามหลักอารยะประเทศประชาธิปไตย ก่อนที่ความขัดแย้ง ความเกลียดชังจะนำไปสู่ความล้มสะลายของสังคมไทยอย่างที่ไม่ควรให้เกิดขึ้น

ลงชื่อองค์กร

1. กลุ่มสร้างสรรค์ชีวิตและสังคมอีสาน (กสส.)
2. กลุ่มดงมูลเพื่อการพัฒนา (กดม.) จ.กาฬสินธุ์
3. กลุ่มต้นอ้อ จ.ขอนแก่น
4. กลุ่มมิตรภาพ จ.ขอนแก่น
5. กลุ่มภูเวียงเพื่อการพัฒนา จ.ขอนแก่น
6. กลุ่มประชาชนไทยแวงน้อย-แวงใหญ่ จ.ขอนแก่น
7. กลุ่มเพื่อนพัฒนาภูกระดึง จ.เลย
8. เครือข่ายองค์กรชุมชนแก้ปัญหาที่ดินภาคอีสาน(คอป.อ.)
9. เครือข่ายองค์กรชาวบ้านลุ่มน้ำปาว (คอป.) จ.กาฬสินธุ์
10. เครือข่ายคนรุ่นใหม่ภาคอีสาน (คอส.)
11. แนวร่วมเกษตรกรภาคอีสาน (นกส.)
12. เครือข่ายคนรุ่นใหม่ลุ่มน้ำโขง จ.อุบลราชธานี
13. เครือข่ายอนุรักษ์ภูผาเหล็ก จ.สกลนคร
14. กลุ่มภูพานเพื่อการพัฒนา จ.สกลนคร
15. เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน จ.ชัยภูมิ
16. กลุ่มเยาวชนอนุรักษ์น้ำพรมตอนต้น จ.ชัยภูมิ
17. กลุ่มเยาวชนอนุรักษ์ลุ่มน้ำบัง จ.นครพนม
18. เครือข่ายคนรุ่นใหม่ยโสธร จ.ยโสธร
19. สหพันธ์เยาวชนอีสาน (สยส.)
20. ชมรมส่งเสริมการเรียนรู้ภาคเหนือตอนล่าง (ชสร.)
21. เครือข่ายอนุรักษ์ลุ่มน้ำชมพู จ.พิษณุโลก
22. เครือข่ายองค์กรชุมชนคลองเตย กทม.
23. กลุ่มประชาธิปไตยเพื่อรัฐสวัสดิการ
24. เครือข่ายอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชุมชนเขลาโคก จ.ร้อยเอ็ด
25. เครือข่ายองค์กรชาวบ้านนางรอง จ.บุรีรัมย์
26. กลุ่มคนรุ่นใหม่ภาคใต้
27. กลุ่มผู้ใช้แรงงานเพื่อประชาธิปไตย ภาคเหนือ
28. สหพันธ์นิสิตนักศึกษาอีสาน (สนนอ.)
29. สำนักเรียนรู้กระจายอำนาจและปกครองตนเอง(กอ.-ปอ.) จ.เชียงใหม่
30. สถาบันสร้างสรรค์ชีวิตและสังคม (LSI.)
31. สถาบันพัฒนาเยาวชนแห่งประเทศไทย (สยท.)
32. กลุ่มเถียงนาประชาคม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จ.มหาสารคาม
33. กลุ่มยอป่า มหาวิทยาลัยขอนแก่น จ.ขอนแก่น
34. เครือข่ายนักกิจกรรมทางสังคมเพื่อประชาธิปไตย
35. กลุ่มมะขวิด แม่น่ท่าจีน