ที่มา ประชาไท
ในบทความเรื่อง “ปัญหาประชาธิปไตย: การใช้เสียงมหาชนแบบไหนที่ทำลายประชาธิปไตย?” ไชยันต์ ไชยพรได้เสนอความคิดว่า การเข้ามาสู่อำนาจของอดอสฟ์ ฮิตเลอร์ ผู้นำเยอรมันในช่วงทศวรรษที่ ๓๐ ไม่ใช่สิ่งถูกต้อง ถึงแม้ว่าจะได้รับเสียงสนับสนุนจากประชาชนชาวเยอรมันอย่างท่วมท้น และได้เชื่อมโยงกรณีนี้กับการยุบสภาของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๙ ที่ผ่านมา โดยอ้างว่า ในเมื่อการอ้างเสียงสนับสนุนของมหาชนเป็นจำนวนมากของฮิตเลอร์ไม่ใช่สิ่งถูก ต้อง การอ้างเสียสนับสนุนของ พ.ต.ท. ทักษิณในการให้มหาชนตัดสินผ่านการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นหลังการยุบสภา ก็ย่อมไม่ถูกต้องเช่นเดียวกัน เราจะมาพิจารณากันว่า การอ้างเหตุผลและการเปรียบเทียบของไชยันต์นี้ถูกต้องหรือไม่
ประเด็น แรกเป็นเรื่องเกี่ยวกับความถูกต้องชอบธรรมของการขึ้นสู่อำนาจของฮิตเลอร์ ไชยันต์พยายามอ้างเหตุผลให้ผู้อ่านเชื่อว่า การที่ฮิตเลอร์เข้ามาสู่อำนาจได้นั้นเป็นเพราะกระบวนการประชาธิปไตย กล่าวคือไชยันต์พยายามทำให้คนอ่านเห็นว่าประชาธิปไตยไม่ใช่กระบวนการที่ถูก ต้องเสมอไป เพราะปล่อยให้คนอย่างฮิตเลอร์ขึ้นมามีอำนาจได้ แต่สิ่งที่ไชยันต์ไม่ได้พูดถึงคือว่า เมื่อฮิตเลอร์ขึ้นมามีอำนาจแล้ว ก็ใช้อำนาจเปลี่ยนรัฐธรรมนูญของเยอรมันด้วยการยุบตำแหน่งประธานาธิบดี และตั้งตำแหน่งใหม่ขึ้นมาให้ตัวเองมีอำนาจสุงสุดแต่เพียงผู้เดียว ไชยันต์ไม่ได้บอกในบทความของเขาว่า การกระทำเช่นนี้เป็นการสวนทางกับกระบวนประชาธิปไตยที่ถูกต้องชอบธรรมเป็น อย่างยิ่ง เพราะประชาธิปไตยที่ถูกต้องนั้นไม่ใช่การปกครองด้วยมติมหาชนแต่เพียงอย่าง เดียว แต่ต้องเป็นกระบวนการที่เป็นไปตามกฎหมายด้วย จริงอยู่ฮิตเลอร์ใช้กระบวนการตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างเปลี่ยนแปลงรัฐ ธรรมนูญนั้นเอง แต่การทำตามกฎหมายนั้นไม่ได้หมายถึงการทำตามตัวบทของกฎหมายแต่เพียงอย่าง เดียวเท่านั้น แต่ยังต้องทำให้ถูกต้องตามครรลองคลองธรรม หรือความถูกต้องชอบธรรมอันเป็นสากล ซึ่งอยู่เหนือกว่าบทบัญญัติของกฎหมายด้วย การทำการให้ถูกต้องตามครรลองคลองธรรมนี้เป็นหัวใจของการ “ปกครองด้วยกฎหมาย” หรือ rule of law ในภาษาอังกฤษ ซึ่งหมายถึงการที่ผู้ใช้อำนาจได้รับอำนาจมาอย่างถูกต้อง และใช้อำนาจนั้นโดยเป็นไปตามหลักของความถูกต้องนั้น เหตุผลที่สนับสนุนประเด็นนี้ก็คือว่า เมื่อฮิตเลอร์ขึ้นครองอำนาจแล้ว ก็ใช้อำนาจออกกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมจำนวนมาก เช่นกฎหมายปราบปรามชาวเยอรมันเชื้อสายยิว มีการริดรอนสิทธิ และกดขี่ข่มเหงชาวยิวด้วยวิธีการทารุณต่างๆ กฎหมายเหล่านี้ออกโดยขัดกับหลักการของความยุติธรรม และทำนองคลองธรรมอย่างชัดแจ้ง ดังนั้นแม้ว่าฮิตเลอร์จะใช้กลไกของรัฐสภาและระบบเสียงข้างมากในการออกกฎหมาย เหล่านั้น กระบวนการเหล่านี้ก็ไม่ได้มีความหมายแต่ประการใด เพราะทำไปเพียงเพราะโอนอ่อนไปตามอำเภอใจของฮิตเลอร์ในฐานะผู้ใช้อำนาจเผด็จ การสูงสุดเท่านั้น ไชยันต์ไม่อาจเรียกกระบวนการนี้ว่า “ประชาธิปไตย” ได้ เพราะประชาธิปไตยต้องประกอบด้วย “การปกครองด้วยกฎหมาย” ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว การที่ไชยันต์ละเลยไม่พูดถึงประเด็นเรื่องการปกครองด้วยกฎหมาย หรือเรื่องความยุติธรรมที่อยู่เหนือขึ้นไปจากตัวบทกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์ อักษร จึงเป็นการเปิดช่องให้นำไปสู่ข้อสรุปที่พยายามจะให้คนอ่านเชื่อ คือประเด็นว่าประชาธิปไตยไม่ใช่ระบอบที่ถูกต้องเสมอไป อันที่จริงการปกครองตามอำเภอใจโดยรวบอำนาจไว้แต่เพียงผู้เดียว โดยไม่ได้ใช้อำนาจนั้นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่เป็นที่ยอมรับกันและเป็นหลัก เกณฑ์ที่คงเส้นคงวาต่างหาก ที่ไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง แต่ไชยันต์กลับไม่ได้เน้นเรื่องนี้ เนื่องจากประชาธิปไตยแบบที่สากลโลกยึดถือ จะต้องประกอบไปด้วยการปกครองด้วยกฎหมาย หรือให้ถูกจริงๆต้องบอกว่า การปกครองตามหลักทำนองคลองธรรมที่ถูกต้องเสมอไป การใช้คำว่า “ประชาธิปไตย” ในบทความของไชยันต์จึงต่างออกไป ซึ่งทำให้คนอ่านอาจเห็นคล้อยไปได้ว่าประชาธิปไตยไม่ใช่ระบอบที่ถูกต้องชอบ ธรรม หากไม่ได้พิจารณาวิธีการอ้างเหตุผลของไชยันต์อย่างละเอียด
อีก ประเด็นหนึ่งเป็นประเด็นด้านข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ ไชยันต์อ้างว่าฮิตเลอร์มีมติมหาชนสนับสนุน แต่กลับไม่ได้เสนอความจริงอีกด้านหนึ่งว่า “มติมหาชน” ที่ว่านี้ได้มาด้วยการบีบบังคับทั้งทางตรงและทางอ้อม ด้วยกลวิธีอันฉ้อฉลต่างๆกัน พรรคนาซีของฮิตเลอร์นั้นไม่ได้มีแต่นักการเมืองที่ขึ้นปราศรัยบนเวทีเท่า นั้น แต่ตั้งแต่ฮิตเลอร์เข้าร่วมพรรคนี้เป็นต้นมา พรรคนี้ก็มีอีกปีกหนึ่งที่เป็นฝ่ายรุนแรง พร้อมที่จะใช้กำลังได้ทุกเมื่อ ตอนที่ฮิตเลอร์ถูกจับขังคุกในราวต้นทศวรรษ ๑๙๒๐ นั้นก็เพราะว่าเขาพยายามใช้กำลังเพื่อเปลี่ยนแปลงทางการเมือง โดยฝ่ายรุนแรงของพรรคนาซี (เรียกว่า “เสื้อน้ำตาล”) ก่อการวุ่นวายโดยมุ่งจะโค่นล้มอำนาจรัฐบาลในขณะนั้น และเมื่อฮิตเลอร์ออกจากคุกมาก็ยังดำเนินการวิธีทางการเมืองที่รวมเอากระบวน การปกติกับกระบวนการรุนแรงทุกรูปแบบ เพื่อข่มขวัญประชาชนเยอรมันให้เชื่อว่า มีแต่พรรคนาซีเท่านั้นที่เป็นทางเลือกเดียวของเยอรมัน เมื่อฮิตเลอร์เริ่มมีอำนาจมากขึ้น กระบวนรุนแรงเหล่านี้ก็ยิ่งรุนแรงมากขึ้น มีการใช้โฆษณาชวนเชื่อในแนวทางต่างๆมากมายพร้อมกับความรุนแรง วิธีการที่เป็นที่รับรู้กันมากที่สุดคือการเผาอาคารรัฐสภา โดยวันหนึ่งเกิดไฟไหม้ขึ้นที่อาคารรัฐสภาของเยอรมัน แทนที่ฮิตเลอร์จะเปิดให้มีการสอบสวน กลับประกาศทันทีว่าเป็นฝีมือของพรรคคอมมิวนิสต์ (ทั้งๆที่นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่าพรรคนาซีของฮิตเลอร์เองเป็นผู้ เผา แล้วป้ายความผิดให้พรรคคอมมิวนิสต์) แล้วทันใดนั้นก็ออกจับทุกๆคนที่เชื่อว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับพรรคคอมมิวนิสต์ และกระบวนการฝ่ายซ็าย การกระทำเช่นนี้รวมกับการโฆษณาชวนเชื่ออย่างปูพรมทุกลมหายใจ ทำให้ประชาชนชาวเยอรมันส่วนหนึ่งเกิดความกลัวไม่กล้าแม้กระทั่งจะเลือกพรรค อื่น โดยคิดว่าถ้าไม่เลือกพรรคนาซีจะเกิดความวุ่นวายในประเทศอย่างไม่สิ้นสุด และข้อเท็จจริงสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ พรรคนาซีไม่เคยได้รับเสียงข้างมากอย่างสมบูรณ์ในการเลือกตั้งเลย ดังนั้นที่ไชยันต์บอกว่าฮิตเลอร์ขึ้นมามีอำนาจเพราะมติมหาชนล้วนๆ จึงเป็นการเดินตามคำโฆษณาชวนเชื่อของพรรคนาซีอย่างไม่รู้ตัว (รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้สามารถดูได้ทางอินเทอร์เน็ตได้ที่นี่ – How Hitler Became a Dictator)
ประเด็น ต่อไปเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเปรียบเทียบกับประเทศไทย ไชยันต์บอกว่า การยุบสภาของ พ.ต.ท. ทักษิณในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ ไม่ถูกต้อง เนื่องจาก พ.ต.ท. ทักษิณต้องการเสียงสนับสนุนของประชาชนในการหลีกหนีกระบวนการตรวจสอบกรณีขาย หุ้นบริษัทชินคอร์ป โดยนัยยะก็ได้แก่ประเด็นที่ว่า ลำพังมติมหาชนนั้นไม่เพียงพอที่จะสร้างความชอบธรรมขึ้นมาได้ ดังนั้นถึงแม้ยุบสภาไปแล้วเลือกตั้งกลับมาใหม่พรรคไทยรักไทยชนะอีก ก็ไม่ได้หมายความว่ารัฐบาลจะมีความชอบธรรม ความจริงถ้าไชยันต์เน้นประเด็นเรื่องความถูกต้องชอบธรรมและการปกครองด้วย กฎหมายในการวิเคราะห์สถานการณ์ในประเทศเยอรมันสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ก็จะทำให้การอ้างเหตุผลของเขามีน้ำหนักขึ้นมามาก แต่เหตุผลของไชยันต์กลับกลายเป็นว่า ฮิตเลอร์อ้างมติมหาชน แต่ฮิตเลอร์ทำผิดมหันต์ ดังนั้นการปกครองโดยอ้างมติมหาชน (ซึ่งไชยันต์เข้าใจไปว่าคือ “ประชาธิปไตย”) จึงเป็นการปกครองที่ไม่ถูกต้องเสมอไป ในทำนองเดียวกัน ทักษิณก็อ้างมติมหาชน แต่ทักษิณทำผิดมหันต์ ดังนั้นการปกครองโดยอ้างมติมหาชน (ในกรณีของประเทศไทย) ก็ไม่ถูกต้องเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม การอ้างเหตุผลนี้มีข้อบกพร่องอยู่หลายจุดดังที่ได้เสนอไว้ข้างต้นแล้ว นอกจากนี้การเปรียบเทียบก็ยังไม่ถูกต้องอีก เนื่องจากเมื่อฮิตเลอร์ก้าวขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี และเป็น “ผู้นำ” (Fuehrer) ของประเทศเยอรมนีนั้น แทบจะเรียกได้ว่าไม่มีฝ่ายค้านเหลือในประเทศอีกแล้ว พรรคฝ่ายค้านใหญ่ๆ เช่นพรรคคอมมิวนิสต์ พรรคสังคมประชาธิปไตย (Social Democrat) ล้วนถูกกวาดไปอยู่ในค่ายกักกันจนหมดสิ้น และเมื่อประธานาธิบดีฮินเดนบูร์กถึงแก้อสัญญกรรม หลังจากที่ฮิตเลอร์เป็นนายกรัฐมนตรีได้เพียงปีกว่า ฮิตเลอร์ก็รวบตำแหน่งนายกรัฐมนตรีกับประธานาธิบดีเข้าไว้ด้วยกัน ทำให้ไม่สามารถมีการใช้สองตำแหน่งนี้คานกันได้อีกต่อไป รัฐสภา Reichstag ก็ไม่มีพรรคฝ่ายค้านเหลือ กลายเป็นว่าสมาชิกรัฐสภามีแต่สมาชิกพรรคนาซีเท่านั้น แต่สถานการณ์ในประเทศไทยช่วงปี พ.ศ. ๒๕๔๙ ไม่ได้เป็นเช่นนั้นเลย ถึงแม้ว่าจะมองกันว่าพรรคไทยรักไทยมีอำนาจมากแค่ไหนก็ตาม แต่ก็ยังมีพรรคประชาธิปัตย์ที่มีเสียงในสภากว่าร้อยเสียงในขณะนั้น และนอกจากนั้นก็ยังมีเสียงนอกสภา เช่นพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย นำโดยนายสนธิ ลิ้มทองกุล กับเสียงของข้าราชการประจำต่างๆ นำโดยกองทัพบก ฝ่ายค้านเหล่านี้ทำให้การเปรียบเทียบทักษิณกับฮิตเลอร์ของไชยันต์ไม่สามารถ จินตนาการออกไปได้ไม่ว่าจะทำอย่างไร
จุด ใหญ่ที่ไชยันต์ต้องการเสนอ คือทำให้ประชาชนคนไทยหมดความเชื่อถือในระบอบประชาธิปไตย คิดว่าอาจมีทางเลือกอื่นนอกจากประชาธิปไตยก็ได้ แต่ไชยันต์ทำให้ประชาชนเข้าใจประชาธิปไตยผิดไป ประชาธิปไตยต้องประกอบด้วยการปกครองด้วยกฎหมายอันเป็นไปตามทำนองคลองธรรมที่ ถูกต้องเสมอ และเนื่องจากการอ้างเหตุผลขอไชยันต์มีข้อบกพร่องมากมาย ความพยายามในการบิดเบือนประชาธิปไตยของเขาจึงไม่ประสบความสำเร็จ