WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, December 10, 2011

วีรพัฒน์ ปริยวงศ์: คำอธิษฐานถึง "อากง" ในวันรัฐธรรมนูญ

ที่มา ประชาไท

๑. อธิษฐานนำ: “กฎหมาย” แทน “กฎตามใจฉัน”

แม้บ้านเมืองจะแสนวุ่นวายในยามนี้ แต่ผมมีความหวังว่าภาวะวิกฤตได้เสนอโอกาสให้สังคมไทยหันมาพึ่ง “กฎหมาย” แทน “กฎตามใจฉัน” กันมากขึ้น

พอมีคนคิดว่า “รัฐบาลยิ่งลักษณ์” บริหารน้ำท่วมผิดพลาด ไม่เป็นธรรม ก็ใช้สิทธิทางศาล ทั้งที่จะเอาผิดทางแพ่ง อาญา และปกครอง ไม่ว่าจะเพื่อเรียกค่าเสียหาย หรือเพียงเพื่อขอความเป็นธรรมให้รัฐบาลทำให้ถูกต้อง (ผมได้ตั้งข้อสังเกตว่า การฟ้องเพื่อให้รัฐทำให้ถูกต้องนั้นมีทางทำได้ แต่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายนั้นยาก เพราะมีกฎหมาย เช่น มาตรา 43 ของ กฎหมายป้องกันบรรเทาสาธารณภัยฯ ที่ให้อำนาจฝ่ายบริหารกำหนดค่าเสียหายไว้แล้ว ศาลจะไปกำหนดแทนไม่ได้ ดูเพิ่มที่ http://on.fb.me/s0FasP )

พอมีคนคิดว่า “คุณทักษิณ” จะถูกช่วยให้พ้นผิด ก็ขู่จะฟ้องศาลให้ตรวจสอบว่ากฎหมายอภัยโทษ หรือกฎหมายนิรโทษกรรมนั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ? (ผมได้ตั้งข้อสังเกตว่า การจะด่วนสรุปว่าศาลมีอำนาจพิจารณาได้หรือไม่ได้เสมอไปนั้น คงเป็นความคิดที่คับแคบเกินไป ดูเพิ่มที่ http://on.fb.me/rJ6kTd และ http://on.fb.me/w0eznn )

แม้แต่กรณี “รัฐบาลอภิสิทธิ์” สลายการชุมนุมแต่คดี 91-92-93 ศพในประเทศไปไม่ถึงไหน ก็มีการพูดเรื่องฟ้องคดีต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ! (เรื่องนี้ผมเห็นว่ามีช่องทางเป็นไปได้แต่ยากมาก ดูเพิ่มที่ http://on.fb.me/vPHzNS )

* * *

๒. อธิษฐานนึก: “คดีอากง” สู่ “ศาลรัฐธรรมนูญ”

ล่าสุด เมื่อเห็นว่า “อากง” ถูกพิพากษาจำคุก 20 ปี จากข้อความ sms 4 ฉบับ (หรือ 1 ฉบับที่แตกเป็น 4 ตอนก็ไม่ชัด) ผมก็อดคิดไม่ได้ว่า สำหรับผู้ที่ต้องการจะช่วย “อากง” นั้น นอกจากจะรณรงค์ทางการเมืองให้แก้กฎหมาย หรือ อภัยโทษ นิรโทษ ลดโทษ หรือสู้คดีอุทธรณ์ฎีกา (ซึ่งอากงอาจต้องรอในคุกอีกนาน) นั้น “อากง” จะ สามารถฟ้องต่อ “ศาลรัฐธรรมนูญ” ว่าบทบัญญัติกฎหมายที่ศาลนำมาลงโทษอากงนั้น เป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพโดยขัดต่อรัฐธรรมนูญได้หรือไม่ ?

ย้ำนะครับ ผมไม่ได้ถามนะครับว่า ความมีอยู่ของ “กฎหมายหมิ่น” มาตรา 112 โดยตัวมันเองขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ และผมก็ไม่ได้ถามซ้ำกับคนอื่นว่าเราควรจะรักษา หรือแก้ไข หรือเลิก มาตรา 112 หรือไม่ และผมไม่ได้ถามเสียด้วยซ้ำว่าศาลที่พิพากษาจำคุกอากงนั้นตัดสินคดีอย่าง ยุติธรรมหรือไม่ ผมไม่ได้ถามสิ่งเหล่านี้นะครับ

แต่ผมกำลังถามถึง “สิทธิของอากง” หรือแม้แต่ “สิทธิของผู้ที่เกรงว่าตนจะตกอยู่ในสภาพเดียวกับอากง” ที่จะใช้ช่องทางตาม รัฐธรรมนูญ มาตรา 211 หรือ มาตรา 212 ประกอบกับมาตรา 6 มาตรา 28 มาตรา 29 และมาตรา ๓๙ เพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบว่า ตัวบทกฎหมายที่ศาลนำมาลงโทษอากงนั้น ไม่ว่าจะในเรื่องกระบวนพิจารณารับฟังหลักฐานก็ดี เรื่องการกำหนดความรุนแรงของโทษก็ดี หรือแม้แต่วิธีการนับกระทงรวมโทษก็ดีนั้น ละเมิดสิทธิเสรีภาพในทางที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ได้หรือไม่ ?

การที่ประชาชนจะนำคดีไปสู่ศาลรัฐธรรมนูญนั้น แม้จะเป็นไปได้แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ซ้ำยังจะโดนคดีบรรทัดฐานขวางกั้นเอาง่ายๆ แต่สมมติว่าผ่านขั้นตอนและศาลรับฟ้อง อากงก็อาจยก “รัฐธรรมนูญ มาตรา 29” ที่บัญญัติว่า กฎหมายที่จำกัดสิทธิเสรีภาพของอากงนั้น จะมีได้ก็แต่เพียง “เท่าที่จำเป็น” เท่านั้น ไม่ใช่ว่าสภาจะมีอำนาจตรากฎหมายอะไรตามใจก็ได้

ทั้งนี้ การฟ้องลักษณะดังกล่าวต้องไม่ใช่การขอให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบดุลพินิจของศาลอาญา และต้องไม่ใช่การขอให้ศาลวินิจฉัยว่า “กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” เช่น มาตรา 112 นั้น จะมีอยู่ได้หรือไม่ (เพราะคำตอบชัดเจนว่ามีได้ และควรมีเสียด้วยซ้ำ) เพียงแต่ขอให้ศาลวินิจฉัยว่าหากจะมี มาตรา 112 อยู่ต่อไป กฎหมายดังกล่าวจะต้องไม่มีลักษณะจำกัดสิทธิเสรีภาพเกินไปกว่า “เท่าที่จำเป็น”

แต่หาก มาตรา 112 หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องมีลักษณะเกินไปกว่า “เท่าที่จำเป็น” ศาล ก็ต้องวินิจฉัยว่ากฎหมายนั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญ ส่งผลให้สภาต้องไปแก้กฎหมายใหม่ จะให้รุนแรงเข้มข้นเข้มงวดก็ทำได้ แต่ต้องมี“เท่าที่จำเป็น” เท่านั้น (ส่วนจะมีผลย้อนหลังไปถึงผลคำพิพากษาคดีอากงหรือไม่นั้นก็น่าถกเถียงกันได้)

ปัญหาคือ เกณฑ์ “เท่าที่จำเป็น” ตาม “รัฐธรรมนูญ มาตรา 29” นี้ จะวัดกันอย่างไร? แน่นอนว่ากฎหมายที่ห้ามจุดพลุหลังสองทุ่ม หรือ ห้ามขับรถเปลืองน้ำมันเกินวันละสองลิตรนั้น อาจตอบได้โดยวง่ายว่าเกินกว่า “เท่าที่จำเป็น”

แม้กรณีคดี "อากง" อาจมองเป็นเรื่องยาก แต่ศาลไทยเองก็ต้องพัฒนาตนเองไม่ต่างไปจากศาลในสังคมอื่นที่ต้องใช้เวลาเป็น ร้อยปีในการลองผิดลองถูกเพื่อพัฒนาหลักเกณฑ์ให้หลักแหลม ลึกซึ้ง และแยบยลเพื่อนำมาใช้วัดความยุติธรรมว่าเกณฑ์ “เท่าที่จำเป็น” นั้น ต้องเท่าไหน

หากจะยกหลักเกณฑ์เบื้องต้นที่ศาลหลายประเทศใช้ ก็อาจกล่าวถึง “หลักความได้สัดส่วนระหว่างประโยชน์สาธารณะและประโยชน์ส่วนตน” กับ “หลักความสัมพันธ์ระหว่างวิธีการและเป้าหมาย” มาพอสังเขปดังนี้

สมมติมีผู้โต้แย้งว่า “โทษประหารชีวิตผู้ค้ายาเสพติด” นั้นรุนแรงเกินความจำเป็น ศาลอาจมองได้ว่า กฎหมายดังกล่าวไม่ขัดต่อเกณฑ์เพราะ “ได้สัดส่วน” ระหว่าง “ประโยชน์สาธารณะ” และ “ประโยชน์ส่วนตน” เช่น ยาเสพติดหนึ่งกระสอบที่ขายไปสามารถทำลายครอบครัวของผู้คนได้ทั้งชุมชน ทำลายทั้งร่างกาย อาชีพการงาน หรือแม้แต่ชีวิต ก่อให้เกิดอาชญากรรมและค่าใช้จ่ายในการบำบัดรักษา ในขณะที่ประโยชน์ส่วนตนนั้นแทบจะไม่มีอะไรนอกไปจากการที่ผู้ค้าได้เงินตอบ แทนหรือผู้เสพรู้สึกพอใจ ตรงกันข้าม หาก “ยาเสพติด” บางประเภทมีคุณเป็นยารักษาโรคและค้าไปเพื่อรักษาเยียวยาผู้ครอบครอง กฎหมายก็อาจทบทวน “ความได้สัดส่วน” ใหม่ ดังที่หลายประเทศลดหรือยกเลิกความผิดในการค้าหรือครอบครองยาเสพติดที่นำไปใช้เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด

นอกจากนี้ ศาลยังอาจมองว่าโทษประหารชีวิตผู้ค้ายาเสพติดนั้น มี “ความสัมพันธ์ระหว่างวิธีการและเป้าหมาย” ที่ เหมาะสม กล่าวคือ ยาเสพติดนั้นเคลื่อนย้ายและกระจายขายกันได้ง่าย แอบทำโดยลับและซุกซ่อนสะดวก แต่มีราคาค่าตอบแทนสูงมาก หากกฎหมายกำหนดโทษเบา ผู้คนย่อมมีแรงจูงใจที่จะค้ายา ติดคุกเพียง 1 ปี อาจมีเงินใช้ได้ 10 ปี กฎหมายก็ย่อมกำหนดโทษที่มีรุนแรงเพียงพอที่จะทำให้ประชาชนเกรงกลัวต่อการ ตัดสินใจค้ายา

ลองหันมามอง “คดีอากง” หากอากงปรึกษาทนายนำคดีไปฟ้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ศาลจะนำเกณฑ์ข้างต้นมาพิจารณาว่า “กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” มีลักษณะเกินเลยไปกว่าเกณฑ์ “เท่าที่จำเป็น” ตาม “รัฐธรรมนูญ มาตรา 29” ได้หรือไม่ ?

หากคดีอากงมาถึงศาลรัฐธรรมนูญ ศาลย่อมพึงอธิบายให้กระจ่างและลึกซึ้งว่า ข้อความ sms 4 ฉบับ (หรือ 1 ฉบับที่แตกเป็น 4 ตอน) แม้จะมีเนื้อหาที่น่าเกลียดชังขัดต่อความรู้สึกของคนในสังคมเพียงใดก็ตาม แต่เมื่อได้ถูกส่งไปยังผู้คนกลุ่มหนึ่งที่ไม่มีแรงจูงใจจะส่งต่อ (ซ้ำยังรีบแจ้งความดำเนินคดีเสียด้วยซ้ำ) จะถือว่ากระทบไปถึง “ประโยชน์สาธารณะ” ของสังคมไทยอย่างรุนแรงกว้างขวาง หรือไม่ อย่างไร ?

เช่น หากศาลอธิบายได้กระจ่างชัดว่าคนไทยเป็นคนที่มีสภาวะจิตที่อ่อนไหวต่อข้อความ ดังกล่าวขนาดที่ว่าเมื่อเห็นข้อความแล้วถึงกับล้มป่วยหรือชีวิตเดือดร้อน วุ่นวาย หรือหากศาลมองว่าสังคมไทยมีมูลเหตุที่จะหลงเชื่อข้อความได้ง่ายและมีแรงจูง ใจที่จะแพ่กระจายข้อความหรือสามารถถูกข้อความโน้มน้าวให้ลุกขึ้นต่อต้านล้ม ล้างสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างกว้างขวางจนสังคมวุ่นวาย ก็ย่อมมีมูลเหตุของ “ประโยชน์สาธารณะ” ที่จะเข้าไปจำกัด “ประโยชน์ส่วนตน” ของผู้ส่งข้อความที่อาจทำไปโดยเชื่อว่าเป็นสิทธิเสรีภาพที่จะแสดงความเห็น หรือระบายอารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์ อีกทั้งยังสมเหตุสมผลที่จะใช้ “วิธีการ” เด็ดขาดรุนแรงเพื่อให้เป็นไปตาม “เป้าหมาย” ที่ยากจะควบคุมดูแล

แต่ตรงกันข้าม หากศาลมองว่าผู้คนในสังคมไทยมีวุฒิภาวะทางสติปัญญาและอารมณ์เพียงพอที่จะ กลั่นกรองข้อมูลจากข้อความ โดยมิได้วิตกล้มป่วยหรือหลงเชื่อ หรือมีแรงจูงใจให้ลุ่มหลงส่งต่อเผยแพร่ข้อความแต่โดยง่าย อีกทั้งธรรมชาติของการส่งข้อความไม่ได้มุ่งทำโดยแอบลับ แต่มุ่งทำให้ผู้อื่นได้รับรู้ จึงพบเห็นและจับได้ง่าย อีกทั้งหากศาลเชื่อว่าคนไทยโดยพื้นฐานล้วนจงรักภักดี ต่างรักและศรัทธาในสถาบันพระมหากษัตริย์ และร่วมกันสอดส่องดูแล ตักเตือนต่อว่า หรือแม้แต่ดำเนินคดีกับผู้ส่งข้อความดังกล่าวแล้วไซร้ ก็ย่อมอาจมองได้ว่า มาตรา 112 ดังที่เป็นอยู่มีลักษณะที่ “ไม่สมสัดส่วนระหว่างประโยชน์สาธารณะและประโยชน์ส่วนตน” อีกทั้งยัง “ขาดความสัมพันธ์ระหว่างวิธีการและเป้าหมาย”

กล่าวอีกทางให้เข้าใจง่ายก็คือ แม้จะลดโทษสูงสุดให้เหลือเพียง 1 ปี ความดีและความรักที่สังคมไทยมีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ก็จะยังคงปก ป้อง “เป้าหมาย” ของความสงบเรียบร้อยได้ดังเดิม โดยที่ไม่ได้ทำให้ “ประโยชน์สาธารณะ” เสียไปแต่อย่างใด เพราะหากประชาชนคนไทยต่างจงรักภักดีอย่างแท้จริง และมีสติอารมณ์ที่มั่นคง ไม่ว่าใครจะถูกจำคุกสัก 1 ปี หรือ 20 ปี ประชาชนคนไทยก็จะยังคงจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ดังเดิม และช่วยกันสอดส่องดูแลบ้านเมืองดั่งที่เคยได้กระทำมา ทั้งยังจะดีต่อทั้ง “ประโยชน์สาธารณะ” และ “ประโยชน์ส่วนตน” โดยสังคมไทยไม่ต้องมาถกเถียงกันว่า มาตรา 112 รุนแรงหรือไม่เป็นธรรม หรือถูกมาใช้ทางการเมืองหรือไม่

หากศาลพิจารณาดังนี้ ก็ย่อมวินิจฉัยได้ว่ากฎหมายที่เกินเลยไปกว่าเกณฑ์ “เท่าที่จำเป็น” ตาม “รัฐธรรมนูญมาตรา 29” ย่อมเป็นกฎหมายที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ หากจะใช้บังคับต่อไปในอนาคต สภาก็ต้องแก้ไขให้ถูกต้อง “เท่าที่จำเป็น” เท่านั้น

* * *

๓. อธิษฐานนาน: ขอศาลเป็นที่พึ่งของประชาชน

ประเด็นชวนคิดข้างต้นนี้เป็นสภาพที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ของสังคมที่มี “พลวัตรทางประชาธิปไตย” เมื่อ ผู้คนหลายล้านคนหลายล้านมุมมองความคิดต่างเกิดแก่เจ็บตายไปตามยุคสมัย ย่อมไม่มีกฎหมายหรือความคิดใดที่ถูกต้องเป็นธรรมหรืออ้างว่าจำเป็นได้ตลอด กาล

“ศาล” ไม่ได้เป็นร้านขายคำพิพากษา แต่เป็นศูนย์กลางของสังคมที่คอยเชื่อมโยงความสูงส่งแห่งหลักการให้สอดรับกับ มโนธรรมสำนึกของประชาชนที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ศาลคือผู้ที่ต้องแสวงหาความจริงแห่งยุคสมัยและอธิบายความถูกต้องให้แก่สังคม ในยามที่มืดมนและสับสน

บรรดาตุลาการเพศชายอายุช่วง ๖๐ ปีทั้งเก้าท่าน ณ ศาลรัฐธรรมนูญวันนี้ จะต้องเชื่อมโยงกฎหมายเข้ากับมโนธรรมสำนึกของประชาชน ไม่ว่าจะเป็นสตรีมีครรภ์ที่ประสงค์จัดการกับร่างกายของตนไม่ต่างไปจากคนไข้ หรือผู้รักร่วมเพศที่ประสงค์จดทะเบียนสมรสไม่ต่างจากคู่รักหญิงชาย หรือนักเลงปืนที่ต้องการพกพาของล้ำค่าติดตัวไม่ต่างจากนักเลงพระ และรวมไปถึงบรรดามนุษย์ผู้มีจิตใจและความคิดเห็นต่อ “กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” ไม่ว่าจะทางใด เพราะศาลจะแสวงหาแต่เพียงกฎหมายที่ประชาชนเห็นว่าควรเป็นไม่ได้ แต่ต้องยึดมั่นในมนุษย์ดังที่เป็นเช่นกัน

เนื่องในโอกาสวันรัฐธรรมนูญปีนี้ ผู้เขียนขอตั้งจิตอธิษฐานให้อำนาจแห่งความดีทั้งปวงโปรดดลบันดาลให้ประชาชน มีมโนธรรมสำนึกแห่งความเป็นมนุษย์เป็นที่พึ่งพา และมีศาลที่ยึดมั่นรักษาสิทธิเสรีภาพของพวกเราเป็นที่พักพิงสืบไป