WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, December 8, 2011

“ขอความเป็นธรรมให้เสียงประชาชน”

ที่มา ประชาไท

อาจารย์ไชยันต์ ไชยพร เขียนบทความสั้น ๆ เรื่อง “ปัญหาประชาธิปไตย: การใช้เสียงมหาชนแบบไหนที่ทำลายประชาธิปไตย?” เผยแพร่เมื่อเสาร์ที่ 3 ธันวาคม 2554 ที่ผ่านมา สร้างข้อถกเถียงในหมู่ผู้สนใจเรื่องประชาธิปไตย (ทางเน็ท) อยู่มาก หลายท่านเขียนบทความและแสดงความเห็นโต้แย้งอาจารย์ไชยันต์ ในเรื่องเนื้อหา วิธีการ และจุดยืนในการเขียน ข้อแย้งจำนวนมากเขียนได้อย่างน่ารับฟัง

อันที่จริงคำถามเรื่องปัญหาประชาธิปไตยตามชื่อบทความของอาจารย์ไชยันต์ นั้นเป็นประเด็นสำคัญ นักวิชาการจำนวนมากทำการศึกษาประเด็นนี้ เพื่อหวังว่าการทำความเข้าใจปัญหาดังกล่าวจะนำไปสู่การพัฒนาระบอบ ประชาธิปไตยให้นำสันติสุขสู่สังคมมากที่สุด บางท่านก็ศึกษาว่าประชาธิปไตยบ่อนทำลายอะไรบ้าง บางท่านก็ศึกษาว่าอะไรบ้างบ่อนทำลายประชาธิปไตย ผลการศึกษาที่ได้แม้จะพบว่าปรากฎการณ์เลวร้ายหลายประการเกิดขึ้นในบริบท ประชาธิปไตย แต่ไม่ได้หักล้างหลักการสำคัญของระบอบประชาธิปไตย โดยเฉพาะเสียงประชาชน

ชื่อบทความของอาจารย์ไชยันต์แสดงเจตนาว่าจะหยิบปัญหาสำคัญต่อความยั่งยืน ของประชาธิปไตยมาถกเถียง แต่ในเนื้อหากลับมิได้มุ่งอธิบายประเด็นปัญหาหรือแสดงตัวอย่างที่รอบด้านให้ ประจักษ์ว่า ‘เสียงมหาชน’ ทำลายประชาธิปไตยอย่างไร (เพื่อที่พวกเราจะได้ช่วยกันคิดต่อว่า ถ้าจะธำรงจิตวิญญาณของประชาธิปไตยไว้ควรจะต้องทำอย่างไร) ดังนั้น ผู้อ่านที่คาดหวังองค์ความรู้ทางวิชาการจากนักรัฐศาสตร์น่าจะผิดหวัง เมื่อพบว่าบทความดังกล่าวไม่ได้พูดในสิ่งที่แสดงเจตจำนงว่าจะพูด ส่วนเรื่องที่พูดนั้นกลับมีตรรกะและวิธีการที่ไม่รัดกุมเป็นที่โต้แย้งได้ โดยง่าย

เมื่อพิจารณาประวัติอาจารย์ไชยันต์

“รองศาสตราจารย์ ดร. ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาตรีรัฐศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยม) ปริญญาโทรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน ปริญญาเอกด้านปรัชญาการเมืองจาก LSE”

ก็ยากที่จะเชื่อว่าอาจารย์จะเขียนบทความลวกๆ เช่นนี้

ประเด็นอาจอยู่ที่อะไรคือ ‘สาร’ จริงที่อาจารย์ไชยันต์ต้องการจะสื่อ ซึ่งเป็น ‘สาร’ ส่วนที่ไม่ได้เขียนในบทความนี้ ส่วนที่ไม่ได้ถูกแสดงออกมา เป็นส่วนที่อาจารย์ไชยันต์ปิดไว้จากบทความนี้ บทความนี้เป็นเพียงแค่กรอบซึ่งทำให้รูปที่อาจารย์ไชยันต์ต้องการให้สังคม เห็นนั้นปรากฎชัด

พูดง่าย ๆ คือ ส่วนที่ไม่ได้เขียน (ณ ที่นี้) สำคัญกว่าส่วนที่เขียน

ปัญหาของบทความอาจารย์ไชยันต์ ที่มีการ Oversimplification การเปรียบเทียบเฉพาะประเด็น ยกตัวอย่างไม่รอบด้าน กระทั่งตกหล่นข้อมูลสำคัญ (หรือทำเป็นลืม?) ตามที่มีผู้แสดงความเห็นแย้งนั้น อาจจะเป็นปัญหาต่อความเป็นเหตุเป็นผลของเรื่องราวในบทความนี้ แต่ไม่เป็นปัญหาต่อ ‘สาร’ สำคัญส่วนที่อาจารย์ไชยันต์ไม่ได้เขียน ในทางกลับกัน กลวิธีเช่นนี้ คือวิธีการสำคัญที่จะสื่อ ‘สาร’ ดังกล่าวได้ดี เมื่อใช้ประกอบกับข้อมูลที่อาจารย์ไชยันต์เสนอทิ้งไว้อย่างสม่ำเสมอในที่ อื่น ๆ ตามวาระโอกาสต่าง ๆ แล้ว เช่น ในรายการตอบโจทย์ทางสถานีไทยพีบีเอส เมื่อวันอังคาร ที่ 29 พุธ ที่ 30 พ.ย. และพฤหัสฯ ที่ 1 ธ.ค. ที่ผ่านมา ในประเด็นเรื่องรัฐประหาร 19 กันยาฯ

อะไรคือ ‘สาร’ จริงที่อาจารย์ไชยันต์ต้องการจะสื่อ?
สาระในบทความนี้ของอาจารย์ไชยันต์ คือ

ฮิตเลอร์ +มติมหาชน = อำนาจ
ทักษิณ+การเลือกตั้ง = อำนาจ

บทความนี้จึงพยายามโยงให้คนสำนึกว่า ทักษิณ = ฮิตเลอร์
ฮิตเลอร์ในภาพจำของคนทั่วโลก คือ ปีศาจร้ายต้นตอการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว
ดังนั้น ‘สาร’ ฉบับเต็มที่อาจารย์ไชยันต์ต้องการเสนอ คือ
รัฐบาลทักษิณ = ฮิตเลอร์ = ปีศาจ ดังนั้น “ประหาร” ได้ ไม่บาป (ทางวิชาการ)

สาระส่วนที่ไม่ปรากฎแต่มีความหมายสำคัญของอาจารย์ไชยันต์ คือความพยายามที่จะอธิบายว่าการเลือกตั้ง/มติมหาชนในบางครั้งมันกลายเป็น “ปีศาจ” ดังนั้น การ “ประหาร” ปีศาจจึงไม่ผิด ยิ่งไปกว่านั้น นับเป็นความชอบธรรมเสียด้วยซ้ำไป ดังที่อาจารย์ได้เสนอไว้ในหลายวาระว่า รัฐประหาร 19 กันยาฯ “ช่วยหยุดยั้งความรุนแรงทางการเมือง”

ด้วยกลวิธีการเขียนบทความนี้ อาจารย์ไชยันต์ได้วาดภาพว่า “ปีศาจ” กำเนิดจากประชาชน ขู่ หรือโน้มน้าวให้ประชาชนหวาดกลัวเสียงประชาชนด้วยกัน ให้ความชอบธรรมกับอภิชนกลุ่มน้อย คณะรัฐประหาร ผู้สนับสนุนรัฐประหาร และวิธีการขึ้นสู่อำนาจของผู้มีอำนาจทางการเมืองช่องทางอื่นนอกเหนือจากการ เลือกตั้ง/มติมหาชน โดยตัดทิ้งสภาพการณ์จริงที่ว่า ไม่ว่าระบอบการปกครองไหนก็ให้กำเนิดปีศาจได้ หากระบอบการปกครองนั้นขาดหลักการสำคัญที่ปกป้องสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ซึ่งรวมทั้งการปกป้องเสียงของประชาชนด้วย

กล่าวให้ถึงที่สุด การรัฐประหารที่อาจารย์เอ่ยปากรับรองความชอบธรรมของมันต่างหากให้กำเนิด ปีศาจสำหรับประชาชนได้ง่ายกว่าระบอบประชาธิปไตย เพราะสามารถขึ้นสู่อำนาจได้โดยไม่ต้องเจรจาต่อรองกับประชาชนส่วนใหญ่ พยายามรักษาอำนาจโดยไม่ฟังเสียงประชาชน ผลัดอำนาจด้วยความรุนแรง

หากอ้างว่า รัฐประหารชอบธรรมเพราะเป็นเครื่องมือที่ช่วยกำจัดเผด็จการที่ไม่มีใครโค่น ล้มได้ คำถามที่ตามมาคือ หากเป็นเผด็จการที่มาจากรัฐประหาร อาจารย์คิดว่าเครื่องมือชนิดใดจะกำจัดเผด็จการชนิดนี้ได้ รัฐประหารซ้ำ????

ลำพังการให้ความชอบธรรมกับรัฐประหารนับเป็นศีลของผู้มีจุดยืนอยู่ข้าง ประชาธิปไตยที่ไม่พึงกระทำ ยิ่งไปกว่านั้น ความพยายามลดทอนความชอบธรรมของเสียงประชาชนย่อมถือเป็นการทำลายหลักการสำคัญ ของประชาธิปไตยโดยตรง

แน่นอนว่าระบอบประชาธิปไตยไม่ใช่ยาวิเศษประกันความดีงามของสังคมการเมือง แต่ก็มิได้หมายความว่าหลักการและคุณค่าพื้นฐานบางประการของระบอบนี้สมควรถูก เพิกถอน ทำลายทิ้ง เพียงเพราะมันเป็นส่วนหนึ่งของปัญหา

...

สุดท้ายแล้ว บทความของอาจารย์ไชยันต์ไม่ได้ให้คำตอบเรื่องเสียงมหาชนแบบไหนทำลาย ประชาธิปไตยมากนัก แต่ได้ให้คำตอบเรื่องวิชาการแบบไหนทำลายประชาธิปไตยพอสมควร