WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, December 10, 2011

อักโกธะ – อากง (สังคมแห่งความหวาดกลัว)

ที่มา ประชาไท

ข้อเสียอย่างยิ่งของบ้านเรา คือ การ “ไม่สามารถ” ยก “ประเด็นปัญหาระดับพื้นฐาน” ของความเป็นประชาธิปไตยมาถกเถียงกันด้วยเหตุผลอย่างถึงที่สุดได้ เช่น แม้แต่เกิด “กรณีอากง” ที่ทำให้รู้สึกสะเทือนใจกันทั้งประเทศแล้ว ปัญหาเรื่องยกเลิก-ไม่ยกเลิก ปรับปรุง-ไม่ปรับปรุง ม.112 ก็ไม่สามารถนำมาถกเถียงกันอย่างตรงไปตรงมาจนสามารถนำไปสู่การมีฉันทามติทาง สังคมร่วมกันได้ แต่ต่างคนต่างพูดกันไป ผมจะลองนำตัวอย่างที่ต่างคนต่างพูดกันมาลองไล่เรียงเหตุผล (ตามการตีความของผม) ดู และผมก็เห็นว่า สองทัศนะข้างล่างนี้บ่งบอกมุมมองตรงข้ามเกี่ยวกับ ม.112 ได้ค่อนข้างชัดเจน

ที่มา https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1515610323260.2070497.1024504690

“หากพบเว็บไซต์ใดที่เผยแพร่ข้อความลบหลู่ดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ ก็ควรจะรายงานเจ้าหน้าที่ทราบ...หรือถ้ารู้ตัวผู้กระทำผิด ก็ควรจะแจ้งเจ้าหน้าที่ทราบเพื่อจับกุมทันที ขอเรียนว่าพฤติการณ์ของคนพาลคนชั่วเนรคุณ อกตัญญูพวกนี้อุปมาเหมือนบาดแผลที่อาจจะแลดูเล็กน้อย แต่แท้จริงเป็นเนื้อร้ายหรือมะเร็ง ที่ไม่อาจบำบัด ได้เพียงแต่ด้วยการล้าง หรือชำระแผลแล้วใส่ยาฆ่าเชื้อ แต่จะต้องรักษาให้ถูกวิธี แม้จะต้องทำด้วยการผ่าตัดเอาเนื้อร้ายนั้นออก หรือสกัดไว้มิให้ลุกลามออกไป ช่วยกันป้องกันเมืองไทยเถอะครับ อย่าให้เชื้อโรคเนรคุณอกตัญญูมันลุกลามออกไปมากกว่านี้”

วสิษฐ เดชกุญชร (ที่มา หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 6 ธันวาคม 2554)

ทั้งสองข้อความนี้สะท้อน “ทัศนะที่แตกต่างกัน” แม้ทัศนะแรกจะไม่บอกตรงๆ ว่าปฏิเสธ ม.112 แต่การยืนยันสิทธิของคนไทยเช่นนั้นก็มีความหมาย “เป็นอย่างน้อย” ว่า ไม่เห็นด้วยกับการใช้ ม.112 จำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน เพราะมีแต่การยืนยันสิทธิเสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบของประชาชนเท่า นั้น การมีชีวิตอยู่ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขด้วย “ความไว้วางใจ ไม่ใช่ความกลัว” จึงอาจเป็นไปได้

ส่วนข้อความที่สองชัดเจนว่า เป็นการยืนยันความชอบธรรมของ ม.112 และการใช้ ม.112 ขจัด “เนื้อร้าย” ที่เรียกว่า “คนพาล คนชั่วเนรคุณ อกตัญญูพวกนี้” ออกไป ซึ่งหมายถึงคนที่มีพฤติกรรมหรือการกระทำที่เข้าข่ายผิด ม.112

แน่นอนว่าในบ้านเราทัศนะทั้งสอง (ไม่ใช่คนทั้งสอง) นี้ต่อสู้กันมานาน แต่ต้องขีดเส้นใต้ว่า “อาวุธ” ของทัศนะแรกมีเพียง “เหตุผล” เป็นหลักที่ใช้ยืนยันสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามระบอบประชาธิปไตย แต่อาวุธของทัศนะหลังคือข้ออ้างทางศีลธรรม (คนพาล อกตัญญู ฯลฯ) และ ม.112 อาจใช้ปืน รถถัง ถ้าพวกเขาเห็นว่าจำเป็น ฉะนั้น เมื่อประชาชนที่ยึดทั้งสองทัศนะมีปัญหาขัดแย้งกัน ฝ่ายที่ยืนยันสิทธิเสรีภาพของประชาชนจึงเป็นฝ่ายถูกไล่ล่า ถูกจับติดคุก และถูกฆ่าเป็นจำนวนมาก ซึ่งเห็นจากประวัติศาสตร์การเมืองไทยตั้งแต่ยุค 14 ตุลา เป็นต้นมา

แต่ที่สำคัญคือ เมื่อไล่เรียงเหตุผลของสองทัศนะแล้วเราจะเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจนดังนี้

ทัศนะแรกเป็นการยืนยันสิทธิของประชาชนตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์เป็นประมุขว่า ต้องอยู่ร่วมกันด้วย “ความไว้วางใจ” ซึ่งผมคิดว่า ความไว้วางใจจะเป็นไปได้จริงขึ้นอยู่กับเงื่อนไขหลักที่ขาดไม่ได้ 2 ประการ คือ

1. ระบบสังคมการเมืองต้องเป็นประชาธิปไตยที่อำนาจเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง มีกติกาให้ประชาชนมีเสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบทุกระบบอำนาจสาธารณะ อย่างเท่าเทียม

2. สร้อยของประชาธิปไตยที่ว่า “อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข” หมายถึง พระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญที่ทรงเป็น “พุทธมามกะ” ตามอุดมการณ์ “ธรรมราชา” ที่ถือว่าพระมหากษัตริย์เป็น “สมมติราช” ผู้ทรงมี “ทศพิธราชธรรม” ซึ่งนักวิชาการปัจจุบันอย่างบวรศักดิ์ อุวรรโณ นิยามว่า ทศพิธราชธรรม คือ “หลักธรรมาภิบาล” ซึ่งผมเห็นด้วยว่าในทางหลักการตีความเช่นนี้ได้ เนื่องจากเนื้อหาหลักของทศพิธราชธรรมเรียกร้อง ความโปร่งใสและการตรวจสอบได้เป็นอย่างยิ่ง

จะเห็นว่า ม.112 ขัดแย้งกับความเป็นประชาธิปไตยตามข้อ 1 และขัดกับอุดมการณ์ธรรมราชา หรือทศพิธราชธรรมตามข้อ 2 ฉะนั้น ม.112 จึงเป็นกฎหมายที่กระทบต่อสิ่งที่อาจารย์เกษียรกล่าวว่า “...คนไทยควรมีสิทธิได้อยู่ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็น ประมุข ด้วยความไว้วางใจ ไม่ใช่ความกลัว”

แน่นอนว่าทัศนะที่สองที่ยืนยันความชอบธรรมของ ม.112 และเรียกร้องให้บังคับใช้อย่างจริงจังในสถานการณ์ปัจจุบันย่อมขัดแย้งทั้ง ต่อความเป็นประชาธิปไตย (หลักเสรีภาพ และความเสมอภาค) และอุดมการณ์ธรรมราชา หรือทศพิธราชธรรม

แต่ข้อสังเกตที่ดูจะเป็นเรื่อง “ตลกร้าย” มากก็คือ ฝ่ายที่ยืนยันทัศนะที่สองมักอ้างความเป็นธรรมราชาและทศพิธราชธรรมมาอวยเจ้า อยู่เสมอ อย่างเป็นประเพณีมาตั้งแต่โบราณ แต่ในขณะที่อ้างทศพิธราชธรรม (ซึ่งเรียกร้องความโปร่งใสตรวจสอบได้) พวกเขากลับยืนยัน ม.112 (ซึ่งห้ามวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบ) ซึ่งมีปัญหาย้อนแย้งในตัวเองมาก เช่น

1. อุดมการณ์ธรรมราชาที่มีทศพิธราชธรรม ย่อมสอดคล้องกับการที่พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ ซึ่งเป็น “สมมติราช” ไม่ใช่ “เทวราช” แต่ ม.112 เป็นการรับรองสถานะเทวราชของกษัตริย์ตามระบบความความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ ไม่ใช่พุทธ

2. ม.112 ที่รับรองสถานะเทวราชาซึ่งวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบไม่ได้นั้น ทำให้ “ทศพิธราชธรรม” อธิบายไม่ได้ในเชิงเหตุผลและความเป็นจริง เพราะ 1) ถ้าตรวจสอบไม่ได้เลย ราษฎรจะรู้ได้อย่างไรว่ากษัตริย์มีทศพิธราชธรรมจริง 2) การเผชิญปัญหา หรือสถานการณ์จริงเท่านั้น จึงจะพิสูจน์ความมีทศพิธราชธรรมได้ แต่ ม.112 ทำให้กษัตริย์ไม่สามารถเผชิญปัญหาหรือสถานการณ์จริง

เช่น ทศพิธราชธรรมข้อ 7 คือ “อักโกธะ” แปลว่าความไม่โกรธ หมายถึงธรรมราชาไม่ใช้อารมณ์โกรธในการปกครองราษฎร แต่ถ้าแม้แต่เรื่องพื้นๆ เช่น การวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบด้วยเหตุผล ม.112 ก็ห้ามไม่ให้ราษฎรมีสิทธิกระทำต่อธรรมราชา แล้วอย่างนี้ใครในโลกนี้จะรู้ “ความไม่โกรธ” หรือ ความอดทนต่อความโกรธของธรรมราชาได้เล่า แม้แต่ธรรมราชาเองจะรู้คุณธรรม “ความไม่โกรธ” ของตนเองได้อย่างไร หากถูกแม้กระทั่งกฎหมายกำหนดให้ไม่ต้องผ่านการทดสอบจากสถานการณ์จริงแม้แต่ เรื่องพื้นๆ คือ “การถูกวิพากษ์วิจารณ์ด้วยเหตุผล”

ฉะนั้น การยืนยัน ม.112 จึงเป็นการปกป้องเพียงสถานะแห่ง “เทวราช” เท่านั้น ในขณะที่ไปทำลายอุดมการณ์ธรรมราชาของกษัตริย์ที่เป็นพุทธมามกะ ด้วยการทำให้ทศพิธราชธรรมเป็นของที่พิสูจน์ไม่ได้ หรือเป็นสิ่งที่ไม่ถูกทดสอบด้วยสถานการณ์จริง จึงกลายเป็นว่าที่ว่าปกป้อง ม.112 เพื่อปกป้องสถาบันกษัตริย์นั้น กลับเป็นการทำลายอุดมการณ์ที่ถูกต้องของสถาบันกษัตริย์ไปเสีย และยิ่งมองบนจุดยืนความเป็นประชาธิปไตย ก็ยิ่งชัดว่า ม.112 เป็นเครื่องมือสร้าง “ความหวาดกลัว” ในหมู่ประชาชนมากกว่าที่จะสร้างวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันอย่างไว้วางใจ

ม.112 ทำลายคุณค่าของทศพิธราชธรรม และเป็นเครื่องมือสร้างความหวาดกลัว นี่เห็นชัดมาก เช่น ทำลายหลัก “อักโกธะ” อย่างกรณีจำคุก “อากง” 20 ปี เป็นต้น ถ้าใครจะบอกว่า ม.112 ไม่ได้ทำลายคุณค่าของทศพิธราชธรรม ขอได้โปรดอธิบายหน่อยครับว่า การลงโทษจำคุกคนที่ทำผิดด้วย “ข้อความ” ด้วยการจำคุกถึง 20 ปี สอดคล้อง หรือสะท้อนถึงความมีทศพิธราชธรรม คือ “ความไม่โกรธ” ของธรรมราชาอย่างไร

กรุณาอย่าบอกว่าผมโยงทศพิธราชธรรมกับ ม.112 อย่างมั่วๆ เพราะว่ากฎกติกาใดๆ เกี่ยวกับธรรมราชาจำเป็นต้องสะท้อนถึง “ความมีธรรม” ของพระราชา ไม่ใช่ไปขัดแย้งจนพิสูจน์ความมีธรรมของพระราชาไม่ได้

จึงอยากให้ฝ่ายปกป้อง ม.112 ที่มักอ้างทศพิธราชธรรม โปรดตรองดูให้ชัดว่า ฝ่ายเรียกร้องให้ยกเลิกหรือปรับปรุง ม.112 นั้น เขาต้องการทำลายสถาบันจริงๆ หรือว่า ฝ่ายปกป้องสถาบันเองกำลังทำลายสถาบันอย่างไม่รู้ตัว!

หรือควรจะหยุดกล่าวหา ใส่ร้าย ไล่ล่ากัน แล้วหันมาถกเถียงด้วยเหตุผลอย่างถึงที่สุดเพื่อนำไปสู่การมีฉันทามติร่วมกัน ในทางสังคมเกี่ยวกับการยกเลิก-ไม่ยกเลิก หรือ ปรับปรุง-ไม่ปรับปรุง ม.112 จะไม่ดีกว่าหรือ?

หมายเหตุ ประชาสัมพันธ์กิจกรรม

วันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม 2554 เวลา 16.00 น.

เชิญร่วมกิจกรรม Fearless Walk อภยยาตรา จากอนุสาวรีชัยสมรภูมิ-แยกราชประสงค์ “เพื่ออากง เพื่อนักโทษการเมือง เพื่อเสรีภาพ เพื่อสังคมที่ปราศจากความหวาดกลัว”