ที่มา Thai E-News
หมายเหตุไทยอีนิวส์:คุณ ดวงจำปา ได้แปลบันทึกลับนี้เผยแพร่ในเว็บบอร์ดแห่งหนึ่ง เป็นการสนทนาระหว่างเอกอัครราชฑูตสหรัฐฯประจำประเทศไทย นายอ๊ดวิน เอฟ. แสตนตั้น กับ อดีตนายกรัฐมนตรีไทย พลเรือตรี หลวงธำรง นาวาสวัสดิ์ เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2491
พลเรือตรีหลวงธำรงฯ ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีในเครือข่ายของนายปรีดี พนมยงค์ เพิ่งถูกคณะรัฐประหารนำโดยพลโทผิณ ชุณหะวัณ ยึดอำนาจเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 หรือ เพียง 3 เดือนก่อนหน้าการสนทนาในครั้งนี้ และทูตสหรัฐฯได้ส่งเป็นโทรเลขไปยังกระทรวงต่างประเทศ สหรัฐฯในวันที่ 31 มีนาคม 2490
ไทยอีนิวส์ขอนำเสนอเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวพันกับปมสำคัญ ในการรัฐประหาร 2490 นั่้นคือกรณีสวรรคตของในหลวงรัชกาลที่ 8 จากบทสนทนาครั้งนี้ แต่มีความจำเป็นต้องเซ็นเซอร์ชื่อบุคคลที่ถูกอ้างถึงบางรายชื่อออกไป และบันทึกหน้าที่สองที่ถูกแปลเราไม่สามารถแสดงความเชื่อมโยงหรือเผยแพร่ได้
หัวข้อเรื่อง: สถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน
ใน การสนทนาเกี่ยวกับคำถามถึงเรื่องการสวรรคตของพระมหากษัตริย์องค์ที่แล้ว (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอนันทมหิดล - ผู้แปล) หลวงธำรง กล่าวว่า เขาไม่ทราบว่าเหตุการณ์อันเศร้าสลดนั้นจะสามารถได้รับการสะสางขึ้นมาได้หรือ ไม่
เขาพูดประหนึ่งว่าเป็นความลับสุดยอดเลยทีเดียวว่า หลักฐานต่างๆที่มีการสะสมกันมาในขณะที่เขาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่นั้น มีแนวโน้มที่จะพัวพันกับ(เซ็นเซอร์) แต่เขาไม่กล้าที่จะบอกเป็นนัยๆ ให้กับทางการทราบเลยว่า กรณีมันเป็นอย่างนี้
หลวงธำรง ยืนยันต่อด้วยว่านายปรีดี (พนมยงค์ – ผู้แปล) ได้พบว่าตัวเขาเองอยู่ในสถานการณ์แบบเดียวกัน และหลวงธำรง ยังเย้ยหยันต่อความคิดที่ว่า นายปรีดีเองได้มีส่วนพัวพันเกี่ยวข้องในเรื่องนี้
ผมได้ถามหลวงธำรง ว่า เขาคิดว่าผลพวงที่ตามมาจะเป็นอย่างไร ถ้าเกิดว่ามีการเปิดเผยขึ้นมาว่า (เซ็นเซอร์)เองนั่นแหละ เป็นผู้เกี่ยวข้องอย่างแท้จริง เขากล่าวต่อว่า เขาสันนิษฐานว่า (เซ็นเซอร์)จะต้อง(เซ็นเซอร์) และคิดว่าสิ่งที่จะขยายตัวตามมาต่อจากเรื่องนี้คือ จะมีช่วงเวลาของการสับสนอลหม่านและมีการวางแผนอย่างอุบาทว์ชั่วร้าย
หลวง ธำรง กล่าวว่า พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมภฏฯ (พระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต – ผู้แปล) จะเป็นผู้มีสิทธิสืบราชสมบัติพระองค์ต่อไป แต่เพราะว่า พระองค์เจ้าจุมภฏฯ และพระชายาของพระองค์นั้น ไม่ได้รับความนิยม มันจึงเป็นเรื่องที่น่ากังขาว่า พระองค์จะสามารถสืบราชบัลลังก์ต่อมาได้จริงๆหรือ
หลวงธำรง เพิ่มเติมว่า ถัดจากพระองค์เจ้าจุมภฎ ผู้มีสิทธิในราชบัลลังก์ต่อไปคือ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์(ยุคล – ผู้แปล) นั้น พระองค์ก็ทรงไม่ได้รับความนิยมเช่นเดียวกัน
หลวงธำรง กล่าวว่า คำถามเกี่ยวกับบุคลิกลักษณะนั้น เป็นสถานะที่สลับซับซ้อน และเป็นเรื่องที่น่าเสียดายอย่างที่สุด เนื่องจากเขารู้สึกว่า ประเทศสยาม ไม่สามารถจัดการเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงอำนาจที่มีต่อความมั่นคงได้