ที่มา ประชาไท
6 ธ.ค.54 นายอานนท์ นำภา ทนายของโจ กอร์ดอน หรือ เลอพงษ์ (ขอสงวนนามสกุล) ผู้ต้องหา “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” เนื่องจากแปลและเผยแพร่ หนังสือ " The King never smiles"(TKNS) แจ้งว่า ได้ทำจดหมายถึง นายสมชาย หอมลออ ในฐานะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) และกรรมการปฏิรูปกฎหมาย รวมถึงส่งสำเนาถึงคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ตามความประสงค์ของลูกความ เพื่อเชิญให้เข้าร่วมฟังคำพิพากษาที่จะมีขึ้นในวันที่ 8 ธ.ค.นี้ เวลา 9.00 น. ที่ศาลอาญา ถนนรัชดา หลังจำเลยตัดสินใจรับสารภาพไปก่อนหน้านี้
โดยในจดหมายระบุว่า “จำเลยประสงค์ขอให้ผม ในฐานะทนายความส่งหนังสือเชิญตัวแทนจาก คอป. , คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย และคณะกรรมการสิทธิฯ ร่วมรับฟังการอ่านคำพิพากษา ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการศึกษา และรับรู้ถึงปัญหาการบังคับใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในประเทศไทย”
รายละเอียดย่อ โดย iLaw
ชื่อบุคคล / ชื่อสื่อ : Joe G. ข้อกล่าวหาต่อบุคคล กลุ่มบุคคล หรือสื่อ : โจ จี หรือ เลอพงษ์ ว. (ชื่อไทย) ชายสัญชาติไทย-อเมริกัน อายุ 54 ปี ถูกจับกุมเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2554 ที่บ้านพักในจังหวัดนครราชสีมา โดยตำรวจจากกรมสืบสวนคดีพิเศษหรือดีเอสไอ ตามหมายจับเลขที่ 318/2554 ซึ่งออกเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2554 โจถูกจับกุมในข้อหาหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ และกระทำให้เกิดความปั่นป่วน หรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน ฯ และกระทำผิดพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ |
ข้อมูลทางคดี
ข้อหา : มาตรา 14 พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ , มาตรา112, 116 ประมวลกฎหมายอาญา เลขคดีและวันที่
สถานะคดี : ศาลชั้นต้น |
รายละเอียดคดี
พื้นเพผู้ต้องหา :
โจ จี สัญชาติไทยโดยกำเนิด อาศัยอยู่ที่รัฐโคโลราโด สหรัฐอเมริกาเป็นเวลาเกือบ 30 ปี และได้รับสถานะเป็นพลเมืองอเมริกัน โจเดินทางกลับมาประเทศไทยเมื่อราวสองปีก่อนหน้านี้เพื่อเข้ารับบริการทางการ แพทย์ |
ผู้กล่าวหา / โจทก์:
คดี นี้ มีผู้กล่าวหาคือ ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยพันเอกวิจารณ์ จดแตง เป็นผู้กล่าวหาที่ 1 และกรมสอบสวนคดีพิเศษ โดยนายเกริกไชย ศรีศุกร์เจริญ เป็นผู้กล่าวหาที่ 2 โดยร้องทุกข์กล่าวหาต่อพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ทั้งนี้ กรมสอบสวนคดีพิเศษมีมติการประชุมเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2553 ว่า ให้คดีที่มีกลุ่มบุคคลกระทำการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ฯ เป็นคดีพิเศษตามพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ โดยคดีโจถือเป็นคดีพิเศษของกรมสอบสวนคดีพิเศษด้วย โดยสำนักงานอัยการสูงสุดมีหนังสือให้พนักงานอัยการ สำนักงานต่างประเทศ ทำการสอบสวนร่วมกับพนักงานสอบสวน ตามหนังสือลงวันที่ 28 กรกฎาคม 2553 |
Allegation regarding the alleged perpetrators :
โจ ถูกกล่าวหาว่าเป็นเจ้าของบล็อกที่ชื่อว่า บาทเดียว และเป็นผู้ใช้นามแฝงว่า สิน แซ่จิ้ว โดยในบล็อกของเขาซึ่งใส่ลิงก์ให้ดาวน์โหลดหนังสือThe King Never Smiles และยังมีส่วนเกี่ยวข้องในการแปลหนังสือฉบับดังกล่าวเป็นภาษาไทยด้วย หนัง สื่อเรื่อง The King Never Smiles เป็นหนังสือที่เขียนเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ไทย เขียนโดย Paul Handley นักข่าวอิสระซึ่งทำงานและอาศัยอยู่ในประเทศไทย หนังสือเล่มนี้ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย Yale เผยแพร่เมื่อปี 2549 ปัจจุบันเป็นหนังสือต้องห้ามในประเทศไทย ในหมายขอฝากขังผู้ต้องหาระบุว่า "เมื่อระหว่างวันที่ 2 พฤศจิกายน 2550 ถึงวันที่ 22 ตุลาคม 2552 เวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน นายเลอพงษ์ ว. ได้ใช้นามแฝงว่า นายสิน แซ่จิ้ว เข้าไปประกาศข้อความ (Post) เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2552 บนเว็บบอร์ด sameskyboard.com โดยจัดทำความเชื่อมโยง (link) ระบุข้อความว่า "TKNS อยู่ในนี้ ลิงค์ด้านซ้ายของรูปเปรม" ซึ่ง TKNS เป็นคำย่อหมายถึงหนังสือต้องห้ามนำเข้าสู่ราชอาณาจักรไทยชื่อ เดอะคิงส์เนฟเวอร์สไมล์ (The King Never Smiles) เผยแพร่เพื่อให้ผู้อื่นเข้าไปดูและอ่านหนังสือต้องห้าม The king never smiles ที่ได้แปลเป็นฉบับภาษาไทย เมื่อมีผู้อื่นที่พบและเข้าไปที่ความเชื่อมโยง (link) ตรงข้อความดังกล่าว พบมีความเชื่อมโยงไปยังเว็บบล็อกบาทเดียว[ดอท]บล็อกสปอต[ดอท]คอม ของนายเลอพงษ์ ซึ่งใช้นามแฝงว่า นายสิน แซ่จิ้ว และใช้คำนิยามเกี่ยวกับตัวเองสั้นๆ และอ้างตัวเป็นผู้แปลหนังสือต้องห้ามดังกล่าว..." |
Arresting :
โจ เคยให้สัมภาษณ์แก่ผู้สื่อข่าวว่า ในวันที่พนักงานจากกรมสอบสวนคดีพิเศษมาจับกุมที่บ้านพักในจังหวัดนครราชสีมา มีเจ้าหน้าที่ตำรวจราว 20 นายมาที่บ้าน ตอนนั้นเขาเพิ่งออกจากห้องน้ำด้วยผ้าขาวม้าเพียงผืนเดียวเขาบอกเจ้าหน้าที่ ว่าจะขอใส่เสื้อผ้าก่อนได้ไหม แต่เจ้าหน้าที่ปฏิเสธและบอกให้เขานั่งลง จากนั้นก็ยึดเอาเงิน คอมพิวเตอร์ ฮาร์โดรฟ์ และโทรศัพท์ไป |
Chronology of case :
นับแต่ถูกจับกุมเมื่อ 24 พฤษภาคม 2554 โจปฏิเสธทุกข้อกล่าวหาโดยทันที ปัจจุบันเขาถูกควบคุมตัวที่เรือนจำพิเศษ กรุงเทพมหานคร ทนายของเขายื่นหลักทรัพย์เพื่อขอประกันตัวมูลค่า 1.7 ล้านบาท โดยอ้างสิทธิพื้นฐาน และยังระบุว่าโจมีโรคความดันเลือดและโรคเกาต์ที่ต้องการการรักษา ศาลปฏิเสธโดยให้เหตุผลว่าเป็นข้อหาที่กระทบต่อความมั่นคงและกระทบต่อสถาบัน พระมหากษัตริย์ซึ่งมีโทษสูง และเขาอาจทำลายพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องได้ หลังจากพยายามขอประกันตัวต่อเนื่องเป็นจำนวน 8 ครั้ง ในวันที่ 10 ตุลาคม 2554 ซึ่งเป็นวันแรกของการนัดพิจารณาคดี โจตัดสินใจประกาศว่าเขาไม่ขอต่อสู้คดี ศาลมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานคุมประพฤติสืบเสาะพฤติการณ์ของจำเลยแล้วรายงานต่อ ศาลภายใน 20 วัน และกำหนดวันพิพากษาวันที่ 9 พฤศจิกายน 2554 แต่ด้วยเหตุน้ำท่วมกรุงเทพฯ ทำให้วันพิพากษาถูกเลื่อนออกไปเป็นวันที่ 8 ธันวาคม 2554 นับแต่วันจับกุมจนถึงวันพิพากษา โจถูกควบคุมตัวต่อเนื่องมาเป็นเวลา 199 วัน หรือ 6 เดือนกับ 15 วัน |
Additional information:
โจ เปิดเผยว่าเขาต้องการความช่วยเหลือจากสถานทูตสหรัฐในการเรียกร้องสิทธิการ ประกันตัวด้วยเหตุผลด้านสุขภาพ อย่างไรก็ดี คดีหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ส่วนใหญ่ก่อนหน้านี้มักไม่ได้รับสิทธิในการ ประกันตัว และเป็นเรื่องปกติที่ผู้ต้องหาคดีหมิ่นจะถูกคุมตัวไว้เป็นเดือนหรือเป็นปี ก่อนจะถึงเวลาพิจารณาคดีในศาลชั้นต้น
โจถูกตั้งข้อหาตามมาตรา 112 และ 116 ของประมวลกฎหมายอาญา และมาตรา 14 พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
มาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา ระบุว่า ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี
มาตรา 116 ประมวลกฎหมายอาญา ระบุว่า ผู้ใดกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือหรือวิธีอื่นใดอันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต
(1) เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายแผ่นดินหรือรัฐบาล โดยใช้กำลังข่มขืนใจหรือใช้กำลังประทุษร้าย
(2) เพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร หรือ
(3) เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี
มาตรา 14 พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ระบุว่า ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
(1) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบาง ส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
(2) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความ ตื่นตระหนกแก่ประชาชน
(3) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการ ก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
(4) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
(5) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (1) (2) (3) หรือ (4)