WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, April 6, 2009

แกะรอยสื่อกัมพูชา ค้นปมศึกภูมะเขือ

ที่มา ไทยรัฐ

เหตุที่ทหารกัมพูชาทำปืนอาร์พีจีลั่น เข้ามาตก

ใกล้ฐานที่มั่นของทหารไทยจนกลายเป็นเหตุร้อนรับสงกรานต์นั้น มุมของสื่อกัมพูชาไม่ได้ให้ค่ากับเรื่องการล้ำเขตแดนอย่างที่ฝ่ายไทยมุ่งมอง

แต่ให้ค่ากับ ถ้อยคำที่ระเบิดระบายจากปากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นสำคัญ เห็นได้จากการนำเสนอเรื่องราวนี้มาอย่างต่อเนื่องหลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจในรัฐสภาไทย

และยังเสนอท่าทีของสมเด็จฮุน เซน ต่อเรื่องนี้อย่างต่อเนื่องและเผ็ดร้อน

เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2552 ที่ผ่านมา หนังสือพิมพ์เกาะสันติภาพ เสนอข่าวว่า สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน นายกรัฐมนตรีแห่งพระราชอาณาจักรกัมพูชา ได้กล่าวเมื่อเช้าวันที่ 31 มีนาคม 2552 ในโอกาสเป็นประธานในพิธีเปิดถนน ดิรวิถีสมเด็จนายกรัฐมนตรี ฮุน เซนที่จังหวัดพระสีหนุว่า...

ฮุน เซน ได้ฝากสารฉบับหนึ่งไปยังนายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยว่า ฮุน เซนเป็นคนกลางๆ ไม่ใช่เป็นสุภาพบุรุษ และก็มิใช่เป็นนักเลง แต่ว่าเป็นคนจริง

และยังแสดงความไม่พอใจอย่างมากโดยกล่าวว่า อย่าได้สับสน แม้ว่าประเทศนี้จะเป็นประเทศเล็ก ยากจน แต่ฮุน เซนก็ได้ลุกขึ้นจากกองเถ้าถ่านนำประเทศนี้ โดยนำพาพรรคร่วมกับสมเด็จเฮง สัมริน สมเด็จ เจีย ซิม ได้รับเลือกตั้งตลอดมา

ดังนั้น อย่าได้สับสนว่า ผมไม่ใช่เพิ่งจะเป็นนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผมเป็นมากว่า 30 ปีแล้ว

ฮุน เซนยังกล่าวต่อไปอีกว่า ผมไม่ใช่นักเลง และก็มิใช่สุภาพบุรุษ แต่ผมเป็นคนจริง พูดอย่างไรทำอย่างนั้น

ยังย้ำด้วยว่า ผมไม่โกรธคุณหรอก แต่ขอให้คุณใช้ถ้อยคำให้ชัดเจนในฐานะที่เป็นคนใกล้ชิดกัน แต่อย่างไรก็ตาม คนที่อยู่ใกล้ชิดกันก็ต้องมีการเคารพกัน ผมรับไม่ได้กับคำว่า สุภาพบุรุษใจนักเลง

ฮุน เซนบอกว่า อย่าคิดว่าฮุน เซนฟังภาษาไทยไม่รู้เรื่อง ไม่ถูกต้องเลย ชัดเจนมาก คณะทำงานได้บันทึกเสียงคุณไว้ทั้งหมด เขานำคำพูดมาแปลอย่างครบถ้วน ตั้งแต่อดีตนายกรัฐมนตรีสมัครก็มีทั้งหมด ในเวลาที่คุณอภิสิทธิ์เดินทางมาเยือนกัมพูชา ผมจับมือคุณอภิสิทธิ์ แต่สำหรับคุณกษิต ภิรมย์ ยังไม่แน่ว่าผมจะจับมือหรือไม่ ยังไม่ชัดเจน เพราะว่าเป็นไอ้นักเลง จะมาจับมือทำไม

ดังนั้น คุณจะมาแก้ตัวเท่านี้ไม่ได้หรอก จะต้องแก้ไขต่อไปอีก แต่ท่าทีของผมเกี่ยวกับคุณมันเป็นสิทธิ์ของผม แม้ว่าคุณจะแก้ตัวเท่านี้ ในสภาก็ตาม และมาขอเดินทางมาเยือน ผมก็คงจะรับไม่ได้หรอก...

พูดกันให้ชัดเจนไปเลย ผมจะต้องคิดไปด้วยว่า ประเทศนี้เป็นประเทศเอกราช มีอธิปไตย เพราะรู้สึกโกรธมาก โกรธเพราะผมประกาศขีดเส้นตายให้ถอนกองทัพไทย และหลังจากนั้นก็มีการปะทะกันทางอาวุธทำให้ทหารไทย-เขมรเสียชีวิตจำนวนหนึ่ง

สืบมาวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2552 หนังสือพิมพ์เกาะสันติภาพ เสนอข่าวนี้อย่างเกาะติด โดยพาดหัวว่า สารของสมเด็จเดโช สั่นสะเทือนกรุงเทพฯ กษิต ภิรมย์ ถูกนักหนังสือพิมพ์ตามสอบถามเกี่ยวกับการใช้คำ นักเลง

เนื้อกล่าวว่า การโต้ตอบอย่างเข้มข้นของสมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน เมื่อวันที่ 31 มีนาคม ที่จังหวัดพระสีหนุ เกี่ยวกับการเรียกสมเด็จด้วยคำที่ไม่เหมาะสมจากคุณกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย ซึ่งเรียกสมเด็จว่า สุภาพบุรุษใจเป็นนักเลง ได้ ทำให้สั่นสะเทือนไปทั่วทั้งกรุงเทพฯ

หนังสือพิมพ์เกาะสันติภาพร่ายต่อไปว่า อ้างตามแหล่งข่าวซึ่งได้เผยแพร่ที่กรุงเทพฯเมื่อวันที่ 1 เมษายน ว่า คุณกษิต ภิรมย์ รมว.กระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์หลังจากได้เข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรีพิเศษซึ่งมีคุณสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในที่ประชุม

ซึ่งในการประชุมนั้นปรึกษาหารือเกี่ยวกับปัญหาที่สมเด็จเดโช ฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชาไม่พอใจคุณกษิต ที่ได้เรียกสมเด็จเดโช ฮุน เซนว่าเป็นนักเลง สื่อมวลชนไทยได้บอกว่าคุณกษิต ได้พยายามหลีกเลี่ยงข้อซักถาม

ของผู้สื่อข่าวโดยได้ย้อนถามว่า คุณรู้ภาษาไทยหรือไม่ เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า ได้ชี้แจงไปยังสมเด็จเดโช ฮุน เซนหรือยัง ก็ไม่ตอบอะไรทั้งหมด แล้วรีบเดินออกไป

หนังสือพิมพ์เกาะสันติภาพ ฉบับวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2552 ลงจดหมายของนายกษิต ภิรมย์ ขอโทษสมเด็จเดโช ฮุน เซน และอธิบายความหมายคำ นักเลง ว่าในภาษาไทยมีความหมายว่า คนใจกว้างขวาง

เช่นเดียวกับ คุณธฤต จรุงรัตน์ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของไทย ที่ออกมาแถลงว่า คำว่า นักเลง เป็นการให้ความหมายที่ใช้ไม่ได้ ทำให้มีการเข้าใจผิดกัน กระทรวงการต่างประเทศไทยจะทำการอธิบายความหมายที่ถูกต้องไปยังรัฐบาลกัมพูชาทางด้านการทูต

ควรระลึกว่า ประโยคที่ทำให้เข้าใจผิด เกิดจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ซึ่งข้อความในประโยคนี้ เป็นข้อความที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทย ได้กล่าวถึงนายกรัฐมนตรีกัมพูชาว่า เป็นบุรุษมีใจเป็นนักเลง โดยเชื่อว่าประโยคนี้อาจมีการแปลเป็นภาษาอังกฤษว่า Gangster ซึ่งมีความหมายผิดไปจากบริบทที่ใช้ในภาษาไทย

เกี่ยวกับท่าทีของสื่อกัมพูชา และ สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน กรณีที่นายกษิต ภิรมย์ พูดถึงนั้น อาจารย์กังวล คัชชิมา อาจารย์ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร อธิบายว่า การใช้คำว่า นักเลง ที่ว่าไม่เหมาะสมนั้น ไม่เหมาะสมตรงไหน เรื่องนี้เกิดจากการแปลความข้ามภาษา แล้วเข้าใจความหมายไม่ตรงกัน

เมื่อเปิดพจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 หน้า 569 พบว่า คำว่า นักเลง มีทั้งความหมายในแง่บวกและแง่ลบ คือ นักเลง น. ผู้ฝักใฝ่ในสิ่งนั้นๆ เช่น นักเลงหนังสือ นักเลงการพนัน; ผู้เกะกะระราน เช่น เป็นนักเลง นักเลงโต ก็ว่า ว. มีใจกว้าง กล้าได้กล้าเสีย เช่น ใจนักเลง

เพราะฉะนั้นคำว่า ใจนักเลง เมื่อดูตามความหมายในภาษาไทยแล้ว ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร แต่เมื่อเปิดพจนานุกรมเขมร ฉบับพุทธศาสนบัณฑิตย์ ซึ่งเป็นพจนานุกรมที่น่าเชื่อถือที่สุดของเขมร ก็พบปัญหาว่าเกิดมาจากอะไร เพราะในหน้า 1,855 ให้ความหมายของ อฺนกฺ เลงฺเขมรออกเสียง เนียะ เลง ว่า คนผู้เล่นการละเล่น (ส่วนมากหมายถึงการพนัน); คนผู้ฝักใฝ่ทางด้านการเล่น

เมื่อดูความหมายในภาษาเขมรแล้ว คำว่า นักเลง ในภาษาเขมร มีความหมายออกไปในแนวลบทั้งนั้นอาจารย์บอก

อาจารย์เตือนว่า การแปลความจากภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษาหนึ่งนั้น ไม่ใช่แต่สักว่าพูดได้ก็แปลได้ บางครั้งเมื่อต้องการแปลอย่างเป็นทางการ ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญที่เข้าใจขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของคนที่ใช้ภาษานั้นๆให้ลึกซึ้งด้วย ถึงจะแปลได้อย่างถูกต้องเหมาะสม โดยเฉพาะเรื่องที่มีผลกระทบต่อการเมืองการปกครองแล้ว ก็ยิ่งต้องระมัดระวังอีกหลายเท่า

เพราะบางครั้งคำเดียวกันหรือคล้ายกัน อยู่ต่างภาษาก็ต่างความหมาย ตัวอย่างเช่น ชื่อภูเขาที่เป็นจุดขัดแย้งไทย-เขมร เขมรเรียกว่า ภฺนํ ทฺรพฺย อ่านว่า พนม ตร็วบ แปลว่า ภูเขาทรัพย์ แต่ไทยอาจจะฟังเสียงเป็น ตร็อบ ซึ่งในภาษาเขมรแปลว่า มะเขือ ไทยจึงเรียกว่า ภูมะเขือ หรือแต่เดิมภูเขาลูกนี้อาจจะชื่อ พนม ตร็อบ อยู่แล้ว แต่เขมรเรียกเพี้ยนเป็น พนม ตร็วบ ก็ได้เหมือนกัน

คำว่านักเลง เมื่ออยู่ต่างภาษาก็ต่างความหมาย ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นนายภาษาหรือนายกระทรวงพึงประหยัด (ภาษาเขมรแปลว่า ระวัง) การใช้เป็นอย่างยิ่ง.