WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, September 8, 2010

"กระผมไม่กลัวใต้เท้า"

ที่มา thaifreenews


โดย Porsche



วาทะของโฆษก ศอฉ.
(ที่ไม่ได้ระบุคำเต็มไว้เพราะผู้อ่านแปลคำย่อนี้ต่างๆกัน ดังนั้น
ท่านถนัดแปลอย่างไร ก็ตามถนัดครับ)
“ ศอฉ.ได้ติดตามพฤติกรรม (สื่อสิ่งพิมพ์บางฉบับ) มาโดยตลอด
และจะมีการแจ้งความดำเนินคดีกับสื่อสิ่งพิมพ์ดังกล่าว
และถ้ามีความจำเป็นจะดำเนินการขั้นเด็ดขาด เช่น
การปิดหนังสือพิมพ์ดังกล่าว ” ตอกย้ำแนวทางการใช้อำนาจของ ศอฉ. ได้เป็นอย่างดี

หลังการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเดือนเมษายน 2553
มีการอาศัยอำนาจตามมาตรา 9 (3) แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการ
ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ออกข้อกำหนดเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2553
“ห้ามการเสนอข่าว การจำหน่าย หรือทำให้แพร่หลายซึ่งหนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์
หรือสื่ออื่นใดที่มีข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว
หรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร
ทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉินจนกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ
หรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ในทั่วราชอาณาจักร”
มาตรา 9 (3) เป็นมาตราเดียว
ในพระราชกำหนดที่ให้อำนาจในการดำเนินการกับสื่อต่างๆ
โดยอาจห้ามเสนอเฉพาะข่าวที่เข้าลักษณะต้องห้ามตามที่กฎหมายกำหนด
แต่มิใช่ห้ามไปเสียทุกเรื่อง
ในกรณีที่สื่อนั้นมีข้อความต้องห้ามตามที่กฎหมายกำหนด ก็อาจห้ามจำหน่าย
หรือทำให้แพร่หลาย
ซึ่งถ้าเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ก็ห้ามได้เฉพาะฉบับที่มีข้อความต้องห้าม
ถ้าสื่อนั้นตัดข้อความต้องห้ามออกแล้วก็ย่อมจำหน่ายได้
และจะไปห้ามจำหน่ายฉบับในอนาคตที่ยังไม่ทราบว่ามีข้อความใดย่อมไม่ได้
หลักการเดียวกันนี้ใช้กับสื่อประเภทอื่น เช่น สื่ออินเทอร์เน็ตด้วย
ทั้งนี้พระราชกำหนดมิได้ให้อำนาจ ศอฉ. ปิดสื่อ ไม่ว่าจะเป็นสื่อประเภทใด

เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา
และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่นได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2550 มาตรา 45

โดยวรรคสามบัญญัติห้ามการสั่งปิดกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่น
เพื่อลิดรอนเสรีภาพตามมาตรา 45 นี้

อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2553 ศอฉ.มีคำสั่งที่ 71/2553
ห้ามหนังสือพิมพ์ 4 ฉบับ คือ เสียงทักษิณ ความจริงวันนี้ ไทยเรดนิวส์ และวิวาทะ
เสนอข่าวสารที่มีข้อความต้องห้ามตามกฎหมาย
และห้ามจำหน่ายหรือทำให้แพร่หลายซึ่งหนังสือพิมพ์ดังกล่าว
โดยไม่ได้ระบุว่าเป็นการห้ามฉบับประจำวันใดหรือฉบับประจำช่วงเวลาใด
ซึ่งเท่ากับเป็นการห้ามทุกฉบับแม้แต่ฉบับในอนาคต
ซึ่ง ศอฉ.ยังไม่ทราบเลยว่าหนังสือพิมพ์เหล่านั้น
อาจออกฉบับที่สรรเสริญเยินยอ ศอฉ.มาบ้างก็ได้
ผลของคำสั่ง ศอฉ.คือการปิดกิจการหนังสือพิมพ์ 4 ฉบับ นั่นเอง

นอกจากสื่อหนังสือพิมพ์ข้างต้นแล้วยังมีสื่ออินเทอร์เน็ตอีกมาก
ที่โดนปิดด้วยวิธีการต่างๆ
โดยมีร่องรอยการกระทำของผู้ใช้อำนาจรัฐปรากฏในสื่อดังกล่าวอยู่ก็หลายกรณี

ในการอภิปรายเกี่ยวกับพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน 2 ครั้ง
ครั้งหนึ่งจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเมื่อเดือนกรกฎาคม
อีกครั้งหนึ่งจัดโดยคณะกรรมการฝ่ายเสวนาวิชาการ วันรพี
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อเดือนสิงหาคม
ผมและผู้อภิปรายบางท่านได้อภิปรายว่า ศอฉ.ไม่มีอำนาจปิดกิจการสื่อมวลชน
และรัฐธรรมนูญห้ามปิดกิจการสื่อมวลชน
แต่รู้สึกว่าไม่เป็นประเด็นที่สื่อมวลชนให้ความสำคัญแม้จะเกี่ยวกับสื่อมวลชนเองก็ตาม

ต้องรอจนถึงปลายเดือนสิงหาคม 2553 ที่วาทะโฆษก ศอฉ.
ทำให้เรื่องการปิดสื่อมวลชนมาเป็นเป้าความสนใจได้
อุปนายกฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ
สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย กล่าวเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2553 ว่า
การสั่งปิดหนังสือพิมพ์ไม่น่าจะทำได้เพราะขัดรัฐธรรมนูญ
หาก ศอฉ.ยังคงมีการแถลงในลักษณะการข่มขู่ว่าใช้อำนาจตาม พรก.ฉุกเฉิน
สั่งปิดหนังสือพิมพ์ในลักษณะที่ทำให้เกิดความสับสน
คณะกรรมการบริหารสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
จะได้มีการหารือถึงมาตรการในการดำเนินการร่วมกับองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนอื่นๆต่อไป

ผมจึงขอใช้โอกาสนี้แจ้งไปยังองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนทั้งหลายว่า
เรื่องการปิดกิจการสื่อมวลชนนั้นไม่ใช่เพียงการแถลงในลักษณะการข่มขู่
แต่ได้ปิดจริงๆแล้วด้วย
ในยามที่กลไกทางกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมดูจะทำงานไม่เหมือนยามปกติ
เป็นเหตุให้มีการใช้อำนาจรัฐโดยผิดกฎหมายหรือใช้ตามอำเภอใจอยู่เนืองๆ
ถึงเวลาหรือยังครับที่องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนจะแสดงบทบาท
ในการปกป้องเสรีภาพของสื่อมวลชน อย่างน้อยก็ควรบอกไปยัง ศอฉ. ว่า
“กระผมไม่กลัวใต้เท้า” ด้วยถ้อยคำแบบเดียวกับที่ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
ผู้ที่องค์การยูเนสโกยกย่องว่าเป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านสื่อสารมวลชน
เคยใช้เมื่อปลายปี 2525

พงศ์เทพ เทพกาญจนา
6 กันยายน 2553

http://www.go6tv.com/2010/09/blog-post_9995.html