WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, September 6, 2010

พระสงฆ์: “เป็นกลางทางศีลธรรม”

ที่มา ประชาไท

สุรพศ ทวีศักดิ์

ชาวพุทธไทยดูเหมือนจะเชื่อกันทำนองนี้ว่า “บทบาท และหน้าที่ของพระสงฆ์ในทางการเมืองก็คือ การแนะนำสั่งสอนธรรมเกี่ยวกับการเมือง ...สอนให้นักการเมืองหรือผู้ปกครองเป็นนักการเมืองหรือผู้ปกครองที่ดีมี คุณธรรม ดำเนินกิจการเมืองและปกครองโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน เมื่อทำหน้าที่นี้ พระสงฆ์เองก็จำเป็นที่ต้องตั้งอยู่ในธรรม คือมีความเป็นกลาง (เน้นโดยผู้เขียน) ... เพื่อผลนี้ จึงมีสิ่งที่เรียกได้ว่า เป็นธรรมของสถาบัน (เน้นโดยผู้เขียน) หรือเป็นทำนองจรรยาบรรณของพระสงฆ์ในด้านการเมืองที่จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว กับ...ความเป็นฝักฝ่ายอย่างหนึ่งอย่างใด…” 1
หลักการที่ว่า “พระสงฆ์ควรวางตัวเป็นกลางทางการเมือง”2 ดังที่ยกมานี้ แม้จะฟังดูมีเหตุผล แต่ใน “บางบริบท” ของความขัดแย้ง การวางตัวเป็นกลางกลับเผชิญปัญหาศีลยธรรมที่ตอบไม่ได้ เช่น สภาคองเกรส ของสหรัฐอเมริกา เคยออก “รัฐบัญญัติว่าด้วยความเป็นกลาง” (Neutrality Acts)3 เป็นกฎหมาย“วาง ตัวเป็นกลาง” เพื่อไม่ให้ไม่ตกเป็นคู่ความขัดแย้งกับฝ่ายใดๆ แต่ชนรุ่นหลังเห็นว่าความเป็นกลางเช่นนั้นไม่เหมาะสม เนื่องจากเป็นวิธีคิดที่ไม่ได้แบ่งแยกความแตกต่าง (ทางศีลธรรม) ระหว่าง “ชาติผู้รุกราน” และ “เหยื่อ” แต่ปฏิบัติต่อทั้งสองประเทศเหมือนกับว่าเป็น "ผู้เข้าร่วมสงคราม" อย่างเสมอภาคกันเท่านั้น ซึ่งในที่สุดจะเป็นการเกื้อหนุนให้แก่ประเทศผู้รุกรานมากกว่า จึงทำให้ต้องถูกยกเลิกไปในปี 1941 ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930 เพื่อรับมือกับเหตุการณ์ความขัดแย้งที่เพิ่มขึ้นในทวีปยุโรป และเอเชีย จนนำไปสู่สงครามโลกครั้งที่สอง โดยรัฐบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้สหรัฐฯ
บริบทความขัดแย้งทางการเมือง “เมษา-พฤษภา 53” ก็เช่นกัน (และที่ผ่านมาที่นักศึกษา ประชาชนถูกฆ่า) เราไม่สามารถจะมองรัฐกับประชาชนในฐานะ “คู่ สงคราม” ที่เราควรปฏิบัติ หรือเรียกร้องต่อทั้งสองฝ่ายอย่างเท่าเทียมได้ เพราะชัดเจนว่า 91 ศพ กับบาดเจ็บกว่า 2,000 คน คือ “เหยื่อ” ของรัฐบาลซึ่งเป็นที่รู้กันทั่วไปว่า เป็น “เผด็จการซ่อนรูป” (หน้าฉากมาจากการเลือกตั้ง แต่อำนาจจริงขึ้นนอยู่กับหลังฉากที่เป็น “อำนาจนอกการเลือกตั้ง”)
ใน บริบทดังกล่าว ดูเหมือนพระสงฆ์จะแสดงออก 3 ลักษณะ คือ 1) วางเฉย เสมือนไม่รับรู้ว่าอะไรเกิดขึ้นในประเทศนี้ 2) วางตัวเป็นกลางและเรียกร้องสันติวิธี และ 3) เลือกฝ่ายเสื้อแดง
ปัญหาคือ ในฐานะพระสงฆ์ผู้สอนศีลธรรมทางพุทธศาสนา จะสามารถ “วาง เฉย” หรือ “เป็นกลาง” ต่อการละเมิดหลักศีลธรรมทางพุทธศาสนา อย่างเช่น ต่อไปนี้ได้อย่างไร? 1) ต่อการที่รัฐละเมิดศีลข้อ 1 หรือละเมิดสิทธิในชีวิต ด้วยการใช้กำลังทหารสลายการชุมนุมเรียกร้อง “การเลือกตั้ง” ตามระบอบประชาธิปไตยของประชาชน ที่ทำให้มีคนตายมากถึง 91 ศพ บาดเจ็บกว่า 2,000 คน และ 2) ต่อการที่รัฐละเมิดศีลข้อ 4 ด้วยการผลิตสร้าง “วาทกรรมฉ้อฉล” เช่น ขอคืนพื้นที่ กระชับวงล้อม คืนความสุขให้คนกรุงเทพฯ เป็นต้น ที่โดยสาระแล้วเป็นการให้ความสำคัญกับ “พื้นที่ทางกายภาพ” เช่น ถนนหนทาง การจราจร ความสะดวกสบายของคนเมือง มากกว่า “พื้นที่ทางเสรีภาพและสิทธิทางการเมือง”4 และทำให้พื้นที่ทางกายภาพเช่นนั้นสำคัญกว่า “ชีวิต” ของประชาชน พระสงฆ์ที่ “วาง เฉย” คือ คณะสงฆ์ หรือสถาบันสงฆ์ แต่ที่จริง “การวางเฉย” ต่อเหตุการณ์ประชาชนถูกฆ่าต้องถือว่าเป็น “ท่าทีทางศีลธรรม” แบบ “เลือดเย็น” และในฐานะที่สถาบันสงฆ์เป็นสถาบันทางการเมืองแท้ๆ (ในฐานะเป็นตัวแทนสถาบันศาสนา อันเป็นหนึ่งในสามของสถาบันหลัก “ชาติ ศาสน์ กษัตริย์”) ท่าที “วางเฉย” ก็คือ “ท่าทีทางการเมืองที่เลือกข้างรัฐ” ในแง่ของความเป็นสถาบันหลักทางศีลธรรมของสังคม “การวางเฉย” ก็คือ ท่าทีทางศีลธรรมที่ปฏิเสธความรับผิดชอบต่อการปกป้องศีลธรรมทางสังคมนั่นเอง

หรือพูดอีกอย่างว่า การวางเฉยของคณะสงฆ์ต่อการที่รัฐใช้ความรุนแรงต่อประชาชน เป็นจุดยืนที่อยู่บน ‘ภา วะหลับใหลทางศีลธรรม’ และโดยสภาวะหลับใหลเช่นนั้น จึงทำให้คณะสงฆ์นอกจากจะไม่รู้ร้อนรู้หนาวต่อความตายของประชาชนแล้ว ยังไม่รู้ตัว (หรือรู้สึกผิดใดๆ) กับการที่กลายเป็นแนวร่วมโดยปริยายของฝ่ายผู้มีอำนาจรัฐ และ/หรือ “อำนาจนอกการเลือกตั้ง” ที่กระทำการอันละเมิดหลักศีลธรรมทางพุทธศาสนา!

ส่วนพระสงฆ์และองค์กรชาวพุทธที่ออกมาเรียกร้องสันติวิธี ที่ยืนยัน “การ ไม่เลือกข้างทางการเมือง” และพยายามเรียกร้องทั้งฝ่ายรัฐบาลและผู้ชุมนุมไม่ให้ใช้ความรุนแรงต่อกัน ให้ใช้การเจรจาหรือสันติวิธีในการแก้ปัญหา ดูเหมือนว่าการแสดงบทบาทในแนวทางเช่นนี้จะเป็นที่ยอมรับของสังคมชนชั้นกลาง แต่หากมองลึกลงไปในรายละเอียด การพยายามรักษา “ความเป็นกลาง” ทำให้กลุ่มนี้ทำได้เพียงเรียกร้องให้ทั้งสองฝ่ายใช้สันติวิธีต่อกันเท่านั้น ไม่สามารถวิจารณ์หรือ “ประท้วง” ต่อรัฐบาล และ/หรือ “อำนาจนอกการเลือกตั้ง” ที่ละเมิดศีลธรรมทางพุทธศาสนาโดยตรง (ศีลข้อ 1 และ ข้อ 4) ซึ่งทำให้ประชาชนบาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก และฉ้อฉลต่อการใช้เสรีภาพและสิทธิทางการเมืองของประชาชนดังกล่าวแล้ว

ปัญหาสำคัญที่สุดของพระสงฆ์ฝ่ายเป็นกลาง คือ จะ “เป็นกลางทางศีลธรรม” ได้อย่างไร?

ส่วนกลุ่มพระสงฆ์ที่ออกมาชุมนุมร่วมกับคนเสื้อแดง หากมองในเชิง “ภาพ พจน์” ที่ดูไม่สำรวม ซื่อๆ แบบชนบท หรือออกทางก้าวร้าวในบางโอกาส ย่อมไม่เป็นที่ยอมรับของสื่อ นักวิชาการ และชนชั้นกลางในเมืองผู้มี “จริตนิยม” เรียกร้องความสมบูรณ์แบบจากคนอื่น แต่ไม่มีนิสัยตรวจสอบตนเอง และหากมองในเชิงหลักการพระธรรมวินัย ก็ดูเสมือนว่าพระเหล่านี้ดูจะไม่ปกป้องความเป็นอิสระของพระธรรมวินัยจากความ เป็นฝักฝ่ายทางการเมืองเอาเสียเลย
แต่สำหรับผมแล้ว พระสงฆ์ที่ชุมนุมร่วมกับคนเสื้อแดง เป็นพระสงฆ์ที่แสดงออกถึงการมี “หัวใจ” ที่รู้ร้อนรู้หนาวต่อ “ความไม่เป็นธรรมทางการเมือง” “การละเมิดศีลธรรมพุทธศาสนา” และ “ความตาย” ของประชาชน ย่อมถือว่ามีความรับผิดชอบทางศีลธรรมมากกว่าพระสงฆ์กลุ่มใดๆ
กล่าว คือ เป็นความรับผิดชอบที่สามารถอธิบายบทบาทของตนเองได้ ซึ่งในที่นี้คือบทบาททางศีลธรรมของพระสงฆ์ ต่อการที่รัฐใช้ความรุนแรงปราบรามการชุมนุมของประชาชน ที่สามารถอธิบายต่อสาธารณะได้ว่า ตัวท่านเองที่ออกมาชุมนุมทางการเมืองกับคนเสื้อแดง (ยัง) มี “หัวใจ” หรือมี “ความรู้สึก” ต่อความไม่ถูกต้อง ความอยุติธรรม (แม้ในความหมายตามที่ท่านเข้าใจยังอาจตั้งคำถามกันได้) รู้ร้อนรู้หนาวต่อความตาย ความสูญเสียของเพื่อนมนุษย์ และการละเมิดศีลธรรมพุทธศาสนาด้วยการฆ่าประชาชน!
ซึ่งต่างจาก “การ วางเฉย” ของคณะสงฆ์ที่เป็นตัวแทน “สถาบันสงฆ์” ที่ไม่สามารถอธิบายเหตุผลใดๆ ได้ถึงความรับผิดชอบทางศีลธรรมอันเป็นบทบาทที่สถาบันสงฆ์พึงมี ในฐานะที่เป็นสถาบันทางสังคมที่สำคัญสถาบันหนึ่งที่จำเป็นต้อง “มีความหมาย” ต่อการจรรโลงสันติภาพในสังคม
ส่วนพระสงฆ์ที่แสดง “ความ เป็นกลาง” ท่านจะอธิบาย “ความเป็นกลางทางศีลธรรม” ได้อย่างไร พูดตรงๆ คือท่านจะอธิบายต่อ “มโนธรรม” ของตนเอง และต่อ “มาตรฐานศีลธรรม” ในฐานะศิษย์ตถาคต ได้อย่างไรว่า ท่าน “ควรเป็นกลาง” ในสถานการณ์ “หมาป่ากับลูกแกะ” (ที่ “อาจจะ” นับศพ “เหยื่อ” ยังไม่เสร็จด้วยซ้ำ?!)
เชิงอรรถ
1 พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต).กรณีสันติอโศก.(กรุงเทพฯ: เปรียญธรรมสมาคม,2531).หน้า 27.
2 ในพุทธศาสนาไม่มีหลักการว่า “พระสงฆ์ไม่ควรยุ่งเกี่ยวกับการเมือง” เพราะวินัยสงฆ์ไม่ได้ห้ามไว้ แม้หลักการที่ว่า “พระสงฆ์ควรเป็นกลางทางการเมือง” พระสงฆ์ประเทศอื่นๆ ก็ไม่มี พระศรีลังกาสมัคร ส.ส.ได้ พระพม่าเลือกข้างทางการเมืองได้ พระธิเบตปกครองประเทศเสียเอง เป็นต้น
3 http://th.wikipedia.org/wiki%E0%B8%81% E0%B8%A3% E0%B8%B1% E0%B8%90%E0~B8~9A...1/9/2553.
4 ข้อสังเกตนี้ผู้เขียนได้รับฟังจาก ดร.เกษม เพ็ญภินันท์ อาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ให้สัมภาษณ์ทาง Voice Tv.