WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, September 5, 2010

เรื่องเล่า nostalgia : กรณีเสกสรรค์กับอองซานซูจีและนักวิชาการ"ประชาธิปไตย"ปี 2538 และ 2553

ที่มา ประชาไท

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

ชื่อบทความเดิม :
เรื่อง เล่า nostalgia : กรณีเสกสรรค์กับอองซานซูจีและนักวิชาการ"ประชาธิปไตย"ปี 2538 กับกรณีนิธิ-เสกสรรค์-กรรมการปฏิรูปประเทศ และนักวิชาการ"ประชาธิปไตย"ปี 2553

ม่านฟ้ายามค่ำ ดั่งม่านสีดำม่านแห่งความร้าวระบม
เปรียบเหมือนดวงใจ มืดทึบระทม พ่ายแพ้ซานซมพัดพรากบ้านมา .........

แว่วเสียงก้องกู่ จากขอบฟ้าไกล แว่วดังจากโพ้นนภา
บ้านเอ๋ยเคยเนาว์ กังวานครวญมา รอคอยเรียกข้าอยู่ทุกวัน

จิตร ภูมิศักดิ์, เสียงเพรียกจากมาตุภูมิ (2503-2505)

ผม เป็นคนที่ฝรั่งเรียกว่ามีอาการ nostalgia สูงมาแต่ไหนแต่ไร nostalgia เป็นคำลาติน แปลตรงๆว่า "โรคคิดถึงบ้าน" (homesickness "โรค" [sickness] เพราะเป็นคำที่คิดขึ้นในวงการแพทย์ก่อน ในปี 1688 ต่อมาถึงปัจจุบัน ไม่เพียงแต่ใช้ในความหมายของ "โรคคิดถึงบ้าน" ตามการแพทย์-จิตวิทยาเท่านั้น ยังหมายถึงอารมณ์ความรู้สึกแบบที่เรียกว่า "ความรู้สึกโหยหาแบบขมปนหวานถึงสิ่ง, คน, และสภาพการณ์ ในอดีต" [a bittersweet longing for things, persons, or situations of the past] ด้วย) - หลังขบวนการฝ่ายซ้ายล่มปี 2525 รู้สึกตัวเอง "ไม่มีบ้าน" บางเวลาเหมือนจะเจอ "บ้าน" แต่สุดท้ายกลายเป็นเพียง illusion (ภาพลวง) ไป ช่วงใกล้ๆนี้ ยิ่งมีเรื่องที่ทำให้เกิดอาการของ "โรค" นี้ "กำเริบ" หนัก

เรื่องเล่าต่อไปนี้ คงเป็นส่วนหนึ่งของอาการ nostalgia ที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ . . . .

เดือน สิงหาคม 2538 (คือครบ 15 ปีในช่วงนี้พอดี) ธรรมศาสตร์มี เอนก เหล่าธรรมทัศน์ เป็นรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มีเสกสรรค์ ประเสริฐกุล เป็นคณบดีรัฐศาสตร์ ก่อนหน้านั้นไม่กี่ปี (2534) คณะกรรมการรางวัลโนเบลได้ประกาศมอบรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพให้กับ อองซานซูจี โดยที่เธอเองยังคงถูกกักกันตัวในบ้านพักในพม่าโดยกลุ่มเผด็จการทหารที่เรียก ว่า "สล็อก" เมื่อมีการประกาศรางวัลนี้ บังเอิญในเดือนกรกฎาคม 2538 นั้น "สล็อก" ได้ปล่อยตัวซูจีจากการกักกันในบ้าน และมีข่าวว่าซูจีอาจจะเดินทางไปรับรางวัลอันมีเกียรตินั้นที่สวีเดน ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้น ก็หมายความว่าเธอจะต้องเดินทางผ่านเข้ามาในประเทศไทยก่อนจะไปยุโรป ภายหลังต่อมา ซูจีตัดสินใจเด็ดเดี่ยวไม่ไปรับรางวัล เพราะเธอทราบดีว่ากลุ่มเผด็จการทหารพม่าต้องการให้เธอออกนอกประเทศ ถ้าเธอเดินทางออกไป จะไม่มีวันกลับเข้าพม่าได้อีก เธอตัดสินใจอยู่ร่วมชะตากรรมกับเพื่อนร่วมชาติในพม่า (หลายปีต่อมา แม้แต่สามีเธอที่กำลังป่วยตายและมีงานศพในอังกฤษ เธอก็ไม่สามารถไปพบหน้าเป็นครั้งสุดท้ายได้ และ "สล็อก" ก็ไม่ยอมให้วีซ่าสามีเธอเข้าพม่า) แต่ในระหว่างที่ยังมีความไม่แน่นอนว่าเธออาจจะเดินทางไปรับรางวัลก็ได้นั้น เอนกในฐานะรองอธิการบดีวิชาการได้ผลักดันให้ธรรมศาสตร์ออกคำเชิญให้เธอแวะ เยี่ยมธรรมศาสตร์ เพื่อรับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ที่อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ เคยมีมติเป็นเอกฉันท์เสนอต่อสภามหาวิทยาลัยและสภาฯรับรอง ให้เธอตั้งแต่ปี 2534 (แต่เธอยังไม่เคยมีโอกาสมารับ เช่นเดียวกับรางวัลโนเบลดังกล่าว)

ปรากฏ ว่าเมื่อมีข่าวธรรมศาสตร์จะเชิญซูจีมารับปริญญากิตติมศักดิ์เช่นนี้ ทางการทหารไทยได้ออกมาแสดงท่าทีไม่พอใจ ท้วงติงไม่ให้ธรรมศาสตร์เดินหน้าตามแผนการเชิญนั้น

สิ่งที่หลายคนไม่ คาดคิดคือ ในต้นเดือนสิงหาคมนั้นเอง เสกสรรค์ได้ตีพิมพ์บทความใน ผู้จัดการรายสัปดาห์ แสดงความเห็นด้วยกับท่าทีของทางการทหารไทยและไม่เห็นด้วยกับการที่ธรรม ศาสตร์จะเชิญซูจีมารับปริญญา เหตุผลที่เสกสรรค์ให้คือ ไทยมีผลประโยชน์ร่วมกับพม่าในแง่การลงทุนและการค้า ดังนั้น "ข้อท้วงติงจากกองทัพเป็นสิ่งที่มหาวิทยาลัยควรรับฟัง เพราะปกติแล้วเขาแบกปัญหามากกว่าเรา รวมทั้งอาจจะกำลังเจรจาต่อรองอะไรกันอยู่ซึ่งเราไม่ควรไปทำให้เขาเสีย เปรียบ"

ท่าทีของเสกสรรค์ดังกล่าว สร้างความกระอักกระอ่วนไม่สบายใจให้กับนักวิชาการที่ผมขอเรียกว่า "นักวิชาการฝ่ายประชาธิปไตย" ไม่น้อย ในจำนวนนี้ มี "ช" และ "ธ" นักวิชาการชื่อดังระดับนานาชาติ รวมอยู่ด้วย แต่ความที่ทั้ง "ช" และ "ธ" เป็น "รุ่นน้อง" ของเสกสรรค์โดยตรง (ทั้งในแง่รุ่นน้องคณะและรุ่นน้องขบวนการนักศึกษา 14 ตุลา) ก็เลยอาจจะรู้สึกไม่อยากจะเขียนอะไรออกมาวิจารณ์ตรงๆ "ช" และ "ธ" จึงไปคุยกับ "พ" นักวิชาการรุ่นใหม่ที่เพิ่งจบได้ปริญญาเอกจากเมืองนอกมาหมาดๆในปีนั้นเอง แล้วก็ "กระตุ้น" (หรือเรียกว่า"ยุ"ก็ได้) ให้ "พ" เขียนบทความออกมาวิจารณ์บทความของเสกสรรค์ ความจริง "พ" เองอ่านบทความเสกสรรค์แล้วก็ไม่พอใจ และกำลังนึกอยากเขียนอะไรออกมาตอบโต้อยู่แล้ว ("พ" ทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกด้านประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียอาคเนย์) ก็เลยลงมือเขียน บทความวิจารณ์เสกสรรค์ของ "พ" ได้รับการตีพิมพ์ใน ผู้จัดการรายวัน ในช่วงกลางเดือนสิงหาคมนั้นเอง . . . .

ผมขอจบ "เรื่องเล่า" นี้เพียงเท่านี้ ไม่ลงไปในรายละเอียดมากกว่านี้ และผมไม่ขอพูดต่อ เพราะประเด็นที่ "เล่า" เรื่องนี้ อยู่ที่...

ปี 2553 นิธิ เอียวศรีวงศ์ ซึ่งบรรดานักวิชาการ"ประชาธิปไตย"ยอมรับนับถือเป็นเอกฉันท์ว่าเป็นนัก วิชาการปัญญาชนทีมีความสำคัญทีสุดของยุคสมัย (และแน่นอน ตัวเสกสรรค์ ประเสริฐกุลเอง) ได้ตอบรับเข้าร่วมเป็น "กรรมการปฏิรูปประเทศ" ของรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่กี่สัปดาห์หลังจากรัฐบาลอภิสิทธิ์ทำการปราบปรามการชุมนุมที่ราชประสงค์ ของ "คนเสื้อแดง" ทำให้มีคนตาย พิการ บาดเจ็บ สูงสุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทยสมัยใหม่

ถ้ามองจากจุดยืนของนัก วิชาการ"ประชาธิปไตย" ทั้งสองกรณีที่ห่างกัน 15 ปีนี้ ล้วนแต่เป็นเรื่องที่ควรคัดค้านไม่เห็นด้วย วิพากษ์วิจารณ์ทั้งคู่ (ผมขออนุญาตไม่อภิปรายให้เหตุผลในทีนี้ ใครทีสนใจ ในกรณีเสกสรรค์เมื่อ 15 ปีก่อน กรุณาไปหาอ่านบทความของ "พ" ดังกล่าว ส่วนกรณี กรรมการปฏิรูปประเทศ กรุณาดูบทวิจารณ์นิธิของผมที่เผยแพร่ทาง ประชาไท และ มติชนออนไลน์ ไม่กี่วันก่อน)

ถ้า เปรียบเทียบการเข้ารับเป็นกรรมการปฏิรูปประเทศของนิธิ(และเสก สรรค์)นี้ กับบทความสนับสนุนทหารกรณีอองซานซูจีของเสกสรรค์เมื่อ 15 ปีก่อน คงไม่มีใคร โดยเฉพาะในบรรดานักวิชาการ"ประชาธิปไตย" เอง ปฏิเสธได้ว่า กรณีที่เพิ่งเกิดขึ้นมีความสำคัญ และมีผลสะเทือนกว้างขวางใหญ่โตมากกว่าอย่างชนิด"ขาดลอย" 15 ปีก่อน มีสักกี่คนที่รู้เรื่องบทความเสกสรรค์ นอกจากในแวดวงนักวิชาการและผู้อ่านบทความ นสพ. จำนวนแคบๆ? แต่กรณีรับเป็นกรรมการปฏิรูปประเทศ มีใครในประเทศนี้ตั้งแต่คนแก่ถึงลูกเด็กเล็กแดง ที่ไม่ทราบข่าว? (ในแง่การเผยแพร่ต่อสาธารณะ เมื่อ 15 ปีก่อน เสกสรรค์หลังจากบทความดังกล่าวแล้ว ก็ไม่ได้เขียนต่อเนื่องอะไรออกมา แต่หลังการเข้ารับเป็นการกรรมการปฏิรูปประเทศแล้ว ทั้งเสกสรรค์และนิธิ ให้สัมภาษณ์เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับการเข้าไปรับตำแหน่งทั้งทางสิ่ง พิมพ์และทางทีวีอย่างใหญ่โต) กรณีอองซานซูจีในปี 2538 กับกรณีการฆ่าหมู่ที่ราชประสงค์ในขณะนี้ ก็ห่างไกลกันลิบลับในแง่ความสำคัญ

แต่ สิ่งที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัดที่ผมต้องการเสนอในที่นี้คือ ในปี 2538 อย่างน้อย ยังมีนักวิชาการ"ประชาธิปไตย"บางคน มีความกล้าหาญทีออกมาตอบโต้วิจารณ์ (โดยเฉพาะกรณี "พ" นั้นต้องนับว่าเป็น "ความใจถึง" ไม่น้อย เพราะเพิ่งจบใหม่ ยังไม่มีงานทำ และเสกสรรค์ก็เป็น "ผู้อาวุโส" ระดับ "ปูชนียบุคคล" ของคณะรัฐศาสตร์ที่จะต้องเป็นเป้าหมายการสมัครงานของเขาแน่ๆ - "พ" เป็น "ลูกหม้อคณะ" คนหนึ่ง) แต่ในปีนี้ ในเรื่องที่มีความสำคัญอย่างใหญ่หลวงมากกว่าอย่างเทียบกันไม่ได้กับเรื่อง เมื่อ 15 ปีก่อนนี้ นักวิชาการ"ประชาธิปไตย"หายไปไหนกันหมด?

.................................

ปล. ในวรรณกรรมที่เกี่ยวกับปัญญาชนในประเทศฝรั่งเอง ประเด็น (theme) หนึ่ง ที่มักมีการยกขึ้นมาพูดบ่อยๆคือ "สมัยนี้ ปัญญาชนหายไปไหน" โดยมักจะยกเปรียบเทียบว่า "สมัยนี้" (คือสมัยที่มีการพูดประเด็นนี้) "ไม่เหมือนสมัยก่อน" คือ ไม่มี "ปัญญาชนที่แท้จริง" (real intellectuals) นักวิชาการคนหนึ่งได้วิจารณ์ว่า ประเด็นแบบนี้ มีลักษณะของอคติอยู่ เพราะใน "สมัยก่อน" ที่เชื่อกันว่า มี "ปัญญาชนแท้จริง" นั้น คนร่วมสมัยนั้นเอง ก็มักจะพูดเหมือนกันว่า "สมัยนี้" (คือ "สมัยก่อน" ของเรา) "ไม่มีปัญญาชนแท้จริง" และ "สมัยก่อน" ของ "สมัยก่อน" ก็จะพูดในลักษณะเดียวกัน ต่อๆกันไปไม่จบสิ้น พูดแบบภาษิตก็อาจจะได้่วา The grass always look greener on the other side of the fence ("หญ้าในพื้นที่คนอื่นดูเขียวกว่าของเราเองเสมอ") (ดูการวิจารณ์เรื่องนี้ใน Stefan Collini, Absent Mind: Intellectuals in Britain. 2006 หนังสือนี้ ในแง่หนึ่งจัดว่าเป็นหนังสือชั้นยอดที่อภิปรายปัญหาปัญญาชน) ในเรื่องนี้ อย่างที่บอกแต่ต้นว่า ผมเป็นคนมีลักษณะ nostalgia สูง ดังนั้น the grass always look greener yesteryears ("หญ้าในอดีตดูเขียวกว่าหญ้าปัจจุบันเสมอ") เป็นธรรมชาติอยู่แล้ว แต่ผมยังเห็นว่า เฉพาะประเด็นนี้ ไม่แน่ว่า การมองเช่นนี้ ไม่ตรงความจริง หรือเป็น "อคติ" เสมอไป นั่นคือ ผมเชื่ออย่างเป็นเหตุผลและมีข้อมูลด้วยว่า กรณีที่พูดถึงข้างบนนี้ ไม่ใช่มาจาก "อาการ" ของ "โรคคิดถึงบ้าน" ของผมเองเท่านั้น

(หมายเหตุ กอง บก. ประชาไท ได้ตัดทอนบางส่วนจากต้นฉบับเดิม)