ที่มา ประชาไท พลันที่ได้อ่าน “ไม่เถียงแต่ด่า” ของ คุณคำ ผกา ในมติชนสุดสัปดาห์ฉบับล่าสุด (3-9 ก.ย.53) มีเนื้อหาวิวาทะที่เธอมีต่อวิสัชนาของพระไพศาล วิสาโล ที่ตอบข้อวิพากษ์ของคุณภัควดีที่มีต่อบทสัมภาษณ์ของพระไพศาล(http://www.visalo.org/article/letterToPakawadee.htm) บทความ “ไม่เถียงแต่ด่า” กระตุกความสนใจตั้งแต่กองบรรณาธิการ คิดคำประกอบพาดปกหนังสือ “ไม่เถียง แต่ “ด่า” อุบาสิกี คำ ผกา ขึ้น”ธรรมาสน์” เทศน์ พระไพศาล วิสาโล” อยู่ใต้ภาพหวือหวาเป็นเปลือยครึ่งตัวอลังการด้วยเสดสี อวดเต้าปทุมถันคู่งามที่เจ้าของโพสท่าถ่ายเชิงศิลปะอย่างหน้าระรื่น http://www.mbu.ac.th/index.php?option=com_content&task=view&id=543&Itemid=148
เพื่อไทย
Friday, September 10, 2010
เมื่อละอ่อนร่องอกงาม .. ด่าพระไพศาล
พระพิศาล วิสาโล สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เคยมีบทบาทร่วมในแนวทางอหิงสาต่อเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 จนเป็นเหตุให้ถูกล้อมปราบภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และถูกคุมขังในเรือนจำเป็นเวลา 3 วัน ปัจจุบันเป็นพระนักเผยแผ่ นักคิดนักเขียนพระพุทธศาสนารุ่นใหม่ มีผลงานปรากฏในรูปสื่อโทรทัศน์ หนังสือ และบทความออกมาอย่างสม่ำเสมอ
บทบาทพระสงฆ์ในสังคมไทยนอกจากเป็นผู้นำด้านจิตวิญญาณ และเป็นตัวแทนในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ แล้ว ตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบันบทบาทพระสงฆ์ที่มีต่อการเมืองการปกครองของไทยมักเป็นภาพสะท้อนของแต่ละบริบทของสังคมในแต่ละช่วง
หลังจากกรุงศรีอยุธยาแตกเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ เจ้าพระฝาง มหาเถราจารย์ชาวเหนือ เป็นก๊กใหญ่ก๊ก 1 ใน 5 มีเจตนาดีที่จะรวมประเทศให้เป็นหนึ่ง แต่สุดท้ายทุกก๊กถูกปราบโดยก๊กสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เจ้าพระฝาง มีสถานภาพเป็นพระภิกษุแต่ก็มีส่วนในการช่วยบ้านเมืองดังทราบกันดีในประวัติศาสตร์ชาติไทย
สมเด็จพระพนรัตน วัดป่าแก้ว ต้นตำหรับพระสงฆ์กับการเมืองไทย อันจะเป็นแบบอย่างของการเกี่ยวข้องกับการเมืองของพระสงฆ์ไทยในปัจจุบันนี้
เมื่อครา พ.ศ. 2135 สมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับสมเด็จพระเอกาทศรถทรงทำยุทธหัตถีมีชัยชนะเหนือกรุงหงสาวดี ภายหลังชัยชนะในครั้งนั้น สมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้โปรดให้ลูกขุนปรึกษาโทษข้าราชการชั้นแม่ทัพนายกองที่ทิ้งให้สองพระองค์พลัดหลงอยู่ในวงล้อมข้าศึก มีโทษถึงประหารชีวิตหลายคน
สมเด็จพระนพรัตน เป็นผู้มีปรีชาสามารถ แตกฉานในพระพุทธวจนะ ได้พาพระราชาคณะ ๒๕ รูป เข้าไปเฝ้าถวายพระพรถามข่าวสงคราม และด้วยวาทะหลักแหลมของท่าน ได้ช่วยให้บรรดาข้าราชบริพารซึ่งถูกตัดสินประหารชีวิตแล้ว ให้รอดพ้นจากพระราชอาญาโทษได้
ต้นปีระกา พ.ศ.2308 กษัตริย์พม่าประสงค์จะตีกรุงศรีอยุธยา จึงให้กองทัพเข้ามาทางเมืองเชียงใหม่ ลงมาตีกรุงศรีอยุธยา ก่อนที่กรุงศรีอยุธยาจะเสียเอกราชเป็นครั้งที่ ๒ นั้น ได้เกิดวีรกรรมขึ้น ชาวบ้านเมืองสิงห์ เมืองวิเศษไชยชาญ เมืองสรรค์ได้รวมตัวกันที่บ้านบางระจัน ต่อสู้กับพม่าอย่างเต็มกำลังความสามารถไม่ให้กรุงศรีอยุธยาแตกได้ถึง ๕ เดือน โดยมีพระอาจารย์ธรรมโชติ พระเกจิอาจารย์ชื่อดังในยุคนั้นได้มาเป็นที่พึ่งทางใจบำรุงขวัญและกำลังใจของชาวบ้านด้วยการลงผ้าประเจียดและตะกรุด พิศมร แจกจ่ายแก่ชาวบ้านและผู้นำชาวบ้านที่ค่ายบางระจัน
หรือแม้แต่ต้นกรุงรัตนโกสิทร์ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหมรังสี) มีความเป็นห่วงว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.๔) จะทรงหมกมุ่นในเรื่องกามคุณเพราะ สมัยนั้นมีข้าราชบริพารนิยมเอาบุตรหลานทั้งชายหญิงเข้ามาถวายตัวรับใช้ในพระราชวังมาก ผู้ชายเข้าไปเป็นมหาดเล็ก แต่สำหรับผู้หญิงก็ต้องไปเป็นพระสนม เมื่อพระสนมมีมาก พระเจ้าอยู่หัวก็ต้องทรงดูแลใส่พระทัยมากไปด้วยเหมือนกัน
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) เกรงว่า พระเจ้าอยู่หัวจะทรงหมกมุ่นในเรื่องมาตุคามมาก จนหลงลืมราชการบ้านเมืองไป เวลากลางวันแสก ๆ จึงได้จุดไต้เข้าไปในพระราชวัง ในระหว่างที่เดินไปนั้น พร่ำพูดว่า “ในวังนี้ไม่มืดมนนักหรอก !”
พวกข้าราชบริพารพบท่านเข้า จึงได้นำความขึ้นกราบทูลให้ทรงทราบ พระเจ้าอยู่หัวจึงเสด็จออกมาที่พระลานหน้าพระราชวังแล้วก็ตรัสกับสมเด็จพระพุฒาจารย์ว่า “ รู้แล้วล่ะ เออ กลับไปเถอะ”
กล่าวเช่นนี้ ใช่ว่าจะยกให้พระไพศาล มีกฤษฎาบารมีเยี่ยงอดีตมหาเถราจารย์ เพียงแต่จะชี้ให้เห็นว่าบทบาทพระสงฆ์กับการเมืองก็มีบ้างตามยุคตามสมัย อยู่คู่สังคมไทยมาเนิ่นนาน กรณีพระไพศาลผมก็หาได้เห็นด้วยกับบทสัมภาษณ์และงานเขียนของพระไพศาลทั้งหมด เพียงแต่อยากให้ปุถุชนทึบหนาเช่นเราฉุดคิดว่าเราควรกำหนดท่าทีต่อบทบาทของพระสงฆ์อย่างไร จึงจะพองาม และพระสงฆ์เองก็ควรตระหนักในบทความร่วมสมัยของท่านด้วย
กรณีบทความ “ไม่เถียงแต่ด่า” ที่คุณคำ ผกา มีต่อพระไพศาล นั้น เมื่อผมบรรจงอ่านไล่เลียงไปจนจบ โดยระหว่างบรรทัดนั้น ค่อนจะตะขวิดตะขวางต่อวลีไม่สุภาพคล้ายผรุสวาจาที่เธอประดิษฐ์ประดอยออกมาเป็นระยะๆ บางคำถึงขั้นเพื่อนฝูงหรือแม้แต่น้องๆ ในสำนักงาน ยิงคำถามใส่ผมว่า “คิดอย่างไร ” เพราะรู้ว่าผมเคยอยู่ในแวดวงดงขมิ้นมาก่อน เป็นมากกว่าขะโยม (เด็กวัด) เสียด้วยซ้ำ
ผมเป็นชาวเหนือค่อนจะภูมิใจและติดตามงานของคุณคำ ผกาที่มีพื้นเพอยู่ไม่ไกลกันนัก ผมเองเห็นด้วยและคล้อยตามหลายประเด็นที่ คุณคำ ผกา ได้วิจารณ์แนวการสัมภาษณ์และบทความของพระไพพล อย่างเรียกได้ว่าแทบจะพูดแทนได้ดียิ่งกว่าที่ใจคิด เพราะจากการติดตามงานของพระไพศาล พักหลังๆ ก็ดูจะค่อนไปอย่างที่คุณคำ ผกา วิจารณ์อยู่บ้าง แต่บางทีคำบางคำที่จะใช้สำหรับบางสถานะบุคคลต้องคำนึงถึงมารยาททางสังคมด้วย น่าจะเหมาะ
เอาหละ..ครับ..ในที่นี้ขอนำบางช่วงที่คุณคำ ผกา นำเสนอไว้ “ ได้อ่านบทสัมภาษณ์และบทความของพระไพศาล วิสาโล อยู่เนือง ๆ ตามหน้าหนังสือพิมพ์ในช่วงสาม-สี่เดือนที่ผ่านมาด้วยความอดทน เพราะยิ่งอ่านยิ่งสัมผัสถึงความดัดจริตของท่านชัดเจน” ...ยิ่งวรรคทองที่เธอขมวดว่า “อ่านแล้ว แหวะ แหวะ จะอ๊วก! (และนั่น คืออารมณ์ที่แท้ของฉันเมื่ออ่านบทความพระไพศาล” เป็นไงครับ..สะอึกไหม ถ้าเป็นคนจำพวกฮาร์ดคอร์ดุเดือดเลือดพล่านก็คงสะใจ แต่หากลึกซึ้ง ละเอียดอ่อนจะว่ากระไร
ท่านผู้อ่านลองทบทวนประโยคนี้ของ คุณคำ ผกา “ท่านพูดออกมาได้อย่างไรว่า ตราบใดที่ผลการสอบสวนยังไม่ออกมาว่า “ใครฆ่า” อภิสิทธิ์ยังมีความชอบธรรมที่จะเป็นหัวหน้าคณะรัฐมนตรีเป็นนายกรัฐมนตรี! นี่เป็นสิ่งที่พระอย่างท่านต้องทบทวนให้จงหนัก ต้องล้วงลึกตรวจสอบสภาวะจิตใจของท่านให้จงหนักว่า แท้จริงแล้ว ท่านคงความเป็นกลางอย่างที่ชอบอ้างหรือไม่ เพราะนี่หากไม่เป็นการตบตาประชาชน ท่านก็ตบตาตนเองจนบอดสนิท” ดูเหมือนว่าคุณคำ ผกา กำลังสอน(ผมไม่ใช้คำว่าขึ้นธรรมาสน์เทศน์ เพราะไม่ควรยิ่ง) พระไพศาล และได้ตัดสินอะไรบางอย่างในตัวพระไพศาลไปเรียบร้อยแล้ว
ทัศนะที่คุณคำ ผกา มีต่อพระไพศาล หากดูจากคนข้างนอกดูเหมือนว่าจะเป็นการแสดงท่าทีที่ไม่เหมาะสมยิ่ง ตรงบทสรุปของคุณคำ ผกา ที่ขมวดตบท้ายว่า“บอกตามตรงว่ามันน่าขยะแขยงในสายตาโลกียชนอย่างเราๆ” อันที่จริงคุณคำ ผกาควรจะใช้คำว่า “ฉัน” แทนคำว่า “เราๆ” เพราะเชื่อว่ามีปุถุชนในโลกนี้อีกจำนวนไม่น้อย ที่อาจมีความเห็นแย้งกับพระไพศาล แต่จะยังไม่ด่วนสรุปหรือตัดสินท่าน เพียงเพราะมีทัศนะที่ไม่ตรงกันในบางเหตุการณ์ และจะไม่เลือกใช้คำที่ไม่น่าเชื่อว่ากลั่นมาจากผู้ชื่อว่าได้รับการศึกษาถึงปริญญาเอกเช่นนี้
แม้ในบทวิสัชนาของพระไพศาล ท่านเองจะระบุว่า “ใครก็ตามย่อมมีสิทธิที่จะแสดงความเห็นวิพากษ์วิจารณ์อาตมาได้อยู่ดี เพราะพระภิกษุนั้นไม่ควรอยู่เหนือคำวิจารณ์ และสมควรถูกวิจารณ์ด้วยหากคิด พูด หรือทำไม่ถูกต้อง (ในสังคมไทยสมัยก่อน เป็นเรื่องธรรมดามากที่พระจะตกเป็นหัวข้อของการนินทาและวิจารณ์ประชดประชันอย่างเผ็ดร้อนในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ นิทานตาเถรยายชี โดยชาวบ้านที่นับถือพระศาสนา ) ดังนั้นอาตมาจึงเห็นด้วยกับคุณภัควดีว่า “หากจะมีผู้อ่านท่านใดมาวิพากษ์วิจารณ์ด่าว่าผู้เขียน โดยยกเอาบาปกรรมนรกมายัดเยียดให้ ย่อมเป็นเรื่องไร้สาระ”
ถึงกระนั้นท่าทีที่เราควรทำกับพระในฐานะผู้นำด้านจิตวิญญาณหรือจะในฐานะเพื่อนมนุษย์ร่วมโลกก็ตาม ความมุ่งดีต่อกัน ความเป็นกัลยาณมิตรก็ควรหลงเหลืออยู่บ้าง หาใช่คำกล่าวคำหยาบ คำด่า หรือมีเจตนาที่อยู่ในโทสะมูลจิต พูดด้วยอาการกระแทกกระทั้น กดให้ท่านต่ำลง
คุณคำ ผกา “ไม่เถียงแต่ด่า” พระ บาปไม่บาปผมไม่รับรู้ ขึ้นอยู่กับจิตของคุณคำ ผกา แต่หากมองจากมุมมารยาททางสังคมก็ดูจะสุ่มเสี่ยงยิ่งนัก
มีคำฝากเตือนถึงคุณคำ ผกา ด่าพระ ระวัง...ขี้กลากจะขึ้นหัว นรกจะกินกระบาล
ใครจะว่าไร้สาระ ก็ช่างเถอะ.....
……..
อ้างอิง
http://www.src.ac.th/web/index.php?option=content&task=view&id=427