ที่มา Thai E-News
โดย โรเบิร์ต ฮอร์น
ที่มา TIME
แปลโดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
การ เคลื่อนไหวของฝ่ายค้านในประเทศไทย แสดงความกังวลในการโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้เป็นผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพ
เปรียบ เปรยนายพลนี้เป็นเผด็จการทางทหาร และทำนายว่าเขาจะกระทำการหนักหน่วงต่อฝ่ายตรงข้าม การแต่งตั้งประยุทธ์เกิดขึ้นพร้อมกับการแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นการรวบอำนาจเพื่อการรักษาความมั่นคงของรัฐราชการที่มีทัศนะนิยมเจ้า
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้ง แต่เขาใช้อำนาจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในปีนี้ เพื่อตอบโต้การประท้วงของฝ่ายต่อต้านรัฐบาล ที่รู้จักในนาม เสื้อแดง กลับได้เปลี่ยนอำนาจการบริหารความมั่นคง ไปสู่มือของคณะกรรมการที่มีผู้บัญชาการกองทัพ ผู้บัญชาการตำรวจ และนายกรัฐมนตรี เป็นผู้บริหาร พ.ร.ก.ในสถานการณ์ฉุกเฉินได้ถูกประกาศใช้ในพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ การชุมนุมทางการเมืองถูกห้าม และเว็ปไซต์ รวมทั้งวิทยุชุมชนถูกปิดตัวลง การเลือกตั้งท้องถิ่นในกรุงเทพฯ เป็นไปอย่างราบรื่น แต่ยังคงมีระเบิดเกิดขึ้นกระจัดกระจายในตัวเมือง ซึ่งหลายคนกล่าวหาว่าเสื้อแดงเป็นสาเหตุ
กษัตริย์ไทยได้ลงพระ ปรมาภิไธยโปรดเกล้าฯแต่งตั้งประยุทธ์อย่างเป็นทางการเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน แทนผบ.ทบ.คนก่อน หลังจากปลดเกษียณไป ในการตั้งแต่งเขานั้น ประยุทธ์ไม่ค่อยทำให้ความห่วงใยของกลุ่มสิทธิมนุษยชนลดน้อยลง ในเรื่องการเพิ่มบทบาทของกองทัพที่มีมากขึ้น “ในขณะที่สถานการณ์การมืองยังคงมีวิกฤติ กองทัพต้องเป็นผู้นำในการสร้างความมั่นคงและระเบียบในระยะเวลายาวขึ้น” คำพูดของประยุทธ์ถูกอ้างอิงเมื่อวันศุกร์ ในนสพ.บางกอกโพสต์ เขาได้ให้สัญญาก่อนหน้านี้ที่จะนำทหารกลับเข้ากรมกอง ซึ่งเป็นคำกล่าวมาตรฐานของผู้บัญชาการกองทัพ เพื่อให้สาธารณชนคลายความกังวลลง
“สิ่งที่อันตรายก็คือประยุทธ์จะ พยายามที่จะบดขยี้เรา และเป็นไปได้ที่การกดดันเราหนักข้อมากขึ้น” ฌอน บุญประคอง โฆษกของนปช. กล่าว “เขาเป็นผู้บัญ๙การกองทัพที่ตัดสินใจในลักษณะของนายทหารหัวโบราณ” เขากล่าวโดยอ้างถึงเผด็จการทางทหารในสมัยก่อนในประเทศไทย ที่ผู้บัญชาการไม่อดทนอดกลั้นต่อฝ่ายตรงข้าม และใช้อาวุธยุทโธปกรณ์ในการรักษาสถาบันกษัตริย์และฟื้นฟูให้เกรียงไกร ในช่วง ทศวรรษ 1950 และ 1960 (ดูวิดีโอจากที่ชุมนุมประท้วงเสื้อแดง)
กลุ่ม คน เสื้อแดง เป็นที่รู้จักอันเนื่องมาจาก สีเสื้อที่ใส่ นปช.ได้จัดการประท้วงรัฐบาลเป็นระยะเวลากว่า 2 เดือน ตั้งแต่มีนาคมถึงพฤษภาคม บนพื้นที่ใจกลางกรุงเทพฯ โดยเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรียุบสภาและประกาศจัดเลือกตั้งใหม่ กองทัพได้สลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม มีการเผาตึกกว่า 30 แห่งในใจกลางเมืองในขณะเสื้อแดงยุติการชุมนุม และเผาที่ทำการของรัฐบาลในหลายจังหวัด ในช่วงการชุมนุม 2 เดือนนั้น คน 91 คนถูกสังหาร รวมทั้งทหาร 11 นาย และคนประมาณ 2,000 คนได้รับบาดเจ็บ แกนนำเสื้อแดงหลายคนถูกจับกุมตัว และพ.ร.ก. บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ยังคงถูกใช้ในกรุงเทพฯและจังหวัดที่สำคัญ
ประยุทธ์เป็นผู้สั่งการ ในวันที่ 19 พฤษภาคมในการสลายการชุมนุมในกรุงเทพฯ ทั้งนี้อ้างอิงจากรายงานข่าวภาษาอังกฤษ ในบางกอกโพสต์ และเนชั่น และเป็นผู้ผลักดันให้เกิดการปฏิบัติที่หนักหน่วงขึ้นต่อคนเสื้อแดงตั้งแต่ การชุมนุมเริ่มขึ้น ส่วนผู้บังคับบัญชาและที่ปรึกษาของเขา พล.อ. อนุพงษ์ เผ่าจินดา ถูกมองว่าเขาต้องการที่จะปฏิบัติการอย่างระแวดระวังมากกว่า
การ แต่งตั้งประยุทธ์เป็นไปตามการคาดการณ์ และเป็นที่ทราบกันอย่างกว้างขวางว่า ประยุทธ์ นั้น ได้รับโปรดเกล้าฯแต่งตั้งไปแล้วโดย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพล อดุลยเดช เมื่อวันพฤหัสบดี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการแต่งตั้งโยกย้ายประจำปี โดยที่นายทหารประมาณ 550 นายจะได้รับการแต่งตั้งหรือโยกย้าย ประยุทธ์จะเข้ารับตำแหน่งวันที่ 1 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันที่ พล.อ. อนุพงษ์จะเกษียณอายุ เขาเป็นสมาชิกมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ที่เกษียณคนสุดท้าย ซึ่งเป็นกลุ่มที่ทำการรัฐประหารที่ไม่เสียเลือดเนื้อ (bloodless coup) เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 เพื่อขับไล่นายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้ง ทักษิณ ชินวัตร
เสื้อแดงจำนวนมากยังคงสนับสนุนทักษิณ ผู้ซึ่งหลบหนีออกจากประเทศไทย โดยไม่รับโทษจำคุก 2 ปี ในคดีที่ถูกกล่าวหาว่าทุจริตคอร์รัปชั่น เหตุผลหนึ่งที่เสื้อแดงไม่ยอมรับข้อเสนอของอภิสิทธิ์ในการเลือกตั้งใหม่เร็ว ขึ้น เพื่อแลกเปลี่ยนการยุติการชุมนุม อ้างอิงโดยนักวิเคราะห์หลายคนว่า เป็นเพราะวันที่เสนอนั้นเป็นช่วงพฤศจิกายน ซึ่งเป็นช่วงหลังสัปดาห์ที่มีการแต่งตั้งโยกย้ายนายทหาร เสื้อแดงต้องการที่จะรวบรวมอำนาจก่อน เพื่อที่จะป้องกันการแต่งตั้งพล.อ.ประยุทธ์ และแต่งตั้งผบ.ทบ.ที่เป็นมิตรมากขึ้นกับทักษิณ
ตอนนี้เขามีอายุ 56 ปี ประยุทธ์สามารถจะดำรงตำแหน่ง ผบ.ทบ. ยาวนานถึง 4 ปี ก่อนที่จะมีการปลดเกษียณที่อายุ 60 ปี ท่ามกลางเหล่านายพลที่ได้รับการแต่งตั้งในระดับสูง เขาเป็นทหารในสายทหารเสือราชินี ในสายเดียวกับผู้บัญชาการตำรวจคนใหม่ วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ทั้งนี้ตำรวจนั้นถูกมองอย่างกว้างขวางว่ายังคงเห็นใจต่อทักษิณและคนเสื้อแดง ในช่วงการชุมนุม จนได้รับฉายาว่า ตำรวจ “มะเขือเทศ” รวมทั้งบางส่วนของกองทัพถูกมองว่ายังภักดีต่อทักษิณด้วย
นัก วิเคราะห์บางคนได้แสดงความกังวลเพิ่มขึ้น ว่าการให้อำนาจแก่ข้าราชการจากหน่วยงานสายเดียว ที่มีทัศนะในทางการเมืองไปทางเดียว อย่างเป็นที่ประจักษ์เช่นนี้ จะยิ่งสร้างความแตกแยกในกองทัพมากขึ้น