WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, March 4, 2011

นักลงทุนท้อ "รัฐประหาร3ครั้งไม่เท่าหนึ่งมาบตาพุด" ฟัง "ท่านประธานฯ" เปิดใจจากมลพิษถึงประมูล 3 จี

ที่มา มติชน




ประธานศาลปกครองสูงสุด เปิดใจ


ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ วิพากษ์ศาลปกครอง

รับชมข่าว VDO

นักลงทุนญี่ปุ่น ที่ขนเงินมาลงทุนใน มาบตาพุด บ่นเสียงดังๆ ว่า รัฐประหาร 3 ครั้ง ไม่เท่า 1 คดีมาบตาพุด

ถัดมา เมื่อศาลปกครองเบรกประมูล 3 จี เสียงวิจารณ์ดังขึ้นว่า มีไฟฟ้า แต่ ศาลเลือก จุดตะเกียง ... ได้เวลา ทบทวนศาลปกครอง (เสียที)


เหลียวดูศาลปกครอง ในวาระครบรอบ 10 ปี มีคดีเข้ามาสู่ศาลแล้ว 6.2 หมื่นกว่าคดี โดยเฉพาะคดีสิ่งแวดล้อม กำลังกลายเป็นคดีเดิมพันที่สูงมาก


"มติชนออนไลน์" เปิดใจ ดร.หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล ประธานศาลปกครองสูงสุด ในประเด็นร้อน ๆ

ไม่ว่า คุณจะเป็น นักธุรกิจ นักลงทุน เอ็นจีโอ. หรือ ประชาชนทั่วไป ก็ควรอ่าน บทสัมภาษณ์ต่อไปนี้


@ นับจากคดีมาบตาพุด คดีสิ่งแวดล้อมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มาตรฐานของศาลปกครองยึดประโยชน์ของใคร


มันก็มีหลักอยู่ว่าประโยชน์ที่มันขัดกันมันก็ต้องชั่งน้ำหนัก เพราะทุกคนก็อ้างประโยชน์ของตัวเองทั้งนั้น แต่มันก็ต้องมีใครที่ทำผิดกฎหมายหรือทำมิชอบ ถ้าสมมติว่ามันชอบไปหมดก็ต้องชั่งน้ำหนัก แต่ถ้ามันเกิดข้อพิพาทแล้วแสดงว่าต้องมีใครที่ไม่ทำตามที่กฎหมายบัญญัติ ผมคิดว่ามันไม่ยาก


@ถ้าศาลดูแค่กฎหมาย แต่ไม่ดูผลกระทบและความเสียหายทางเศรษฐกิจ จะถูกหรือ


ก็ถูกอยู่ แต่ถ้าเราดูปัญหาความเสียหายในระยะใกล้แต่ไม่ดูที่ระยะไกล เช่น อย่างที่เราบอกว่าเราตัดสิทธิอุตสาหกรรมในมาบตาพุดออกหมด เงินลงทุนจากต่างประเทศก็จะรั่วออกไปหมด แล้วเราาจะเลือกเอาว่าเอาเงินลงทุนมาแต่ความเสียหายระยะยาวคนไทยเป็นโรคมินะมะตะกันหมด มือหงิก มือง่อย หรือคนไทยสมองฝ่อกันหมด เราจะเลือกอะไร


นี่ไง มันต้องชั่งน้ำหนัก เพราะฉะนั้น เมื่อเป็นแบบนี้มันก็ต้องมองว่า มีทางออกที่ดีกว่านี้ไหมที่เราจะต้องเลือกเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง โอเค ลงทุนเราก็ต้องการ ถ้าน้อยหน่อยปัญหามันจะลดลง มันจะเป็นไปได้ไหม มันคงไม่ถึงกับต้องเลือกลงไปเสียทีเดียว


ทูตสหรัฐฯเคยถามผม ผมบอกว่าเราต้องการการลงทุน เพราะเราเป็นประเทศเล็กๆ เราต้องการเงินทุน แต่ท่านก็ต้องเข้าใจปัญหาเพราะฉะนั้น เราก็ควรรับได้เท่าที่สมรรถภาพเท่าที่เราทำได้ตราบที่ไม่กระเทือนถึงระยะยาว เพราะผมคิดว่าผู้บริหารประเทศจะต้องดูเรื่องนี้ ไม่ใช่มองแค่เป็นผู้บริหาร 4 ปี ขอทำแค่ในยุคที่อยู่ ผมคิดว่าไม่พอ ต้องมองไกล ไม่อย่างนั้นแย่ เพราะผู้บริหารสับเปลี่ยนกัน 4 ปีก็ออก อีก 4 ปีก็มาใหม่ ทุกคนก็มาเพื่อที่จะสร้างชื่อให้กับพรรคของตัวเอง หรือชื่อของตัวเอง พอมาผลกระทบระยะยาว ลองสมมติว่าผ่านไปอีก 50 ปี คนอีกรุ่นที่จะขึ้นมา แล้ว "จะขึ้นมาด่าใคร ?" จะตอบว่า พวกคน 50 ปีที่แล้วรับผิดชอบมันก็คงไม่ใช่ มันก็มีแต่จิตสำนึกของคนในขณะนี้เท่านั้นที่จะมองถึงอนาคตอีก 50 ปี ผมคิดแบบนี้นะ


@มีคนวิพากษ์วิจารณ์ว่าศาลเองมีความรู้ความเชี่ยวชาญถ่องแท้มากน้อยแค่ไหนในคดีโทรคมนาคม หรือคดีสิ่งแวดล้อมที่เป็นเรื่องเทคนิค


มั่นใจได้เพราะเหตุว่า เราบอกว่ามันยาก มันซับซ้อน เพราะฉะนั้นเราตั้งคณะกรรมการวิชาการขึ้นมาสนับสนุนการทำคดีของตุลาการในแต่ละด้าน ปัจจุบันเราตั้งคณะกรรมการขึ้นมาแล้ว 5 ชุด แม้ว่าจะยังไม่ครอบคลุมทุกด้านอย่างเช่นในเรื่องกิจการโทรคมนาคม หรือในอนาคตมันจะมีด้านอื่นอีก แต่คงจะอาศัยชุดต่างๆนี้เป็นคนดูแล ทีนี้คณะกรรมการวิชาการนี้ก็จะตั้งมาจากตุลาการศาลสูง กับ ศาลล่าง ซึ่งอาจเกิดถามว่า ไม่รู้ แล้วจะมาให้คำปรึกษาได้อย่างไร การให้คำปรึกษาในรูปคณะกรรมการหมายความว่า คณะกรรมการนั้นต้องมานั่งคุยกันถกกันก่อนหาคำตอบ หรือทางแก้ที่ดีที่สุดเพื่อให้ตุลาการ ซึ่งตุลาการแต่ละคนก็มีงานของตัวเองแล้วจะเอาเวลาที่ไหนมาศึกษา


ด้วยเหตุนี้คณะกรรมการแต่ละชุดก็จะมีคณะอนุกรรมการที่สนับสนุนอีกหนึ่งชุด ซึ่งคณะอนุกรรมการวิชาการก็จะจบปริญญาโทเป็นอย่างน้อย เช่นด้านสิ่งแวดล้อม เจ้าหน้าที่หรืออนุกรรมการก็จะจบสาขาสิ่งแวดล้อมทั้งสิ้น และจบจากต่างประเทศสามารถที่จะศึกษาเปรียบเทียบค้นคว้าได้ เพราะฉะนั้น คนที่ค้นคว้าจริงๆนอกจากตัวตุลาการในกรรมการวิชาการซึ่งท่านมีเวลาน้อย แต่บางท่านก็ทำ หากท่านทำไม่ได้ก็จะให้คณะอนุกรรมการทำอย่างไปดูของฝรั่งเศสบ้าง เยอรมันบ้าง อาจพูดได้เลยว่าเป็นสิ่งใหม่ เรามีคณะกรรมการวิชาการที่แตกต่างจากองค์กรอื่นที่มีกรรมการวิชาการอย่างเช่นในมหาวิทยาลัย ในมหาวิทยาลัยมันคือ กรรมการบริหารวิชาการก็คือกำหนดวางนโยบายทางวิชาการ แต่คณะกรรมการวิชาการของเราคือคนที่จะต้องไปทำงานวิชาการจริงๆ หมายความว่า ต้องถก ยกร่างขณะในการประชุมเลย แต่ก่อนจะยกร่างก็อาจมีคณะกรรมการเล็กๆ 2-4 คน ไปศึกษาหาเหตุผลและมาเสนอที่ประชุม ปรับแก้กันเดี๋ยวนั้น และก็จะมีฝ่ายสนับสนุนอย่างคณะอนุกรรมการช่วย


@คดีมาบตาพุด นักลงทุนญี่ปุ่น พูดถึงขนาดว่า รัฐประหาร 3 ครั้งยังไม่เท่าคดีมาบตาพุด ท่านรู้สึกอย่างไร


ถ้าดูตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นแล้ว มันแทบจะหลุดหมดเลย ผมว่ามันพลิกจากหน้ามือเป็นหลังมือหมดเลยด้วยซ้ำไป เพราะฉะนั้นจะบอกว่าแรง หรือไม่แรงมันพูดอยู่บนฐานของอะไร ถ้าพูดอยู่บนพื้นฐานของเจ้าของโรงงานก็มองว่าแรง แต่ถ้าพูดบนพื้นฐานของคนไทยที่อยู่ในประเทศไทยนี้ ต้องบอกว่า สิ่งที่ทำเป็นสิ่งที่ถูกต้องก็ได้


เมื่อตอนที่ผมเข้ารับตำแหน่งใหม่ๆ เอกอัครราชทูตสวิสฯ เชิญผมไปทานข้าวพร้อมกับทูตอีกหลายประเทศ และปัญหาหนึ่งที่พูดคุยกันคือมาบตาพุด ทูตสหรัฐฯถามผมว่า ท่านรู้ไหมว่าคนอเมริกันมาลงทุนในเมืองไทยแค่ไหน ผมตอบว่า ไม่รู้รายละเอียดแต่รู้ว่ามาก เราก็เป็นประเทศเล็กๆต้องการการลงทุนจากต่างประเทศแน่นอน แต่ท่านก็คงเข้าใจว่า สิ่งที่ท่านลงทุนในประเทศเป็นกิจการที่ท่านไม่ลงทุนในประเทศท่าน เพราะรู้ว่าสิ่งที่เขามาตั้งบ้านเรามันคืออุตสาหกรรมที่มีมลพิษ มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งญี่ปุ่นเองเขาก็รู้ เพียงแต่ของเรา กฎหมายเราทันสมัยอยู่ เรากำหนดมาตรการป้องกันเพียงแต่เราไม่ทำตามที่กฎหมายบัญญัติ


กฎหมายไม่สามารถออกมาเต้นเอง มันอยู่ที่คน เพราะฉะนั้นจะเห็นว่าการออกใบอนุญาตให้ มันไม่ได้ออกตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด หรือหลังจากที่ถูกฟ้องจึงมาทำ ปัญหาของข้อเท็จจริงหลังฟ้องเราเอามาใช้ได้แค่ไหน นั่นก็เป็นประเด็นหนึ่ง แม้เราจะบอกว่ากฎหมายเราค่อนข้างทันสมัย แต่ถามถึงความรอบคอบเนี่ย รอบคอบจริงหรือเปล่า


โอเค แต่ละโรงงานปล่อยมลพิษไม่เกินกับที่กฎหมายกำหนด แต่พอไปตั้งรวมกลุ่มแล้วมันปล่อยกันทุกโรง มันเกินค่ามาตรฐานที่กำหนด ตรงนี้เราไม่คิดมาก่อน ผมเพิ่งไประยอง ไปตรวจศาลปกครองที่นั่น ฟังทั้งตุลาการ และเจ้าหน้าที่พบว่าทั้งๆที่ศาลปกครองระยองเป็นศาลที่ใกล้กรุงเทพฯใครก็น่าจะอยากไปทำงาน แต่เชื่อไหมว่ามีแต่คนอยากจะย้ายออก


@ เพราะมลพิษ ใช่หรือเปล่า


ใช่ มีแต่คนอยากจะย้ายออก เจ้าหน้าที่ก็ไม่อยากอยู่


@ เอกชนเขามองว่าศาลฟังเสียงเอ็นจีโอมากไป


ผมว่าไม่ เราแค่ดูตามตัวบทกฎหมายไม่ต้องฟังเสียงใครเลย เช่นใบอนุญาตที่ออกผ่านขั้นตอน 4 ขั้น ของรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ไหม เงื่อนไขไม่ผ่านก็ไม่ต้องออกใบอนุญาตแล้วไม่ต้องฟังเสียงใครเลย ดูเฉพาะประเด็นข้อกฎหมายล้วนๆก็ชัด


อย่างที่บอกว่า คนที่พูดมีจุดยืนอยู่ที่ตรงไหน ถ้าอยู่ที่เราเป็นรัฐมนตรีที่ต้องระดมเงินลงทุนมาที่ไทย จุดยืนก็จะอีกแบบหนึ่ง แต่ถ้าเราเป็นคนที่จะอยู่ที่นั่นจุดยืนก็จะเป็นอีกอย่าง ตรงนี้เราก็ต้องดูเพราะมลพิษบางอย่างมันไม่ใช่ 1-2 วันก็หมด มันอาจอยู่เป็น 10 ปี เราต้องคำนึงถึงคนในรุ่นต่อไป


@ คดี 3 จีก็ถูกมองว่าถ่วงความเจริญ ตอนนี้ประเทศ เพื่อนบ้านมี 3 จีกันหมดแล้ว


บางทีมันอาจต้องเลือกเอาเหมือนกัน เพราะการที่บอกว่าทำให้ความเจริญมันหยุดยั้ง ทำให้การบริการสาธารณะมันหยุดชะงัก จะเห็นกันว่าตอนที่ฟ้องกันอยู่ ผมคิดว่าคดีหลักมันยังไม่ได้ตัดสิน แต่แค่ตอนกำหนดวิธีการชั่วคราว ฝ่ายหนึ่งก็อ้างสาธารณะประโยชน์ อีกฝ่ายหนึ่งก็อ้างสาธารณะประโยชน์ ก็อ้างกันทั้งคู่


ผมอ่านบทบรรณาธิการในหนังสือพิมพ์หลายฉบับ มีฉบับหนึ่งเขียนวิจารณ์ว่า ศาลปกครองตอนนี้ทิ้งอุดมการณ์ไปแล้ว มีศาลปกครองเพื่อจะดูแลผลประโยชน์สาธารณะ แต่การที่กำหนดมาตรการชั่วคราวของคุณไม่ให้มีการประมูลโทรศัพท์ 3 จี ทำให้มีการวิจารณ์ว่าทำให้ประโยชน์สาธารณะเสียหาย ไม่ทันเพื่อนบ้าน แต่ก็จะมีอีกเสียงบอกว่า ไม่เลย ถึงไม่มี 3 จี มันก็ยังเดินหน้าไปได้อยู่


ลองดูว่าเมื่อมีคำสั่งศาลปกครองสูงสุดไปแล้ว ผลที่ย้อนตีกลับมีแค่ไหน ผมว่ามันน้อยนะที่เรายืนตามศาลชั้นต้น จริงๆแล้วจะต้องไปอ่านคำสั่งของศาลให้ดีโดยเฉพาะคำสั่งศาลสูง จริงๆส่วนใหญ่ที่วิจารณ์กันไม่ได้ดูตัวคำสั่งหรือคำพิพากษาให้ละเอียด เพราะเห็นว่า ในคำพิพากษาศาลแต่ละคำสั่งมีเหตุและมีผลว่าทำไมเราถึงสั่งอย่างนั้น อย่างในกรณี 3 จี มันอยู่ใน"วิธีการชั่วคราว" ลองไปอ่านดูว่ามีเขียนอยู่ว่า กิจการใดที่จะอ้างว่าทำเพื่อสาธารณะประโยชน์ กิจการนั้นก็ต้องชอบด้วยกฎหมาย แต่จริงๆแบบนี้ ชาวบ้านอาจฟังยาก แต่สำหรับนักกฎหมายแล้วคุณจะอ้างว่าเพื่อสาธารณะประโยชน์ เพราะฉะนั้น ต้องทำได้ ทั้งๆที่กฎหมายกำหนดไว้คนละอย่าง แต่คุณอ้างสาธารณะประโยชน์แล้วคุณจะทำได้


เพราะฉะนั้น ต่อไปในอนาคตถ้าทุกคนอ้างว่าทำเพื่อสาธารณะประโยชน์ ใครจะเป็นคนชี้ว่าใช่หรือไม่ใช่ เพราะกิจการ 3 จี มันบอกไว้เลยว่าจะต้องมี กสทช. และกสทช. นี้จะต้องวางผังแม่บทคลื่นย่านความถี่ จริงๆแล้วมันมีข้อเท็จจริงบางอย่างที่ไม่ได้เปิดเผย ซึ่งข้อเท็จจริงมันขัดกันอยู่ แต่ว่าเราไม่ได้ลงไปถึงตรงนั้น เราดูแต่เพียงว่า เมื่อกฎหมายกำหนดว่าต้องมีคณะกรรมการร่วมกันเป็นกสทช. แล้วกสทช.ก็ต้องวางผังแม่บทเพื่อรวมคลื่นความถี่ทั้งหมดแล้วถึงจะแบ่งออกไป จากนั้นแต่ละหน่วยงานจึงรับของตัวเองไปบริหารจัดการ


ทีนี้ หน่วยงานที่ทำอยู่ คือ กสท. ก็อ้างว่าย่านความถี่ที่รัฐเอาเข้ามาทำเนี่ยเป็นของกรมไปรษณีย์เดิม ซึ่งเป็นย่านความถี่ที่เกี่ยวกับกิจการโทรคมนาคม ปัญหาหนึ่งก็คือว่า ทำไมอยู่ๆเป็นของกรมไปรษณีย์จึงมาตกเป็นของคุณ แล้วเอาอะไรมายืนยันว่านี่เป็นย่านกิจการโทรคมนาคมเท่านั้นซึ่งอันนี้มันมีข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นซึ่งยังไม่ได้พิสูจน์เลย แต่ในขณะที่กฎหมายแม่บอกว่าเมื่อมีกสทช. แล้วต้องรวมย่านความถี่ทั้งหมดจึงมาแบ่ง


ตรงนี้ อ.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ เขียนบทความโจมตีซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องนี้ แต่พูดมาถึงกระทั่งว่า "ถึงเวลาที่จะทบทวนความมีอยู่ของศาลปกครอง" คือ เขาอ้างเหมือนที่คนอื่นอ้างว่าในเมื่อความถี่นี้เป็นกิจการโทรคมนาคมอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น กสทช.ก็ย่อมมีอำนาจที่จะทำ แต่ในความเป็นจริงแล้วใครเป็นคนบอก เพราะ มีความเห็นของกฤษฎีกา ซึ่งไม่ได้ออกมาบอก ถูกหรือผิดก็ไม่รู้ ในต่างประเทศก็เลิก มันไม่ได้เป็นสากล แต่นี่อ้างเป็นสากล แต่นี่อ้างเป็นสากล แสดงว่ามีจุดยืนอยากให้ออกมาประมูล เพราะฉะนั้นมันก็ต้องไปคิดดู


ส่วนศาลเองตัดสินก็ต้องมีหลักกฎหมาย หลักที่วางอันหนึ่งคือ หลักภารกิจที่เป็นประโยชน์ของสาธารณะก็ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายไม่ใช่มาอ้าง เป็นกิจการสาธารณะ ไม่สนใจว่ากฎหมายจะว่าอย่างไร ถ้าไม่อย่างนั้นวันหลังก็อ้างกันหมด ถ้าศาลไปอย่างนั้น สิ่งที่ยากลำบากคือในอนาคตจะตัดสินคดี จะวางบรรทัดฐานอย่างไร หากต่อไปนี้กิจการที่เป็นสาธารณะประโยชน์แม้นไม่ทำตามกฎหมายก็เป็นเรื่องชอบด้วยกฎหมาย ตาย! เละ


@ พอจะบอกได้ไหมว่าคดีใหญ่อย่างทั้งมาบตาพุด และ 3 จี ผลของคดีหลัก จะออกมาเมื่อไหร่


เอาเป็นว่าตัวผมก็ติดตามอยู่เหมือนกัน แต่ไม่อยากกดดันองค์คณะถึงระดับที่ว่าสักแต่ว่าทำแล้วออกมาแล้วมันด้อยคุณภาพ ที่จริงเมื่อผมมารับงานนี้ หรือไม่ว่าใครก็ตามมาทำนั้น นโยบายคือ ต้องรวดเร็ว, งานที่ออกมาต้องมีมาตรฐานและมีคุณภาพ มาตรฐานและคุณภาพอยู่ที่เหตุผล จะเห็นว่าคดีมาบตาพุดก็ดี คดี 3 จีก็ดี แค่ในขั้นของมีคำสั่งของวิธีการชั่วคราว ผมคิดว่ามีคนคัดค้าน ต่อต้านไม่เยอะเท่าไหร่ ที่ไม่เยอะ ไม่ใช่เพราะเหตุว่ามันไม่เสียหาย แต่คิดว่าโดยหลักและกฎหมายที่เราวางถูกต้องมากกว่า


@ จาก คดีมาบตาพุด ถึง 3 จี หากว่ามีการทำตามที่ศาลสั่ง ศาลก็สั่งปล่อย ใช่ไหม


ตรงนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับข้อเท็จจริงหลังฟ้องจะเอามาใช้ได้แค่ไหน ซึ่งอันนี้โดยหลักแล้วผมคิดว่า ข้อเท็จจริงหลังฟ้องเป็นข้อเท็จจริงที่จะมารับฟังเพื่อทำให้สิ่งที่เกิดขึ้นที่เป็นเรื่องไม่ชอบ กลายเป็นเรื่องชอบไม่ได้นะ โดยหลักกฎหมาย ถ้าเกิดมันจะเปลี่ยนได้ หมายความว่า ถ้าเกิดมันไม่ชอบ เช่นมีเงื่อนไขต่างๆ แล้วคุณไม่มี เมื่อคุณไม่มี ในขณะที่ออกใบอนุญาตที่คุณออกก็เป็นสิ่งไม่ชอบ โดยหลักแล้วก็ต้องเพิกถอน


แต่คุณมาทำสิ่งนี้ทีหลัง คุณมาบอกว่าจะทำให้สิ่งนี้เป็นเรื่องชอบ โดยหลักนั้นทำไม่ได้ แต่ถ้าจะทำได้นะ ซึ่งผมเองก็ไม่ยืนยันว่าจะทำได้ ก็ต้องมาดูว่าจะทำในลักษณะใด ซึ่งก็ต้องเป็นข้อยกเว้นมากๆ เพราะฉะนั้น ทางแก้มันมี สมมติว่าที่ออกมามันไม่ชอบ แล้วคุณดำเนินการเงื่อนไขมิชอบ คุณรีบขอใบอนุญาตออกใหม่ อันนี้เลิกก็เลิก ใบใหม่ก็ต่อไปได้ ถ้าไม่อย่างนั้นก็เสียหายกลายเป็นว่าในขณะที่ทำก็ไม่ต้องสนใจว่าจะชอบหรือไม่ชอบ พอมีปัญหาแล้วค่อยทำ แล้วก็บอกว่าใช้ได้ อย่างนี้ไม่ไหว


ยกตัวอย่างเรื่องการสร้างอาคาร เรื่องการควบคุมอาคาร อย่างที่มีการสร้างผิด ออกใบอนุญาติผิด แล้วเราบอกให้หยุด ก็ไม่หยุด สร้างจนเสร็จเลย แล้วแก้ไขไม่ได้ พอถึงเวลาตัดสินผมว่ามันต้องทุบลูกเดียว ไม่อย่างนั้นเราจะเอาความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายไว้ที่ไหน แล้วจะไปอ้างว่าคนอื่นก็สร้าง คนอื่นก็ผิด ผมว่าไม่ได้ นี่ไม่ใช่ข้ออ้าง