WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, March 4, 2011

"ภราดรภาพมุสลิม" กับการเมืองอียิปต์

ที่มา มติชน


หะซัน อัล-บันนา

โดย ศราวุฒิ อารีย์ สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



ในช่วงเวลาที่ผ่านมา โลกอาหรับต้องเผชิญกับกระแสการชุมนุมขับไล่ประธานาธิบดี ซึ่งเริ่มขึ้นที่ตูนิเซียก่อน แล้วเคลื่อนตัวไปยังอียิปต์ และแพร่ขยายต่อไปอีกหลายประเทศในย่านตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ สำหรับการประท้วงในอียิปต์นั้น ได้พุ่งเป้าของการโจมตีไปที่ตัวประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัค ผู้นำวัย 83 ปี โดยตรง เป้าหมายสำคัญคือการปูทางไปสู่การปฏิรูปประเทศในด้านต่างๆ ทั้งการแก้ปัญหาความยากจน การว่างงาน ราคาอาหารที่พุ่งสูง การคอร์รัปชั่น และระบบการเมืองที่ไม่เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง

กลุ่มขบวนการหนึ่งซึ่งถูกคาดหมายว่าจะเป็นตัวหลักในการขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลงอนาคตอียิปต์ไปในทิศทางนั้นคือ "ขบวนการภราดรภาพมุสลิม" หรือเรียกในภาษาอาหรับว่า "Al-lkhwan Al-Muslimin" (Muslim Brotherhood)

เท่าที่ผ่านมากลุ่ม "อิควาน" ถูกฉายภาพให้เป็นกลุ่มสำคัญหลักในการขยายแนวคิดหัวรุนแรง และเป็นบ่อเกิดของ "กลุ่มก่อการร้ายมุสลิม" ในส่วนต่างๆ ของโลก มายาคติที่เกิดขึ้นนำไปสู่ความวิตกหวาดกลัวอย่างไม่มีเหตุผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่กำลังจะเกิดขึ้นในอียิปต์ต่อจากนี้ ฉะนั้น การทำความเข้าใจแนวคิดของกลุ่มอิควานผ่านผู้ก่อตั้งองค์กรอย่างหะชัน อัล-บันนา (Hasan Al-Banna) และสถานะของกลุ่มในการเมืองอียิปต์ขณะนี้ จึงมีความสำคัญยิ่ง

จุดเริ่มต้นและการขยายตัว

อัล-บันนา ได้ก่อตั้งขบวนการของเขาขึ้นเมื่อช่วงต้นปี 1928 ณ เมืองอิสมาอิลียะห์ (Isma"iliya) ประเทศอียิปต์ ซึ่งเป็นเมืองที่เจ้าหน้าที่บริษัทคลองสุเอซชาวยุโรปอาศัยอยู่กันเต็มไปหมด ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้พลังของอิสลามที่จะต่อต้านอิทธิพลตะวันตกผุดขึ้นมาและเจริญงอกงามได้อย่างไม่ยากเย็นมากนัก

ก่อนที่จะตั้งขบวนการภราดรภาพมุสลิมขึ้นนั้น อัล-บันนา ได้รับแต่งตั้งให้เป็นครูในโรงเรียนรัฐบาลแห่งหนึ่ง แม้จะเป็นครูประจำแต่เขาก็ไม่ได้สอนเฉพาะนักเรียนเท่านั้น เมื่อมีเวลาว่าง เขายังไปสอนและทำการเผยแพร่ศาสนาให้เจ้าหน้าที่ระดับสูงของอียิปต์ที่ทำงานให้บริษัทคลองสุเอซ ตลอดรวมถึงคนยากคนจนและแรงงานด้อยโอกาสอีกด้วย สานุศิษย์ของเขา ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่เห็นความฟุ่งเฟ้อสุรุยสุร่ายในการใช้ชีวิตและความเป็นอภิสิทธิชนของชาวตะวันตกที่มาอาศัยอยู่ในบ้านเกิดของพวกเขา จึงพร้อมที่จะรับฟังคำสั่งสอนที่เน้นในเรื่องการไม่ยึดติดกับวัตถุสิ่งของ แต่ให้ยกระดับความสำคัญของจิตวิญญาณด้านศีลธรรม

ค่านอนของอัล-บันนา ได้แพร่ออกไปอย่างกว้างขวางในหมู่คนระดับล่างของสังคม โดยที่เหล่าบรรดาชนชั้นปกครองและพวกอภิสิทธิ์ชนก็ไม่ได้ให้ความสนใจมากนัก อัล-บันนา มักจะเดินทางไปเยี่ยมเยือนพบปะผู้คนในทุกๆ พื้นที่ อีกทั้งยังบรรยายให้ความรู้แก่พวกแรงงานและชาวไร่ชาวนาอยู่เสมอ ระหว่างปี 1928 ถึง 1933 เชื่อกันว่ามีสำนักงานสาขาต่างๆ ของอิควานทั่วประเทศเปิดดำเนินการไม่น้อยกว่า 50 สาขา โดยมีการจัดตั้งมูลนิธิการกุศล โรงงานทอผ้ามัสยิด ร้านขายยา สถาบันการศึกษา รวมอยู่ในอาคารของแต่ละสาขา

สานุศิษย์ของอัล-บันนา ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะกลุ่มมวลชนรากหญ้าเท่านั้น แต่ยังรวมถึงบรรดาคนหนุ่มสาวที่อยู่ตามหัวเมืองใหญ่ๆ และนักศึกษาตามมหาวิทยาลัยที่เห็นถึงศักยภาพของกลุ่มอิควานในฐานะขบวนการฟื้นฟูอิสลาม (Islamic Revivalist) ซึ่งเป็นรูปแบบที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์อียิปต์ ในเวลาต่อมาสาขาของขบวนการได้ขยายออกไปนอกประเทศ ไปยังซูดาน ซีเรีย จอร์แดน ปาเลสไตน์ อิรัก หรือแม้แต่ในยุโรป

หนังสือและสื่อสิ่งพิมพ์ของกลุ่มอิควานได้ถูกแจกจ่ายออกไปทั่วโลกมุสลิมของกลุ่มอิควานได้ถูกแจกจ่ายออกไปทั่วโลกมุสลิม

แนวคิดของ "อัล-บันนา"

ในระยะแรก อัล-บันนา พยายามเน้นย้ำเฉพาะเรื่องหลักคำสอนของอิสลาม เขาได้สรุปเป้าหมายของการฟื้นฟูอิสลามที่เป็นภาพรวมเอาไว้ว่าคือ "การหันกลับไปหาอิสลาม" และ "อัล-กุรอานถือเป็นธรรมนูญของพวกเรา" เขาเตือนสมาชิกของขบวนการเสมอให้หลีกห่างจากเรื่องการเมืองระบบพรรค และเสนอแนะให้มุ่งเป้าไปที่การทำงานด้านสังคมและศาสนาอย่างเป็นรูปธรรม แต่ทัศนคติเช่นนี้ก็มิได้หมายความว่า อัล-บันนา จะพอใจกับระบบการเมืองที่เป็นอยู่หรือความเป็นไปของพัฒนาการทางการเมืองทีเกิดขึ้นในอียิปต์และในโลกมุสลิม

เมื่อเวลาผ่านไป อัล-บันนา จึงเปิดเผยเป้าหมายกว้างๆ ของขบวนการโดยได้อธิบายไว้ในหลายครั้งหลายโอกาสว่า อิสลามมีความหมายที่กว้างขวางอย่างมาก มันเป็นตัวกำหนดกิจการทุกอย่างของมนุษย์ รวมถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในยุคสมัยใหม่ และอิสลามก็ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่เรื่องจิตวิญญาณและศาสนาเท่านั้น อิสลามเป็นศาสนาที่ครอบคลุม เป็นศาสนาแห่งสันติภาพและภราดรภาพ และเป็นศาสนาแห่งการร่วมมือทำงานกันอย่างจริงใจ

อัล-บันนา ไม่พอใจกับการแข่งขันแย่งชิงแสวงหาอำนาจกันอย่างหนักในหมู่พวกนักการเมืองที่คอร์รัปชั่นและไม่มีหลักธรรมประจำใจ เขาเรียกร้องให้ผู้นำรัฐและรัฐบาลนำหลักธรรมคำสอนของอิสลามมาประยุกต์ใช้ ฉะนั้น การเริ่มต้นเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองของอิควานจึงเป็นไปในลักษณะการวิพากษ์วิจารณ์พฤติกรรมทางสังคมของผู้มีอำนาจที่ละเลยต่อหลักคำสอนทางศาสนา ต่อมาจึงเริ่มกล่าวหาพวกเขาว่าไม่ได้เป็นผู้ศรัทธาที่มีความกระตือรือร้น พร้อมทั้งเรียกร้องให้แทนที่สถาบันที่มีลักษณะโลกวิสัย (secular institution) ด้วยสถาบันอิสลาม

อย่างไรก็ตาม คงไม่ถูกต้องนักหากจะกล่าวว่า ขบวนการอิควานพยายามจะสถาปนาระบบอิสลามขึ้นใหม่โดยจะไม่เปลี่ยนแปลงอะไรเลย เพราะพวกเขาออกมาอธิบายอยู่หลายครั้งว่า กฎระเบียบต่างๆ นั้นอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาวการณ์ที่แปรเปลี่ยนไป แต่ประเด็นใหญ่คือต้องรักษาหลักการพื้นฐานของอิสลามไว้

พวกเขายืนยันว่า ศาสนานั้นจะต้องเป็นพื้นฐานของระบบทางสังคม แต่รายละเอียดของมันก็คงต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับสภาวการณ์หรือเงื่อนไขทางสังคมที่เปลี่ยนไป

ในเรื่องของความสอดคล้องระหว่างอิสลามกับประชาธิปไตย ชาตินิยม สังคมนิยม โลกวิสัย และคอมมิวนิสต์นั้น อัล-บันนา เชื่อว่าสิ่งใดที่ดีที่มีอยู่ในระบบอื่น มันมีอยู่ในอิสลามอยู่แล้ว เขากล่าวต่อไปว่าอิสลามโดยแก่นแท้แล้ว คือระบอบที่ประกันถึงอิสรภาพและความเท่าเทียมมอบสวัสดิการและความยุติธรรมให้แก่ทุกคน และส่งเสริมให้มีจิตวิญญาณแห่งความเป็นภราดรภาพและการมีศีลธรรมทางสังคม

เขาเชื่อว่ามีความจำเป็นสำหรับมุสลิมที่จะหยิบยืมแนวคิดและสถาบันจากสังคมอื่นๆ เนื่องจากอิสลามยอมรับระบบความคิดที่มีคุณค่าทุกอย่างที่มีความจำเป็น ดังนั้น เป้าหมายของขบวนการอิควานจึงไม่ใช่การเตรียมชุดของแนวคิดใหม่ไว้ให้สมาชิกปฏิบัติตาม แต่ต้องการสร้างคนรุ่นใหม่ที่สามารถทำความเข้าใจกับความหมายของอิสลามที่แท้จริงได้ ทั้งนี้ เพื่อที่จะบรรลุถึงความก้าวหน้าและฟื้นฟูอิสลามให้กลับมาสู่ความรุ่งเรืองอีกครั้ง

จากแนวคิดของอัล-บันนา ดังกล่าว ทำให้จุดยืนและกรอบการทำงานของกลุ่มอิควานเท่าที่ผ่านมาเน้นหนักไปทางการปฏิรูป มิใช่ขบวนการปฏิวัติที่ต้องการเห็นอียิปต์และโลกมุสลิมเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันทันด่วน โดยใช้ความรุนแรงเป็นเครื่องมือ

อิควานในการเมืองอียิปต์และความรุนแรง

กลุ่มนายทหารอิสระที่ทำการปฏิวัติอียิปต์เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 1952 นั้น ความจริงมีแนวคิดที่คล้ายคลึงในหลายๆ แง่มุมกับขบวนการอิควาน โดยเฉพาะในเรื่องสังคม นอกจากนั้นนายทหารบางคนที่ร่วมทำการปฏิวัติก็เคยเป็นสมาชิกของขบวนการอิควานมาก่อน ในช่วงแรกคณะปฏิวัติที่ขึ้นมาครองอำนาจใหม่ พยายามขอความร่วมมือและการสนับสนุนจากอิควาน และไม่มีความคิดที่จะทำกำจัดอิควานแต่อย่างใด

แต่เมื่อกลุ่มอิควานตัดสินใจไม่ร่วมปกครองประเทศกับคณะปฏิวัติดังกล่าว เพราะมีทรรศนะไม่เห็นชอบกับแนวทางปกครองของผู้ปฏิวัติ จึงทำให้ กะม้าล อับดุล นัซเซอร์ (ผู้นำคณะปฏิวัติ) ถือว่าการปฏิเสธของกลุ่มอิควานเป็นแผนที่จะควบคุมอำนาจการปกครองไว้เสียเองความหวาดระแวงที่เกิดขึ้นนำไปสู่การจับกุมคุมขังสมาชิกกลุ่มอิควานใน ค.ศ.1954 และไล่ล่าติดตามสมาชิกอื่นๆ ที่หลบหนี โดยอ้างเหตุผลว่า กลุ่มอิควานได้วางแผนเพื่อสังหารประธานาธิบดีนัซเซอร์

นับจากนั้นเป็นต้นมา รัฐบาลยุคต่างๆ ของอียิปต์จึงปฏิเสธไม่ยอมรับขบวนการอิควาน พร้อมประกาศให้อิควานเป็นกลุ่มนอกกฎหมาย มีการจับสมาชิกกลุ่มอิควานขังคุกบ่อยครั้ง โดยยัดเยียดข้อหาก่อตั้งกลุ่มใต้ดินที่มีเป้าหมายปฏิวัติการปกครอง ทางรัฐบาลได้จำคุกและทรมานกลุ่มอิควานจำนวนมาก หลายคนถูกพิพากษาประหารชีวิต สมาชิกบางคนที่รอดออกมาจากการทรมานในคุกได้ จึงเริ่มก่อตั้งกลุ่มใหม่ที่ใช้ความรุนแรงและการก่อการร้ายตอบโต้ฝ่ายรัฐ และไม่ร่วมเป็นสมาชิกของกลุ่มอิควานที่เน้นแนวทางปฏิรูปอีกต่อไป

ฉะนั้น กลุ่มที่ใช้วิธีก่อการร้ายโจมตีเป้าหมายรัฐบาลและนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เกิดขึ้นในอียิปต์เป็นระยะ ตลอด 30 กว่าปีที่ผ่านมา จึงไม่ใช่ฝีมือของกลุ่มอิควานอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่เป็นกลุ่มคนที่คับแค้นใจต่อการกระทำที่โหดเหี้ยมของฝ่ายรัฐ รวมถึงคนอย่างอัยมาน อัล-ซะวาฮิรี สหายคนสนิทของอุซามาอุ บิน ลาเดน ด้วย

สถานะของอิควานในปัจจุบัน

ปัจจุบัน รัฐบาลอียิปต์ไม่อนุญาตให้ก่อตั้งพรรคการเมืองที่มีวัตถุประสงค์ด้านศาสนาด้วยเหตุผลว่ามิให้นำศาสนามาเกี่ยวข้องกับการเมือง และอ้างถึงชนกลุ่มน้อยที่ไม่ใช่มุสลิมที่อาจเรียกสิทธิในการตั้งพรรคศาสนาของพวกเขาขึ้นบ้าง จึงทำให้กลุ่มอิควานไม่สามารถทำงานทางการเมืองได้อย่างเต็มที่มากนัก ด้วยสภาพนี้กลุ่มอิควานจึงร่วมกับพรรคการเมืองฝ่ายค้านหรือไม่ก็สมัครรับเลือกตั้งในนามส่วนตัว เพื่อเข้าเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในอียิปต์

การเลือกตั้งรัฐสภาอียิปต์เมื่อปลายปี 2005 ปรากฏว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งที่เป็นสมาชิกของกลุ่มอิควานได้ที่นั่งในสภาไป 88 ที่นั่งจากทั้งหมด 444 ที่นั่ง ซึ่งสื่ออาหรับรายงานว่าขบวนการอิควานน่าจะได้ที่นั่งในสภาสูงกว่านี้มาก หากผู้สมัครของขบวนการฯ ไม่ถูกกีดกันเสียก่อน เช่น การถูกห้ามไม่เห็นผู้สมัครของขบวนการการฯ ลงแข่งขันเกิน 1 ใน 3 ของจำนวนที่นั่งในรัฐสภาทั้งหมด หรือการห้ามผู้สมัครลงเลือกตั้งในนามของพรรคภราดรภาพมุสลิม ฯลฯ

ความเข้มแข็งของกลุ่มอิควานทั้งในฐานะขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมที่มีฐานมวลชนกว้างขวาง และในฐานะกลุ่มการเมืองที่เป็นฝ่ายค้านสำคัญสุดในประเทศอียิปต์ ตลอดจนการมีกรอบคิดทางการเมืองที่ยึดโยงกับศาสนา (Politcal Islam) ทำให้ยามนี้กลุ่มอิควานเป็นที่จับตามองจากหลายท่ามกลางช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองของอียิปต์ในปัจจุบัน