WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, March 4, 2011

จับกระแส'เชือดทิ้งทวน'

ที่มา ข่าวสด

รายงานพิเศษ




ปริญญา เทวานฤมิตรกุล

จากญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี และ 9 รัฐมนตรีของพรรคฝ่ายค้าน ซึ่งนับเป็นญัตติเชือดครั้งสุดท้ายหรือญัตติทิ้งทวนสภาผู้แทนราษฎรสมัยนี้ ก่อนยุบสภาเลือกตั้งใหม่

พุ่งเป้าใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ การสลายการชุมนุมเมื่อเดือนเม.ย.-พ.ค.2553 การทุจริตคอร์รัปชั่น และรัฐบาลบริหารงานล้มเหลวและผิดพลาด

พร้อมกันนี้ยังขอเวลา 4 วัน ในการอภิปราย โดยอ้างมีข้อมูลจำนวนมาก

แต่ละประเด็นจะส่งผลต่อเสถียรภาพรัฐบาล ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง หรือแค่หวังเรียกเรตติ้งก่อนการเลือกตั้งใหม่ที่จะมีขึ้นในเร็วๆ นี้หรือไม่ นักวิชาการร่วมจับกระแสร้อน พร้อมสะท้อนมุมมอง



ปริญญา เทวานฤมิตรกุล

รองอธิการบดีฝ่ายการนักศึกษา

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การที่พรรคฝ่ายค้านยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะจะมีการเลือกตั้งใน ไม่กี่วันข้างหน้านี้แล้ว ประชาชนควรมีข้อมูลอย่างเพียงพอ ถ้าพบเห็นการทำงานที่ไม่ดี มีการกระทำไม่โปร่งใสอย่างไร ฝ่ายค้านควรเอาข้อมูลมาเปิดเผยให้ประชาชนได้รู้ และเปิดโอกาสให้รัฐบาลได้ชี้แจงอย่างเต็มที่ ประโยชน์จะตกอยู่กับประชาชน

ส่วนระยะเวลาจะ 3 วัน หรือ 4 วัน แล้วแต่จะตกลงกัน แต่การใช้เวลายาวนานอย่างเดียวไม่มีประโยชน์ ถ้าทำกันแบบเก่าๆ คือใช้วิธีสาดโคลนมากกว่าใช้หลักฐานที่แท้จริง มีการประท้วงกัน หรือใช้ถ้อยคำหยาบคาย แม้จะ มีเวลามากเป็นสัปดาห์ก็ไม่เป็นประโยชน์

ครั้งนี้เป็นโอกาส สุดท้ายของฝ่ายค้านก่อนมีการเลือกตั้ง ฉะนั้นจึงควรทำให้เต็มที่ เวลาจะสั้นหรือยาวไม่ใช่ปัญหา ขอให้เล่นกันแบบมีคุณภาพมากขึ้น ที่ผ่านมาประชาชนก็ผิดหวังกับสภาชุดนี้ ขอให้ทั้งรัฐบาลและฝ่ายค้านตรวจสอบกัน ต่างฝ่ายต่างทำหน้าที่และเป็นไปอย่างสร้างสรรค์

สมชาย ปรีชาศิลปกุล/วรากรณ์ สามโกเศศ



ถ้าอภิปรายอย่างสร้างสรรค์ แค่ 2 วัน ประชาชนก็ได้ประโยชน์ จะได้มีข้อมูลมาใช้ตัดสินใจในการเลือกตั้งครั้งหน้า ไม่ใช่ประชาชนดูแล้วไม่อยากไปเลือกตั้ง

ประเด็นเรื่องราคาน้ำมันปาล์ม หรือสัญชาติของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯ ที่พรรคฝ่ายค้านจะนำมาอภิปราย จะส่งผลรุนแรงต่อเสถียรภาพของรัฐบาลหรือไม่ อยู่ที่ข้อมูลที่พรรคฝ่ายค้านนำมาเสนอ

ทุกวันนี้ประชาชนจำนวนมากมีความตื่นตัวมากขึ้น สิ่งที่รัฐบาลหรือฝ่ายค้านพูดในสภาประชาชนเขาเอามาคิดว่า เขาจะเอาอย่างไรต่อไปกับการเลือกตั้งครั้งหน้า

ทั้งนี้ ไม่ว่าฝ่ายค้านจะอภิปรายประเด็นอะไรก็ ตาม อยู่ที่หลักฐาน อยู่ที่ความน่าเชื่อถือของฝ่ายค้าน ถ้าทำได้ดี ก็มีผลต่อคะแนนเสียงของเขาแน่นอน และถ้ารัฐบาลชี้แจงไม่ได้ก็จะกระทบกับคะแนนเสียงของเขาแน่นอน



สมชาย ปรีชาศิลปกุล

คณะนิติศาสตร์

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ประเด็นที่พรรคฝ่ายค้านจะนำมาอภิปรายไม่ว่าเรื่องการสลายการชุม นุม เรื่องทุจริตหรือการบริหารงานล้มเหลว ประเด็นไหนจะสั่นคลอนสถานะรัฐบาลมากที่สุดคงตอบไม่ได้

แต่ในความเห็นของผม ประเด็นที่สำคัญที่สุด คือ การใช้กำลังของรัฐต่อประชาชน เพราะเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น ถือว่าร้ายแรงมากสำหรับสังคมไทย ขณะนี้เหตุการณ์ผ่านมา 1 ปีแล้ว แต่รัฐบาลยังไม่ทำให้เกิดความคืบหน้ามากนัก ทั้งนี้ ไม่ว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ใช้ความรุนแรง รัฐบาลก็มีหน้าที่ชี้แจงให้เห็นว่า ที่ผ่านมามันเกิดอะไรขึ้น และใครบ้างที่ควรมีส่วนรับผิดชอบ

ส่วนระยะเวลาอภิปรายที่ฝ่ายค้านยื่นเสนอไว้ 4 วัน เหมาะสมหรือไม่ ขึ้นอยู่กับประเด็นและเนื้อหาที่พรรคฝ่ายค้านจะอภิปราย แต่การอภิปรายของพรรคฝ่ายค้านไม่ว่าที่ใดในโลก ต้องเข้าใจว่าพรรคฝ่ายค้านไม่ใช่นักสืบ ถ้าจะคาดหวังว่าจะเห็นข้อมูลที่ลึกลับซับซ้อน และไม่เคยเปิดเผยที่ไหนมาก่อน คงเป็นเรื่องยาก

สิ่งที่พรรคฝ่ายค้านน่าจะทำ และคิดว่าจะเป็นประโยชน์กับสังคมไทย คือ การประมวลให้เห็นว่า การทำงานของรัฐบาลในเชิงภาพรวม มันมีปัญหา หรือมีข้อบกพร่องอะไรบ้าง เช่น ปัญหาน้ำมันปาล์ม ปัญหาเรื่องชาวบ้านปากมูนที่มาชุมนุมหน้าทำเนียบรัฐบาล ทั้งหมดนี้มันเป็นปัญหาที่เกิดจากระบบ และรัฐบาลจัดการไม่ได้อย่างไร ตรงนี้ต่างหากที่ฝ่ายค้านควรจะนำเสนอ

ผมไม่คาดหวังว่าจะเห็นข้อมูลลับในสภา แต่อยากเห็นการอภิปรายที่ชี้ให้เห็นว่า การทำงานของรัฐบาลในเชิงโครงสร้าง ในเชิงระบบมันเป็นปัญหาอย่างไร นี่คือสิ่งที่สำคัญมากกว่า

ส่วนเรื่องสัญชาติของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯ ก็เป็นสิทธิที่พรรคฝ่ายค้านจะหยิบมาตั้งคำถามได้ และเป็นหน้าที่ของนายกฯ ที่จะต้องตอบ

การที่รัฐบาลรีบตอบรับกำหนดวันอภิปราย ไม่แน่ใจว่าเพื่อจะเร่งวันยุบสภาหนีปัญหาหรือไม่ แต่ถ้าทั้ง 2 ฝ่ายตกลงวันกันได้ แสดงว่าไม่น่าจะมีใครได้เปรียบ หรือเสียเปรียบ เพราะการอภิปรายไม่ไว้วางใจเป็นเรื่องปกติทางการเมือง เป็นกลไกอย่างหนึ่งในการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล



วรากรณ์ สามโกเศศ

อธิการบดี

มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

ข้อมูลของฝ่ายค้านที่จะนำมาอภิปรายยังไม่ตรงกับความรู้สึกของประชาชนในตอนนี้ เพราะข้อมูลส่วนใหญ่พยายามจะหักล้างเรื่องความวุ่นวายในปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการฆ่าประชาชน การเผาห้างหรือศาลากลางต่างๆ ซึ่งเรื่องเหล่านี้ไม่ได้เป็นความต้องการของประชาชน

ส่วนตัวมองว่าไม่ใช่การซักฟอกรัฐบาล แต่เป็น การซักฟอกฝ่ายค้านหรือพรรคเพื่อไทยเอง

สิ่งที่ฝ่ายค้านควรจะนำมาเป็นประเด็นหลัก คือการทุจริตคอร์รัปชั่น หรือปัญหาเศรษฐกิจมากกว่า ควรนำข้อมูลมาเสนอให้ประชาชนเห็นว่ารัฐบาลไม่มีประสิทธิภาพในการบริหารงานอีกต่อไป เป็นการคานอำนาจรัฐบาล ทำหน้าที่ของฝ่ายค้านจริงๆ มากกว่านำข้อมูลการฆ่าประชาชนที่เกิดขึ้นเมื่อปีที่แล้ว และผ่านมาหลายสมัยประชุมสภาแล้วมาอภิปราย

หากใช้เรื่องนี้เป็นประเด็นหลัก ไม่น่าจะพ้นการแก้ตัว อ้าง หรือกล่าวหากันมากกว่าการพูดเรื่องความผิดพลาดในการบริหารบ้านเมือง คนฟัง ก็ต้องทนฟังเรื่องอดีตอีก ทั้งนี้ ข้อมูลที่นำมาอภิปรายจะต้องเป็นจริง เชื่อถือได้ ไม่ใช่ข้อมูลที่ลอกมาอีกครั้งหนึ่ง

ส่วนที่รัฐบาลเร่งให้มีการอภิปราย เพื่อหวังยุบสภาเร็วขึ้นนั้น ส่วนตัวไม่คิดว่ารัฐบาลจะยุบสภาในเวลาอันรวดเร็ว เพราะเงื่อนไขการเลือกตั้งของนายกฯ ทั้ง 3 เงื่อนไขก็ยังคงไม่ครบ ทุกวันนี้ยังมีการชุมนุมแบ่งสีแบ่งฝ่ายกันอยู่ ยังไม่เป็นสัญญาณที่ดีในการเลือกตั้ง และหากเลือกตั้งไปแล้วเหตุ การณ์แบบนี้จะเกิดขึ้นมาอีก

การยุบสภาควรรอให้การเมืองเย็นลงกว่านี้ก่อน และเชื่อว่ารัฐบาลจะไม่ยุบสภาเพื่อหนีปัญหาเศรษฐกิจที่รุมเร้าอยู่ในขณะนี้ คิดว่าประชาชนน่าจะเข้าใจว่าราคาสินค้าที่แพงขึ้นมาจากสาเหตุใดบ้าง ทั้งข้าวโพด น้ำตาล รวมถึงการกักตุนน้ำมันเพื่อเก็งกำไร และปัญหาความวุ่นวายในตะวันออกกลาง ทำให้ราคาน้ำมันสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาสินค้าสูงขึ้นด้วย