WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, March 3, 2011

ลิเบีย (Libya)

ที่มา มติชน



โดย โกวิท วงศ์สุรวัฒน์

เมื่อตอนผู้เขียนยังเด็กๆ อยู่นั้น เราเคยเรียกประเทศลิเบียว่า "ลิบยา" ซึ่งดูจากภาษาอังกฤษที่เขียนว่า "Libya" แล้วก็น่าจะอ่านว่าลิบยาจริงๆ เหมือนกัน แต่เมื่อใครๆ รวมทั้งคนลิเบียเองก็เรียกว่าประเทศนี้ว่าลิเบีย สรุปก็เรียกว่าลิเบียก็แล้วกัน เพราะขนาดว่านครเวียงจันทน์ของประเทศลาว ก็เห็นฝรั่งเรียกว่านครเวียนเทียน (Vientiane) หน้าตาเฉยเหมือนกัน

ที่เขียนเรื่องลิเบียวันนี้ เนื่องจากเกิดความคิดถึงพันเอกโมอามาร์ อัล-กาดาฟี ซึ่งผู้เขียนได้ติดตามผู้นำชาวลิเบียมาตั้งแต่เขายังเป็นทหารบกยศร้อยเอก ผู้ทำการยึดอำนาจในลิเบียได้สำเร็จเมื่อ พ.ศ.2512 (ผู้เขียนมีความสนใจเป็นพิเศษสำหรับเรื่องนายทหารชั้นผู้น้อยทำการยึดอำนาจได้สำเร็จมาตั้งแต่เด็กแล้ว เนื่องจากเบื่อการยึดอำนาจของนายทหารชั้นผู้ใหญ่ยึดอำนาจในเมืองไทยเต็มที โดยเริ่มต้นก็ติดตามร้อยเอกกองแล วีระสาน ผู้เคยยึดอำนาจในประเทศลาวได้สำเร็จเมื่อ พ.ศ.2503 แล้วก็ค้นไปเจอกบฏนายสิบของไทยเมื่อ พ.ศ.2478 ที่ล้มเหลว แต่ทราบว่าพวกกบฏนายสิบนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากการที่สิบเอกบาทิสตาแห่งคิวบายึดอำนาจในประเทศคิวบาได้สำเร็จใน พ.ศ.2476)

ครับ! กาดาฟีพอยึดอำนาจได้ก็เลื่อนยศให้ตัวเองเป็นพันเอก แล้วก็หยุดอยู่แค่นั้น ทั้งๆ ที่เป็นผู้เผด็จการของประเทศลิเบียอยู่ถึง 42 ปี เมื่อกาดาฟีได้ปกครองประเทศแล้ว ก็ขอขึ้นราคาน้ำมันดิบจากบริษัทน้ำมันของอเมริกัน อังกฤษ และเนเธอร์แลนด์ จาก บาร์เรล ละ 0.90 ดอลลาร์อเมริกันเป็น 3.45 ดอลลาร์อเมริกัน และกาดาฟียังชักชวนบรรดาประเทศสมาชิกองค์การโอเปค ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศกลุ่มอาหรับให้งดขายน้ำมันให้สหรัฐอเมริกาและเนเธอร์แลนด์ใน พ.ศ.2516 เพราะสองประเทศนี้หนุนอิสราเอลในสงครามยมคิปปูร์กับบรรดาประเทศอาหรับ

เล่นเอาโลกปั่นป่วนไปหมด เพราะน้ำมันขึ้นราคาหลายเท่าตัว (ท่านผู้อ่านเชื่อไหมว่าก่อน พ.ศ.2516 รถมอเตอร์ไซค์ขนาดเล็กเติมน้ำมัน 50 สตางค์ ยังได้เลยครับ)

เนื่องจากประเทศลิเบียเป็นประเทศที่มีเนื้อที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 17 ของโลก โดยใหญ่กว่าประเทศไทยประมาณสามเท่าครึ่ง แต่มีประชากรเพียงห้าล้านกว่าคนเท่านั้น (ประชากรของลิเบียทั้งประเทศมีน้อยกว่าประชากรของ กทม.เราเสียอีก) แต่มีน้ำมันดิบมากพิลึก ซึ่งสามารถสูบขึ้นมาได้ถึงวันละ 3 ล้านบาร์เรล เลยทีเดียว

ประเทศลิเบียตกเป็นอาณานิคมของอิตาลี เพิ่งได้เอกราชภายหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 นี่เอง โดยมีกษัตริย์ปกครองพระองค์เดียวคือ กษัตริย์ไอดริสที่หนึ่ง (king Idris I) ขึ้นครองราชย์เมื่อ พ.ศ.2494 จนกระทั่ง พ.ศ.2512 จึงถูกกาดาฟียึดอำนาจและปลดออกจากตำแหน่ง ขณะนี้ธงชาติสมัยพระเจ้าไอดริสที่หนึ่งได้ถูกออกนำออกมาชักขึ้นสู่เสาในสถานที่ๆ ฝ่ายต่อต้านกาดาฟียึดได้แล้วในแหล่งน้ำมันทางภาคตะวันออกของลิเบีย อาทิ ที่เมืองเบงกาซีซึ่งเป็นส่วนใหญ่อันดับสองของลิเบีย และที่สถานทูตของลิเบียในประเทศต่างๆ

ครับ! กาดาฟีได้ใช้ความมั่นคั่งของเงินจากน้ำมันมาพัฒนาประเทศตลอด 40 ปีอย่างเห็นหน้าเห็นหลัง โครงการที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของกาดาฟีคือ การหาน้ำจืดให้กับพื้นที่ทะเลทรายในประเทศที่มีถึง 65% ซึ่งเป็นผลจากการ ขุดหาแหล่งน้ำมันใหม่ในเขตตอนใต้ของลิเบีย ที่ไม่เพียงแต่พบแหล่งสำรองน้ำมันขนาดใหญ่เท่านั้น แต่ยังพบแหล่งน้ำจืดใต้ดินขนาดมหึมาซ่อนตัวอยู่ใต้ชั้นหิน

ประเมินกันว่าแหล่งน้ำดังกล่าวถูกเก็บกักไว้ตั้งแต่ราว 38,000 ปี ถึง 17,000 ปีก่อน เมื่อครั้งที่ทะเลทรายซาฮารายังเป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ ได้เกิดซึมซับน้ำฝนเก็บกักไว้ใต้ชั้นดินและแผ่นหินมายาวนาน จนกระทั่งผืนป่าหมดสิ้น หน้าดินผุกร่อนกลายเป็นผืนทราย แต่น้ำฝนเหล่านั้นยังคงถูกเก็บกักไว้ในชั้นหิน จึงมีการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำที่รองรับน้ำจากแหล่งน้ำใต้ดินไว้ในเมืองต่างๆ เป็นระยะๆ ตลอดทางของท่อส่งน้ำ

และริมเขตอ่างเก็บน้ำเหล่านั้นก็แปรสภาพมาเป็นพื้นที่เกษตรกรรม โดยอาศัยระบบให้น้ำแบบ pivot system ซึ่งเมื่อมองจากภาพถ่ายทางอากาศแล้วจะเห็นเป็นพื้นที่วงกลมสีเขียวต่อเนื่องกันไปกลางทะเลทรายสีแดงคล้ายภาพกราฟิค ซึ่งพื้นที่ที่มีการชลประทานดังกล่าวจะเพิ่มความชุ่มชื่นให้เขตทะเลทราย อีกทั้งยังเก็บกักน้ำฝนซึ่งจะตกลงมาราวปีละ 1-2 ครั้งได้โดยไม่ซึมหายไปในพื้นทราย

รัฐบาลลิเบียวาดหวังว่า ด้วยการขยายระบบชลประทานและพื้นที่สีเขียวในเขตทะเลทรายดังกล่าวนี่เอง จะดึงดูดให้บรรยากาศมีความชื้นเพียงพอที่ไอน้ำจะกลั่นตัวเป็นฝน เพิ่มปริมาณฝนต่อปีให้มากขึ้น ทำให้พื้นที่ทะเลทรายที่พอเพาะปลูกได้ทำการเกษตรได้จากน้ำฝนต่อไป

กาดาฟีได้ใช้เงินจากน้ำมันสร้างความเจริญรุดหน้าทางเศรษฐกิจให้กับลิเบีย ประชาชนกินดีอยู่จึงทำให้เขาครองอำนาจได้ยาวนาน ประกอบกับระบบสังคมของลิเบียนั้นยังล้าหลังอยู่ในระบบชนเผ่าอยู่ ซึ่งต่างกับประเทศเผด็จการเช่น ตูนิเซียและอียิปต์ที่อำนาจส่วนใหญ่จะอยู่ในมือสถาบันทหาร แต่ของลิเบียนั้นยังขึ้นอยู่กับชนเผ่า ซึ่งกาดาฟีได้แต่งตั้งสมาชิกของเผ่าคัตตาฟา ซึ่งเป็นเผ่าของกาดาฟีเข้าคุมกำลังทหารและตำรวจทุกระดับและพยายามเอาใจหัวหน้าเผ่าอื่นๆ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งเผ่าวาฟัลลา ซึ่งมีสมาชิกอยู่กว่าหนึ่งล้านคน ซึ่งกาดาฟีใช้วิธีแบ่งแยกและปกครอง (Divide and rule)

นอกจากนี้กาดาฟียังมีทหารรับจ้างชาวเซอร์เบียและไนจีเรียเป็นกำลังสำคัญที่สามารถฆ่าใครก็ได้ด้วยเงินเป็นกำลังสำคัญ โดยกาดาฟีก็สั่งฆ่าคนมาเยอะแยะอย่างนับไม่ถ้วนรวมทั้งเป็นสปอนเซอร์ให้กับกลุ่มก่อการร้ายทั่วโลก ก็เนื่องจากมีเงินและมีอำนาจล้นฟ้านี่เองด้วย

ครับ! แน่นอนทีเดียว วันเวลาของกาดาฟีหมดลงแล้วละครับ ก็เหมือนพวกไดโนเสาร์นั่นเองที่หมดยุคสมัยของตนแล้ว ยังไงๆ ก็ต้องปิดฉากให้ศักราชหน้าใหม่ของลิเบียเกิดขึ้นในเร็วๆ นี้