WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, March 2, 2011

ป.ป.ช.กับการใช้ทฤษฎีภาระความรับผิดแห่งอำนาจ

ที่มา มติชน



โดย เมธี ครองแก้ว



ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา คณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้พิจารณาคดีสำคัญๆ หลายคดีที่มีผู้ถูกกล่าวหาเป็นจำนวนมาก

ยกตัวอย่างเป็นคดีแถลงการณ์ร่วมเขาพระวิหาร ซึ่งมีคณะรัฐมนตรีทั้งคณะเป็นผู้ถูกกล่าวหา บวกกับเจ้าหน้าที่ของรัฐอีกจำนวนหนึ่ง คดีสลายการชุมนุมวันที่ 7 ตุลาคม 2551 ซึ่งมีข้าราชการการเมือง และเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นผู้ถูกกล่าวหาจำนวนมาก หรือคดีรถ/เรือดับเพลิงของกรุงเทพมหานคร ก็เช่นเดียวกัน

แต่ถึงแม้จะมีผู้ถูกกล่าวหาเป็นจำนวนมาก (อย่างน้อยถ้ามองจากสองคดีแรก) คณะกรรมการ ป.ป.ช.ก็มีมติชี้มูลความผิดของคนไม่กี่คน เช่น ในคดีเขาพระวิหาร มีเพียงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและนายกรัฐมนตรีเท่านั้นที่ถูกชี้มูลความคิด ส่วนคดี 7 ตุลา ก็มีเพียงนายกรัฐมนตรี, รองนายกรัฐมนตรีที่รับมอบหมายให้ควบคุมเหตุการณ์, ผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และผู้บัญชาการตำรวจนครบาล เป็นผู้ถูกชี้มูลความผิด

แต่ในคดีรถ/เรือดับเพลิงของ กทม. ซึ่งจำนวนผู้ถูกกล่าวหาน้อยกว่ามาก กลับมีผู้ถูกชี้มูลความผิดเป็นจำนวนมาก และในการไต่สวนผู้ถูกกล่าวหาชุดที่สอง ก็อาจเป็นไปได้ว่าอาจจะมีผู้ถูกชี้มูลอีกเป็นจำนวนมาก

อะไรคือสาเหตุหรือเหตุผลที่ผลของการพิจารณาเป็นเช่นนี้

ในความเห็นของผู้เขียน (ซึ่งเป็นความเห็นส่วนตัวไม่เกี่ยวกับความเห็นหรือฐานะอย่างเป็นทางการคณะกรรมการ ป.ป.ช.แต่อย่างใด) ปรากฏการณ์ดังกล่าวน่าจะอธิบายได้โดยทฤษฎีที่ผู้เขียนพัฒนาขึ้นมาเองในระหว่างที่ทำงานอยู่ที่ ป.ป.ช.

ทฤษฎีที่ว่านี้คือ ทฤษฎีว่าด้วยภาระความรับผิดแห่งอำนาจ (Theory of Accountability of Power) ซึ่งสามารถอธิบายได้ง่ายๆ ดังนี้

ในเหตุการณ์, กิจการ, หรือโครงการหนึ่งๆ ซึ่งมีผู้เกี่ยวข้องหลายคนเราอาจจะจำแนกผู้ที่เกี่ยวข้องดังกล่าวตามฐานะ และ/หรือบทบาทที่แตกต่างกันออกไป ว่าใครเป็นผู้วางแผน, ตัดสินใจ หรือดำเนินการ หรือปฏิบัติการ เราสามารถแยกแยะได้ว่าใครบ้างที่เป็นผู้ที่มีอำนาจหรือความรับผิดชอบ (power or authority) ในการที่จะทำให้เหตุการณ์ กิจการหรือโครงการเช่นว่านั้นเกิดขึ้น

อำนาจหรือความรับผิดชอบนี้อาจจะมิได้รวมศูนย์อยู่ที่ผู้มีอำนาจสั่งการหรือตัดสินใจขั้นสุดท้ายเท่านั้น แต่อาจจะหมายรวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องในระดับอื่นๆ หรือระดับที่ต่ำลงมาด้วยก็ได้

หากผู้ที่เกี่ยวข้องในระดับนี้มีบทบาทเป็น "ต้นคิด" ในการวางแผน เตรียมการหรือดำเนินการในส่วนต่างๆ และอำนาจในการตัดสินใจนั้นก็มิได้จำกัดอยู่เฉพาะการตัดสินใจกระทำ (action) เท่านั้น หากแต่ว่าจะรวมถึงอำนาจในการยับยั้งหรือเปลี่ยนแปลงการกระทำด้วย

ในเมื่อบุคคลดังกล่าวนี้มีอำนาจ อำนาจดังกล่าวย่อมทำให้เกิดภาวะความรับผิด (accountability) ที่ผูกติดอยู่กับอำนาจนั้นๆ ด้วย

เพราะฉะนั้น ในกรณีเขาพระวิหาร ผู้ถูกชี้มูลความผิดจึงมีเพียง 2 คน คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศผู้ซึ่งเป็น "ต้นคิด" หลักเพียงคนเดียว และตัวนายกรัฐมนตรีซึ่งเห็นชอบด้วยเป็นคนสุดท้าย ส่วนในคดี 7 ตุลาฯ ก็มีเพียงผู้บัญชาการตำรวจนครบาลซึ่งได้รับมอบหมายเป็น "ผู้บัญชาการเหตุการณ์" ตัวผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติซึ่งมีอำนาจยับยั้งหรือเปลี่ยนแปลงเหตุการณ์การกระทำได้ (แต่มิได้ทำเช่นนั้น) ตัวรองนายกรัฐมนตรีซึ่งรับผิดชอบในการกำหนดนโยบายและตัวนายกรัฐมนตรีซึ่งสามารถยับยั้งหรือเปลี่ยนแปลงนโยบายได้ (แต่มิได้ทำเช่นนั้น)

ส่วนเจ้าหน้าที่ตำรวจอีกเป็นจำนวนมากเพียงแต่เป็นผู้ปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา และไม่ได้เป็น "ต้นคิด" หรือ "เจ้ากี้เจ้าการ" ในการวางแผนเตรียมการหรือดำเนินการแต่อย่างใด ซึ่งผิดกับกรณี รถ/เรือดับเพลิง ซึ่งในแต่ละขั้นตอนของเหตุการณ์ ตั้งแต่มีการเสนอทำสัญญาซื้อขายรถ/เรือดับเพลิงแบบต่างตอบแทน จนถึงขั้นตอนสุดท้ายที่การทำสัญญาเป็นผล มีผู้ที่เกี่ยวข้องเป็น "ต้นคิด" หรือ "เจ้ากี้เจ้าการ" อยู่เป็นจำนวนมาก

ผู้เขียนมาค้นพบภายหลังว่าทฤษฎีภาระความรับผิดแห่งอำนาจที่พูดถึงข้างต้นนี้ ไม่ใช่เรื่องใหม่ ในอดีตมีแนวคิดหรือทฤษฎีในทำนองอย่างนี้อยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวกับการปฏิบัติการในภาวะสงคราม

ยกตัวอย่างเช่น เมื่อตอนสงครามโลกครั้งที่สอง กองทัพญี่ปุ่นในประเทศฟิลิปปินส์ ภายใต้การบังคับบัญชาของนายพล Yamashita ได้ปล่อยให้ทหารในสังกัดของตนเข่นฆ่าทำการทารุณกรรมกับคนฟิลิปปินส์เป็นจำนวนมาก เมื่อสงครามเสร็จสิ้นลง ฝ่ายพันธมิตรก็จับตัว Yamashita ขึ้นศาลในข้อหาว่า "ปล่อยปละละเลยโดยมิชอบด้วยกฎหมายในฐานะผู้บังคับบัญชาสูงสุดให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชากระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นอาชญากรรมสงคราม"

และในที่สุด Yamashita ก็ถูกตัดสินประหารชีวิต

หรือก่อนหน้านั้นในประเทศฟิลิปปินส์อีกเช่นเดียวกัน แต่ในสงคราม Spanish American เมื่อปี ค.ศ.1901 เมื่อนายพลจัตวาของสหรัฐอเมริกาคนหนึ่งสั่งให้ทหารใต้บังคับบัญชาฆ่าศัตรูให้มากที่สุด อย่าจับตัวมาเป็นเชลย ปรากฏว่า มีนายทหารยศรองลงมาผู้หนึ่ง สังหารเชลยไป 11 คน โดยอ้างว่าทำตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา

ทั้งสองคนถูกจับขึ้นศาลทหาร นายทหารยศรองลงมาที่อ้างว่าทำตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาได้รับการปล่อยตัว แต่ตัวนายพลจัตวาผู้รับผิดชอบในการบังคับบัญชาถูกลงโทษ

แนวคิดตามทฤษฎีนี้จึงได้ชื่อว่าทฤษฎีความรับผิดชอบตามชั้นการบังคับบัญชา (command responsibility theory) หรือมีแนวคิดทางกฎหมายอีกแนวหนึ่งว่า "เจ้านายต้องรับผิดชอบแทนลูกน้อง" (Respondiat Superior)

อันที่จริงการอ้างว่า "ทำตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา" จะใช้เป็นเหตุผลให้เจ้าหน้าที่ของรัฐพ้นผิดในเหตุการณ์ส่วนใหญ่ โดยเฉพาะเหตุการณ์สงคราม แต่ก็มิได้เป็นหลักการสำคัญที่ใช้อ้างได้เสมอไป ในการพิจารณาโทษทหารเยอรมันหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยฝ่ายพันธมิตรที่เมือง Nuremberg คณะตุลาการได้กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาโทษข้อหนึ่ง ซึ่งมีชื่อเรียกว่า Nuremberg Principle IV ซึ่งกล่าวว่า "ความจริงที่ว่าบุคคลใดกระทำตามคำสั่งของรัฐบาลหรือของผู้บังคับบัญชาจะไม่ถือว่าเป็นเหตุให้บุคคลนั้นพ้นจากความรับผิดชอบภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศได้ ยกเว้นแต่ว่าเขาไม่มีทางเลือกอื่น"

โดยสรุปแล้ว เราอาจจะพูดได้ว่าใครจะผิดหรือไม่ผิดนั้นอาจจะดูจากพฤติกรรมว่าเกิดขึ้นจาก "ความโง่" หรือ "ความชั่ว" ถ้าเป็นความโง่ โอกาสที่จะไม่ผิดหรือไม่ถูกลงโทษก็จะมีอยู่สูง แต่ถ้าเป็นความชั่วแล้วละก็ โอกาสที่จะถูกชี้มูลความผิด และ/หรือถูกลงโทษเกือบจะไม่มีข้อยกเว้น

เพราะฉะนั้นการใช้อำนาจที่ตั้งอยู่บนฐานความชั่วหรือที่ภาษากฎหมายเรียกว่า "เถยจิต" ย่อมหลีกเลี่ยงไม่พ้นที่ต้องเผชิญกับภาระความรับผิดแห่งอำนาจนั้นๆ