WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, March 5, 2011

กกต."สดศรี" สตรีสากล วิเคราะห์เกมปฏิวัติ-เพื่อไทย-ปชป. อ่านผู้หญิง-ชู้-และการไต่เต้าอำนาจ !

ที่มา ประชาชาติธุรกิจ



ผู้หญิงในสนามการเมือง มักถูกเปรียบเป็นไม้ประดับ

ผู้หญิงที่อยู่ในวงล้อมของผู้มีอำนาจ มักถูกโจมตีเรื่องชู้สาว

"สดศรี สัตยธรรม" ต้องพัวพันกับนักเลือกตั้งทั้งหญิง-ชาย

เธอเคยบอกว่า เป็นกรรมการตัดสินยุคนี้ลำบาก ต้องกลืนเลือด กลืนน้ำตา ขาข้างหนึ่งอยู่ในตะราง

ในยุคที่สังคมยังแตกแยก ในวาระ วันสตรีสากล "สดศรี" ส่งสัญญาณกระเทือนทั้งกระดานอำนาจด้วยคีย์เวิร์ด "คิดว่าถ้าปฏิวัติได้ปฏิวัติเลย ไม่อยากให้มีเลือกตั้งเพราะเหนื่อยมาก"

"ประชาชาติธุรกิจ" สนทนากับเธอ ผู้หญิงที่ใช้สมอง-เหตุผล มองการเมือง

- การเลือกตั้งครั้งนี้จะมีแรงกดดันจากสถานการณ์ชุมนุมหรือไม่

ตราบใดที่ยังมีม็อบอย่างนี้ การหาเสียงของแต่ละฝ่ายก็คงมีปัญหา เช่น ประชาธิปัตย์จะไปหาเสียงทางภาคอีสานก็คงไม่ปลอดภัย หรือพรรคเพื่อไทยไปภาคใต้ก็คงไม่สะดวก แม้เขียนกฎหมายห้าม แต่หากไม่มีกลไกดูแล มี กกต.แค่ 2,000 กว่าคน ไม่มีมือไม้ ทหาร ตำรวจ หากเกิดเหตุรุนแรง กกต.จะจัดการยังไง หรือควรมีกฎหมายพิเศษให้ กกต.หรือไม่ในช่วงที่มีการเลือกตั้ง

- วิเคราะห์แนวโน้มหลังเลือกตั้ง รัฐบาลพรรคเดียวเป็นไปได้แค่ไหน

พรรคการเมืองระดับใหญ่มีการสำรวจฐานเสียงเขา ทราบมาว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับภาคเหนือส่วนใหญ่จะเป็นพรรคเพื่อไทย สำหรับภาคใต้ก็เป็นของพรรคประชาธิปัตย์ ถ้าเป็นลักษณะแบบนี้เหมือนประเทศไทยแบ่งเป็น 3 ส่วน แน่นอนที่สุดคิดว่าเป็นรัฐบาลผสม

แต่ถ้าเป็นรัฐบาลพรรคเดียวคิดว่าคงเป็นไปไม่ได้ เพราะว่าการคุมคะแนนเสียงไม่เป็นเอกภาพ ซึ่งคงเป็นลักษณะเดียวกันกับของเก่าหลายพรรคด้วยกัน...พวกท่าน (นักการเมือง) ทำเพื่อบ้านเมืองหรือเปล่า พูดเรื่องอุดมการณ์กันหรือเปล่า ถ้าทำเพื่อประเทศชาติก็ไปได้ด้วยดี

- รัฐธรรมนูญใหม่เปิดช่องให้พรรคไหนได้ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์สูงสุดมีสิทธิชิงตั้งรัฐบาล

ไม่เห็นด้วยที่จะเอาปาร์ตี้ลิสต์มาชี้วัด การเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาพรรคประชาธิปัตย์ได้ปาร์ตี้ลิสต์สูงสุด แต่จำนวน ส.ส.เขตได้มาน้อย เราก็คงจะต้องดูว่าประชาชนเลือก ส.ส.พรรคไหนมากที่สุด สมควรเป็นตัวนำตั้งรัฐบาลหรือไม่ ส่วนปาร์ตี้ลิสต์เป็นระบบที่ไม่ต้องเหนื่อยแรงลงไปหาเสียงเหมือน ส.ส.ลงเลือกตั้งเขต ที่เข้าใจประชาชนมากกว่าปาร์ตี้ลิสต์ ที่มาจากนายทุน มีเงิน มีชื่อในปาร์ตี้ลิสต์ก็ได้แล้ว

ส.ส.ที่แท้จริงคือผู้ที่ไปสัมผัสกับประชาชน ท่านจะได้ไปรู้ความทุกข์สุขของประชาชนมากกว่าอาศัยคะแนนเสียงจากปาร์ตี้ลิสต์แล้วได้เป็น

- การแจกใบแดงมีผลต่อตัวเลข ส.ส.และการจัดตั้งรัฐบาล

หลังเลือกตั้งภายใน 30 วัน กกต.มีอำนาจแจกใบเหลืองใบแดง มีผลต่อการตั้งรัฐบาล แต่ส่วนใหญ่แล้วการสอบสวนจะทำไม่ทัน จึงต้องประกาศไปก่อนแล้วสอยทีหลัง เพราะสภาต้องเปิดหลังการเลือกตั้งไปแล้ว 30 วัน ฉะนั้นต้องเร่งระยะเวลานั้นให้เร็วที่สุด ต้องถามฝ่ายสืบสวนสอบสวนว่าไหวไหม ส่วนใหญ่แล้วไม่ทัน เว้นแต่จับได้คาหนังคาเขา แน่นอนว่าโดนใบแดงหรือใบเหลืองเลยเป็นอำนาจ กกต. ไม่ต้องส่งขึ้นศาล

- กกต.มักถูกกล่าวหาว่าเป็นเครื่องมือทางการเมือง เอื้อประโยชน์ต่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

ไม่ว่า กกต.หรือศาลวินิจฉัยอะไร ก็ต้องมีคนแพ้กับคนชนะ ซึ่งคนชนะก็จะชื่นชมว่ายุติธรรม ส่วนคนแพ้ก็จะบอกว่าไม่ยุติธรรม และเชื่อว่าคนตัดสินได้รับเงินรับทองฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นของธรรมดา แต่ไม่เป็นธรรมกับผู้ตัดสิน กกต.โดนว่าตลอดเวลา

ตราบใดไม่ยอมรับกติกา เหมือนลงสนามแล้วไม่นับถือกรรมการ แทนที่กรรมการจะเป็นผู้ให้ใบแดงแต่กรรมการ กลับโดนใบแดงเสียเอง ไม่ให้ตัดสินแล้วการเลือกตั้งจะอยู่ได้ยังไง สังคมจะอยู่ได้ยังไง ถ้าเลือกตั้งไม่ได้ก็ต้องอยู่กันแบบเผด็จการ แล้วขณะนี้ กกต.ไม่ได้ตัดสินคนเดียว เพราะหลังเลือกตั้งไปแล้ว 30 วัน กกต.ต้องส่งไปให้ศาล ซึ่งศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งเป็นผู้พิจารณาด่านสุดท้าย

- ผลการเลือกตั้งครั้งนี้จะเป็นที่ยอมรับหรือไม่

ตราบใดถ้ารัฐบาลไม่สามารถทำให้บ้านเมืองภายในสงบ และมีปัญหากับประเทศเพื่อนบ้านอยู่ การเลือกตั้งก็ไม่อาจเป็นยารักษาโรคได้ แต่อาจจะทำให้เป็นแผลพุพองมากขึ้นด้วยซ้ำ รัฐบาลต้องแก้ทั้งปัญหาเศรษฐกิจปากท้องประชาชนและม็อบภายในประเทศ รวมถึงศึกสงคราม

- ประเด็นการยุบพรรคจะเป็นเงื่อนไขในการจัดโครงสร้างอำนาจ

ตอนนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของอนุกรรมการวินิจฉัยของ กกต. เพราะมีการร้องขึ้นมาว่า คนในพรรคเพื่อไทยเข้าไปอยู่ในกลุ่มม็อบ ทั้งม็อบ นปช. และคนของพรรคประชาธิปัตย์เข้ามาอยู่ในม็อบพันธมิตรฯ ทำให้ขัดต่อความสงบเรียบร้อย ไม่เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตยหรือไม่ จะเป็นเหตุยุบพรรคตามมาตรา 94 ของ พ.ร.บ. พรรคการเมืองหรือไม่ ซึ่งก็ต้องดูเพราะต่างฝ่ายต่างร้องเข้ามา

- ฝ่ายหนึ่งมักจะระบุว่าถูกปฏิบัติอย่าง 2 มาตรฐาน

ตอนนี้โดนทั้ง 2 พรรค ต่างฝ่ายต่างก็ร้อง...เรื่องนี้เป็นเรื่องใหม่ ต้องพิจารณาให้มีบรรทัดฐาน การที่นักการเมืองจะ อยู่ในม็อบได้หรือไม่หรือจะเข้าไปสนับสนุน ม็อบได้หรือไม่ ต้องพิจารณาว่าต้องขึ้นศาลไหม หรือว่าจะให้อยู่ในชั้น กกต.ก็พอ

- คิดว่าผู้หญิงมีบทบาททางการเมืองมากขึ้นไหม

ไม่ว่าการเลือกตั้งท้องถิ่นก็มีนายก อบต. หรือนายก อบจ.เป็นผู้หญิงก็เยอะ หรือระดับชาติก็มี ส.ส.หญิง รัฐมนตรีหญิง แสดงให้เห็นว่าผู้หญิงสนใจการเมืองมาก ลบแนวความคิดเก่า ๆ ว่าการเมืองเป็นเรื่องผู้ชาย โดยเฉพาะลูกสาวของนักการเมืองจะสนใจการ เมืองมากกว่าลูกชายอาจเป็นเพราะการศึกษาสมัยใหม่

- ความเป็นผู้หญิงมีข้ออ่อนถูกโจมตีได้ง่ายหรือไม่

สิ่งที่จะถูกโจมตีคือเรื่องชู้สาว เรื่องทางเพศ เป็นการลดทอนศักดิ์ศรีผู้หญิงเกินไป สังคมไทยมักเอาเรื่องเหล่านี้มาปนกับเรื่องความสำเร็จทางการงาน บางคนกล่าวหาคนอื่นว่าได้เป็นปลัด เป็นอธิบดีเพราะไต่เต้า ถ้าให้ความเป็นธรรมกับผู้หญิง และเปิดโอกาสให้ทำงานบ้านเมืองก็จะดี

ข้อได้เปรียบของผู้หญิง คือ เรื่องคอร์รัปชั่นมีน้อยมาก อาจเพราะเป็นเพศที่ใจไม่ถึงในเรื่องนี้ ผู้หญิงที่มาถึงจุดนี้มีความพร้อมอยู่แล้วทั้งฐานะทางเศรษฐกิจและการศึกษา

ในอนาคตเราอาจจะมีผู้หญิง เป็นนายกรัฐมนตรีก็ได้ ขณะนี้มีรัฐมนตรีหญิง แต่ก็ถูกโจมตีว่าไม่เก่ง ไม่มีความสามารถ ซึ่งไม่จริง บางครั้งโดนเทคนิคทางการเมืองไม่ให้โอกาสเขาทำงานก็มี

- ในอดีตท่านถูกมองว่าเข้าข้าง คมช. ถูกโจมตีทั้งตัวท่านและลูกสาว

คนที่ไม่ได้ถูกใส่ร้ายป้ายสีคงไม่รู้สึกอะไร แต่เมื่อตัวเองตกอยู่ในฐานะนี้ ไม่ว่าจะเป็นนักการเมืองหญิงหรือชายก็ทนไม่ได้ เพราะลูกเราทำผิดอะไร ทำไมถึงเอามาเกี่ยวข้อง

ที่จริงไม่ได้เข้าข้าง คมช. แต่ในอดีตคงมีเงื่อนไขให้เกิดการยึดอำนาจ การปฏิวัติครั้งนั้นประชาชนให้ดอกไม้ ไม่ได้ลุกฮือเหมือนในปัจจุบันที่ต่อต้านการปฏิวัติ อย่างไรก็ตามถ้าปฏิวัติเพื่อผลประโยชน์ตัวเอง มีการฆ่าแกงประชาชน ไม่ว่าจะทำโดยทหารกลุ่มไหน เราก็ไม่เห็นด้วยแน่นอน

ส่วน กกต.จริง ๆ ไม่ใช่นักการเมือง แต่เขาลากไปว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการ เมือง เมื่อโจมตีแม่ไม่ได้ก็ไปโจมตีลูก

หลายครั้งเราคิดว่ามาทำกับเราคนเดียวดีกว่า ทุกคนก็รักลูกทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นคนร่ำรวย คนจน ผู้ดี หรือไพร่ แล้วสิ่งที่เราทำมันผิดไหม

ตอนเป็นผู้พิพากษาไม่เคยมีใครมา ยุ่งโจมตีกับลูกสาว แต่พอมาเกี่ยวข้องกับการเมือง เหมือนเขาทำอะไรแม่ไม่ได้ก็มาทำกับลูก ซึ่งเรามีลูกอยู่คนเดียวและเป็นผู้พิพากษาด้วย คิดว่าการชกควรจะชกตัวต่อตัว อย่าไปเอาคนอื่นมายุ่ง มันไม่แฟร์ ต่อไปข้างหน้า ผู้หญิงที่ลงการเมืองต้องไม่มีลูก ไม่แต่งงาน ต้องการอย่างนั้นหรือเปล่า