ที่มา ประชาไท
กองทัพแจงเสนอของบลับกว่า 2,300 ล้านบาทตั้ง พล.ร.7-พล.ม.3 ยันไม่เอี่ยวรับมือเสื้อแดง แค่ดูแลชายแดน เกรงกำลังรบชาติเพื่อนบ้านแซงหน้า
2 มี.ค. 54 - พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกกองทัพบก กล่าวถึงกรณีที่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม เสนอของบลับต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) กว่า 2,300 ล้านบาท เพื่อใช้ในการจัดตั้งกองพลทหารราบที่ 7 (พล.ร.7) และจัดตั้งกองพลทหารม้าที่ 3 (พล.ม.3) ว่า แนวคิดในการตั้ง พล.ร.7 มีมาตั้งแต่ปี 2541-42 โดยการตั้ง พล.ร.7 ในพื้นที่ภาคเหนือภายใต้การรับผิดชอบของกองทัพภาคที่ 3 เพื่อแบ่งเบาภาระกองกำลังชายแดนที่ต้องรับผิดชอบเป็นระยะทางถึง 3,000 กิโดเมตร ขณะนี้มีเพียง 2 หน่วยที่รับผิดชอบบ คือ กองกำลังผาเมืองจากกองพลทหารม้าที่ 1 (พล.ม. 1) กับกองกำลังนเรศวรจากกองพลทหารราบที่ 4 (พล.ร.4) ดังนั้นถ้าพล.ร.7 ตั้งขึ้นได้จะช่วยให้การทำงานในพื้นที่มีความพร้อมและมีขีดความสามารถในการ ป้องกันประเทศเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการเสนอเรื่องนี้เข้าสู่ครม.เป็นไปตามโอกาสและวาระที่รมว.กลาโหม ดำเนินการไปตามขั้นตอน โดยใช้บประมาณของกองทัพบกผูกพัน 3 ปี หากใน 3 ปีทำไม่ทันอาจมีการขยายเวลาสิ้นสุดโครงการ”โฆษกทบ.กล่าว
พ.อ.สรรเสริญ กล่าวว่า ส่วนแนวคิดการตั้งพล.ม.3 นั้น เนื่องจากชายแดนทางฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือมีความยาวถึง 1,500 กิโลเมตร และมีเพียง 2 องกำลังที่ดูแล คือ กองกำลังสุรนารีที่ดูแลชายแดนยาว 750 กม. ขณะที่กองกำลังสุรศักดิ์มนตรีดูแลชายแดนยาว 804 กม. ซึ่งแนวคิดดังกล่าวเป็นการสนับสนุนกำลังในการป้องกันแนวชายแดน โดยเฉพาะชายแดนด้านนี้ที่มีความสุ่มเสี่ยงต่อความขัดแย้งในการใช้กำลังทหาร เข้าจัดการสถานการณ์ โดยพื้นที่ด้านนี้เหมาะกับการใช้ยานเกราะ หรือจัดตั้งหน่วยใหม่ที่มียานเกราะบรรจุอยุ่ ซึ่งอำนาจกำลังรบเปรียบเทียบในการป้องกันประเทศก็เป็นยุทธศาสตร์ในการป้อง ปราม เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาโดยไม่ต้องใช้กำลัง
"งบประมาณที่ใช้ทั้งหมดเป็นการเกลี่ยจากงบของกองทัพบกเอง ค่าใช้จ่ายในระยะแรกจะเป็นค่าก่อสร้างอาคาร เงินเดือนกำลังพล ยุทโธปกรณ์ การฝึกศึกษา ซึ่งต้องทำควบคู่กันไป แน่นอนว่า อาจต้องเพิ่มอัตรากำลังพลบางส่วน เพราะเป็นพื้นที่ที่ต้องปฏิบัติงานตามแนวชายแดน โดยอาจจะเกลี่ยกำลังพลจากหน่วยอื่นที่ไม่จำเป็นมาก่อนบ้าง ยืนยันว่าการจัดตั้งกองพลทั้งสองไม่เกี่ยวกับการตั้งขึ้นมา เพื่อรับมือการชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดงในพื้นที่ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือแต่ออย่างใด" โฆษกกองทัพบก กล่าว
แหล่งข่าวนายทหารระดับสูงของกองทัพบก เปิดเผยว่า แนวคิดการตั้งกองพลใหม่ทั้ง 2 กองพลเนื่องจากกองทัพบกเห็นว่า ประเทศเพื่อนบ้านของไทยในขณะนี้มีการพัฒนาความสัมพันธ์ทางทหารกับเกาหลี เหนืออย่างไม่เปิดเผยมาตั้งแต่ปี 2542 โดยเกาหลีเหนือได้ขายยุทโธปกรณ์จำนวนหนึ่งพร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ และได้ส่งผู้เชี่ยวชาญมาติดตั้งอาวุธประจำเรือตรวจการณ์ รวมทั้งให้ความช่วยเหลือการก่อสร้างฐานทัพใต้ดินที่มีการสร้างอุโมงค์กลับ ใต้ดินหลายแห่ง โดยมีการพัฒนาศักยภาพกองทัพอย่างต่อเนื่อง ทั้งกำลังทางบก ทางเรือและทางอากาศ ซึ่งห้วงที่ผ่านมากองทัพของประเทศเพื่อนบ้านหลังจากปี 2542 ได้รับการจัดสรรงบประมาณเฉลี่ยร้อยละ 3.5 ของจีดีพี และในห้วง 4 ปีหลังได้รับงบประมาณด้านการทหารสูงถึงร้อยละ 20 ของจีดีพี ซึ่งถือว่า เป็นอัตราส่วนที่สูงกว่ากองทัพไทยมาก
ที่มาข่าว: เดลินิวส์