ที่มา ประชาไท
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตากรุณาเสมอ ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสฑูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีแด่ผู้อ่านทุกท่าน
วันที่ 1-3 มี.ค.54 ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าร่วม เวทีวิชาการ “ฟื้นพลังชุมชนท้องถิ่นสู่การอภิวัฒน์ประเทศไทย” งานประชุมของหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมเทค บางนา กรุงเทพมหานครซึ่งผลการประชุมตลอดสามวันพบว่า อนาคตของการขับเคลื่อนเวทีภาคประชาชน “เครือข่ายประชาชนเพื่อพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการปกครองในจังหวัดชายแดนภาคใต้” ในการนำเสนอ แนวคิดการจัดรูปการปกครองท้องถิ่นแบบพิเศษในจังหวัดชายแดนภาคใต้ถูกขานรับในหลักการและเป็นก้าวสำคัญในการปฏิรูปประเทศไทย เพราะ แนวคิดการจัดรูปการปกครองท้องถิ่นแบบพิเศษในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นการเพิ่มบทบาทให้คนในชุมชนจัดการตนเองอย่างแท้จริง1. ซึ่งมีนักวิชาการมากมายนำเสนอในเวทีในครั้งนี้โดยผู้เขียนขอสรุปทัศนะตามเวทีต่างๆดังนี้
1.ทัศนะ ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์
ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ได้เสนอ แนวทางในการปฏิรูปประชาธิปไตยนั้นต้องเอาความสำคัญไปอยู่ที่ฐาน ของ ‘ชุมชน’ และ ‘ท้องถิ่น’ เพราะประชาธิปไตยมีลักษณะพิเศษ คือ ‘เป็นของประชาชน และโดยประชาชนเพื่อประชาชน’ ด้วยหัวใจของประชาธิปไตยจึงอยู่ที่ทำอย่างไรให้เป็นการปกครองของประชาชนคนสามัญและโดยประชาชนคนธรรมดาให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ได้เสนอ แนวทางในการปฏิรูปประชาธิปไตยนั้นต้องเอาความสำคัญไปอยู่ที่ฐาน ของ ‘ชุมชน’ และ ‘ท้องถิ่น’ เพราะประชาธิปไตยมีลักษณะพิเศษ คือ ‘เป็นของประชาชน และโดยประชาชนเพื่อประชาชน’ ด้วยหัวใจของประชาธิปไตยจึงอยู่ที่ทำอย่างไรให้เป็นการปกครองของประชาชนคนสามัญและโดยประชาชนคนธรรมดาให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
ทั้งนี้ มิได้ได้รังเกียจคนชั้นสูง แต่ประชาธิปไตยไทยในเวลานี้จะต้องเปิดพื้นที่ประชาชนได้เข้ามาปฏิรูปประชาธิปไตยด้วยตัวเองแล้ว
ในรอบ 5-6 ปีที่ผ่านมา ประชาชนขึ้นมาก่อการเคลื่อนไหวทำกิจกรรม เรียกร้องต่อสู้ แม้ว่าจะมีการนำอยู่ด้วยแต่ท่านมองว่า ไม่ว่าจะเป็นสีแดง เหลือง น้ำเงินหรือไม่เอาสี ต่างก็มีประเด็น มีผิดมีถูก มีสิ่งที่ควรและไม่ควร มีสันติอดกลั้น มีความสงบ มีความรุนแรงแต่ถึงที่สุดแล้วนี่ก็คือการที่ประชาชนก้าวขึ้นมาประชาธิปไตยมาถึงขั้นที่คนจน คนชายขอบ เด็ก คนกึ่งจนคนชั้นกลางที่เพิ่งพ้นจากความจน ทั้งในชนบทและเมืองซึ่งคือคนส่วนใหญ่ของประเทศได้เข้ามาสู่เวทีการพัฒนาประชาธิปไตย
เอนก มองว่าประชาธิปไตยไม่ใช่ของตะวันตก ล้วนๆ เหมือนบางคนเข้าใจ ไทยหรือตะวันออกไม่มีประชาธิปไตยเป็นเรื่องตะวันตกและกรีกแต่หลังจากการค้นคว้าอย่างถี่ถ้วนจึงพบว่าประชาธิปไตยเริ่มจากตะวันออกก่อนในประเทศอิรัก อิหร่าน โดยมีสภาปรึกษาหารือ จากนั้นจึงค่อยๆ ถ่ายทอดไปยังประเทศกรีก
ในศาสนาพุทธ ในครั้งพุทธกาลแคว้นที่อยู่ตอนเหนือของประเทศอินเดียก็มีการปกครองที่เป็นประชาธิปไตยคือการประชุมของสภาในวรรณะกษัตริย์ปรึกษาหารือกันเรื่องการบริหารบ้านเมืองและร่วมแรงร่วมใจช่วยกันไม่มีลักษณะแบบผู้นำคนเดียวฉะนั้นจึงไม่แปลกใจที่ว่า ทำไมพระพุทธองค์จึงตรัสสิ่งที่ทันสมัย เช่นให้มีการประชุมอย่างสม่ำเสมอที่เป็นเช่นนั้นเป็นเพราะดินแดนแหล่งกำเนิดพระศาสนามีพื้นฐานประชาธิปไตย
ขณะเดียวกัน ศาสนาอิสลามก็เป็นต้นกำเนิดของประชาสังคมสิ่งที่ใช้ในการบริหารจัดการมัสยิด มีหลักรัฐอยู่ส่วนรัฐสังคมอยู่ส่วนสังคม รัฐต้องปล่อยให้สังคมพัฒนาศาสนสถานหรือสถานศึกษาของตนและสามารถระดมทุนต่างๆ ของตนเองและเป็นเหตุสำคัญที่ทำให้ประเทศสเปนซึ่งรับอิทธิพลจากอิสลามไปมากมีความเป็นประชาสังคมมากดังนั้นประชาธิปไตยไม่ใช่เรื่องตะวันตกเท่านั้นแต่เป็นของตะวันออกและเป็นของทุกๆ ศาสนาด้วยและเราสามารถสร้างสรรค์ประชาธิปไตยแบบของเราได้อีกมากโดยไม่จำเป็นต้องตกอยู่ในกับดักของตะวันตกเพราะหัวใจของประชาธิปไตยคือความเป็นพลเมือง
2.ทัศนะของศ.นพ.ประเวศ วะสี
ศ.นพ.ประเวศ วะสี ประธานสมัชชาปฏิรูปประเทศไทย ระบุว่าการปฏิรูปประเทศไทยที่สำคัญที่สุดคือการปฏิรูปการบริหารประเทศจากการเอากรมเป็นตัวตั้งเป็นการเอาพื้นที่เป็นตัวตั้ง หรือ ‘เทศาภิวัฒน์’ เพราะการรวมศูนย์อำนาจรัฐกว่าร้อยปีที่ผ่านมาทำให้เกิดความอ่อนแอที่มีผลร้ายแรงอย่างน้อย 7 ประการคือ 1) ชุมชนท้องถิ่นทั้งหมดไม่สามารถจัดการตัวเองได้ 2)ความขัดแย้งระหว่างอำนาจรวมศูนย์กับวัฒนธรรมท้องถิ่นนำไปสู่ความรุนแรงเช่น สามจังหวัดภาคใต้ 3) รวมศูนย์อำนาจเรื่องการศึกษา 4) ระบบราชการอ่อนแอทางปัญญา เพราะใช้แต่อำนาจ เป็นระบบรัฐที่ล้มเหลวแก้ปัญหาไม่ได้ 5) คอร์รัปชั่นอย่างหนัก 6) การเมืองที่ไร้คุณภาพเป็นคณาธิปไตย 7) รัฐประหารได้ง่าย
ศ.นพ.ประเวศ วะสี ประธานสมัชชาปฏิรูปประเทศไทย ระบุว่าการปฏิรูปประเทศไทยที่สำคัญที่สุดคือการปฏิรูปการบริหารประเทศจากการเอากรมเป็นตัวตั้งเป็นการเอาพื้นที่เป็นตัวตั้ง หรือ ‘เทศาภิวัฒน์’ เพราะการรวมศูนย์อำนาจรัฐกว่าร้อยปีที่ผ่านมาทำให้เกิดความอ่อนแอที่มีผลร้ายแรงอย่างน้อย 7 ประการคือ 1) ชุมชนท้องถิ่นทั้งหมดไม่สามารถจัดการตัวเองได้ 2)ความขัดแย้งระหว่างอำนาจรวมศูนย์กับวัฒนธรรมท้องถิ่นนำไปสู่ความรุนแรงเช่น สามจังหวัดภาคใต้ 3) รวมศูนย์อำนาจเรื่องการศึกษา 4) ระบบราชการอ่อนแอทางปัญญา เพราะใช้แต่อำนาจ เป็นระบบรัฐที่ล้มเหลวแก้ปัญหาไม่ได้ 5) คอร์รัปชั่นอย่างหนัก 6) การเมืองที่ไร้คุณภาพเป็นคณาธิปไตย 7) รัฐประหารได้ง่าย
ประเวศกล่าวด้วยว่าการปฏิวัติรัฐประหารและการแก้ปัญหาประชาธิปไตยไทยแบบที่ผ่านมาคือการเปลี่ยนยอดของอำนาจ แต่ไม่ได้เปลี่ยนโครงสร้างอำนาจเป็นการแก้ไขที่ส่วนบนการปฏิรูปประเทศไทยจึงต้องปฏิรูปการบริหารประเทศจากกรมไปสู่การเอาพื้นที่เป็นตัวตั้ง เพราะว่าพื้นที่มีองค์กร มีประชาชนพลังในชุมชนท้องถิ่นเพื่อการปฏิรูปนั้นมีมหาศาลซึ่งสามารถทำได้โดยธรรม (หลักการที่ถูกต้องสมเหตุผล) และโดยรัฐธรรมนูญ จึงลงมือทำได้ทันทีและต้องจัดการให้เกิดการบูรณาการอย่างน้อย 8 เรื่อง คือ เศรษฐกิจ จิตใจสังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม สุขภาพ การศึกษา และประชาธิปไตย ทั้งนี้การพัฒนาควรมุ่งไปที่การสัมมาชีพเต็มพื้นที่เคารพความเป็นคนและเคารพความรู้ในตัวคน
ปัจจุบัน มีองค์กรท้องถิ่นเกือบ 8,000 แห่งคือทั้งระดับจังหวัด ภูมิภาค และท้องถิ่นในกลุ่มจังหวัดที่ใกล้เคียงกันควรเชื่อมโยงกันทั้งประเทศ และรวมตัวกันเป็น “สภาผู้นำท้องถิ่นแห่งชาติ” โดยทำงานร่วมกับองค์กรชุมชนทั้งหมดและเชื่อมโยงประชาชนทั้งหมดทุกภาคซึ่งจะเป็นฐานอำนาจของประชาชนและชุมชนท้องถิ่นเพื่อเสนอและขับเคลื่อนนโยบายที่สำคัญในอนาคต และหากทำได้เช่นนี้ต่อไปประเทศไทยก็จะมีผู้นำระดับชาติที่จะมาจากผู้นำชุมชนซึ่งการทำเช่นนี้เป็นการปฏิวัติประชาชนแบบใหม่เป็นการปฏิวัติเงียบโดยประชาชนรวมตัวกัน ติดอาวุธด้วยปัญญา ใช้ความรู้ใช้สันติวิธี ทั้งหมดเป็นพลังที่จะเปลี่ยนแปลงประเทศไทย
สำหรับแนวทางการปฏิรูปควรจากฐานของท้องถิ่น 8 ประการคือ 1) การสื่อสารที่ทั่วถึงให้เกิดสัมมาทิฐิว่าประเทศต้องเปลี่ยนแปลงโดยเอาท้องถิ่นเป็นตัวตั้ง 2) กรมปรับบทบาทไปสนับสนุนท้องถิ่นทางวิชาการและนโยบาย 3) หนึ่งมหาวิทยาลัยต่อหนึ่งจังหวัดและแต่ละจังหวัดควรมีการรวมตัวกันลงขันกันตั้งสถาบันวิจัยเพื่อท้องถิ่น 4) การศึกษาเพื่อชุมชนท้องถิ่น ไม่รวมศูนย์อำนาจ 5) ภาคธุรกิจเชื่อมโยงชุมชนท้องถิ่นเพื่อความเข้มแข็งของท้องถิ่น 6) การเงินการคลังเพื่อชุมชนท้องถิ่น เช่น ให้ท้องถิ่นเป็นผู้เก็บภาษีอากรและการสร้างธนาคารชุมชน 7) ต้องออกกฎหมายความเข้มแข็งชุมชนท้องถิ่นเพื่อปลดพันธนาการ เพราะปัจจุบันมีกฎหมายกว่า 100 ฉบับที่ดึงอำนาจไว้ส่วนกลาง และ 8) เพิ่มงบประมาณให้ท้องถิ่นทันที
3.ทัศนะนายกรัฐมนตรี
วันที่ 3 มีนาคม 2554 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวสุนทรพจน์ หัวข้อ “ความท้าทายใหม่ของรัฐบาลต่อการผลักดันชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง”
วันที่ 3 มีนาคม 2554 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวสุนทรพจน์ หัวข้อ “ความท้าทายใหม่ของรัฐบาลต่อการผลักดันชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง”
โดยให้ทัศนะว่าการผลักดันให้เกิดความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น ถือเป็นความท้าทายสำหรับคนที่ทำงานในส่วนกลางท้องถิ่น และชุมชน ในการผลักดันแนวคิดดังกล่าวในการพัฒนาชาติ โดยเฉพาะ 4 ประเด็นปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไข คือ
1.ปัญหาเชิงโครงสร้าง และกฏหมายซึ่งแม้จะมีรัฐธรรมนูญหลายมาตราที่เกี่ยวข้องกับการกระจายอำนาจหรือเสริมความเข้มแข็งชุมชน แต่ต้องยอมรับว่ายังมีกฏระเบียบมากมายที่ทำให้หน่วยงานส่วนกลางดำรงอำนาจหน้าที่ตามกฏหมายส่งผลให้ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)ไม่สามารถแสดงบทบาทได้อย่างเต็มประสิทธิภาพทั้งนี้หน่วยงานราชการยังกลัวว่าหากมีการถ่ายโอนอำนาจจะส่งผลให้เกิดปัญหาในการปฏิบัติภารกิจซึ่งหลายฝ่ายต้องช่วยกันผลักดันให้เกิดการปฏิรูปกฏหมายนั่นรวมถึงแถลงการณ์ของคณะกรรมการปฏิรูป (คปร.)และคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป (คสป.)
2.ในส่วนของการบังคับใช้กฏหมาย และกระบวนการยุติธรรมซึ่งประสบปัญหาเช่นเดียวกันแม้จะมีการแก้ไขด้วยการสร้างกระบวนการยุติธรรมทางเลือก หรือที่เรียกว่ายุติธรรมชุมชน
3.ระบบการเรียนรู้และการศึกษามีความจำเป็นที่ต้องเชื่อมโยงสู่เป้าหมายสำคัญของชาติไม่ว่าจะเป็นเรื่องของโอกาสและคุณภาพทางการศึกษาที่ต้องมีการกระจายให้เกิดความเท่าเทียมขณะเดียวกันต้องเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นมีความยืดหยุ่นอิสระให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน อย่างเช่น โครงการ 1 มหาวิทยาลัย 1 จังหวัดและการสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.)เพื่อสร้างโอกาสให้แก่เด็กและเยาวชนที่อยู่นอกระบบโรงเรียนด้วยเหตุผลหลายประการ”
4.เรื่องระบบทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรวมถึงสิทธิชุมชนที่ยังคงพบเห็นความขัดแย้งอย่างมากไม่ว่าจะเป็นการดำเนินโครงการทับที่ทำกินของชาวบ้านการบังคับใช้กฎหมายของหน่วยงานที่ตนเองมีความรับผิดชอบในที่ดิน
4.ผลเวทีอภิปราย“นโยบายพรรคการเมืองต่อการคืนอำนาจให้ชุมชนท้องถิ่น”
วันที่ 3 มีนาคม 54 มีการจัดเวทีอภิปราย“นโยบายพรรคการเมืองต่อการคืนอำนาจให้ชุมชนท้องถิ่น” โดยนางสาวผ่องศรี ธาราภูมิตัวแทนพรรคประชาธิปัตย์, น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ ตัวแทนพรรคเพื่อไทยและนายศุภชัย ใจสมุทร ตัวแทนพรรคภูมิใจไทย
วันที่ 3 มีนาคม 54 มีการจัดเวทีอภิปราย“นโยบายพรรคการเมืองต่อการคืนอำนาจให้ชุมชนท้องถิ่น” โดยนางสาวผ่องศรี ธาราภูมิตัวแทนพรรคประชาธิปัตย์, น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ ตัวแทนพรรคเพื่อไทยและนายศุภชัย ใจสมุทร ตัวแทนพรรคภูมิใจไทย
นางสาวผ่องศรีกล่าวถึงนโยบายพรรคที่เน้นย้ำเสมอถึงการนำทุกข์ร้อนของประชาชนมาจัดตั้งเป็นนโยบาย ด้วยวิธีการเปิดเวทีทั้งในระดับจังหวัด ภูมิภาคและประมวลความเห็นเป็นประเด็นระดับชาติ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองซึ่งเรียกได้ว่ามีการพัฒนานโยบายพรรคอย่างมีส่วนร่วมกับประชาชน และท่านยังให้ทัศนะว่า“ โดยส่วนตัวอยากให้มีการจัดตั้งเขตปกครองพิเศษหรือเขตเศรษฐกิจพิเศษเพิ่มเติมที่ชุมชนสามารถแก้ปัญหาเรื่องราวในท้องถิ่นของตนเองได้ ซึ่งในทางปฏิบัติต้องใช้เวลา”
น.อ.อนุดิษฐ์กล่าวถึงจุดยืนและหลักการของพรรคเพื่อไทย ไม่ใช่มีเพียงการถ่ายโอนากส่วนกลางสู่อปท. เพียงอย่างเดียวแต่ต้องปฏิบัติการให้เสมือนกับประชาชนได้มอบอำนาจอธิปไตยคืนสู่ส่วนกลางอันเป็นแนวคิดของประเทศที่มีความเจริญ และมีความเป็นประชาธิปไตยสูง ฉะนั้นการก้าวเดินตามอุดมการณ์ดังกล่าวเป็นหลักสูตรที่ทุกรัฐบาลต้องเดินตามข้อกำหนดในรัฐธรรมนูญอย่างเคร่งครัด แต่กว่าที่จะประสบความสำเร็จนั้นต้องพบกับกรอบอุปสรรคอย่างน้อย 5 กรอบ คือ 1.กรอบกำหนดปฏิบัติที่ถูกต้องต่อการถ่ายโอนอำนาจรัฐไปสู่ท้องถิ่นอย่างครบถ้วน 2.การสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนในเรื่องการใช้งบประมาณและอำนาจของท้องถิ่น“3.การพัฒนาบุคลากรที่ต้องติดอาวุธทางปัญญาในการใช้อำนาจรัฐซึ่งอยูในลักษณะผู้ที่ใช้กับผู้ที่มารับใช้ต้องสร้างประโยชน์ตามเจตนารมณ์ของชุมชน 4.ขจัดความยึดโยงของงบประมาณจากภาครัฐซึ่งเป็นอุปสรรคที่ทำให้หลายนโยบายต้องหยุดชะงัก 5.ในการเลือกตั้งผู้บริหารส่วนท้องถิ่นภาครัฐต้องปลีกตัวออกมาเป็นพี่เลี้ยงเพื่อสร้างความบริสุทธิ์ยุติธรรมให้แก่ชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ” ในขณะเดียวกันพรรคเพื่อไทยได้ขึ้นคัดเอาต์นำเสนอแนวคิดรูปแบบการปกครองท้องถิ่นพิเศษในจังหวัดชายแดนภาคใต้
นายศุภชัยกล่าวว่าแม้กฏหมายหลายส่วนจะพยายามทำให้ประชาชนมีสิทธิเกิดขึ้นเป็นรูปธรรมากที่สุดแต่จะพบว่าทุกอย่างเป็นไปตามบทบัญญัติที่กฏหมายกำหนดนั่นหมายถึงประชาชนจะได้รับสิทธิมากน้อยเพียงใดก็ต้องเป็นไปตามกรอบที่รัฐกำหนดไว้ให้ ซึ่งเป็นการออกแบบจากส่วนกลางอย่างกรุงเทพฯนี่คือสิ่งที่สังคมต้องยอมรับความจริง
“วันนี้สิทธิชุมชนเป็นเพียงวาทกรรมที่พูดกันอย่างเลื่อนลอยจับต้องไม่ได้ การรวบอำนนาจไว้ที่ส่วนกลางยังคงดำรงอยู่และมีต่อไปเพราะสังคมไทยถูกออกแบบให้เป็นเช่นนี้โดยส่วนตัวยังไม่เห็นภาพที่ชัดเจนว่าประเทศไทยจะกระจายอำนาจลงสู่ชุมชนได้อย่างไร” นายศุภชัยกล่าว และว่า ยังไม่มีความมั่นใจระดับท้องถิ่นจะมีความพร้อมมากน้อยเพียงใดซึ่งทางออกในการกระจายอำนาจสู่ชุมชนนั้น อาจต้องเริ่มจากการ "ดีไซน์"ประเทศ ออกแบบโครงสร้างกันใหม่ พร้อมทั้งเปลี่ยนทัศนคติของรัฐบาลว่าหากได้โอกาสเข้ามาบริหารประเทศนั้นจะยังต้องการอำนาจอย่างเต็มไม้เต็มมืออยู่เช่นเดิมหรือไม่
ช่วงสุดท้ายผู้เข้าร่วมประชุมได้ซักถามและแสดงความคิดเห็นและสรุปตรงกันว่านักการเมืองไม่ว่าจะมาจากพรรคไหนต้องนำนโยบายการกระจายอำนาจในแง่ทฤษฎีสู่การปฏิบัติอย่างแท้จริงมิใช่ขายนโยบายไปวันๆพอเป็นรัฐบาลกลัวเสียอำนาจ
5.ผลการวิจัยความคิดเห็นต่อการปฏิรูปการปกครองท้องถิ่น (อทป.)
ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน (เอแบคโพลล์) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญร่วมกับสมัชชาองค์กรท้องถิ่นเพื่อการปฏิรูปประเทศไทยได้นำเสนอสรุปผลการวิจัยความคิดเห็นต่อการปฏิรูปการปกครองท้องถิ่น (อทป.) :กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18-60 ปี ในพื้นที่ 13 จังหวัดทั่วประเทศ โดยนายเทวินทร์ อินทร์จำนง สถาบันวิจัย เอแบคโพลล์กล่าวในฐานะผู้ทำวิจัย ว่าความคิดเห็นเกี่ยวกับการกระจายอำนาจให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นประชาชนร้อยละ 39.2 เห็นด้วย ในขณะที่มีผู้ไม่มีความเห็นถึงร้อยละ 49.2
ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน (เอแบคโพลล์) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญร่วมกับสมัชชาองค์กรท้องถิ่นเพื่อการปฏิรูปประเทศไทยได้นำเสนอสรุปผลการวิจัยความคิดเห็นต่อการปฏิรูปการปกครองท้องถิ่น (อทป.) :กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18-60 ปี ในพื้นที่ 13 จังหวัดทั่วประเทศ โดยนายเทวินทร์ อินทร์จำนง สถาบันวิจัย เอแบคโพลล์กล่าวในฐานะผู้ทำวิจัย ว่าความคิดเห็นเกี่ยวกับการกระจายอำนาจให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นประชาชนร้อยละ 39.2 เห็นด้วย ในขณะที่มีผู้ไม่มีความเห็นถึงร้อยละ 49.2
ด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับความพร้อมของ อปท.ในการบริหารจัดการท้องถิ่นให้มีประสิทธิภาพ ประชาชนร้อยละ 39.9 เห็นด้วยว่ามีความพร้อม และร้อยละ 39.5 เห็นว่ายังไม่พร้อม ในขณะที่ร้อยละ 20.6 ไม่มีความคิดเห็น
“กล่าวโดยสรุปประชาชนโดยรวมมีความรักในท้องถิ่นของตนซึ่งต้องการแก้ปัญหาในพื้นที่ต้องการมีส่วนร่วมในการจัดสรรทรัพยากรสิทธิการมีส่วนร่วมในขณะเดียวกันยังมีข้อโต้แย้งหากจะการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นเพราะยังมีความกังกวลในเรื่องของการทุจริตของตัวแทนท้องถิ่นและการใช้อำนาจอิทธิพลเกินขอบเขต โดยเสนอทางให้จัดการเลือกตั้งด้วยวิธีการสรรหาตัวแทนที่เป็นธรรมและปรับปรุงกระบวนการทางกฏหมายในการปฏิรูปการปกครองท้องถิ่นให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น”
6.แถลงการณ์ : ข้อเสนอเพื่อการปฏิรูปโครงสร้างและระบบการปกครองท้องถิ่น
ช่วงสุดท้ายของวันที่ 3 มีนาคม2554 คณะกรรมการองค์กรปกครองท้องถิ่นเพื่อการปฏิรูปในคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป ร่วมกับสมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย และสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทยแถลงการณ์ข้อเสนอเพื่อการปฏิรูปโครงสร้างและระบบการปกครองท้องถิ่น เพื่อสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคมพร้อมยื่นข้อเสนอดังกล่าวให้กับศ.นพ.ประเวศและคุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์ ประธานคณะกรรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนแห่งชาติเป็นเจ้าภาพในการขับเคลื่อนพลังชุมชนท้องถิ่นให้เป็นพลังแผ่นดินต่อไป
ช่วงสุดท้ายของวันที่ 3 มีนาคม2554 คณะกรรมการองค์กรปกครองท้องถิ่นเพื่อการปฏิรูปในคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป ร่วมกับสมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย และสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทยแถลงการณ์ข้อเสนอเพื่อการปฏิรูปโครงสร้างและระบบการปกครองท้องถิ่น เพื่อสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคมพร้อมยื่นข้อเสนอดังกล่าวให้กับศ.นพ.ประเวศและคุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์ ประธานคณะกรรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนแห่งชาติเป็นเจ้าภาพในการขับเคลื่อนพลังชุมชนท้องถิ่นให้เป็นพลังแผ่นดินต่อไป
สำหรับข้อเสนอเพื่อการปฏิรูปโครงสร้างและระบบการปกครองท้องถิ่น ซึ่งประกอบด้วย 4 ส่วนดังนี้
ส่วนที่ 1 ข้อเสนอด้านกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับ เสนอให้มีการตรากฎหมายใหม่ที่เรียกว่า ‘ประมวลกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น’โดยกำหนดให้มีการจัดตั้ง‘สภาการปกครองท้องถิ่นแห่งชาติ’ทำหน้าที่เป็นกลไกประสานการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น และจัดตั้ง‘สมัชชาการปกครองท้องถิ่น’ ในระดับพื้นที่และระดับชาติในการสร้างข้อตกลงร่วมหรือการตัดสินใจร่วมกันขณะเดียวกันให้คงสภาพองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไว้ 4 รูปแบบเช่นเดิม ได้แก่อบจ. เทศบาล อบต. และรูปแบบพิเศษ(สอดคล้องข้อเสนอแนวคิดการจัดรูปการปกครองท้องถิ่นแบบพิเศษในจังหวัดชายแดนภาคใต้)
ส่วนที่ 2 ข้อเสนอด้านการถ่ายโอนภารกิจให้มีการตรากฎหมายว่าด้วยการถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นการเฉพาะ และให้การถ่ายโอนภารกิจเสร็จสิ้นภายใน พ.ศ.2560 รวมทั้งให้มีมาตรการ บังคับ เร่งรัด การถ่ายโอนภารกิจดังกล่าว ทั้งด้านอัตรากำลังและงบประมาณ
ส่วนที่ 3 ข้อเสนอด้านการเงินการคลังท้องถิ่นให้รัฐบาลจัดสรรงบประมาณให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพิ่มขึ้นทุกปีจนให้ได้สัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ 35 ของรายได้ของรัฐบาล ภายใน 5 ปีนับตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.2555 และให้รัฐบาลมีระบบการประกันรายได้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่น้อยกว่า 15 ล้านบาทโดยให้สำนักงบประมาณเป็นผ็จัดส่งงบประมาณให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยตรง
และส่วนที่ 4 ข้อเสนอด้านการจัดความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับท้องถิ่นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องร่วมกับองค์กรชุมชนในการกำหนดนโยบายและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของพื้นที่ตนเองโดยมีกลไกภาคประชาชนเป็นผู้ดำเนินการ ติดตาม กำกับ และประเมินผลการดำเนินงาน
ขณะเดียวกันรัฐบาลจะต้องแก้ไขพ.ร.บ.การบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 เพื่อเปิดโอกาสให้คนท้องถิ่นเข้ามาเป็นบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพร้อมให้รัฐบาลสนับสนุนการจัดตั้ง“กองทุนการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต” เพื่อฟื้นพลังชุมชนให้เข้ามาร่วมในการจัดการศึกษาทุกพื้นที่
สรุป
จากทัศนะของนักวิชาการ นักการเมืองทั้งระดับชาติและท้องถิ่นต่างๆมีความคิดสอดคล้องกันที่จะให้ชุมชนมีอำนาจในการบริหารจัดการตนเองมากขึ้นและลดบทบาทอำนาจส่วนกลางซึ่งเป็นการยืนยันและสร้างความชอบธรรมให้กับแนวคิดการจัดรูปการปกครองท้องถิ่นแบบพิเศษในจังหวัดชายแดนภาคใต้มากขึ้นและเป็นแสดงว่าเครื่อข่ายมิได้ทำงานโดดเดี่ยว
เพราะแนวคิดนี้เป็นแนวคิดเกี่ยวกับ “ท้องถิ่นดูแลตัวเอง” ซึ่งไม่ใช่การปฏิเสธอำนาจรัฐ แต่เป็น การให้ประชาชนในท้องถิ่นมีอำนาจในการดำเนินกิจการของท้องถิ่นให้เป็นไปตามความต้องการของท้องถิ่นอย่างแท้จริง ซึ่งทำให้แต่ละท้องถิ่นสามารถเป็นตัวของตัวเองได้ โดยที่สามารถ “ออกแบบบ้านของตัวเอง” ได้บนผืนแผ่นดินไทยแห่งนี้ซึ่งแนวคิดการปกครองตนเองนี้มิได้ปฏิเสธนักการเมืองหรือสภาผู้แทนราษฎร หากแต่โจทย์สำคัญคือทำอย่างไรที่จะให้คนในท้องถิ่นมีโอกาสเข้ามาทำงานการเมืองมากขึ้น ได้มีส่วนร่วมคิดร่วมทำในการดูแลบ้านเมืองของตนเองให้มากขึ้น มิใช่ทำหน้าที่เพียงเป็นผู้รอรับบริการหรือรอคอยความช่วยเหลือจากรัฐบาลเท่านั้น ซึ่งถือเป็นการเปิดพื้นที่ทางการเมือง อันมีความหมายรวมถึงการมีอำนาจในการต่อรองและการตัดสินใจเพื่อให้คนในท้องถิ่นสามารถกำหนดวิถีชีวิตของตนเองได้ ไม่ว่าจะเป็นด้านการบริหารปกครอง การศึกษา วัฒนธรรม การสาธารณสุข หรือการพัฒนาชุมชน
อีกทั้งแนวคิดนี้ยังทำภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ในมาตรา 281 ว่า
“ภายใต้บังคับมาตรา 1 รัฐจะต้องให้ความเป็นอิสระแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักแห่งการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น และส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำบริการสาธารณะ และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาในพื้นที ท้องถิ่นใดมีลักษณะที่จะปกครองตนเองได้ ย่อมมีสิทธิจัดตั้งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ” 2.
ทั้งนี้ ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญนั้น ระบุให้รัฐต้องส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมและมีอิสระในการดำเนินการให้เป็นไปตามความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นภายใต้หลักบูรณภาพแห่งดินแดนอันแบ่งแยกไม่ได้ โดยราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาคจะต้องไม่แทรกแซงการบริหารกิจการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น3. กล่าวคือ รัฐจะต้องกระจายอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบ อำนาจการตัดสินใจ และอำนาจการบริหารจัดการให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และปรับลดบทบาท ตลอดจนลดการกำกับดูแลของราชการบริหารส่วนกลางและส่วนภูมิภาคลง เพื่อให้เป็นไปตามหลักความเป็นอิสระขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยจะคงไว้ก็แต่กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง การพิจารณาพิพากษาคดี การต่างประเทศ และการเงินการคลังของประเทศโดยรวมเท่านั้น4.
ในทางปฏิบัติ รัฐจะต้องจัดให้มีกฎหมายกำหนดอำนาจหน้าที่ระหว่างราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยคำนึงถึงการกระจายอำนาจหน้าที่ให้แก่ท้องถิ่นเพิ่มขึ้น และลดความซ้ำซ้อนและขัดแย้งระหว่างส่วนต่างๆ ซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้อง “ก้าวให้พ้นไปจากการควบคุมกำกับ ไปสู่ความร่วมมือที่เท่าเทียมกัน ต้องเปลี่ยนความสัมพันธ์แนวตั้งระหว่างรัฐและภูมิภาคที่อยู่ในฐานะควบคุม กำกับ สั่งการ มาเป็นความสัมพันธ์แบบพันธสัญญาที่มีความเท่าเทียมกันในแนวนอนแทน โดยจะต้องแก้กฎหมาย กฎระเบียบใหม่”
อย่างไรก็ตาม เมื่อหันมาพิจารณาถึงคุณลักษณะของการเมืองการปกครองในจังหวัดชายแดนภาคใต้แล้ว นอกจากจะต้องเป็นการปกครองที่ให้อำนาจประชาชนในการดูแลกิจการของท้องถิ่นตัวเองแล้ว อาจจะต้องเป็นการปกครองที่สะท้อนถึงอัตลักษณ์ของชนกลุ่มน้อยที่มีความแตกต่างทางชาติพันธุ์และวัฒนธรรมจากคนส่วนใหญ่ของประเทศอีกด้วย
--------------------------------------------------------------------------------
1. ปรดดูรายละเอียด “(ร่าง) รายงานผลการศึกษาการปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษในจังหวัดชายแดนภาคใต้ภายใต้ รัฐธรรมนูญไทย: ความพยายามในการแสวงหาแนวทางการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืนจากมุมมองของคน พื้นที่ (ร่างที่ 5)” ใน http://www.deepsouthwatch.org/node/1403
2.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หมวด 14 การปกครองท้องถิ่น มาตรา 281
3. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, รวมบทสรุปผู้บริหารการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ (กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2552), หน้า 401.
4.สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, แผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๕๑ และแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนและแผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ๒) (มปป.), หน้า 8-10.