WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, March 6, 2011

"หม่อมอุ๋ย"หนุน"ศูนย์กระจายสินค้าจีน บางนา"ทีดีอาร์ไอ. วิพากษ์รัฐบาลทุ่มประชาวิวัฒน์เกินเหตุ

ที่มา มติชน







5 มีนาคม สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย (TJA 56th Anniversary) จัดเสวนา ‘ปรับรื้อเศรษฐกิจไทย รับมือขั้วอำนาจโลกใหม่’ ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ โดยมี ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี และดร.นิพนธ์ พัวพงศกร ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ร่วมเสวนา

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าวว่า สาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นผู้นำขั้วอำนาจใหม่ของเอเชียตะวันออก ซึ่งอำนาจดังกล่าวไม่ได้เกิดจากแสนยานุภาพทางการทหาร แต่เป็นพลังทางเศรษฐกิจ เนื่องจากขณะนี้เอเชียตะวันออกเป็นศูนย์ผลิตสินค้าอุปโภค-บริโภค อาทิ ข้าว ยางพารา อาหารทะเลสำเร็จรูปที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยจีนขยายกำลังการผลิต โดยเฉพาะด้านแรงงานราคาถูกอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังมุ่งยกระดับสินค้าที่มีคุณภาพ ซึ่งแตกต่างจากประเทศอินโดนีเซียและเวียดนาม ส่งผลให้จีนมีความก้าวหน้าทางการค้าต่อไปในอนาคต แต่อย่างไรก็ตาม 3 ประเทศดังกล่าว ก็นับว่าเป็นคู่แข่งด้านสินค้าราคาถูกของประเทศไทยส่วนการปรับรื้อเศรษฐกิจไทย

อดีตรองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า สำหรับภาคเอกชน ไม่จำเป็นต้องมีการรื้อโครงสร้างเศรษฐกิจ เพราะภาคเอกชนมีการปรับตัวรับขั้วอำนาจใหม่มาก่อนหน้านี้แล้ว ยกตัวอย่างเช่น การยกเลิกโรงงานผลิตสินค้าที่มีราคาถูก ค่าแรงถูก อีกทั้งมีการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพดี เช่น เสื้อผ้า อาหารสำเร็จรูป เพื่อป้อนเข้าสู่ตลาดอีกระดับหนึ่งที่มีราคาสูงขึ้น ขณะที่ด้านการเกษตรได้ยกเลิกผลิตสินค้าที่จีนมีตลาดการค้าเข้มแข็ง เช่น กระเทียม โดยหันไปผลิตยางพาราแทน เพื่อปรับตัวตามตลาดของเมืองจีนที่มีความต้องการใช้ยางพารา ในภาคอุตสาหกรรมรถยนต์เพิ่มขึ้น

ด้านการลงทุน พ่อค้าไทยพร่องธุรกิจ หันไปตั้งฐานการผลิตสินค้าราคาถูกในจีนมากขึ้น ขณะเดียวกัน จีนก็เตรียมจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้าขนาดใหญ่ในประเทศไทย บริเวณเขตบางนา กรุงเทพฯ เช่นกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องต้องจับตา เนื่องจากจีนจะมีศักยภาพในการกระจายสินค้าไปทั่วโลก แต่ทั้งนี้ ในเบื้องต้นก็พบว่า มีกระแสต่อต้านจากหลายภาคส่วน

"ในความคิดของผม มองว่าการจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้าของจีนในประเทศไทยนั้น เป็นโอกาสที่ดี ที่เป็นการเปิดตลาด และสามารถนำสินค้าภายในศูนย์ฯ ดังกล่าวไปจัดจำหน่ายต่อให้กับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น กัมพูชา มาเลเซีย เพราะหากไม่เปิดรับโอกาสดังกล่าว สุดท้าย ไทยก็ต้องนำเข้าสินค้า และเสียดุลการค้าอยู่ดี ฉะนั้นไทยต้องปรับตัวจากการเป็นผู้ผลิต ผู้ค้า มาเพิ่มเรื่องการซื้อสินค้ามาจำหน่าย”

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าวถึงสิ่งที่ภาครัฐต้องเร่งปรับรื้อทางเศรษฐกิจว่า ประการแรกคือเรื่องระบบขนส่งสินค้า เพราะการขนส่งด้วยรถบรรทุกฝืดเคือง ไม่สะดวก รวมทั้งยังมีราคาแพง ขณะที่จีนกำลังสร้างทางรถไฟมุ่งหน้าสู่ประเทศไทย เพื่อส่งเสริมการขนส่งทางราง แต่รัฐบาลไทยกลับไม่ขยับเท่าที่ควร จะเห็นได้จากการที่รัฐบาลอนุมัติโครงการ แต่ไม่สนับสนุนงบประมาณ การรถไฟแห่งประเทศที่อยู่ในภาวะขาดทุนอย่างสม่ำเสมอ จึงไม่มีกำลังที่จะผลักดันโครงการดังกล่าวให้เกิดขึ้นได้ ฉะนั้น จึงต้องปรับทัศนคติของรัฐให้มองเห็นโอกาสที่กำลังเข้ามา พร้อมทั้งเจียดเม็ดเงินสนับสนุน ขณะเดียวกันรัฐต้องให้ความสำคัญ ในประเด็นด้านความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับรัฐที่ดี นิ่ง สงบ เพราะหากความสัมพันธ์ไม่ดี การขยายตัวของเศรษฐกิจย่อมจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้

"ทำอย่างไรให้รัฐบาลเข้าใจได้ถูกต้อง ปรับทัศนคติให้เหมาะสม และให้ผู้นำรัฐบาล ผู้นำการเมือง มีทัศนคติด้านความสัมพันธ์ที่เหมาะกับกาลสมัย ที่จะแก้ปัญหาโดยไม่ใช้การฆ่าฟัน หรือการเล่นแง่ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นโจทย์ใหญ่ที่สำคัญ”

ขณะที่ ดร.นิพนธ์ กล่าวว่า หลังจากประเทศไทยเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจตั้งแต่ปี พ.ศ.2540 เรื่อยมากระทั่งปัจจุบัน เศรษฐกิจไทยก็ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ อีกทั้งการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยยังพึ่งการส่งออกเป็นสำคัญ ไทยจึงต้องมีความจำเป็นต้องหาลู่ทาง ช่องทาง เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยรัฐต้องเป็นผู้ชี้นำในการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ เนื่องจากปัญหาทางการคลัง ส่งผลให้รัฐไม่สามารถลงทุนได้ เพราะนำเม็ดเงินไปลงทุนในโครงการประชาวิวัฒน์ อีกประการหนึ่ง พลังกระตุ้นเศรษฐกิจลดลง เนื่องจากทุกบาทที่มีการส่งออก ต้องเสียไปเพราะการนำเข้าสินค้าทุน ฉะนั้น จึงต้องเพิ่มกลไกผลิตสินค้าทุนในประเทศให้มีตลาดใหญ่ขึ้น เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการภายในประเทศ

ดร.นิพนธ์ กล่าวถึงบทบาทของอาเซียนที่ต้องเผชิญกับคู่แข่งรายใหญ่อย่างจีน อินเดีย ว่า จะต้องมีการร่วมมือกันของอาเซียน เพื่อคานอำนาจกับต่างประเทศ ส่วนการเปิดการค้าเสรีย่อมก่อให้เกิดการต่อต้านจากผู้เสียเปรียบ จึงจำเป็นต้องมีการกระจายรายได้ให้ทั่วถึง รวมทั้งต้องมีการลงทุนทางการศึกษาและเทคโนโลยี เพราะผู้ได้เปรียบหลังเปิดเสรีการค้า คือ ผู้รู้ภาษาอังกฤษ สามารถทำงานร่วมกับชาวต่างชาติได้ เนื่องจากสิ่งเหล่านี้เป็นกระบวนการพัฒนาที่นำไปสู่การเปิดประตูการค้าเพื่อประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ในประเทศ ฉะนั้น รัฐบาลต้องสนับสนุนให้แรงงาน ผู้ประกอบการ ยกระดับคุณภาพของคนไทย

“นโยบายเรื่องการลงทุนด้านเทคโนโลยี การวิจัย การพัฒนา โดยเฉพาะด้านการเกษตรเป็นสิ่งสำคัญ ขณะเดียวกันอาเซียนต้องร่วมมือด้านนโยบายการคลัง การกำหนดปรับอัตราแลกเปลี่ยน โดยผู้ว่าการธนาคารและรัฐมนตรีการคลังของประเทศสมาชิกอาเซียนจะต้องหารือร่วมกัน นอกจากนี้ อาเซียนจะต้องลงทุน เพื่อเชื่อมโยงกับประเทศจีน อินเดีย อาทิ ด้านการรถไฟ แต่ทั้งนี้ กระบวนการเจรจาด้านผลประโยชน์ของนักธุรกิจ นักการเมืองจะต้องมีความโปร่งใส และไทยต้องมีบทบาทเป็นผู้นำของอาเซียนต่อไป”

( เรื่อง สาธินีย์ วิสุทธาธรรม-ณัฐนันท์ อิทธิยาภรณ์ สถาบันอิศรา )