WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, March 7, 2011

ใครแทรกแซงอำนาจตุลาการ

ที่มา มติชน



คอลัมน์ ณ ริมคลองประปา โดย ประสงค์ วิสุทธิ์ prasong_lert@yahoo.com

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เขียนถึงกรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ขอให้สำนักงานศาลปกครองชี้แจงกรณีที่มีการกล่าวหานายอักขราทร จุฬารัตน ว่า ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ขณะดำรงตำแหน่งประธานศาลปกครองสูงสุด เนื่องจากใช้อำนาจสั่งเปลี่ยนองค์คณะตุลาการที่พิจารณาคดีคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวที่มิให้นำมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) นายสมัคร สุนทรเวช เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2551 ซึ่งสนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ไปดำเนินการใดๆ

ปรากฏว่า ที่ประชุมคณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง (ก.ศป.) เมื่อกลางกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา มีความเห็นเป็น 2 ฝ่าย

ฝ่ายหนึ่ง (มี ดร.หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล ประธานศาลปกครองสูงสุด รวมอยู่ด้วย) เห็นว่า ป.ป.ช.ไม่มีอำนาจในการไต่สวนคดีดังกล่าว

ขณะที่อีกฝ่ายหนึ่ง เห็นว่า ก.ศป.ไม่มีอำนาจห้ามเลขาธิการสำนักงานศาลปกครองชี้แจงหรือส่งเอกสารหลักฐานต่อ ป.ป.ช.เพราะเท่ากับเป็นการสนับสนุนให้ทำผิดกฎหมาย

ความเห็นที่แตกต่างกันทำให้ที่ประชุม ก.ศป.ไม่มีมติใดๆ แต่ ดร.หัสวุฒิอ้างว่า จะใช้มติ ก.ศป.ไปดำเนินการเรื่องนี้ต่อ ป.ป.ช.

อย่างไรก็ตาม ดร.หัสวุฒิให้สัมภาษณ์ "มติชนออนไลน์" มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

หนึ่ง กรณีการกล่าวหา นายอักขราทร เป็นเรื่องของการพิพากษาคดี ซึ่งเป็นอำนาจอิสระของตุลาการ ป.ป.ช.จึงไม่มีอำนาจในการไต่สวนเพราะเป็นการแทรกแซงและขัดต่อหลักการแบ่งแยกอำนาจ

สอง ไม่รู้ข้อเท็จจริงในเรื่องที่เกิดขึ้น เพราะไม่ได้เป็นองค์คณะที่ถูกสั่งเปลี่ยน ขณะเดียวกันกลับพูดว่า เรื่องนี้ต้องดูความจริงซึ่งข้อกล่าวหาไม่ใช่ความจริง เป็นการบิดเบือน

"สิ่งที่ผมรู้ ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจริงหรือเปล่า เพราะฉะนั้นในฐานะคนที่ไม่อยู่ในเหตุการณ์ เราก็ไม่ควรไปพูด เหมือนกับบางคนที่ไม่อยู่ในเหตุการณ์ แต่เอาตัวเองเข้าไปเหมือนกับมีส่วนได้เสีย"

สาม ข้อเท็จจริงต้องฟังจากเจ้าของสำนวน (นายจรัญ หัตถกรรม อดีตหัวหน้าคณะตุลาการศาลปกครองสูงสุด) เขาสละสำนวนคืนมา ประธานศาลฯต้องจ่ายสำนวนใหม่ซึ่งเป็นไปตามระเบียบ ไม่ใช่ประธานฯเรียกสำนวนคืน อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าเป็นเรื่องฟังมาอีกต่อหนึ่ง

สี่ คนระดับนี้ (ประธานศาลฯ?) คงเป็นไปไม่ได้ที่จะทำสิ่งผิดกฎหมาย

(ดู http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1298890783&grpid=06&catid=02)

จากคำสัมภาษณ์ของ ดร.หัสวุฒิ มีข้อสังเกตดังนี้

หนึ่ง กรณีการสั่งเปลี่ยนองค์คณะหรือมีการสละสำนวน น่าจะไม่ใช่อำนาจการพิจารณาคดีโดยตรง แต่เป็นการบริหารสำนวนหรือการบริหารคดีเท่านั้น จึงมิได้เป็นการใช้อำนาจตุลาการในการพิจารณาคดี

อย่างไรก็ตาม การบริหารสำนวนนั้น อาจมีผลต่อความเป็นอิสระของตุลาการ ถ้าผู้จ่ายสำนวนสามารถเลือกได้ว่า จะจ่ายสำนวนให้องค์คณะใดได้ตามอำเภอใจ ดังนั้นใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองฯ (มาตรา 56) จึงวางหลักเกณฑ์ไว้ว่า ต้องจ่ายสำนวนตามความเชี่ยวชาญขององค์คณะ และ/หรือแบ่งตามพื้นที่ความรับผิดชอบ และ/หรือ จ่ายสำนวนโดยไม่อาจคาดหมายได้ล่วงหน้า

เมื่อจ่ายสำนวนแล้ว ห้ามเรียกคืนหรือโอนสำนวน เว้นแต่ 1.ตามระเบียบที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุด เช่น เมื่อปรากฏเหตุใดๆ ที่กระทบกระเทือนต่อความยุติธรรม 2.เมื่อตุลาการหรือองค์คณะถูกคัดค้าน 3.เมื่อตุลาการหรือองค์คณะ มีคดีค้างจำนวนมาก อาจทำให้การพิจารณาคดีล่าช้า

เมื่อมีการกล่าวหาว่า การสละสำนวนหรือเรียกคืนสำนวนไม่เป็นไปตามกฎหมาย เพราะในการพิจารณาคดีดังกล่าว องค์คณะ มีมติด้วยเสียง 3 ต่อ 2 ให้จำหน่ายคดีแล้ว แต่จู่ๆ เจ้าของสำนวนกลับส่งคืนสำนวนให้แก่ประธานศาลฯโดยอ้างว่า มีคดีค้างพิจารณามาก ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ก็ต้องคืนตั้งแต่รับสำนวนมาใหม่ ไม่ใช่คืน หลังจากมีการลงมติขององค์คณะแล้ว

ดังนั้น ประธานศาลฯและพวกจึงถูกกล่าวหาว่า ใช้อำนาจแทรกแซงองค์คณะ ป.ป.ช.จึงมีอำนาจในการไต่สวนเพราะเข้าข่ายการกระทำผิดต่อหน้าที่ในการยุติธรรม

สอง ดร.หัสวุฒิ บอกว่าไม่รู้ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น แต่กลับบอกว่า ข้อกล่าวหา เป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริงๆ? ที่สำคัญ เรื่องที่ ดร.หัสวุฒิ นำมาพูดเป็นการฟังมาอีกต่อหนึ่ง (พยานบอกเล่า?) ดังนั้น ที่การันตีว่า "คนระดับนี้" ไม่น่าจะทำผิด จึงเป็นแค่ความเชื่อ ไม่มีข้อเท็จจริง(ความจริง?)รองรับ

ใครจะทำผิด ทำชั่ว ทำเลวหรือไม่ ความเป็น "คนระดับนี้" ไม่ใช่หลักประกันใดๆ ที่จะนำมาอ้างได้ แต่ต้องสร้างระบบให้โปร่งใส ตรวจสอบได้เท่านั้น จึงจะทำให้เกิดความน่าเชื่อถือต่อสาธารณชน

สาม เพื่อรักษาระบบของศาลปกครองให้มีความน่าเชื่อถือ ทำไม ดร.หัสวุฒิ ไม่แต่งตั้งคณะกรรมการที่เป็นอิสระมาสอบสวน แล้วแถลงข้อเท็จจริงให้ทั้งหมด เพราะการแทรกแซงอำนาจตุลาการมิได้เกิดจากภายนอกเท่านั้น แต่เกิดจาก "คนใน" ที่มีอำนาจด้วย

ยิ่งถ้าพยายามใช้อำนาจปกปิดเรื่องที่เกิดขึ้นด้วยแล้ว ยังร้ายแรงและเลวร้ายกว่าการแทรกแซงจากภายนอกด้วยซ้ำ